Getty Images ความยิ่งใหญ่ของเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth
อังกฤษอาจเลือกสิงคโปร์ เป็นฐานทัพทหารแห่งใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – BBCไทย
รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยแผนสร้างฐานทัพใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคตอันใกล้ เพื่อประกาศว่าอังกฤษเป็น “ผู้นำโลกที่แท้จริง” หลังออกจากสหภาพยุโรป โดยมีสิงคโปร์ และบรูไน เป็นหนึ่งในตัวเลือก ด้านนักวิชาการจีนเตือนหากไฟเขียวแผนนี้จะยิ่งทำให้กรณีพิพาทน่านน้ำ และความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ คุกรุ่นขึ้นอีก
แกวิน วิลเลียมสัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอังกฤษให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ เดอะ ซันเดย์ เทเลกราฟ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อังกฤษมีแผนจะสร้างฐานทัพใหม่ 2 แห่งในอีกไม่กี่ปีนับจากนี้ ฐานทัพหนึ่งจะตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ส่วนอีกแห่งจะตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“นี่เป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษนับแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นโอกาสที่เราจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นใหม่ เรามีบทบาทสำคัญได้ในเวทีโลก และโลกก็คาดหวังให้เรารับบทบาทนั้น”
แกวิน วิลเลียมสัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอังกฤษ
ปัจจุบัน อังกฤษมีฐานทัพในต่างประเทศอยู่แล้วที่ ไซปรัส, ยิบรอลตาร์, หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ และดิเอโกการ์ซีอา เกาะปะการังวงแหวนในตอนกลางของมหาสมุทรอินเดีย
วิลเลียมสัน คาดการณ์ว่า ทิศทางการเมืองจะเปลี่ยนอย่างมากภายหลังเบร็กซิท ดังนั้น อังกฤษต้องกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นกับออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ประเทศในแถบแคริบเบียน รวมถึงชาติในทวีปแอฟริกาด้วย แต่ไม่ได้ชี้ชัดว่า ฐานทัพใหม่ 2 แห่งนี้จะช่วยเสริมความสัมพันธ์กับนานาประเทศได้อย่างไรบ้าง
ข้อพิพาททะเลจีนใต้: “ออกไปเดี๋ยวนี้ และอยู่ให้ห่าง”
จีนลั่นเตรียมตอบโต้ หลังเรือรบสหรัฐฯ เฉียดเกาะพิพาททะเลจีนใต้
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศหลายคนมองว่า แผนสร้างฐานทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเป้าหมายเพื่อคานอำนาจกับจีน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับหลายประเทศในเอเชียขุ่นมัวมากขึ้น พร้อมเตือนว่า จะเติมเชื้อไฟให้ความขัดแย้งของจีนกับอังกฤษทวีความรุนแรงขึ้น หลังเมื่อเดือน ส.ค. ปีที่แล้ว เรือรบอังกฤษเคลื่อนเข้าใกล้หมู่เกาะพาราเซลในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นหมู่เกาะพิพาทระหว่างจีนและหลายประเทศในอาเซียน
สิงคโปร์-บรูไน เป็นหนึ่งในตัวเลือก
แผนสร้างฐานทัพใหม่ในต่างแดนของอังกฤษ สวนทางกับยุทธศาสตร์ที่เรียกกันว่า “ตะวันออกของสุเอซ” (East of Suez) ซึ่งสหราชอาณาจักรได้ถอนฐานทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอ่าวเปอร์เชีย ในปี 1968 โดยวิลเลียมสันมองว่า นโยบายดังกล่าวเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวง
สิงคโปร์จะเป็นที่ตั้งฐานทัพอังกฤษแห่งใหม่หรือไม่
“เราต้องแสดงให้ชัดเจนว่านโยบายนี้ทำให้อังกฤษพังไม่เป็นท่า และจากนี้อังกฤษจะกลับมาเป็นผู้นำโลกอีกครั้ง”
นักวิชาการของจีนมองว่า การที่สิงคโปร์และบรูไน ซึ่งต่างเป็นอดีตชาติอาณานิคมของอังกฤษ เป็นตัวเลือกนั้น แฝงนัยยะที่ตั้งใจยั่วยุจีนอย่างชัดเจน
ช่วงหลายปีมานี้ รัฐบาลจีนพยายามเข้าหาบรูไน ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่พิพาทอ้างกรรมสิทธิในทะเลจีนใต้ ด้วยนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative) ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงยังเดินทางเยือนบรูไนเมื่อ พ.ย. ปีที่แล้ว เพื่อกระชับความสัมพันธ์ เห็นได้จากการค้าทวิภาคีที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนมานี้
ปธน. สี จิ้นผิง เดินทางเยือนบรูไนดารุสซาลาม
ส่วนสิงคโปร์นั้น แม้จะไม่ได้อ้างกรรมสิทธิเหนือน่านน้ำพิพาท แต่ความสัมพันธ์กับจีนช่วงหลังมานี้ไม่สู้ดีนัก นับแต่จีนกล่าวหาสิงคโปร์ว่าเข้าข้างสหรัฐฯ ในกรณีพิพาททะเลจีนใต้
ไม่เพียงเท่านั้น ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อ พ.ย. ปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุงของสิงคโปร์ เตือนว่าชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตกอยู่กลางสังเวียนชิงอำนาจระหว่างจีนและสหรัฐฯ และอาจถูกบีบให้ต้องเลือกข้าง
“เราอาจถูกกดดันให้ต้องเลือกข้าง” ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
อังกฤษจับมือสหรัฐฯ กดดันจีน
ซู ลีผิง (Xu Liping) ศาสตราจารย์สถาบันเอเชียศึกษา สถาบันสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน มั่นใจว่า การสร้างฐานทัพอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีเป้าหมายคานอิทธิพลกับจีน
“ชัดเจนเลยว่า นี่เป็นการแสดงแสนยานุภาพเพื่อยั่วยุจีน และให้เห็นถึงมหาอำนาจนอกภูมิภาคที่เข้ามาพัวพันกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้” ศ.ซูกล่าวกับ เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์
ซู ยังเชื่ออีกว่า รัฐบาลสหรัฐ ฯ หนุนหลังแผนการนี้ เพราะอังกฤษเข้ามาเพิ่มบทบาทในทะเลจีนใต้ ในช่วงเดียวกับที่สหรัฐฯกำลังวิตกว่าอาจต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับจีน
เรือรบของจีนในทะเลจีนใต้
สอดคล้องกับ หนี ลีเซียง (Ni Lexiong) ผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพเรือ แห่งคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ ที่วิเคราะห์ว่า แผนดังกล่าวเป็นหลักฐานชี้ชัดว่าอังกฤษและพันธมิตรอีกหลายประเทศของสหรัฐฯ เริ่มผนึกกำลังกันสนับสนุนแนวทางของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อท้าชนจีนอย่างแข็งกร้าว
“มันเป็นมาตรการที่สัมพันธ์กันกับยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ แน่นอนว่าสหรัฐฯ ต้องพึงพอใจ”
สหรัฐฯ ต้องพึงพอใจ
รัฐบาลจีนมองกิจกรรมทางทหารที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯในทะเลจีนใต้เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของภูมิภาค และแสดงความกังวลถึงยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อเตะตัดขาจีนไม่ให้ขึ้นเป็นสุดยอดมหาอำนาจโลก
ยุคทองสัมพันธ์อังกฤษ-จีน ผ่านไปแล้ว?
ย้อนไปเมื่อไม่กี่ปีก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษและจีน เรียกได้ว่าอยู่ใน “ยุคทอง” ภายหลังสี จิ้นผิง เดินทางเยือนอังกฤษในเดือน ต.ค. 2015 พร้อมประกาศกระชับความสัมพันธ์อย่าง “พิเศษ” ซึ่งเทรีซา เมย์ นายกรัฐมนตรี ดูต้องการกระชับมิตรกับจีนเช่นกัน เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หลังอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป
สี จิ้นผิง จับมือกับเทรีซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ระหว่างเดินทางเยือนในปี 2015
แต่ยุคทองนั้นอาจผ่านพ้นไปแล้ว หลังอังกฤษเริ่มต่อต้านการอ้างกรรมสิทธิเหนือทะเลจีนใต้ของจีน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เรือรบอังกฤษเคลื่อนใกล้หมู่เกาะพาราเซลเมื่อเดือน ส.ค. ปีที่แล้ว ด้วยข้ออ้างว่าเป็น “เสรีภาพการเดินเรือ” ขณะที่จีนกล่าวหาว่า เป็นท่าทียั่วยุ
ดังนั้น หนี ลีเซียง มองว่า ฐานทัพอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นข่าวดีสำหรับชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ อาทิ ญี่ปุ่น เวียดนาม และออสเตรเลีย ที่กังวลมาตลอดว่าสหรัฐ ฯ ไม่กล้าขึ้นเป็นผู้นำท้าทายการอ้างกรรมสิทธิถือครองของจีนเหนือทะเลจีนใต้ เพราะหากมีอังกฤษมาร่วมด้วย สหรัฐ ฯ จะกล้าออกตัวชัดเจนขึ้น
แต่ เขาก็เตือนว่าการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่ชัดเจนนี้ จะกระทบต่อสมดุลความมั่นคงในภูมิภาค ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงแนวโน้มเกิดการเผชิญหน้า และการปะทะด้วย
สร้างฐานทัพใหม่ เป็นไปได้?
นักวิชาการจีนหลายคนตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ที่อังกฤษจะสร้างฐานทัพใหม่ถึง 2 แห่ง เพื่อทวงบทบาทผู้นำโลก เพราะกระทรวงกลาโหมอังกฤษประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณมาหลายปีแล้ว
ฐานทัพเรือในอังกฤษ
แม้งบทหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2018 แต่ภาพรวมนั้น กองทัพอังกฤษมีขนาดลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง นับแต่สิ้นสุดสงครามเย็น
ในอังกฤษ นักการเมืองฝ่ายค้านหลายคนวิพากษ์วิจารณ์แผนของวิลเลียมสัน โดยลุค พอลลาร์ด ส.ส. พรรคแรงงาน ทวี
ตข้อความแทงใจดำว่า “จะเอางบประมาณมาจากไหน” และ “จะตัดงบส่วนไหน เพื่อไปสร้างฐานทัพใหม่”
ที่มา
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_2044655
อังกฤษอาจเลือกสิงคโปร์ เป็นฐานทัพทหารแห่งใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Getty Images ความยิ่งใหญ่ของเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth
อังกฤษอาจเลือกสิงคโปร์ เป็นฐานทัพทหารแห่งใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – BBCไทย
รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยแผนสร้างฐานทัพใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคตอันใกล้ เพื่อประกาศว่าอังกฤษเป็น “ผู้นำโลกที่แท้จริง” หลังออกจากสหภาพยุโรป โดยมีสิงคโปร์ และบรูไน เป็นหนึ่งในตัวเลือก ด้านนักวิชาการจีนเตือนหากไฟเขียวแผนนี้จะยิ่งทำให้กรณีพิพาทน่านน้ำ และความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ คุกรุ่นขึ้นอีก
แกวิน วิลเลียมสัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอังกฤษให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ เดอะ ซันเดย์ เทเลกราฟ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อังกฤษมีแผนจะสร้างฐานทัพใหม่ 2 แห่งในอีกไม่กี่ปีนับจากนี้ ฐานทัพหนึ่งจะตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ส่วนอีกแห่งจะตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“นี่เป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษนับแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นโอกาสที่เราจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นใหม่ เรามีบทบาทสำคัญได้ในเวทีโลก และโลกก็คาดหวังให้เรารับบทบาทนั้น”
แกวิน วิลเลียมสัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอังกฤษ
ปัจจุบัน อังกฤษมีฐานทัพในต่างประเทศอยู่แล้วที่ ไซปรัส, ยิบรอลตาร์, หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ และดิเอโกการ์ซีอา เกาะปะการังวงแหวนในตอนกลางของมหาสมุทรอินเดีย
วิลเลียมสัน คาดการณ์ว่า ทิศทางการเมืองจะเปลี่ยนอย่างมากภายหลังเบร็กซิท ดังนั้น อังกฤษต้องกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นกับออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ประเทศในแถบแคริบเบียน รวมถึงชาติในทวีปแอฟริกาด้วย แต่ไม่ได้ชี้ชัดว่า ฐานทัพใหม่ 2 แห่งนี้จะช่วยเสริมความสัมพันธ์กับนานาประเทศได้อย่างไรบ้าง
ข้อพิพาททะเลจีนใต้: “ออกไปเดี๋ยวนี้ และอยู่ให้ห่าง”
จีนลั่นเตรียมตอบโต้ หลังเรือรบสหรัฐฯ เฉียดเกาะพิพาททะเลจีนใต้
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศหลายคนมองว่า แผนสร้างฐานทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเป้าหมายเพื่อคานอำนาจกับจีน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับหลายประเทศในเอเชียขุ่นมัวมากขึ้น พร้อมเตือนว่า จะเติมเชื้อไฟให้ความขัดแย้งของจีนกับอังกฤษทวีความรุนแรงขึ้น หลังเมื่อเดือน ส.ค. ปีที่แล้ว เรือรบอังกฤษเคลื่อนเข้าใกล้หมู่เกาะพาราเซลในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นหมู่เกาะพิพาทระหว่างจีนและหลายประเทศในอาเซียน
สิงคโปร์-บรูไน เป็นหนึ่งในตัวเลือก
แผนสร้างฐานทัพใหม่ในต่างแดนของอังกฤษ สวนทางกับยุทธศาสตร์ที่เรียกกันว่า “ตะวันออกของสุเอซ” (East of Suez) ซึ่งสหราชอาณาจักรได้ถอนฐานทัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอ่าวเปอร์เชีย ในปี 1968 โดยวิลเลียมสันมองว่า นโยบายดังกล่าวเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวง
สิงคโปร์จะเป็นที่ตั้งฐานทัพอังกฤษแห่งใหม่หรือไม่
“เราต้องแสดงให้ชัดเจนว่านโยบายนี้ทำให้อังกฤษพังไม่เป็นท่า และจากนี้อังกฤษจะกลับมาเป็นผู้นำโลกอีกครั้ง”
นักวิชาการของจีนมองว่า การที่สิงคโปร์และบรูไน ซึ่งต่างเป็นอดีตชาติอาณานิคมของอังกฤษ เป็นตัวเลือกนั้น แฝงนัยยะที่ตั้งใจยั่วยุจีนอย่างชัดเจน
ช่วงหลายปีมานี้ รัฐบาลจีนพยายามเข้าหาบรูไน ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่พิพาทอ้างกรรมสิทธิในทะเลจีนใต้ ด้วยนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative) ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงยังเดินทางเยือนบรูไนเมื่อ พ.ย. ปีที่แล้ว เพื่อกระชับความสัมพันธ์ เห็นได้จากการค้าทวิภาคีที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนมานี้
ปธน. สี จิ้นผิง เดินทางเยือนบรูไนดารุสซาลาม
ส่วนสิงคโปร์นั้น แม้จะไม่ได้อ้างกรรมสิทธิเหนือน่านน้ำพิพาท แต่ความสัมพันธ์กับจีนช่วงหลังมานี้ไม่สู้ดีนัก นับแต่จีนกล่าวหาสิงคโปร์ว่าเข้าข้างสหรัฐฯ ในกรณีพิพาททะเลจีนใต้
ไม่เพียงเท่านั้น ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อ พ.ย. ปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุงของสิงคโปร์ เตือนว่าชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตกอยู่กลางสังเวียนชิงอำนาจระหว่างจีนและสหรัฐฯ และอาจถูกบีบให้ต้องเลือกข้าง
“เราอาจถูกกดดันให้ต้องเลือกข้าง” ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
อังกฤษจับมือสหรัฐฯ กดดันจีน
ซู ลีผิง (Xu Liping) ศาสตราจารย์สถาบันเอเชียศึกษา สถาบันสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน มั่นใจว่า การสร้างฐานทัพอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีเป้าหมายคานอิทธิพลกับจีน
“ชัดเจนเลยว่า นี่เป็นการแสดงแสนยานุภาพเพื่อยั่วยุจีน และให้เห็นถึงมหาอำนาจนอกภูมิภาคที่เข้ามาพัวพันกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้” ศ.ซูกล่าวกับ เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์
ซู ยังเชื่ออีกว่า รัฐบาลสหรัฐ ฯ หนุนหลังแผนการนี้ เพราะอังกฤษเข้ามาเพิ่มบทบาทในทะเลจีนใต้ ในช่วงเดียวกับที่สหรัฐฯกำลังวิตกว่าอาจต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับจีน
เรือรบของจีนในทะเลจีนใต้
สอดคล้องกับ หนี ลีเซียง (Ni Lexiong) ผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพเรือ แห่งคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ ที่วิเคราะห์ว่า แผนดังกล่าวเป็นหลักฐานชี้ชัดว่าอังกฤษและพันธมิตรอีกหลายประเทศของสหรัฐฯ เริ่มผนึกกำลังกันสนับสนุนแนวทางของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อท้าชนจีนอย่างแข็งกร้าว
“มันเป็นมาตรการที่สัมพันธ์กันกับยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ แน่นอนว่าสหรัฐฯ ต้องพึงพอใจ”
สหรัฐฯ ต้องพึงพอใจ
รัฐบาลจีนมองกิจกรรมทางทหารที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯในทะเลจีนใต้เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของภูมิภาค และแสดงความกังวลถึงยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อเตะตัดขาจีนไม่ให้ขึ้นเป็นสุดยอดมหาอำนาจโลก
ยุคทองสัมพันธ์อังกฤษ-จีน ผ่านไปแล้ว?
ย้อนไปเมื่อไม่กี่ปีก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษและจีน เรียกได้ว่าอยู่ใน “ยุคทอง” ภายหลังสี จิ้นผิง เดินทางเยือนอังกฤษในเดือน ต.ค. 2015 พร้อมประกาศกระชับความสัมพันธ์อย่าง “พิเศษ” ซึ่งเทรีซา เมย์ นายกรัฐมนตรี ดูต้องการกระชับมิตรกับจีนเช่นกัน เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หลังอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป
สี จิ้นผิง จับมือกับเทรีซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ระหว่างเดินทางเยือนในปี 2015
แต่ยุคทองนั้นอาจผ่านพ้นไปแล้ว หลังอังกฤษเริ่มต่อต้านการอ้างกรรมสิทธิเหนือทะเลจีนใต้ของจีน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เรือรบอังกฤษเคลื่อนใกล้หมู่เกาะพาราเซลเมื่อเดือน ส.ค. ปีที่แล้ว ด้วยข้ออ้างว่าเป็น “เสรีภาพการเดินเรือ” ขณะที่จีนกล่าวหาว่า เป็นท่าทียั่วยุ
ดังนั้น หนี ลีเซียง มองว่า ฐานทัพอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นข่าวดีสำหรับชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ อาทิ ญี่ปุ่น เวียดนาม และออสเตรเลีย ที่กังวลมาตลอดว่าสหรัฐ ฯ ไม่กล้าขึ้นเป็นผู้นำท้าทายการอ้างกรรมสิทธิถือครองของจีนเหนือทะเลจีนใต้ เพราะหากมีอังกฤษมาร่วมด้วย สหรัฐ ฯ จะกล้าออกตัวชัดเจนขึ้น
แต่ เขาก็เตือนว่าการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่ชัดเจนนี้ จะกระทบต่อสมดุลความมั่นคงในภูมิภาค ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงแนวโน้มเกิดการเผชิญหน้า และการปะทะด้วย
สร้างฐานทัพใหม่ เป็นไปได้?
นักวิชาการจีนหลายคนตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ที่อังกฤษจะสร้างฐานทัพใหม่ถึง 2 แห่ง เพื่อทวงบทบาทผู้นำโลก เพราะกระทรวงกลาโหมอังกฤษประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณมาหลายปีแล้ว
ฐานทัพเรือในอังกฤษ
แม้งบทหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2018 แต่ภาพรวมนั้น กองทัพอังกฤษมีขนาดลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง นับแต่สิ้นสุดสงครามเย็น
ในอังกฤษ นักการเมืองฝ่ายค้านหลายคนวิพากษ์วิจารณ์แผนของวิลเลียมสัน โดยลุค พอลลาร์ด ส.ส. พรรคแรงงาน ทวี
ตข้อความแทงใจดำว่า “จะเอางบประมาณมาจากไหน” และ “จะตัดงบส่วนไหน เพื่อไปสร้างฐานทัพใหม่”
ที่มา https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_2044655