วันที่ 2 มกราคม 2562 - 13:14 น.
(Photo by HO / NASA/JHUAPL/SwRI / AFP)
ยานสำรวจอวกาศไร้มนุษย์ “นิว ฮอไรซันส์” ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) แห่งสหรัฐอเมริกา สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับการสำรวจอวกาศ โดยกลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่โฉบผ่านเข้าใกล้เพื่อสำรวจเทหวัตถุที่ห่างไกลจากโลกมากที่สุดถึง 6,400 ล้านกิโลเมตร เท่าที่มีการสำรวจศึกษามาเป็นการต้อนรับปีใหม่ปีนี้อย่างงดงาม
เทหวัตถุดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ “อัลติมา ทูเล” โคจรอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า “ไคเปอร์เบลท์” อาณาบริเวณที่มืดและเย็นจัดที่อยู่ห่างจากดาวเคราะห์แคระ พลูโตดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายของระบบสุริยะออกไปอีกถึง 1,600 ล้านกิโลเมตร ตัว อัลติมา ทูเล มีขนาดพอๆ กับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเนื้อที่ราว 177 ตารางกิโลเมตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อมูลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์หรือองค์ประกอบของอัลติมา ทูเล แต่อย่างใด
นิว ฮอไรซันส์ จะโฉบเข้าไปอยู่ในระยะใกล้อัลติมา ทูเลมากที่สุดที่ระยะห่างเพียง 3,540 กิโลเมตร ในเวลา 00.33 น. ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกา หลังจากผ่านวันปีใหม่มาเพียง 33 นาที (ตรงกับ12.33 น.ตามเวลาในประเทศไทยของวันที่ 1 มกราคม)
อลัน สเติร์น นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการสำรวจอัลติมา ทูเล ระบุว่า อัลติมา ทูเล จะทำหน้าที่เป็นเสมือน “แคปซูลเวลา” สำหรับนำพานักวิทยาศาสตร์ให้ย้อนเวลากลับไปเมื่อราว 4,500 ล้านปีก่อน เพราะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกำเนิดระบบสุริยะของเราขึ้นมาได้มากมายจากการสำรวจด้วยการโฉบผ่านในครั้งนี้
โดยทีมงานเชื่อว่าภาพที่ นิว ฮอไรซันส์ ถ่ายได้จากกล้องถ่ายภาพพิเศษที่ติดตั้งไว้บนยานและถูกสั่งการให้ซูมเข้าไปยัง อัลติมา ทูเล อยู่ในเวลานี้ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปร่างและองค์ประกอบของอัลติมา ทูเล ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการที่ทำให้รู้ว่ามันเป็นเทหวัตถุเดี่ยวเพียงดวงเดียว หรือประกอบขึ้นมาจากเทหวัตถุจำนวนหนึ่ง
ทางด้าน เคลซี ซิงเกอร์ หนึ่งในทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการร่วมกับสเติร์น ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์บนโลกไม่เคยได้สำรวจเทหวัตถุที่เป็นชนิดและรูปแบบเดียวกันนี้มาก่อน โดยเชื่อว่าราว 1 วันก่อนหน้าที่จะอยู่ในระยะประชิดกับอัลติมา ทูเล มากที่สุด นิวฮอไรซันส์จะสามารถส่งภาพที่ถ่ายไว้ได้กลับมายังโลก เพื่อให้ได้เห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทหวัตถุนี้กัน
สเติร์นระบุว่า ยานอวกาศนิว ฮอไรซันส์ ถูกปรับการโคจรให้เข้าสู่ “เอนเคาน์เตอร์ โหมด” มาตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา และจากสัญญาณที่ได้รับตอบกลับมาแสดงให้เห็นว่ายานอวกาศลำนี้ซึ่งถูกส่งขึ้นจากโลก
เมื่อปี 2006 ที่ผ่านมา ยังคงอยู่ในสภาพดีเยี่ยม และเตรียมดำเนินการตามคำสั่งให้ “ส่งสัญญาณกลับโลก” การส่งสัญญาณกลับดังกล่าวจะเกิดขึ้นในทันทีที่มันรอดพ้นจากการโฉบเข้าไปสำรวจในระยะใกล้ครั้งนี้ในราว 10.29 น. ของวันที่ 1 มกราคม ตามเวลาท้องถิ่น หรือราว 22.29 น. ตามเวลาในประเทศไทย
ทั้งนี้ การสื่อสารระหว่างยานนิว ฮอไรซันส์กับโลกจำเป็นต้องใช้เวลา 6 ชั่วโมง กับอีก 8 นาที ซึ่งหมายความว่าต้องใช้เวลา 12 ชั่วโมง 15 นาที ในการส่งคำสั่งไปยังยานแล้วได้รับคำตอบกลับมายังหอควบคุมภาคพื้นดิน
ก่อนหน้าที่จะเข้าสู่ “เอนเคาน์เตอร์ โหมด” นิวฮอไรซันส์ เคลื่อนที่ผ่านอวกาศด้วยความเร็วสูงถึง 51,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้สามารถทำระยะทางได้เกือบ 1.6 ล้านกิโลเมตรต่อวัน และเคยสร้างความฮือฮาให้กับโลกมาแล้วเมื่อปี 2015 เมื่อโฉบเข้าใกล้ พลูโต ดาวเคราะห์แคระ แล้วส่งภาพถ่ายในระยะใกล้กลับมายังโลก
อลิซ โบว์แมน ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของโครงการ ระบุว่า ถึงอย่างนั้น การบินโฉบผ่านเข้าไปใกล้ในครั้งนี้ก็ยังเป็นการเสี่ยงอยู่ดี เพราะมีโอกาสเพียงครั้งเดียวจึงต้องทำทุกอย่างให้ถูกต้องทั้งหมด
มติชนออนไลน์
“นิว ฮอไรซันส์” สร้างประวัติศาสตร์รับปีใหม่
(Photo by HO / NASA/JHUAPL/SwRI / AFP)
ยานสำรวจอวกาศไร้มนุษย์ “นิว ฮอไรซันส์” ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) แห่งสหรัฐอเมริกา สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับการสำรวจอวกาศ โดยกลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่โฉบผ่านเข้าใกล้เพื่อสำรวจเทหวัตถุที่ห่างไกลจากโลกมากที่สุดถึง 6,400 ล้านกิโลเมตร เท่าที่มีการสำรวจศึกษามาเป็นการต้อนรับปีใหม่ปีนี้อย่างงดงาม
เทหวัตถุดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ “อัลติมา ทูเล” โคจรอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า “ไคเปอร์เบลท์” อาณาบริเวณที่มืดและเย็นจัดที่อยู่ห่างจากดาวเคราะห์แคระ พลูโตดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายของระบบสุริยะออกไปอีกถึง 1,600 ล้านกิโลเมตร ตัว อัลติมา ทูเล มีขนาดพอๆ กับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเนื้อที่ราว 177 ตารางกิโลเมตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อมูลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์หรือองค์ประกอบของอัลติมา ทูเล แต่อย่างใด
นิว ฮอไรซันส์ จะโฉบเข้าไปอยู่ในระยะใกล้อัลติมา ทูเลมากที่สุดที่ระยะห่างเพียง 3,540 กิโลเมตร ในเวลา 00.33 น. ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกา หลังจากผ่านวันปีใหม่มาเพียง 33 นาที (ตรงกับ12.33 น.ตามเวลาในประเทศไทยของวันที่ 1 มกราคม)
อลัน สเติร์น นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการสำรวจอัลติมา ทูเล ระบุว่า อัลติมา ทูเล จะทำหน้าที่เป็นเสมือน “แคปซูลเวลา” สำหรับนำพานักวิทยาศาสตร์ให้ย้อนเวลากลับไปเมื่อราว 4,500 ล้านปีก่อน เพราะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกำเนิดระบบสุริยะของเราขึ้นมาได้มากมายจากการสำรวจด้วยการโฉบผ่านในครั้งนี้
โดยทีมงานเชื่อว่าภาพที่ นิว ฮอไรซันส์ ถ่ายได้จากกล้องถ่ายภาพพิเศษที่ติดตั้งไว้บนยานและถูกสั่งการให้ซูมเข้าไปยัง อัลติมา ทูเล อยู่ในเวลานี้ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปร่างและองค์ประกอบของอัลติมา ทูเล ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการที่ทำให้รู้ว่ามันเป็นเทหวัตถุเดี่ยวเพียงดวงเดียว หรือประกอบขึ้นมาจากเทหวัตถุจำนวนหนึ่ง
ทางด้าน เคลซี ซิงเกอร์ หนึ่งในทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการร่วมกับสเติร์น ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์บนโลกไม่เคยได้สำรวจเทหวัตถุที่เป็นชนิดและรูปแบบเดียวกันนี้มาก่อน โดยเชื่อว่าราว 1 วันก่อนหน้าที่จะอยู่ในระยะประชิดกับอัลติมา ทูเล มากที่สุด นิวฮอไรซันส์จะสามารถส่งภาพที่ถ่ายไว้ได้กลับมายังโลก เพื่อให้ได้เห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทหวัตถุนี้กัน
สเติร์นระบุว่า ยานอวกาศนิว ฮอไรซันส์ ถูกปรับการโคจรให้เข้าสู่ “เอนเคาน์เตอร์ โหมด” มาตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา และจากสัญญาณที่ได้รับตอบกลับมาแสดงให้เห็นว่ายานอวกาศลำนี้ซึ่งถูกส่งขึ้นจากโลก
เมื่อปี 2006 ที่ผ่านมา ยังคงอยู่ในสภาพดีเยี่ยม และเตรียมดำเนินการตามคำสั่งให้ “ส่งสัญญาณกลับโลก” การส่งสัญญาณกลับดังกล่าวจะเกิดขึ้นในทันทีที่มันรอดพ้นจากการโฉบเข้าไปสำรวจในระยะใกล้ครั้งนี้ในราว 10.29 น. ของวันที่ 1 มกราคม ตามเวลาท้องถิ่น หรือราว 22.29 น. ตามเวลาในประเทศไทย
ทั้งนี้ การสื่อสารระหว่างยานนิว ฮอไรซันส์กับโลกจำเป็นต้องใช้เวลา 6 ชั่วโมง กับอีก 8 นาที ซึ่งหมายความว่าต้องใช้เวลา 12 ชั่วโมง 15 นาที ในการส่งคำสั่งไปยังยานแล้วได้รับคำตอบกลับมายังหอควบคุมภาคพื้นดิน
ก่อนหน้าที่จะเข้าสู่ “เอนเคาน์เตอร์ โหมด” นิวฮอไรซันส์ เคลื่อนที่ผ่านอวกาศด้วยความเร็วสูงถึง 51,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้สามารถทำระยะทางได้เกือบ 1.6 ล้านกิโลเมตรต่อวัน และเคยสร้างความฮือฮาให้กับโลกมาแล้วเมื่อปี 2015 เมื่อโฉบเข้าใกล้ พลูโต ดาวเคราะห์แคระ แล้วส่งภาพถ่ายในระยะใกล้กลับมายังโลก
อลิซ โบว์แมน ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของโครงการ ระบุว่า ถึงอย่างนั้น การบินโฉบผ่านเข้าไปใกล้ในครั้งนี้ก็ยังเป็นการเสี่ยงอยู่ดี เพราะมีโอกาสเพียงครั้งเดียวจึงต้องทำทุกอย่างให้ถูกต้องทั้งหมด
มติชนออนไลน์