วิธีการไปพบหมอที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
การเดินทางไปพบหมอที่โรงพยาบาลของรัฐเป็นเรื่องยาก วุ่นวาย ผู้ป่วยเยอะ แต่หากรู้วิธีการพบหมอ ก็จะง่ายและสะดวกมากขึ้น
การเดินทาง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อยู่ตรง BTS ศาลาแดง สะดวกรถไม่ติด หากฉุกเฉินแท๊กซี่ จะต้องศึกษาเส้นทางเพราะรถติดช่วงเช้าและเย็นมาก
ประเภทของผู้ป่วยแบ่งออกเป็น ผู้ป่วยปกติ และผู้ป่วยฉุกเฉิน
ผู้ป่วยปกติ แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวจากแห่งอื่น ผู้ป่วยทั่วไป
ทั้งสองประเภทต้องทำบัตรผู้ป่วยใหม่ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ก่อน ติดต่อเจ้าหน้าที่หน้าประตูทางเข้า กรอกข้อมูลบัตรผู้ป่วยใหม่ วัดความดันพร้อม
ยื่นเคาน์เตอร์พยาบาล รอเรียกตามช่องหมายเลข หากมีบัตรประกันสังคม (ปกติโรงพยาบาลจะไม่รับแล้ว ยกเว้นเป็นบุคลากรภายใน) ให้ยื่นบัตรประกันสังคมคู่กัน
นั่งรอตามช่องหมายเลข 1-3 ช่องประกันสังคม 4-10 (ไม่แน่ใจ) จำหมายเลขช่องที่คุณพยาบาลบอกนะคะ เมื่อเรียกชื่อไปหน้าช่องดังกล่าว ยื่นเอกสารและถ่ายรูป เสียค่าบัตร 30 บาท จะได้รับบัตรโรงพยาบาลจุฬาฯ เจ้าหน้าที่จะบอกให้ไปพบแพทย์ตามชั้นประเภทของอาการ
ชั้น 1 อายุรกรรมทั่วไป พวกหัวใจ เบาหวาน ความดัน ปอด
ชั้น 13 หู ตา คอ จมูก ซึ่งย้ายจากชั้น 10 เดิม ต้องต่อลิฟท์ลำบากหน่อย หากไม่อยากรอลิฟท์ ให้ขึ้นลิฟท์ไปชั้น 10 แล้วเดินขึ้นบันไดไป 3 ชั้น
ชั้น 4 ตรวจเลือด ตรวจเอกซเรย์
เมื่อเดินไปถึงชั้นที่นัดหมาย ให้นำเอกสารไปยื่นที่เคาน์เตอร์พยาบาล และรอเรียกชื่อ ซึ่งตรงนี้จะนานหน่อย ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ไปหาอะไรทานก่อนได้ค่ะ กลับมาไปถามเคาน์เตอร์พยาบาลได้ว่าเรียกชื่อไปหรือยัง ระหว่างนี้อย่าลืมชั่งน้ำหนัก วัดความดันนะคะ
เมื่อเรียกชื่อ พยาบาลจะขอดูบัตรผู้ป่วย และใบวัดความดันชั่งน้ำหนัก หลังจากนั้นให้ถือแฟ้มประวัติเข้าไปด้านใน ต้องเดินเข้าไปวางเอกสารในกล่องรับเอกสาร และรอพบแพทย์หน้าห้องตรวจตามหมายเลขที่ระบุ
เจ้าหน้าที่จะเรียกชื่อและจัดคิวให้เรานั่งหน้าห้องต่อจากคนก่อนหน้า ตรงนี้ไม่นานแล้วค่ะ แป๊บเดียวคุณหมอก็จะเรียกเข้าห้องแล้วค่ะ
ข้อมูลทุกอย่างจะเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หมอจะกรอกข้อมูลในแฟ้มประวัติ ตรวจอาการ มีอะไรผิดปกติหมอจะสั่งเจาะ ดูด เอ๊กซเรย์ต่อ ลาคุณหมอ
หยิบแฟ้มประวัติกลับมาวางไว้ที่เคาน์เตอร์พยาบาล แล้วนั่งรอเรียกชื่อ ตรงนี้สำคัญมากนะคะ เราเคยลืมเดินออกไปวางแฟ้มที่ด้านนอก ต้องรอยาวเลย
เมื่อเจ้าหน้าที่เรียกชื่อ จะอธิบายเพิ่มเติมถึงการตรวจเพิ่ม หรือวันนัดหมายครั้งต่อไป หลังจากนั้นจะให้เราถือแฟ้มไปวางที่เคาน์เตอร์นัดหมายด้านหน้าต่อ
เมื่อวางแฟ้มประวัติที่เคาน์เตอร์นัดหมายด้านหน้าแล้ว ก็ออกมานั่งรอที่เก้าอี้ผู้ป่วยด้านนอกได้เลย รอเรียกชื่อก่อนกลับค่ะ
ตรงนี้เราจะได้เอกสาร เช่น ค่ารักษาพยาบาล ใบสั่งตรวจเลือด ใบสั่งเอ็กซเรย์ ตามที่คุณหมอบอก ให้เก็บไว้ก่อน
หากมีค่าใช้จ่ายค่าตรวจให้นำใบแจ้งไปยื่นที่เคาน์เตอร์การเงิน และชำระเงินได้ค่ะ ค่าตรวจ 50 บาท ค่าใบรับรองแพทย์ 50 บาท (ต้องบอกพยาบาลเคาน์เตอร์หน้าห้องคุณหมอก่อนว่าขอใบรับรองแพทย์ด้วยนะคะ)
จ่ายเงินเสร็จก็นั่งรอบัตรนัดหมายต่อ ตรงนี้ก็สักพักนะคะ ตามจำนวนผู้ป่วย
เมื่อได้บัตรนัดแล้ว ก็ไปรอรับยา หรือดำเนินการไปตรวจเพิ่มเติมตามที่คุณหมอบอก เช่น ใบสั่งตรวจเลือด ใบสั่งเอ็กซเรย์ ให้ไปที่ชั้น 4 เป็นศูนย์รวมของการตรวจเลือด ชิ้นเนื้อ เอ็กซเรย์ ขั้นตอนมาดำเนินการชั้นนี้ คือ
1 ยื่นเอกสารที่เคาน์เตอร์การเงิน เพื่อชำระเงินก่อน
2 ยื่นเอกสารตามเคาน์เตอร์ที่ต้องการตรวจ เลือด เอ็กซเรย์ แยกกันค่ะ สอบถามเจ้าหน้าที่ได้
3 รอเอกสารที่แจ้งวันรับผล ซึ่งเอกซเรย์ ผลจะลงระบบคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ใช้เวลาไม่นาน หากเป็นชิ้นเนื้อจะใช้เวลานาน ให้ดูเวลาผลออกด้วยนะคะ
อาจจะออกผลช้ากว่าที่หมอนัด หากไม่เป็นอะไรมาก ขอเปลี่ยนวันนัดหมอ ให้รอผลตรวจก่อนได้ค่ะ แต่เพื่อความปลอดภัยก็ไปตามที่หมอนัดค่ะ
กลับบ้านได้ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวันแน่นอน 7 โมง กลับ 12.00 น. แบบเร็วสุด ไม่มียา ไม่มีเอ็กซเรย์
สำหรับผู้ป่วยอายุรกรรม ใช้เวลานานกว่าแผนกอื่น ๆ เตรียมลางานทั้งวันได้เลยค่ะ
ครั้งหน้าก็ไม่ต้องสมัครผู้ป่วยใหม่แล้ว สามารถยื่นบัตรผู้ป่วยและบัตรนัดหมาย แสกนที่ตู้หน้าประตูทางเข้าได้เลย (สังเกตมีสองจุด ฝั่งซ้ายเป็นผู้ป่วยประกันสังคม ฝั่งขวาหน้าทางเข้าใหญ่เป็นผู้ป่วยทั่วไป) แล้วไปตามชั้นที่นัดหมาย เสียบบัตรนัดหมายที่เคาน์เตอร์พยาบาล แล้วค่อยกลับไปอีกทีตอนใกล้ ๆ ถึงเวลานัดหมาย จะช่วยประหยัดเวลาได้
สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน จะอยู่ชั้นล่าง ต้องมีญาติไปด้วย เพราะต้องเดินเรื่องทำบัตรให้เรียบร้อยก่อน เค้าดูอาการหากไม่มากก็รอญาติได้ค่ะ
ที่สำคัญคือ ห้ามถ่ายรูปในทุกจุดของโรงพยาบาล
ร้านอาหารมีมากมาย ชัน 1 อายุรกรรม หรือด้านล่าง แบบกล่อง โรงอาหารก็มีอยู่หลายตึก ลองเดิน ๆ ดูนะคะ
สำหรับผู้สูงอายุ ไม่มีญาตพามา สามารถติดต่อขอเวรเปรที่เคาน์เตอร์พยาบาลได้ค่ะ เค้ามีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอยู่ ไม่ต้องนั่งรถเข็นเดินทางเอง
สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมงดกินหวาน มัน เค็ม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หนึ่งมื้อหนึ่งจาน หรือออกกำลังกายโดยยืนแกว่งแขน 30 นาทีขึ้นไป
แค่นี้ก็ลดโรคได้ค่ะ
หวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุก ๆ ท่าน นะคะ ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่แข็งแรงทั้งกายและใจ
วิธีการไปพบหมอที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
การเดินทางไปพบหมอที่โรงพยาบาลของรัฐเป็นเรื่องยาก วุ่นวาย ผู้ป่วยเยอะ แต่หากรู้วิธีการพบหมอ ก็จะง่ายและสะดวกมากขึ้น
การเดินทาง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อยู่ตรง BTS ศาลาแดง สะดวกรถไม่ติด หากฉุกเฉินแท๊กซี่ จะต้องศึกษาเส้นทางเพราะรถติดช่วงเช้าและเย็นมาก
ประเภทของผู้ป่วยแบ่งออกเป็น ผู้ป่วยปกติ และผู้ป่วยฉุกเฉิน
ผู้ป่วยปกติ แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวจากแห่งอื่น ผู้ป่วยทั่วไป
ทั้งสองประเภทต้องทำบัตรผู้ป่วยใหม่ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ก่อน ติดต่อเจ้าหน้าที่หน้าประตูทางเข้า กรอกข้อมูลบัตรผู้ป่วยใหม่ วัดความดันพร้อม
ยื่นเคาน์เตอร์พยาบาล รอเรียกตามช่องหมายเลข หากมีบัตรประกันสังคม (ปกติโรงพยาบาลจะไม่รับแล้ว ยกเว้นเป็นบุคลากรภายใน) ให้ยื่นบัตรประกันสังคมคู่กัน
นั่งรอตามช่องหมายเลข 1-3 ช่องประกันสังคม 4-10 (ไม่แน่ใจ) จำหมายเลขช่องที่คุณพยาบาลบอกนะคะ เมื่อเรียกชื่อไปหน้าช่องดังกล่าว ยื่นเอกสารและถ่ายรูป เสียค่าบัตร 30 บาท จะได้รับบัตรโรงพยาบาลจุฬาฯ เจ้าหน้าที่จะบอกให้ไปพบแพทย์ตามชั้นประเภทของอาการ
ชั้น 1 อายุรกรรมทั่วไป พวกหัวใจ เบาหวาน ความดัน ปอด
ชั้น 13 หู ตา คอ จมูก ซึ่งย้ายจากชั้น 10 เดิม ต้องต่อลิฟท์ลำบากหน่อย หากไม่อยากรอลิฟท์ ให้ขึ้นลิฟท์ไปชั้น 10 แล้วเดินขึ้นบันไดไป 3 ชั้น
ชั้น 4 ตรวจเลือด ตรวจเอกซเรย์
เมื่อเดินไปถึงชั้นที่นัดหมาย ให้นำเอกสารไปยื่นที่เคาน์เตอร์พยาบาล และรอเรียกชื่อ ซึ่งตรงนี้จะนานหน่อย ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ไปหาอะไรทานก่อนได้ค่ะ กลับมาไปถามเคาน์เตอร์พยาบาลได้ว่าเรียกชื่อไปหรือยัง ระหว่างนี้อย่าลืมชั่งน้ำหนัก วัดความดันนะคะ
เมื่อเรียกชื่อ พยาบาลจะขอดูบัตรผู้ป่วย และใบวัดความดันชั่งน้ำหนัก หลังจากนั้นให้ถือแฟ้มประวัติเข้าไปด้านใน ต้องเดินเข้าไปวางเอกสารในกล่องรับเอกสาร และรอพบแพทย์หน้าห้องตรวจตามหมายเลขที่ระบุ
เจ้าหน้าที่จะเรียกชื่อและจัดคิวให้เรานั่งหน้าห้องต่อจากคนก่อนหน้า ตรงนี้ไม่นานแล้วค่ะ แป๊บเดียวคุณหมอก็จะเรียกเข้าห้องแล้วค่ะ
ข้อมูลทุกอย่างจะเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หมอจะกรอกข้อมูลในแฟ้มประวัติ ตรวจอาการ มีอะไรผิดปกติหมอจะสั่งเจาะ ดูด เอ๊กซเรย์ต่อ ลาคุณหมอ
หยิบแฟ้มประวัติกลับมาวางไว้ที่เคาน์เตอร์พยาบาล แล้วนั่งรอเรียกชื่อ ตรงนี้สำคัญมากนะคะ เราเคยลืมเดินออกไปวางแฟ้มที่ด้านนอก ต้องรอยาวเลย
เมื่อเจ้าหน้าที่เรียกชื่อ จะอธิบายเพิ่มเติมถึงการตรวจเพิ่ม หรือวันนัดหมายครั้งต่อไป หลังจากนั้นจะให้เราถือแฟ้มไปวางที่เคาน์เตอร์นัดหมายด้านหน้าต่อ
เมื่อวางแฟ้มประวัติที่เคาน์เตอร์นัดหมายด้านหน้าแล้ว ก็ออกมานั่งรอที่เก้าอี้ผู้ป่วยด้านนอกได้เลย รอเรียกชื่อก่อนกลับค่ะ
ตรงนี้เราจะได้เอกสาร เช่น ค่ารักษาพยาบาล ใบสั่งตรวจเลือด ใบสั่งเอ็กซเรย์ ตามที่คุณหมอบอก ให้เก็บไว้ก่อน
หากมีค่าใช้จ่ายค่าตรวจให้นำใบแจ้งไปยื่นที่เคาน์เตอร์การเงิน และชำระเงินได้ค่ะ ค่าตรวจ 50 บาท ค่าใบรับรองแพทย์ 50 บาท (ต้องบอกพยาบาลเคาน์เตอร์หน้าห้องคุณหมอก่อนว่าขอใบรับรองแพทย์ด้วยนะคะ)
จ่ายเงินเสร็จก็นั่งรอบัตรนัดหมายต่อ ตรงนี้ก็สักพักนะคะ ตามจำนวนผู้ป่วย
เมื่อได้บัตรนัดแล้ว ก็ไปรอรับยา หรือดำเนินการไปตรวจเพิ่มเติมตามที่คุณหมอบอก เช่น ใบสั่งตรวจเลือด ใบสั่งเอ็กซเรย์ ให้ไปที่ชั้น 4 เป็นศูนย์รวมของการตรวจเลือด ชิ้นเนื้อ เอ็กซเรย์ ขั้นตอนมาดำเนินการชั้นนี้ คือ
1 ยื่นเอกสารที่เคาน์เตอร์การเงิน เพื่อชำระเงินก่อน
2 ยื่นเอกสารตามเคาน์เตอร์ที่ต้องการตรวจ เลือด เอ็กซเรย์ แยกกันค่ะ สอบถามเจ้าหน้าที่ได้
3 รอเอกสารที่แจ้งวันรับผล ซึ่งเอกซเรย์ ผลจะลงระบบคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ใช้เวลาไม่นาน หากเป็นชิ้นเนื้อจะใช้เวลานาน ให้ดูเวลาผลออกด้วยนะคะ
อาจจะออกผลช้ากว่าที่หมอนัด หากไม่เป็นอะไรมาก ขอเปลี่ยนวันนัดหมอ ให้รอผลตรวจก่อนได้ค่ะ แต่เพื่อความปลอดภัยก็ไปตามที่หมอนัดค่ะ
กลับบ้านได้ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวันแน่นอน 7 โมง กลับ 12.00 น. แบบเร็วสุด ไม่มียา ไม่มีเอ็กซเรย์
สำหรับผู้ป่วยอายุรกรรม ใช้เวลานานกว่าแผนกอื่น ๆ เตรียมลางานทั้งวันได้เลยค่ะ
ครั้งหน้าก็ไม่ต้องสมัครผู้ป่วยใหม่แล้ว สามารถยื่นบัตรผู้ป่วยและบัตรนัดหมาย แสกนที่ตู้หน้าประตูทางเข้าได้เลย (สังเกตมีสองจุด ฝั่งซ้ายเป็นผู้ป่วยประกันสังคม ฝั่งขวาหน้าทางเข้าใหญ่เป็นผู้ป่วยทั่วไป) แล้วไปตามชั้นที่นัดหมาย เสียบบัตรนัดหมายที่เคาน์เตอร์พยาบาล แล้วค่อยกลับไปอีกทีตอนใกล้ ๆ ถึงเวลานัดหมาย จะช่วยประหยัดเวลาได้
สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน จะอยู่ชั้นล่าง ต้องมีญาติไปด้วย เพราะต้องเดินเรื่องทำบัตรให้เรียบร้อยก่อน เค้าดูอาการหากไม่มากก็รอญาติได้ค่ะ
ที่สำคัญคือ ห้ามถ่ายรูปในทุกจุดของโรงพยาบาล
ร้านอาหารมีมากมาย ชัน 1 อายุรกรรม หรือด้านล่าง แบบกล่อง โรงอาหารก็มีอยู่หลายตึก ลองเดิน ๆ ดูนะคะ
สำหรับผู้สูงอายุ ไม่มีญาตพามา สามารถติดต่อขอเวรเปรที่เคาน์เตอร์พยาบาลได้ค่ะ เค้ามีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอยู่ ไม่ต้องนั่งรถเข็นเดินทางเอง
สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมงดกินหวาน มัน เค็ม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หนึ่งมื้อหนึ่งจาน หรือออกกำลังกายโดยยืนแกว่งแขน 30 นาทีขึ้นไป
แค่นี้ก็ลดโรคได้ค่ะ
หวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุก ๆ ท่าน นะคะ ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่แข็งแรงทั้งกายและใจ