จากข้อมูลเดิม ที่มา
https://bit.ly/2AiA77G
ย้อนไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 ณ แหลมสมิหลา สงขลา
ม.จ.ทองคำเปลว ทองใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
เป็นประธานในพิธี 1 เมษายน 2509 -
1 เมษายน 2561ครบรอบ 52 ปีที่เงือกทองยังคงสวยสง่าคู่เมืองสงขลา
สัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของเมือง 2 ทะเล
นายชาญ กาญจนาคพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
นักปกครองหนุ่มวัย 40 ปี ผู้มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล
นายชาญ กาญจนาคพันธุ์ ปลัดจังหวัดสงขลา
ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสงขลาด้วย
เป็นผู้ริเริ่มในการสร้างสัญญัลักษณ์ทางวัตถุของเมืองสงขลา
ให้ผู้คนได้รู้จัก นอกเหนือสัญญลักษณ์ทางธรรมชาติ"เกาะหนู เกาะแมว
โดยในวัยเด็กปลัดชาญ มักได้ยินคุณพ่อ
ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)
นักคิด นักค้นคว้า และนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของ ยุครัตนโกสินทร์
เล่านิยายปรัมปราเกี่ยวกับนางเงือก ไว้ว่า
ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผม บนชายหาดด้วยหวีทองคำ
วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ
รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้
ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้
และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ
แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย
ด้วยเรื่องที่พ่อเล่าให้ฟังตั้งแต่เด็ก
จึงเป็นที่มาที่จะสร้างรูปปั้นนางเงือก ในท่าที่กำลังหวีผม
เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองสงขลา
ใช้งบประมาณของเทศบาล 60,000 บาทในการสร้าง
โดยให้ศิลปินนักปั้นชั้นครูเมืองหนึ่งของเมืองไทยในสมัยนั้น
อาจารย์
จิตร บัวบุศย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง
ผู้ที่มีผลงาน การปั้นพานรัฐธรรมนูญ บนอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ.2483
เป็นผู้ออกแบบ หล่อและปั้นรูปนางเงือก
ด้วยสถานที่มีธรรมชาติสวยงาม บริเวณแหลมสมิหลา
รูปปั้นนางเงือกนั่งแปรงผมยาวสลวยอยู่บนโขดหินธรรมชาติ
ได้อย่างเหมาะเจาะพอดีกับทุกสิ่งทุกอย่างในบริบทนั้น
บนหาดสวย ริมทะเลงาม มีเกาะหนู เกาะแมว เป็นฉากหลัง
เพราะฉะนั้นผู้ที่มาเยือนเมืองสงขลา
ต้องไม่พลาดที่จะมาถ่ายรูปคู่กับนางเงือกทองสงขลา แห่งนี้
นางเงือกสงขลา คือ ความทรงจำร่วมยุค
เมื่อมีข้อมูลใหม่จึงขอ
ตราเอาไว้ก่อน
เผื่อจะมีการค้นหาข้อมูลใหม่เพิ่มเติมในภายหลัง
ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงประวัติศาสตร์ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ผมจำได้ว่าเคยอ่านหนังสือเจอมมาหลายครั้งแล้วว่า
ประติมากรรมรูปนางเงือกสงขลานี้
เดิมส่งเข้าประกวดงานศิลปที่กรุงเทพฯ
แล้ววางกองไว้รอหาสถานทีลงไม่ได้สักที
(เธอเป็นแบบหนึ่งที่ฐานพานรัฐธรรมนูญของไทย)
จนกระทั่งมีคนไปติดต่อขอซื้อมาลงที่ชายหาดสงขลา
แต่มีข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง ก่อนจะเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์
จากการสอบถามเพื่อนรุ่นพี่คนสงขลาและท่านสอบถามเพื่อนแก
สมัยท่านยังเป็นวัยรุ่น(อดีต) สงขลา บอกเดิมมีอยู่ 1 รูป
แต่เล็กกว่ามาก และไม่ค่อยสวย น่าจะถูกลักไปชั่งกิโลขาย/จมน้ำทะเลไปแล้ว
ส่วนรูปถ่ายคงหาค่อนข้างยากแล้วเพราะร่วมห้าสิบปีขึ้นไปแล้ว
กอปรกับหาดใหญ่สงขลา เดิมน้ำท่วม/น้ำหลากบ่อยครั้งมาก
แถวที่วางรูปนางเงือกนั้นเรียกกันว่า
กองหินขี้หนู
เป็นพื้นที่กองหินโสโครกจำนวนมาก เห็นได้ตอนน้ำลด
เวลาน้ำลงมีคนไปตกปลากันได้ และมักจะมีชาวประมงไปหาหอยหาปู
เพื่อนรุ่นพี่ท่านนี้ เป็นคนสงขลาดั้งเดิม
ปู่ของท่านจัดว่ามีฐานะทางการเงินดีมากในอดีต
และเคยมีฮวงจุ๊ยอยู่ติดริมถนนสายเขาตังกวน
ที่เป็นแหล่งดูลิงในปัจจุบัน ท่านไปไหว้อยู่หลายปี
ก่อนที่ทางราชการมาขอร้องให้ท่านย้ายไปที่อื่น
เพราะในสมัยก่อน การสร้างฮวงจุ๊ยแล้วแต่ทำเล
อย่างที่หาดใหญ่ ของ เจียกีซี ขุนนิพัทธ์จีนนคร
ก็อยู่ข้างทางไปสงขลา เห็นได้ชัดเลยน้ำน้อยไปไม่ไกลนัก
ตระกูลงานทวี ก็แถวภูเขาทางพังงา
หรือที่สตูลก็มีหลายจุดมาก
บางรายฝังริมถนน/ริมทะเล
เช่น มีที่หนึ่งที่ปัจจุบันเป็นโรงเรียนสทิงพระวิทยา
ก็เคยมีฮวงจุ๊ยฝังอยู่ก่อนที่ทางโรงเรียนจะขอให้ย้ายออกไป
อีกจุดภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ลูกหลานไม่ยอม เพราะฝังก่อนหน้าจะมีวิทยาลัยครู
และทางการเคยรับปากว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยว แต่ขอให้ยกพื้นที่ให้
แต่ตอนนี้ผู้บริหารอ้างว่า ใครรับปากก็ไปตามเรื่องกับคนนั้น
แต่ก็ไม่กล้าทำอะไร เพราะครอบครัวนี้เป็นตระกูลเก่าแก่และยังมีฐานะอยู่
รูปนางเงือกทองมักจะทำจากทองสัมฤทธิ์
ข้างในกลวงแบบพระพุทธรูปทั่วไปที่หน้าตักใหญ่
ถ้าองค์ขนาดเล็กก็มักจะมีปูนซีเมนต์อุดข้างใน
เพื่อให้มีน้ำหนักมาขึ้นและหนักกว่าเดิม
ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า ถูกชาวเรือยกขึ้นเรือแล้วพาหนี
ไปขายที่สถานที่ไหนสักแห่งในประเทศไทย/มาเลย์
และมีการยืนยันจากลูกชายของคนปั้นคนแรก
คือ
นายธำรง รุจนพันธ์
สมัยเด็ก ๆ ผมเคยไปเดินเล่น แต่เจ็บเท้ามาก (เด็กเมือง เดินเท้าเปล่าไม่เป็น)
ที่นางเงือกรูปนี้ แวววาวก็แบบบานประตูเหล็กข้างขวาคนจับบ่อยก็มันแวว
หรือราวกั้นรอรถเมล์ กทม. คนนั่งบ่อย ๆ ก็มันแวว
แบบก้นคนเหมือนกระดาษทรายบาง ๆ ค่อย ๆ ขัด ค่อย ๆ ถู
ข้อมูลใหม่ แสดงว่า นางเงือกที่ถูกระเบิดไปก่อนแรกวาซืน (เมื่อวานซืน) ไปตัวที่สอง
คำถาม
ฉงนฉงายว่าเงือกจริงมีไหม ถ้ามีจะเหมือนปลา มากกว่าคนกระมัง
หรือ คงเป็นแค่ mass illusion..
คำตอบ
ปลาดูหยง (พะยูน) เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด
เวลาขึ้นมานั่งเล่นบนหินโสโครก จะดูเหมือนผู้หญิง/นางเงือก นั่งอยู่
ชาวเรือบางแห่งมีความเชื่อกันว่า น้ำตาปลานี้ ทำให้สาวหลงรัก
จึงมักจะมีตำนานว่า เวลาจับปลานี้ได้ ต้องจับมาเฆี่ยนให้น้ำตาไหล
แล้วเอาไปทำเสน่ห์ได้ เหมือนกับน้ำมันพราย
แถวภาคใต้บางชุมชน เวลาเด็กเล็ก ๆ ร้องไห้
ผู้ใหญ่ชอบพูดว่า เห็นน้ำตาดูหยง กูยอมใจ (ใจอ่อนเลย)
คนเลยจินตนาการไปถึงเรื่องราว นางเงือก ในนิทาน/ตำนานได้
จินตนาการ สำคัญกว่า ความรู้
เพราะถ้ามองจากที่ไกล ๆ จะเห็นปลาดุหยุง เหมือนคนนั่งบนหิน
เพราะเธอเป็นปลาเลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด
ตอนเธอขึ้นมา เธอคงแปลงร่างเป็นสาวสวย
แบบพญานาคในนิยายของไทย จระเข้ชาละวันในเรื่องไกรทอง
หรือ นางพญางูขาวในนวนิยายของจีน
เวลาจับตัวได้ คนละเรื่องเดียวกัน
ประวัติ
นายธำรง รุจนพันธ์
นายธำรง รุจนพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๔
ที่ตำบลศรีเกิด อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
เป็นบุตรของนายเจ็กซิ และนางบัวคำ ซิหลิม
ได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบุญวาทย์ จังหวัดลำปาง
เข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ได้ ๒ ปี
แล้วเรียนภาษาจีนที่โรงเรียนยุหมิน เป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง
แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนจีนาน แห่งเมืองเซียงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาแล้ว ได้เข้าเรียนต่อใน Sinwha Art Academy
ที่เมืองเดียวกันจนสำเร็จหลักสูตร ๔ ปี แต่เรียนเพียง ๓ ปี ก็สำเร็จ
และได้รับประกาศนียบัตรวิชาวาดเขียน สาขาศิลปแบบยุโรป และเดินทางกลับประเทศไทย
ได้สมรสกับนางสาวสุจิต อมรศักดิ์ ที่จังหวัดนราธิวาส มีบุตร-ธิดารวม ๓ คน
ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ
๑.๑ ด้านการเขียนภาพ ได้แก่พระบรมฉายาลักษณ์ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระราชวงศ์
ซึ่งเขียนด้วยสีน้ำมัน และทูลเกล้าฯถวาย รวม ๘ ครั้ง
๑.๒ ด้านการถ่ายทำภาพยนต์ เคยเป็นผู้ชำนาญการของ
การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นเวลา ๗ ปี
และได้ถ่ายทำภาพยนต์เสียงในฟิล์ม
รายการ
สองข้างทางรถไฟ ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย
และภาพยนต์เรื่อง ทะโมนไพร บุหงาตันหยง อ่าวเพชรฆาต
และการถ่ายทำสารคดี KGMB TV แห่งเมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย
และได้รับการยกย่องโดย Auricon Professional comeras Eguipment
๑.๓ ด้านการถ่ายภาพ เป็นช่างถ่ายภาพ ทั้งขาว-ดำ และภาพสี
ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย และได้เปิดร้านถ่ายภาพ ยึดเป็นอาชีพมาตลอด
๑.๔ ด้านการปั้น ได้แก่ การปั้นรูป
เงือกทอง
ที่แหลมสมิหลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
และ นางธรณี ที่วัชระอุทยาน อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
นายธำรง รุจนพันธ์ ได้เขียนภาพสีสะท้อนถึงวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้
ในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น ผลไม้พื้นเมือง
วิถีดำเนินชีวิตของชาวใต้ และภาพประเพณีพื้นเมือง เป็นต้น
เกียรติคุณที่ได้รับ
ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ในปี พ.ศ.๒๕๓๑
จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ส่วนที่ชอบแชร์กันตอนนี้ คือ
คาดว่ามือระเบิดหรือผู้บงการในการวางระเบิดครั้งนี้คือ
คู่ปรับเก่าตั้งแต่ชาติที่แล้ว (ในเรื่องพระอภัยมณี ของ สุนทรภู่)
เธอมาเข้าฝัน/เข้าทรง ตอนที่จะหาสถานที่วางรูปเธอว่า
อย่าเอาฉันอยู่บนฝั่ง มันร้อน ฮิ
ให้เอาฉันอยู่ในน้ำ มันเย็น ฮิ
ระยอง ฮิ สั้น จันทรบุรี ฮิ ยาว
เงือกทองสงขลาที่ถูกระเบิดคือรูปที่สอง
ม.จ.ทองคำเปลว ทองใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
จากข้อมูลเดิม ที่มา https://bit.ly/2AiA77G
ย้อนไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 ณ แหลมสมิหลา สงขลา
ม.จ.ทองคำเปลว ทองใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
เป็นประธานในพิธี 1 เมษายน 2509 -
1 เมษายน 2561ครบรอบ 52 ปีที่เงือกทองยังคงสวยสง่าคู่เมืองสงขลา
สัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของเมือง 2 ทะเล
นายชาญ กาญจนาคพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
นักปกครองหนุ่มวัย 40 ปี ผู้มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล
นายชาญ กาญจนาคพันธุ์ ปลัดจังหวัดสงขลา
ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสงขลาด้วย
เป็นผู้ริเริ่มในการสร้างสัญญัลักษณ์ทางวัตถุของเมืองสงขลา
ให้ผู้คนได้รู้จัก นอกเหนือสัญญลักษณ์ทางธรรมชาติ"เกาะหนู เกาะแมว
โดยในวัยเด็กปลัดชาญ มักได้ยินคุณพ่อ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)
นักคิด นักค้นคว้า และนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของ ยุครัตนโกสินทร์
เล่านิยายปรัมปราเกี่ยวกับนางเงือก ไว้ว่า
ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผม บนชายหาดด้วยหวีทองคำ
วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ
รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้
ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้
และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ
แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย
ด้วยเรื่องที่พ่อเล่าให้ฟังตั้งแต่เด็ก
จึงเป็นที่มาที่จะสร้างรูปปั้นนางเงือก ในท่าที่กำลังหวีผม
เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองสงขลา
ใช้งบประมาณของเทศบาล 60,000 บาทในการสร้าง
โดยให้ศิลปินนักปั้นชั้นครูเมืองหนึ่งของเมืองไทยในสมัยนั้น
อาจารย์ จิตร บัวบุศย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง
ผู้ที่มีผลงาน การปั้นพานรัฐธรรมนูญ บนอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ.2483
เป็นผู้ออกแบบ หล่อและปั้นรูปนางเงือก
ด้วยสถานที่มีธรรมชาติสวยงาม บริเวณแหลมสมิหลา
รูปปั้นนางเงือกนั่งแปรงผมยาวสลวยอยู่บนโขดหินธรรมชาติ
ได้อย่างเหมาะเจาะพอดีกับทุกสิ่งทุกอย่างในบริบทนั้น
บนหาดสวย ริมทะเลงาม มีเกาะหนู เกาะแมว เป็นฉากหลัง
เพราะฉะนั้นผู้ที่มาเยือนเมืองสงขลา
ต้องไม่พลาดที่จะมาถ่ายรูปคู่กับนางเงือกทองสงขลา แห่งนี้
นางเงือกสงขลา คือ ความทรงจำร่วมยุค
เมื่อมีข้อมูลใหม่จึงขอ ตราเอาไว้ก่อน
เผื่อจะมีการค้นหาข้อมูลใหม่เพิ่มเติมในภายหลัง
ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงประวัติศาสตร์ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ผมจำได้ว่าเคยอ่านหนังสือเจอมมาหลายครั้งแล้วว่า
ประติมากรรมรูปนางเงือกสงขลานี้
เดิมส่งเข้าประกวดงานศิลปที่กรุงเทพฯ
แล้ววางกองไว้รอหาสถานทีลงไม่ได้สักที
(เธอเป็นแบบหนึ่งที่ฐานพานรัฐธรรมนูญของไทย)
จนกระทั่งมีคนไปติดต่อขอซื้อมาลงที่ชายหาดสงขลา
แต่มีข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง ก่อนจะเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์
จากการสอบถามเพื่อนรุ่นพี่คนสงขลาและท่านสอบถามเพื่อนแก
สมัยท่านยังเป็นวัยรุ่น(อดีต) สงขลา บอกเดิมมีอยู่ 1 รูป
แต่เล็กกว่ามาก และไม่ค่อยสวย น่าจะถูกลักไปชั่งกิโลขาย/จมน้ำทะเลไปแล้ว
ส่วนรูปถ่ายคงหาค่อนข้างยากแล้วเพราะร่วมห้าสิบปีขึ้นไปแล้ว
กอปรกับหาดใหญ่สงขลา เดิมน้ำท่วม/น้ำหลากบ่อยครั้งมาก
แถวที่วางรูปนางเงือกนั้นเรียกกันว่า กองหินขี้หนู
เป็นพื้นที่กองหินโสโครกจำนวนมาก เห็นได้ตอนน้ำลด
เวลาน้ำลงมีคนไปตกปลากันได้ และมักจะมีชาวประมงไปหาหอยหาปู
เพื่อนรุ่นพี่ท่านนี้ เป็นคนสงขลาดั้งเดิม
ปู่ของท่านจัดว่ามีฐานะทางการเงินดีมากในอดีต
และเคยมีฮวงจุ๊ยอยู่ติดริมถนนสายเขาตังกวน
ที่เป็นแหล่งดูลิงในปัจจุบัน ท่านไปไหว้อยู่หลายปี
ก่อนที่ทางราชการมาขอร้องให้ท่านย้ายไปที่อื่น
เพราะในสมัยก่อน การสร้างฮวงจุ๊ยแล้วแต่ทำเล
อย่างที่หาดใหญ่ ของ เจียกีซี ขุนนิพัทธ์จีนนคร
ก็อยู่ข้างทางไปสงขลา เห็นได้ชัดเลยน้ำน้อยไปไม่ไกลนัก
ตระกูลงานทวี ก็แถวภูเขาทางพังงา
หรือที่สตูลก็มีหลายจุดมาก
บางรายฝังริมถนน/ริมทะเล
เช่น มีที่หนึ่งที่ปัจจุบันเป็นโรงเรียนสทิงพระวิทยา
ก็เคยมีฮวงจุ๊ยฝังอยู่ก่อนที่ทางโรงเรียนจะขอให้ย้ายออกไป
อีกจุดภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ลูกหลานไม่ยอม เพราะฝังก่อนหน้าจะมีวิทยาลัยครู
และทางการเคยรับปากว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยว แต่ขอให้ยกพื้นที่ให้
แต่ตอนนี้ผู้บริหารอ้างว่า ใครรับปากก็ไปตามเรื่องกับคนนั้น
แต่ก็ไม่กล้าทำอะไร เพราะครอบครัวนี้เป็นตระกูลเก่าแก่และยังมีฐานะอยู่
รูปนางเงือกทองมักจะทำจากทองสัมฤทธิ์
ข้างในกลวงแบบพระพุทธรูปทั่วไปที่หน้าตักใหญ่
ถ้าองค์ขนาดเล็กก็มักจะมีปูนซีเมนต์อุดข้างใน
เพื่อให้มีน้ำหนักมาขึ้นและหนักกว่าเดิม
ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า ถูกชาวเรือยกขึ้นเรือแล้วพาหนี
ไปขายที่สถานที่ไหนสักแห่งในประเทศไทย/มาเลย์
และมีการยืนยันจากลูกชายของคนปั้นคนแรก
คือ นายธำรง รุจนพันธ์
สมัยเด็ก ๆ ผมเคยไปเดินเล่น แต่เจ็บเท้ามาก (เด็กเมือง เดินเท้าเปล่าไม่เป็น)
ที่นางเงือกรูปนี้ แวววาวก็แบบบานประตูเหล็กข้างขวาคนจับบ่อยก็มันแวว
หรือราวกั้นรอรถเมล์ กทม. คนนั่งบ่อย ๆ ก็มันแวว
แบบก้นคนเหมือนกระดาษทรายบาง ๆ ค่อย ๆ ขัด ค่อย ๆ ถู
ข้อมูลใหม่ แสดงว่า นางเงือกที่ถูกระเบิดไปก่อนแรกวาซืน (เมื่อวานซืน) ไปตัวที่สอง
คำถาม
ฉงนฉงายว่าเงือกจริงมีไหม ถ้ามีจะเหมือนปลา มากกว่าคนกระมัง
หรือ คงเป็นแค่ mass illusion..
คำตอบ
ปลาดูหยง (พะยูน) เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด
เวลาขึ้นมานั่งเล่นบนหินโสโครก จะดูเหมือนผู้หญิง/นางเงือก นั่งอยู่
ชาวเรือบางแห่งมีความเชื่อกันว่า น้ำตาปลานี้ ทำให้สาวหลงรัก
จึงมักจะมีตำนานว่า เวลาจับปลานี้ได้ ต้องจับมาเฆี่ยนให้น้ำตาไหล
แล้วเอาไปทำเสน่ห์ได้ เหมือนกับน้ำมันพราย
แถวภาคใต้บางชุมชน เวลาเด็กเล็ก ๆ ร้องไห้
ผู้ใหญ่ชอบพูดว่า เห็นน้ำตาดูหยง กูยอมใจ (ใจอ่อนเลย)
คนเลยจินตนาการไปถึงเรื่องราว นางเงือก ในนิทาน/ตำนานได้
จินตนาการ สำคัญกว่า ความรู้
เพราะถ้ามองจากที่ไกล ๆ จะเห็นปลาดุหยุง เหมือนคนนั่งบนหิน
เพราะเธอเป็นปลาเลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด
ตอนเธอขึ้นมา เธอคงแปลงร่างเป็นสาวสวย
แบบพญานาคในนิยายของไทย จระเข้ชาละวันในเรื่องไกรทอง
หรือ นางพญางูขาวในนวนิยายของจีน
เวลาจับตัวได้ คนละเรื่องเดียวกัน
ประวัติ นายธำรง รุจนพันธ์
นายธำรง รุจนพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๔
ที่ตำบลศรีเกิด อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
เป็นบุตรของนายเจ็กซิ และนางบัวคำ ซิหลิม
ได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบุญวาทย์ จังหวัดลำปาง
เข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ได้ ๒ ปี
แล้วเรียนภาษาจีนที่โรงเรียนยุหมิน เป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง
แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนจีนาน แห่งเมืองเซียงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาแล้ว ได้เข้าเรียนต่อใน Sinwha Art Academy
ที่เมืองเดียวกันจนสำเร็จหลักสูตร ๔ ปี แต่เรียนเพียง ๓ ปี ก็สำเร็จ
และได้รับประกาศนียบัตรวิชาวาดเขียน สาขาศิลปแบบยุโรป และเดินทางกลับประเทศไทย
ได้สมรสกับนางสาวสุจิต อมรศักดิ์ ที่จังหวัดนราธิวาส มีบุตร-ธิดารวม ๓ คน
ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ
๑.๑ ด้านการเขียนภาพ ได้แก่พระบรมฉายาลักษณ์ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระราชวงศ์
ซึ่งเขียนด้วยสีน้ำมัน และทูลเกล้าฯถวาย รวม ๘ ครั้ง
๑.๒ ด้านการถ่ายทำภาพยนต์ เคยเป็นผู้ชำนาญการของ
การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นเวลา ๗ ปี
และได้ถ่ายทำภาพยนต์เสียงในฟิล์ม
รายการสองข้างทางรถไฟ ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย
และภาพยนต์เรื่อง ทะโมนไพร บุหงาตันหยง อ่าวเพชรฆาต
และการถ่ายทำสารคดี KGMB TV แห่งเมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย
และได้รับการยกย่องโดย Auricon Professional comeras Eguipment
๑.๓ ด้านการถ่ายภาพ เป็นช่างถ่ายภาพ ทั้งขาว-ดำ และภาพสี
ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย และได้เปิดร้านถ่ายภาพ ยึดเป็นอาชีพมาตลอด
๑.๔ ด้านการปั้น ได้แก่ การปั้นรูป เงือกทอง
ที่แหลมสมิหลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
และ นางธรณี ที่วัชระอุทยาน อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
นายธำรง รุจนพันธ์ ได้เขียนภาพสีสะท้อนถึงวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้
ในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น ผลไม้พื้นเมือง
วิถีดำเนินชีวิตของชาวใต้ และภาพประเพณีพื้นเมือง เป็นต้น
เกียรติคุณที่ได้รับ
ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ในปี พ.ศ.๒๕๓๑
จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
https://bit.ly/2AmUqRj
ที่มา https://bit.ly/2fS9kGE
ส่วนที่ชอบแชร์กันตอนนี้ คือ
คาดว่ามือระเบิดหรือผู้บงการในการวางระเบิดครั้งนี้คือ
คู่ปรับเก่าตั้งแต่ชาติที่แล้ว (ในเรื่องพระอภัยมณี ของ สุนทรภู่)
เธอมาเข้าฝัน/เข้าทรง ตอนที่จะหาสถานที่วางรูปเธอว่า
อย่าเอาฉันอยู่บนฝั่ง มันร้อน ฮิ
ให้เอาฉันอยู่ในน้ำ มันเย็น ฮิ
ระยอง ฮิ สั้น จันทรบุรี ฮิ ยาว