กีฬาวอลเลย์บอล เป็นอีกหนึ่งกีฬาที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานและเป็นที่นิยมอย่างมากในเวลานี้ เราขอนำเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับ ประวัติวอลเลย์บอล กันซะหน่อย ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง (เช่น รู้หรือไม่บอลรู้แรกทำจากอะไร ?, ทำไมต้องให้เดาะแค่ 3 ครั้ง ?)
และที่สำคัญมันเข้ามาสู่ ประเทศไทย บ้านเราได้อย่างไร เพราะ วอลเลย์บอลหญิงไทย ในเวลานี้ก็ถือว่าเป็นเบอร์ต้น ๆ ของทั้งเอเชียและโลกเลยด้วย
ถ้าเพื่อน ๆ อ่านแล้วชอบใจ หรืออยากแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักที่มาที่ไปของ ประวัติวอลเลย์บอล ก็ไม่ว่ากันน้า ว่าแล้วก็ไปลุยกันเลยดีกว่า…
1895 – วิลเลียม จี. มอร์แกน บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล
นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men’s Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาว ที่สามารถเล่นได้ทั้งกลางแจ้งและในร่ม เพื่อออกกำลังกายคลายหนาวและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก
ซึ่งเขาได้เกิดไอเดียขึ้น จากการได้เห็นกีฬาหลาย ๆ ชนิด ซึ่งมาสะดุดอยู่ที่ กีฬาแบดมินตัน จนได้นำเน็ตของแบดมินตันมาปรับและยกขึ้นสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว คั่นกลางและแบ่งสนามออกเป็นสองฝั่ง พร้อมกับพยายามหาลูกบอลมาตีข้ามเน็ตไปมา
1895 – ที่สุดของความฟรีสไตล์ ไม่จำกัดคน/ครั้งในการเดาะบอล
ในส่วนของผู้เล่นนั้นไม่ได้มีการกำหนดอย่างตายตัว เพียงแค่มีการแบ่งเป็นสองฝ่ายเท่า ๆ กัน และสามารถเล่นลูกบอลได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ก่อนจะส่งบอลข้ามไปยังฝั่งของคู่ต่อสู้ ส่วนการเสิร์ฟบอลจากหลังเส้นสนาม จะแบ่งให้แต่ละทีมผลัดกันเสิร์ฟทีมละ 3 ครั้ง โดยไม่จำกัดว่าใครจะเป็นผู้เสิร์ฟ
1895 – อุปกรณ์การเล่นยืมบาสมานะ รู้ยัง?
วิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ได้เลือกนำยางในและยางนอกของลูกบาสเก็ตบอล มาทำเป็นลูกวอลเลย์บอล แต่ทว่ายางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงลองเปลี่ยนเป็นยางนอกของลูกบาสดูบ้าง แต่ยางนอกของลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก
1896 – เมื่อก่อนไม่ได้ชื่อวอลเลย์บอลนะชื่อ “มินตันเนต”
นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) มีโอกาสได้พบปะกับทางด้าน เจมส์ เนสมิธ (James Naismith) ผู้ที่คิดค้นกีฬาบาสเก็ตบอลขึ้นมา และถูกเชิญชวนให้มานำเสนอกีฬาที่เขาคิดค้นขึ้นในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) โดยที่ประชุมได้ให้ความสนใจเป็นอย่างดี
ซึ่ง นายวิลเลียม จี. มอร์แกน ได้ตั้งชื่อให้กับกีฬานี้ว่า มินตันเนต (Mintonette) ซึ่งเป็นการดัดแปลงคำมาจากกีฬาที่เขาได้ไอเดียมา ก็คือ แบดมินตัน (Badminton) นั่นเอง
แต่สุดท้ายแล้ว เขาก็ได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในเรื่องของการตั้งชื่อจาก มินตันเนต (Mintonette) ให้เปลี่ยนเป็นชื่อ วอลเลย์บอล (Volleyball) แทน
เนื่องจากว่าลักษณะในการตีลูกบอลที่กำลังลอยอยู่ในอากาศให้ข้ามเน็ตเรียกว่าการ วอลเลย์ เพียงแค่ไม่มีวอลเลย์บอลนั้นไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ ใช้มือเล่นแทนได้เลย
1900 – ลูกวอลเลย์ดีไซน์ใหม่โดยสปอลดิงเจ้าพ่อลูกหนังแห่งตะวันตก
วิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ทราบว่าทางด้าน เจมส์ เนสมิธ (James Naismith) ได้ทำการปรึกษากับ อัลเบิร์ต กู๊ดวิล สปอลดิ้ง (Albert Goodwill Spalding) เจ้าของบริษัท A.G Spalding and Brothers หรือ Spalding จนทำให้ได้ลูกบาสเก็ตบอลลูกแรกของโลกขึ้นมา
เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปหากับ อัลเบิร์ต กู๊ดวิล สปาลดิ้ง (Albert Goodwill Spalding) เพื่อที่จะปรึกษาเรื่องของลูกบอลที่จะมาใช้ในกีฬาวอลเลย์บอลบ้าง ซึ่งก็ต้องบอกว่าเขามาถูกทางเลยทีเดียว
หลังจากได้พูดคุยกัน สปาลดิ้ง (Spalding) ก็ได้ตกลงที่จะทำการผลิตลูกวอลเลย์บอลแบบใหม่ขึ้นให้ โดยตัวลูกบอลถูกทำให้มีถึงสามชั้นด้วยกัน ด้านในสุดทำจากยาง ที่เป็นยางชนิดเดียวกันกับยางรถจักรยาน ส่วนชั้นที่สองนั้นเป็นผ้า และชั้นสุดท้ายคือส่วนที่ห่อหุ้มทั้งลูกทำจากหนัง ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์
1917 – เริ่มเล่นแบบซีเรียส ชนะ 2/3 เซ็ตๆละ 15 แต้ม
เริ่มแรกของการเล่นวอลเลย์บอล กำหนดแต้มต่อหนึ่งเซ็ตอยู่ที่ 21 แต้มและได้มีการเปลี่ยนให้เป็น 15 แต้มในปี 1917 โดยการนับแต้มนั้นคือ ผู้ที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟบอลและชนะจากการโต้เท่านั้นจึงจะได้แต้ม หากผู้ที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟ เสิร์ฟเสียหรือทำบอลเสียจากการโต้ ก็จะไม่ถูกเพิ่มแต้มให้คู่ต่อสู้ด้วยเช่นกัน
พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการแข่งขันให้เป็น 2 ใน 3 เซ็ตด้วย (ก็คือได้ 2 เซ็ตก่อนก็ชนะเลย ถ้าเสมอ 1-1 เซ็ต ก็ตัดสินกันที่เซ็ตสุดท้าย)
1918 – และซีเรียสกว่าเมื่อให้เหลือทีมละ 6 คน
ฃ
จากที่ไม่มีการกำหนดผู้เล่นในสนามอย่างชัดเจน ในปีนี้ก็ได้มีการออกกฏมาว่าให้ผู้เล่นของแต่ละทีมมีได้เพียง 6 คนเท่านั้น ซึ่งการยืนตำแหน่งของผู้เล่นแต่ละคน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 คน ก็คือ 3 คนสำหรับเกมรุก ที่ยืนอยู่แถวหน้า (เมื่อหันเข้าตาข่าย) และอีก 3 คนสำหรับเกมรับ จะยืนอยู่แถวหลัง
โดยจากภาพเราจะเห็นได้ว่า จะมีเส้นที่ห่างจากหน้าเน็ตออกมา 3 เมตร นั่นคือพื้นที่สำหรับเล่นเกมรุก ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้เล่นทั้ง 3 คนในแถวหน้าสามารถเล่นบอลหรือตบลูกที่ลอยอยู่เหนือเน็ตให้ข้ามฝั่งไปได้
แต่ 3 ผู้เล่นจากแถวหลังไม่สามารถขึ้นมาทำแบบนั้นในพื้นที่นี้ได้ หากจะขึ้นมาเล่นในพื้นที่นี้ ก็ทำได้เพียงแค่การเช็ตหรือส่งบอลต่อให้เพื่อนเพียงเท่านั้น ห้ามส่งบอลข้ามเน็ตเด็ดขาด หรือหากต้องการจะส่งบอลข้ามแดนหรือกระโดดตบ ก็ต้องห้ามทำการเหยียบเส้น 3 เมตรด้วยเช่นกัน เพราะอาจถูกปรับฟาวล์ได้
อีกทั้งยังมีการกำหนดให้ผู้เล่นทุกคนในการเล่นแต่ละรอบได้เสิร์ฟลูก จากบริเวณหัวมุมหลังเส้นสนามด้วย โดยผู้ที่อยู่ในตำแหน่งหมายเลข 1 จะเป็นผู้เสิร์ฟก่อน และหากว่าชนะในแต้มนั้นหมายเลข 1 จะยังคงได้เสิร์ฟต่อไป
แต่ถ้าหากทีมรับเป็นฝ่ายได้แต้ม และหมายเลข 1 ได้ทำการเสิร์ฟลูกไปแล้ว ผู้เล่นหมายเลข 2 ก็จะเป็นผู้เสิร์ฟคนต่อไป พร้อมทั้งวนตำแหน่งมาแทนที่ของหมายเลข 1 ซึ่งหากจะให้จำง่าย ๆ ก็คือ หากทีมของตนได้เล่นลูกเสิร์ฟ จะต้องหมุนตามเข็มนาฬิกาแทนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ จนถึงคราวของตัวเองได้เสิร์ฟอีกครั้ง
1920 – และซีเรียสไปอีกเมื่อให้เดาะบอลได้แค่ 3 ครั้ง
มีการกำหนดให้มีการจำกัดจำนวนครั้งในการเล่นบอล จากเดิมที่สามารถเล่นกี่ครั้งก็ได้ ก่อนจะส่งบอลข้ามเน็ตไปแดนคู่ต่อสู้ ในปีนี้ได้กำหนดให้มีการเล่นได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ซึ่งรวมถึงการส่งบอลข้ามไปยังแดนคู่ต่อสู้ด้วย (ง่าย ๆ คือไม่เกิน 3 ครั้งบอลต้องข้ามเน็ตไปแล้วนั่นเอง ส่วนจะข้ามตั้งแต่ครั้งแรก หรือครั้งที่สอง ก็ย่อมทำได้เช่นกัน)
ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดกฏนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากว่า ในระหว่างการแข่งขันที่ฟิลิปปินส์ ได้มีสมาชิกของทีมได้ส่งบอลไปมาในทีมของตนเองถึงจำนวน 52 ครั้ง ก่อนจะส่งบอลข้ามเน็ตไปยังแดนคู่ต่อสู้ จึงทำให้หลายฝ่ายได้ออกความคิดเห็นตรงกันว่า ควรอย่างยิ่งที่จะกำหนดกฏนี้ขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการเล่นที่ทำให้เกมไม่สรุป
1924 – เปิดตัวกีฬาสาธิตในโอลิมปิกที่กรุงปารีส
วอลเลย์บอล เป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ผู้คนนิยมชมชอบและเล่นกันอย่างมาก จึงถูกผลักดันให้เข้าสู่การแข่งขันกีฬานานาชาติโอลิมปิกอยู่หลายหน ซึ่งในที่สุดก็ถูกจับให้อยู่ในการแข่งขัน โอลิมปิกครั้งที่ 8 ปี 1924 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่นั่นก็ทำได้เพียงในฐานะกีฬาสาธิตเท่านั้น ยังไม่มีการแข่งขันอย่างถูกต้องและมอบเหรียญให้กับผู้ชนะ
ซึ่งเป็นเพราะว่า วอลเลย์บอล ในขณะนั้นยังมีกฏกติกาหลาย ๆ อย่างที่ยังไม่ชัดเจนนัก ซึ่งหากจัดให้มีการแข่งขันอย่างจริงจังขึ้นมา ก็อาจทำให้เกิดข้อครหาได้ และอาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ความสนุกของกีฬาชนิดนี้หมดลงไป
1934 – และเพิ่มความโปร่งใสด้วย 4 ไลน์แมนประกบ 4 มุม
จากเดิมที่มีเพียงผู้ตัดสินเพียงสองคนคือ ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำหน้าที่ชี้ขาดอยู่บนเก้าอี้ตัดสิน และผู้ตัดสินที่ 2 อยู่ด้านล่างตรงข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 ทำให้ดูไม่เพียงพอในการตัดสินผลให้ออกมาอย่างถูกต้องและยุติธรรม เพราะด้วยขนาดของสนามวอลเลย์บอล ที่ถือว่าใหญ่พอสมควร จึงได้มีการเพิ่มผู้กำกับเส้นหรือที่เราเรียกกันว่า Line man หรือ Line judges เข้ามาอีกทั้งหมด 4 คน
โดยทั้ง 4 คนจะยืนอยู่บริเวณ 4 มุมของสนาม (ดูได้จากรูปภาพ) เพื่อทำการตัดสินผลในบริเวณที่ตนเองรับผิดชอบ ทั้งในเรื่องของบอลที่อาจลงหรือออกนอกสนาม รวมทั้งดูแลการเสิร์ฟของนักกีฬาด้วย และทุกคนจะมีธงเป็นของตัวเอง เพื่อใช้สำหรับในการโบกสบัดและส่งสัญญาณให้ทราบว่าผลการตัดสินนั้นเป็นอย่างไร
1947 – และเพิ่มความจริงจังด้วยกำเนิดสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ FIVB
14 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (The Federation International De Volleyball : FIVB) ขึ้นในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เลือกนายพอล ลิบอร์ด (Paul Libaud) เป็นประธานสหพันธ์คนแรก
โดยมีประเทศที่ร่วมกันจัดตั้ง ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา (อเมริกาเหนือ) อุรุกวัย, บราซิล (อเมริกาใต้) เชคโกสโลวาเกีย, ยูโกสลาเวีย, เนเธอแลนด์, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, อิตาลี โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย, ฮังการี (ยุโรป) และ อียิปต์ (แอฟริกา)
1964 – ในที่สุดก็ได้เป็นกีฬาโอลิมปิกตัวจริง ประเดิมครั้งแรกที่กรุงโตเกียว
หลังจาก วอลเลย์บอล ถูกจัดให้อยู่ในหมวดกีฬาสาธิต (กีฬาที่มีการแข่งขันแต่ไม่มีการมอบเหรียญให้กับผู้ชนะ) เมื่อปี 1924 ก็ต้องใช้เวลาเกือบ 40 ปีเลยทีเดียว กว่าที่กีฬาวอลเลย์บอลทั้งประเภทชายและหญิงจะถูกจัดสู่เข้าแข่งขันใน โอลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปี 1964 เป็นครั้งแรก
โดยในเวลานั้นทีมวอลเลย์บอลประเภทชายที่ได้รับเหรียญทอง เป็นทีมจาก สหภาพโซเวียต ส่วนทีมวอลเลย์บอลประเภทหญิงนั้นเป็นทางด้าน เจ้าภาพญี่ปุ่น ที่คว้าเหรียญทองไปครอง
ติดตามตอนต่อไปจ้า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://bit.ly/FBvolleyball
กำเนิดวอลเลย์บอล
และที่สำคัญมันเข้ามาสู่ ประเทศไทย บ้านเราได้อย่างไร เพราะ วอลเลย์บอลหญิงไทย ในเวลานี้ก็ถือว่าเป็นเบอร์ต้น ๆ ของทั้งเอเชียและโลกเลยด้วย
ถ้าเพื่อน ๆ อ่านแล้วชอบใจ หรืออยากแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักที่มาที่ไปของ ประวัติวอลเลย์บอล ก็ไม่ว่ากันน้า ว่าแล้วก็ไปลุยกันเลยดีกว่า…
1895 – วิลเลียม จี. มอร์แกน บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล
นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men’s Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาว ที่สามารถเล่นได้ทั้งกลางแจ้งและในร่ม เพื่อออกกำลังกายคลายหนาวและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก
ซึ่งเขาได้เกิดไอเดียขึ้น จากการได้เห็นกีฬาหลาย ๆ ชนิด ซึ่งมาสะดุดอยู่ที่ กีฬาแบดมินตัน จนได้นำเน็ตของแบดมินตันมาปรับและยกขึ้นสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว คั่นกลางและแบ่งสนามออกเป็นสองฝั่ง พร้อมกับพยายามหาลูกบอลมาตีข้ามเน็ตไปมา
1895 – ที่สุดของความฟรีสไตล์ ไม่จำกัดคน/ครั้งในการเดาะบอล
ในส่วนของผู้เล่นนั้นไม่ได้มีการกำหนดอย่างตายตัว เพียงแค่มีการแบ่งเป็นสองฝ่ายเท่า ๆ กัน และสามารถเล่นลูกบอลได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ก่อนจะส่งบอลข้ามไปยังฝั่งของคู่ต่อสู้ ส่วนการเสิร์ฟบอลจากหลังเส้นสนาม จะแบ่งให้แต่ละทีมผลัดกันเสิร์ฟทีมละ 3 ครั้ง โดยไม่จำกัดว่าใครจะเป็นผู้เสิร์ฟ
1895 – อุปกรณ์การเล่นยืมบาสมานะ รู้ยัง?
วิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ได้เลือกนำยางในและยางนอกของลูกบาสเก็ตบอล มาทำเป็นลูกวอลเลย์บอล แต่ทว่ายางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงลองเปลี่ยนเป็นยางนอกของลูกบาสดูบ้าง แต่ยางนอกของลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก
1896 – เมื่อก่อนไม่ได้ชื่อวอลเลย์บอลนะชื่อ “มินตันเนต”
นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) มีโอกาสได้พบปะกับทางด้าน เจมส์ เนสมิธ (James Naismith) ผู้ที่คิดค้นกีฬาบาสเก็ตบอลขึ้นมา และถูกเชิญชวนให้มานำเสนอกีฬาที่เขาคิดค้นขึ้นในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) โดยที่ประชุมได้ให้ความสนใจเป็นอย่างดี
ซึ่ง นายวิลเลียม จี. มอร์แกน ได้ตั้งชื่อให้กับกีฬานี้ว่า มินตันเนต (Mintonette) ซึ่งเป็นการดัดแปลงคำมาจากกีฬาที่เขาได้ไอเดียมา ก็คือ แบดมินตัน (Badminton) นั่นเอง
แต่สุดท้ายแล้ว เขาก็ได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในเรื่องของการตั้งชื่อจาก มินตันเนต (Mintonette) ให้เปลี่ยนเป็นชื่อ วอลเลย์บอล (Volleyball) แทน
เนื่องจากว่าลักษณะในการตีลูกบอลที่กำลังลอยอยู่ในอากาศให้ข้ามเน็ตเรียกว่าการ วอลเลย์ เพียงแค่ไม่มีวอลเลย์บอลนั้นไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ ใช้มือเล่นแทนได้เลย
1900 – ลูกวอลเลย์ดีไซน์ใหม่โดยสปอลดิงเจ้าพ่อลูกหนังแห่งตะวันตก
วิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ทราบว่าทางด้าน เจมส์ เนสมิธ (James Naismith) ได้ทำการปรึกษากับ อัลเบิร์ต กู๊ดวิล สปอลดิ้ง (Albert Goodwill Spalding) เจ้าของบริษัท A.G Spalding and Brothers หรือ Spalding จนทำให้ได้ลูกบาสเก็ตบอลลูกแรกของโลกขึ้นมา
เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปหากับ อัลเบิร์ต กู๊ดวิล สปาลดิ้ง (Albert Goodwill Spalding) เพื่อที่จะปรึกษาเรื่องของลูกบอลที่จะมาใช้ในกีฬาวอลเลย์บอลบ้าง ซึ่งก็ต้องบอกว่าเขามาถูกทางเลยทีเดียว
หลังจากได้พูดคุยกัน สปาลดิ้ง (Spalding) ก็ได้ตกลงที่จะทำการผลิตลูกวอลเลย์บอลแบบใหม่ขึ้นให้ โดยตัวลูกบอลถูกทำให้มีถึงสามชั้นด้วยกัน ด้านในสุดทำจากยาง ที่เป็นยางชนิดเดียวกันกับยางรถจักรยาน ส่วนชั้นที่สองนั้นเป็นผ้า และชั้นสุดท้ายคือส่วนที่ห่อหุ้มทั้งลูกทำจากหนัง ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์
1917 – เริ่มเล่นแบบซีเรียส ชนะ 2/3 เซ็ตๆละ 15 แต้ม
เริ่มแรกของการเล่นวอลเลย์บอล กำหนดแต้มต่อหนึ่งเซ็ตอยู่ที่ 21 แต้มและได้มีการเปลี่ยนให้เป็น 15 แต้มในปี 1917 โดยการนับแต้มนั้นคือ ผู้ที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟบอลและชนะจากการโต้เท่านั้นจึงจะได้แต้ม หากผู้ที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟ เสิร์ฟเสียหรือทำบอลเสียจากการโต้ ก็จะไม่ถูกเพิ่มแต้มให้คู่ต่อสู้ด้วยเช่นกัน
พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการแข่งขันให้เป็น 2 ใน 3 เซ็ตด้วย (ก็คือได้ 2 เซ็ตก่อนก็ชนะเลย ถ้าเสมอ 1-1 เซ็ต ก็ตัดสินกันที่เซ็ตสุดท้าย)
1918 – และซีเรียสกว่าเมื่อให้เหลือทีมละ 6 คน
ฃ
จากที่ไม่มีการกำหนดผู้เล่นในสนามอย่างชัดเจน ในปีนี้ก็ได้มีการออกกฏมาว่าให้ผู้เล่นของแต่ละทีมมีได้เพียง 6 คนเท่านั้น ซึ่งการยืนตำแหน่งของผู้เล่นแต่ละคน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 คน ก็คือ 3 คนสำหรับเกมรุก ที่ยืนอยู่แถวหน้า (เมื่อหันเข้าตาข่าย) และอีก 3 คนสำหรับเกมรับ จะยืนอยู่แถวหลัง
โดยจากภาพเราจะเห็นได้ว่า จะมีเส้นที่ห่างจากหน้าเน็ตออกมา 3 เมตร นั่นคือพื้นที่สำหรับเล่นเกมรุก ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้เล่นทั้ง 3 คนในแถวหน้าสามารถเล่นบอลหรือตบลูกที่ลอยอยู่เหนือเน็ตให้ข้ามฝั่งไปได้
แต่ 3 ผู้เล่นจากแถวหลังไม่สามารถขึ้นมาทำแบบนั้นในพื้นที่นี้ได้ หากจะขึ้นมาเล่นในพื้นที่นี้ ก็ทำได้เพียงแค่การเช็ตหรือส่งบอลต่อให้เพื่อนเพียงเท่านั้น ห้ามส่งบอลข้ามเน็ตเด็ดขาด หรือหากต้องการจะส่งบอลข้ามแดนหรือกระโดดตบ ก็ต้องห้ามทำการเหยียบเส้น 3 เมตรด้วยเช่นกัน เพราะอาจถูกปรับฟาวล์ได้
อีกทั้งยังมีการกำหนดให้ผู้เล่นทุกคนในการเล่นแต่ละรอบได้เสิร์ฟลูก จากบริเวณหัวมุมหลังเส้นสนามด้วย โดยผู้ที่อยู่ในตำแหน่งหมายเลข 1 จะเป็นผู้เสิร์ฟก่อน และหากว่าชนะในแต้มนั้นหมายเลข 1 จะยังคงได้เสิร์ฟต่อไป
แต่ถ้าหากทีมรับเป็นฝ่ายได้แต้ม และหมายเลข 1 ได้ทำการเสิร์ฟลูกไปแล้ว ผู้เล่นหมายเลข 2 ก็จะเป็นผู้เสิร์ฟคนต่อไป พร้อมทั้งวนตำแหน่งมาแทนที่ของหมายเลข 1 ซึ่งหากจะให้จำง่าย ๆ ก็คือ หากทีมของตนได้เล่นลูกเสิร์ฟ จะต้องหมุนตามเข็มนาฬิกาแทนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ จนถึงคราวของตัวเองได้เสิร์ฟอีกครั้ง
1920 – และซีเรียสไปอีกเมื่อให้เดาะบอลได้แค่ 3 ครั้ง
มีการกำหนดให้มีการจำกัดจำนวนครั้งในการเล่นบอล จากเดิมที่สามารถเล่นกี่ครั้งก็ได้ ก่อนจะส่งบอลข้ามเน็ตไปแดนคู่ต่อสู้ ในปีนี้ได้กำหนดให้มีการเล่นได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ซึ่งรวมถึงการส่งบอลข้ามไปยังแดนคู่ต่อสู้ด้วย (ง่าย ๆ คือไม่เกิน 3 ครั้งบอลต้องข้ามเน็ตไปแล้วนั่นเอง ส่วนจะข้ามตั้งแต่ครั้งแรก หรือครั้งที่สอง ก็ย่อมทำได้เช่นกัน)
ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดกฏนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากว่า ในระหว่างการแข่งขันที่ฟิลิปปินส์ ได้มีสมาชิกของทีมได้ส่งบอลไปมาในทีมของตนเองถึงจำนวน 52 ครั้ง ก่อนจะส่งบอลข้ามเน็ตไปยังแดนคู่ต่อสู้ จึงทำให้หลายฝ่ายได้ออกความคิดเห็นตรงกันว่า ควรอย่างยิ่งที่จะกำหนดกฏนี้ขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการเล่นที่ทำให้เกมไม่สรุป
1924 – เปิดตัวกีฬาสาธิตในโอลิมปิกที่กรุงปารีส
วอลเลย์บอล เป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ผู้คนนิยมชมชอบและเล่นกันอย่างมาก จึงถูกผลักดันให้เข้าสู่การแข่งขันกีฬานานาชาติโอลิมปิกอยู่หลายหน ซึ่งในที่สุดก็ถูกจับให้อยู่ในการแข่งขัน โอลิมปิกครั้งที่ 8 ปี 1924 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่นั่นก็ทำได้เพียงในฐานะกีฬาสาธิตเท่านั้น ยังไม่มีการแข่งขันอย่างถูกต้องและมอบเหรียญให้กับผู้ชนะ
ซึ่งเป็นเพราะว่า วอลเลย์บอล ในขณะนั้นยังมีกฏกติกาหลาย ๆ อย่างที่ยังไม่ชัดเจนนัก ซึ่งหากจัดให้มีการแข่งขันอย่างจริงจังขึ้นมา ก็อาจทำให้เกิดข้อครหาได้ และอาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ความสนุกของกีฬาชนิดนี้หมดลงไป
1934 – และเพิ่มความโปร่งใสด้วย 4 ไลน์แมนประกบ 4 มุม
จากเดิมที่มีเพียงผู้ตัดสินเพียงสองคนคือ ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำหน้าที่ชี้ขาดอยู่บนเก้าอี้ตัดสิน และผู้ตัดสินที่ 2 อยู่ด้านล่างตรงข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 ทำให้ดูไม่เพียงพอในการตัดสินผลให้ออกมาอย่างถูกต้องและยุติธรรม เพราะด้วยขนาดของสนามวอลเลย์บอล ที่ถือว่าใหญ่พอสมควร จึงได้มีการเพิ่มผู้กำกับเส้นหรือที่เราเรียกกันว่า Line man หรือ Line judges เข้ามาอีกทั้งหมด 4 คน
โดยทั้ง 4 คนจะยืนอยู่บริเวณ 4 มุมของสนาม (ดูได้จากรูปภาพ) เพื่อทำการตัดสินผลในบริเวณที่ตนเองรับผิดชอบ ทั้งในเรื่องของบอลที่อาจลงหรือออกนอกสนาม รวมทั้งดูแลการเสิร์ฟของนักกีฬาด้วย และทุกคนจะมีธงเป็นของตัวเอง เพื่อใช้สำหรับในการโบกสบัดและส่งสัญญาณให้ทราบว่าผลการตัดสินนั้นเป็นอย่างไร
1947 – และเพิ่มความจริงจังด้วยกำเนิดสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ FIVB
14 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (The Federation International De Volleyball : FIVB) ขึ้นในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เลือกนายพอล ลิบอร์ด (Paul Libaud) เป็นประธานสหพันธ์คนแรก
โดยมีประเทศที่ร่วมกันจัดตั้ง ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา (อเมริกาเหนือ) อุรุกวัย, บราซิล (อเมริกาใต้) เชคโกสโลวาเกีย, ยูโกสลาเวีย, เนเธอแลนด์, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, อิตาลี โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย, ฮังการี (ยุโรป) และ อียิปต์ (แอฟริกา)
1964 – ในที่สุดก็ได้เป็นกีฬาโอลิมปิกตัวจริง ประเดิมครั้งแรกที่กรุงโตเกียว
หลังจาก วอลเลย์บอล ถูกจัดให้อยู่ในหมวดกีฬาสาธิต (กีฬาที่มีการแข่งขันแต่ไม่มีการมอบเหรียญให้กับผู้ชนะ) เมื่อปี 1924 ก็ต้องใช้เวลาเกือบ 40 ปีเลยทีเดียว กว่าที่กีฬาวอลเลย์บอลทั้งประเภทชายและหญิงจะถูกจัดสู่เข้าแข่งขันใน โอลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปี 1964 เป็นครั้งแรก
โดยในเวลานั้นทีมวอลเลย์บอลประเภทชายที่ได้รับเหรียญทอง เป็นทีมจาก สหภาพโซเวียต ส่วนทีมวอลเลย์บอลประเภทหญิงนั้นเป็นทางด้าน เจ้าภาพญี่ปุ่น ที่คว้าเหรียญทองไปครอง
ติดตามตอนต่อไปจ้า [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้