ควรพิจารณากำหนดความเร็วที่เหมาะสมของรถพยาบาลหรือไม่ครับ ปัจจุบันทั้งรถพยาบาลของหน่วยงานรัฐ โรงพยาบาลเอกชน หรือรถของมูลนิธิต่าง ๆ มุ่งที่จะนำคนเจ็บป่วยถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุด บางครั้งอาจจะลืมว่าขีดจำกัดของรถที่นำมาทำรถพยาบาลไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำความเร็วได้สูงมาก เช่นรถตู้ Toyota Commuter ซึ่งมีลักษณะเป็นรถตู้หลังคาสูงซึ่งจุดศูนย์ย์ถ่วงของรถจะสูงตามไปด้วย ประกอบกับช่วงล่าง เบรก หรือยาง ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ความเร็วสูง รวมถึงน้ำหนักอุปกรณ์การแพทย์ที่ติดตั้งในรถ ซึ่งทั้งหมดล้วนส่งผลต่อเสถียรภาพของรถทั้งสิ้น หากเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้าเช่น รถจักรยานยนต์ตัดหน้า เจอรถบรรทุกจอดเสียข้างทาง รถคันอื่นปาดหน้า หรือรถข้างหน้าเบรกกระทันหัน การที่คนขับจะพารถหลบหลีกสถานะการณ์แบบนี้จะแทบเป็นไปไม่ได้เลย
ไม่แน่ใจว่าประเทศในยุโรปที่ส่วนใหญ่จะใช้รถตู้ Mercedes Benz, Volkswagen หรือบางครั้งเห็นรถแวนของ Volvo ซึ่งสมรรถนะการเกาะถนน เบรก จะดีกว่า Toyota Commuter ที่นิยมใช้กันในไทย มีการกำหนดความเร็วที่เหมาะสมหรือไม่ครับ
เครดิตข่าว :
ปล. ไม่ได้หมายถึงกรณีในข่าวนี้ผู้ขับใช้ความเร็วสูงมากนะครับ เพียงแค่ยกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดมาเป็นตัวอย่าง
รถพยาบาลโรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง ชนท้ายรถ10 ล้อ บาดเจ็บ2 ราย เสียชีวิต1ราย เป็นผู้ช่วยพยาบาล ส่วนคนขับและพยาบาลวิชาชีพ บาดเจ็บ
เหตุเกิด 06.10 น. สถานที่เกิดเหตุ ม.9 ต.ลำภูรา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
เครดิต ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ จ.ตรัง
https://t.co/n4U0Jh4Frg
อุบัติเหตุรถพยาบาล
ไม่แน่ใจว่าประเทศในยุโรปที่ส่วนใหญ่จะใช้รถตู้ Mercedes Benz, Volkswagen หรือบางครั้งเห็นรถแวนของ Volvo ซึ่งสมรรถนะการเกาะถนน เบรก จะดีกว่า Toyota Commuter ที่นิยมใช้กันในไทย มีการกำหนดความเร็วที่เหมาะสมหรือไม่ครับ
เครดิตข่าว :
ปล. ไม่ได้หมายถึงกรณีในข่าวนี้ผู้ขับใช้ความเร็วสูงมากนะครับ เพียงแค่ยกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดมาเป็นตัวอย่าง
รถพยาบาลโรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง ชนท้ายรถ10 ล้อ บาดเจ็บ2 ราย เสียชีวิต1ราย เป็นผู้ช่วยพยาบาล ส่วนคนขับและพยาบาลวิชาชีพ บาดเจ็บ
เหตุเกิด 06.10 น. สถานที่เกิดเหตุ ม.9 ต.ลำภูรา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
เครดิต ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ จ.ตรัง https://t.co/n4U0Jh4Frg