ขอบอกไว้ก่อนนะค่ะ เป็นการเขียนกระทู้ครั้งแรก อาจจะเล่ายาวและลงรายละเอียดเยอะบ้าง ดูเหมือนระบาย แต่ยอมรับว่า จิตตกเป็นพักเลยเรื่องนี้ แต่อยากขอความเห็น คำแนะนำจากท่านผู้รู้ หรือผู้มีประสบการณ์ด้วยค่ะ
เรื่องมีอยู่ว่า เราได้ซื้อคอนโด เมื่อปลายปี 2556 และได้ขออนุญาตกับทางนิติบุคคลทำการดัดแปลงห้องโดยการเปลี่ยนจากหน้าต่างบานเลื่อนเป็นประตูบานเลื่อนแทน (บริเวณนั้นเป็นกระจกทั้งบานอยู่แล้ว เปลี่ยนเพียงกรอบกระจก หากมองจากภายนอกตัวอาคาร หากไม่สังเกตุดีๆ อาจจะไม่เห็นความแตกต่าง) ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็ได้อ่านกฎหมายมาบ้าง และการดัดแปลงของเราก็อยู่ในกรอบที่เราสามารถขอได้ คือ ไม่ได้ผิด พรบ ไม่ได้ต่อเติมที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก การขอไม่จำเป็นต้องยื่นแบบแปลน เราก็ดำเนินตามขั้นตอน คือ ติดต่อที่สำนักงาน แจ้งขอปรับปรุงห้อง พนักงานประจำออฟฟิตก็ให้ติดต่อคุยกับ ผจก นิติบุคคล ผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาต ผจก ได้เข้ามาที่ห้องของเรา เพื่อดูตำแหน่งที่จะทำ และคุยถึงลักษณะที่ขอทำ ก็แจ้งไปว่า จะขอดัดแปลงจากหน้าต่างบานเลื่อนเป็นประตูแทน ซึ่งไม่มีอะไรกระทบต่อโครงสร้างหลัก และใช้วัสดุชนิดเดียวกับอันเดิมทุกอย่าง มองจากภายนอก ถ้าไม่สังเกตุก็ไม่เห็นความแตกต่างมาก ผจก จึงอนุญาตให้ทำได้ เราถามว่า ต้องทำเอกสารอะไรไหม ผจก บอก ไม่ต้องทำเอกสารก็ได้ (ห้องอื่นๆ ที่มีการของต่อเติม ทำประตูทะลุระหว่างห้องก็ไม่ได้ให้ทำเอกสาร แค่ขออนุญาตด้วยวาจา และดำเนินการตามขั้นตอนที่นิติให้ทำ) เมื่อได้รับอนุญาตจาก ผจก ก็สามารถดำเนินการได้ ให้แจ้งที่สำนักงานล่วงหน้าก่อนนำช่างเข้ามาทำ 7 วัน ซึ่งเราก็ปฏิบัติตาม วันที่นำช่างมาทำ เราก็ติดต่อที่สำนักงาน ว่าต้องมีวางมัดจำอะไรไหม พนักงานงานประจำออฟฟิตถาม ทำนานไหม กี่วัน ช่างบอก แค่ครึ่งวันก็เสร็จ นักงานบอก ไม่ต้องวางมัดจำก็ได้ ซึ่งเราก็ทำเสร็จเรียบร้อยในเดือน พฤษภาคม 2557
หลังจากทำเสร็จแล้ว ประมาณ 2 เดือน เราได้รับโทรศัพท์จาก ผจก นิติบุคคล ว่า มีลูกบ้านท่านอื่นจะขอทำแบบเดียวกับเราด้วย แต่คราวนี้ อ้างว่าคณะกรรมการบอก ไม่ให้ทำ เลยจะขอให้เราแก้ไขทำกลับไปเป็นแบบเดิม และของร้องว่า อย่าบอกใครนะ ว่า ผจก เป็นคนอนุญาตให้ทำ เพราะเขาอาจจะถูกให้ออกจากงานได้ ให้บอกว่า เราทำไปเองโดยพละการคนเดียว เราบอกว่า เราเห็นใจเรื่องงานนะ แต่จะให้บอกว่า เราทำไปโดยพละการคงไม่ได้ เราทำตามขั้นตอนตามที่นิติบุคคลติดประกาศหน้าออฟฟิตทุกประการ ไม่ได้ฝ่าฝืนระเบียบแต่อย่างใด ช่วงนั้น ผจก โทรหาเราวันละ 3-4 สาย จนเราจิตตกไปเลย เราเลยติดต่อที่สำนักงาน ถ้าอย่างนั้น ขอให้นำเรื่องเราเข้าที่ประชุมใหญ่ ขอมติในที่ประชุมใหญ่เลย พนักงานประจำออฟฟิตบอกว่า ต้องให้ ผจก และ กรรมการนิติบุคคลเป็นคนนำเรื่องเข้าเท่านั้น เราเสนอเองไม่ได้ เราไม่รู้จักกรรมการสักคนตอนนั้น เรื่องก็เงียบไป
แต่ ผจก ก็โทรหาเราทุกเดือนขอโน้นนั่นนี้ อ้างสารพัด จนถึงการประชุมใหญ่ในปีต่อมา ปี 2558 เราได้รับเสนอชื่อให้เป็นกรรมการในปีนั้น เมื่อถึงวาระประชุมกรรมการนิติบุคคล เราจึงเอาเรื่องของห้องเราเข้าไปถามในที่ประชุมกรรมการ จึงรู้ว่า ผจก ไม่เคยนำเรื่องการขออนุญาตดัดแปลงห้องของเราเข้าที่ประชุม การกระทำทั้งหมด ผจก ดำเนินการทุกอย่างแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น มีทั้งกรรมการ 5-6 คนและที่ปรึกษาอีก 1 คน ร่วมประชุมด้วย ในวันนั้นเราได้เล่าเหตุการณ์ทั้งหมดและขั้นตอนการขออนุญาต และเมื่อคณะกรรมการและที่ปรึกษาซักถาม ผจก เอง ก็สารภาพต่อหน้า กรรมการและที่ปรึกษาว่า เขาได้ขึ้นไปตรวจสอบห้องและได้อนุญาตให้เราทำการดัดแปลงได้ตามที่ขอจริง คณะกรรมการถามเราว่า ถ้าจะขอให้ทำกลับไปเป็นแบบเดิมเราจะยินดีไหม เราบอก เรายอมให้ทำกลับไปเป็นแบบเดิมได้ โดย ผจก ต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด และชดเชยความเสียหายคืนแก่เรา เพราะเราทำตามขั้นตอนทุกอย่างอย่างถูกต้อง แต่ ผจก บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่นำเรื่องเข้าขออนุมัติจากคณะกรรมการ และจากที่ประชุมใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุให้เราเสียทรัพย์จากการดัดแปลงนั้น คณะกรรมการจึงมีมติให้ทำกลับหากลูกบ้านยินยอม ส่วนค่าเสียหายให้ไปตกลงกันเอง
วันนัดเจรจาค่าเสียหายกัน มีพนักงานจาก บ. เอ... (ชื่อสมมติ) 3 คน คือ ผจก นิติบุคคล (คุณ ม.), ผจก. ฝ่ายอาคาร (คุณ ต.) และพนักงาน (คุณ ว.) จาก บ. เอ... วันนั้น เราขอให้ ผจก นิติบุคคล ชดเชยค่าเสียหายให้เรา 45,000 บาท และให้เขารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำกลับเองทั้งหมด เขาต่อรอง เราลดให้เหลือ 35,000 บาท และเขาต้องรับผิดชอบค่าทำกลับทั้งหมด หลังจากคุยกันแล้ว เราก็รอให้มีการจ่ายเงิน แต่ปรากฏว่า คุณ ม. บ่ายเบี่ยง หลบหน้า ไม่ยอมจ่าย เราเข้าใจว่า ทุกคนมีภาระรับผิดชอบ อาจหาเงินก้อนไม่ได้ อันนี้ เข้าใจ จึงไม่เคยจี้จิก เราทวงถามเป็นระยะ 2-3 เดือนครั้ง เวลาผ่านไปจนจะครบปี ก็ไม่จ่าย
จนถึงนัดประชุมกรรมการครั้งต่อมาเป็นคณะกรรมการชุดใหม่ เราก็ทวงถาม ปรากฎว่า คุณ ม. ปฏิเสธว่า ไม่เคยคุยอะไรกับเราเลย ไม่เคยขึ้นไปดูห้องเรา ไม่เคยอนุญาตให้เราทำการดัดแปลงอะไรทั้งสิ้น วันนั้นเราปรี๊ดดดเลย แต่โชคดี มีลุงโย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้คณะกรรมการเข้าร่วมรับฟังการประชุมด้วย ลุงโยเลยเป็นพยานยืนยันเรื่องราวที่ คุณ ม. สารภาพในที่ประชุมครั้งก่อนได้ทุกขั้นตอนเป๊ะๆ จนคุณ ม. ยอมจำนนต่อพยานในวันนั้น ซึ่งคณะกรรมการก็ขอให้ คุณ ม. และทางบริษัท เอ.... รับผิดชอบดำเนินการให้เรียบร้อย แต่แล้วก็เหมือนเดิม คุณ ม. และทางบริษัทเอ...เงียบ..... เราจึงต้องทวงถามในกลุ่มไลน์คณะกรรมการ เรื่องการจ่ายเงินแก่เรา คุณ ม. ก็เงียบ ไม่ตอบ จึงมีเพียงคุณ ว. มาตอบแทน แต่มาเสนอให้เราทำสัญญาเช่าพื้นที่ที่ติดกับบริเวณที่เราดัดแปลงแทน เราก็งง เราถามว่า ใครให้เสนอทำสัญญาเช่า คุณ ว. บอกเราว่า เผื่อเป็นทางออกถ้าเราไม่อยากแก้ไขกลับ เราบอก สัญญานี้จะถูกต้องหรือป่าว จะมีปัญหาอีกไหม มติกรรมการให้ทำกลับ แล้วเราก็ยินยอมจะให้ทำกลับ แค่จ่ายค่าเสียหายแก่เรา เราอยากให้เสร็จๆ ไป ไม่อยากมีปัญหาเพิ่ม คุณ ว. บอก งั้นถ้าเราไม่ทำสัญญาเช่าก็เป็นไปตามที่ตกลงไว้ คือ คุณ ม. จ่ายเรา แต่ขอผ่อนจ่ายได้ไหม ไม่มีเงินก้อน เราบอก ผ่อนจ่ายได้ ครบเมื่อไหร่ค่อยให้ทำกลับ ....เวลาผ่านไปอีก 3 เดือน ก็แล้ว 5 เดือน ก็แล้ว เงียบ จนถึงนัดประชุมคณะกรรมการกี่ครั้ง คุณ ม. ก็ไม่เข้า ให้ คุณ ว. เข้าแทน .....จนถึงประชุมใหญ่ครั้งอีกรอบ ปี 2559 และ 2560 คุณ ม. ก็ไม่เข้าร่วมประชุมใหญ่ ให้คุณ ว. เข้าแทน สุดท้าย คุณ ม. ชิงลาออกจาก ผจก นิติบุคคล ในปลายปี 2560
เราเลยถามเข้าไปในกลุ่มไลน์คณะกรรมการ ว่า จะเอาอย่างไร ที่ คุณ ม. ชิงลาออกหนีความรับผิดชอบแบบนี้ เพราะตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที เราเป็นลูกบ้าน ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย ทำตามระเบียบทุกอย่าง สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการทำงานบกพร่องต่อหน้าที่ของพนักงานบริษัท เอ.... ทั้งหมด คณะกรรมการก็ให้ความเห็นว่า คุณ ม. เป็นพนักงานของบริษัท เอ.... บริษัท เอ...ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้
และเราก็โทรหา ผอ. บริษัทเอ... (คุณ ธ.) ด้วย บอกขอให้ช่วยไกล่เกลี่ยให้หน่อย จะบอกว่า คุณ ธ. ตอนแรกเหมือนจะพูดดี แต่เป็นเจ้าของบริษัทที่แย่มาก บอกไม่ขอรับรู้เรื่องใดใดที่ คุณ ม. ทำเลย แล้วถามเรากลับว่า มีหลักฐานอะไรว่าคุณ ม. อนุญาตให้เราทำได้ มีลายลักษณ์อักษรไหม ถ้าไม่มีบริษัทเอก็จะไม่ช่วยอะไรเลย เพราะถ้าไปถามจี้ก็ลูกน้องเขาก็จะลาออกไป (เราเป็นงง งอ. งู ร้อยตัวเลย) ถ้าเรามีหลักฐานอยากได้เงินก็ให้ไปฟ้องเอากับคุณ ม. เลย ....... เรานี่อึ้งไปเลย ไม่คิดว่า เจ้าของบริษัทจะขาดความรับผิดชอบขนาดนี้ ส่งพนักงานไปทำงานบริหารงานนิติบุคคล บริษัทได้เงินเดือนจากลูกบ้านที่จ่ายค่าส่วนกลาง ล้วพนักงานบกพร่องต่อหน้าที่ ทำให้ลูกบ้านความเสียหาย แต่จะไม่ขอรับรู้อะไรที่พนักงานของตัวเองทำเลย อยากได้ให้เราแจ้งความและฟ้องร้องเอาเอง
ซึ่งตอนนั้น เราเคยไปลงบันทึกประจำวันไว้ด้วยนะ ที่ สน. ใกล้ๆ ด้วยนะ และเราได้หาข้อมูลเกี่ยวกับ พรบ อาคารชุดพอสมควร และขอคำปรึกษาจากอาจารย์สอนกฎหมาย รร. ตำรวจ (พอดีหลานชายกำลังเรียนตำรวจอยู่ ตอนนั้น เลยขอปรึกษา) และอาจารย์ก็แนะนำเพื่อนรุ่นน้องที่ทำเป็นตำรวจทำงานในส่วนของ สคบ. ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำที่ดีมาก เราก็เล่าให้ฟังหมด ซึ่งก็ได้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องสิทธิ์ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นสิทธิ์อันชอบด้วยกฎหมายของผู้บริโภคว่า ตามสิทธิ์อันชอบด้วยกฎหมาย หากการขออนุญาตของเราถูกต้องตามระเบียบและได้รับอนุญาตโดยผู้มีอำนาจในการอนุญาตอย่างถูกต้อง เมื่อการดัดแปลงเพิ่มเติมนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลักของอาคารและไม่ผิด พรบ อาคารชุด แม้ไม่ได้ขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ตามกฎหมาย สคบ ถือว่า เราจะได้รับสิทธิ์คุ้มครองอันชอบด้วยกฎหมายในฐานะเจ้าของทรัพย์อย่างสมบรูณ์ (แต่หากกำลังทำการดัดแปลงต่อเติมอยู่ นิติสามารถข้อให้ระงับการต่อเติมได้) ดังนั้น ภายหลังเสร็จสิ้นการดัดแปลงเรียบร้อยไปแล้ว ทางนิติบุคคลจะไม่สามารถบังคับให้ข้าพเจ้าทำการอันใดที่ขัดต่อสิทธิ์อันชอบตามกฎหมายของข้าพเจ้าได้ ไม่มีสิทธิ์ระงับสาธารณูปโภค และไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดใดจากข้าพเจ้า และหากมีการกระทำอันใดที่ละเมิดในทรัพย์สินของข้าพเจ้าด้วยการนำช่างหรือบุคคลอื่นเข้ามาทำการใดใดในบริเวณที่กระทบต่อทรัพย์สินของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าสามารถแจ้งความและดำเนินการตามกฎหมายได้ทันที รวมทั้งร้องเรียนต่อ สคบ ได้ด้วย คือ เราเข้าใจว่า เราทำตามระเบียบถูกต้องทุกขั้นตอนตามที่นิติ (พนักงานประจำสำนักงาน)กำหนดให้ลูกบ้านทุกคนปฏิบัติตามแล้วนะ ส่วนในหน้าทีความรับผิดชอบของ ผจก นิติบุคคล ต้องปฏิบัติงานตามระเบียบของนิติบุคคล
ประเด็น คือ หลังจากที่คุยกับ คุณ ธ. เราได้รับ จดหมายจากนิติบุคคลขอให้เราทำห้องกลับไปเป็นแบบเดิม ภายใน 7 วัน ไม่อย่างนั้นจะดำเนินการเอาผิดเรา และหลังจากเราได้รับ จดหมาย และได้รับคำปรึกษาจากผู้รู้กฎหมายจาก สคบ แล้ว เราได้ทำจดหมายตอบกลับไป และขอยืนยันสิทธิ์อันชอบด้วยกฎหมายของเรา และได้ทำเรื่องร้องเรียนความบกพร่องของพนักงานบริษัท เอ...ต่อ ผจก นิติบุคคลคนใหม่และคณะกรรมการ
ภายหลัง ผจก. นิติขอนัดเจรจากับเรา เพราะเราจะกับ ผจกและคณะกรรมการที่มีอำนาจในการดูแลระเบียบนิติเท่านั้น และจะไม่คุยอะไรกับบริษัทเอ...อีกแล้ว เพราะตลบตแลง ไม่มีสัจจะ ไม่มีความรับผิดชอบ ซึ่งเราก็ยืนยันตามเดิมกับ ผจก นิติ คือ หากบริษัทเอ...จ่ายค่าเสียหายแก่เราตามที่เราเรียกร้องไป และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำกลับทั้งหมด ซึ่งระยะเวลาผ่านมา 5 ปี แล้ว เราจึงเรียกค่าเสียหายเพิ่มเป็น 75,000 บาท (ทั้งค่าเสียหาย เงินกู้ที่เรากู้มาตกแต่งห้อง ทั้งจิตตกตลอด 5 ปีที่ผ่านมา) เรายินยอมให้ทำกลับ ถ้าจะไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยแก่เราเลย เราก็ขอยันยันสิทธิ์ของเรา และร้องเรียกการทำงานบกพร่องของพนักงาน บ. เอ... ต่อ ผจก ด้วย เพราะ บ. เอ....เป็นคู่สัญญากับนิติให้เข้ามาช่วยบริหารจัดการความเรียบร้อย และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของ ผจก และคณะกรรมการด้วย
ผ่านไปอีก 2 เดือนค่ะ วันนี้ เรารับจดหมายสอดใต้ประตู มาจาก บริษัทเอ.... ขอนัดเจรจา ในจดหมายบอกว่า ได้ทำหนังสือให้เราดำเนินการไปแล้ว 2 ครั้ง แต่เรายังไม่ทำ ดังนั้นจะขอเจรจา ก่อนจะทำเนินการตามกฎหมาย!!!!!! เราร้องเลยว่า ขุ่นพระ!!!! ทำงานไม่มีความรับผิดชอบแล้ว ไม่มีสัจจะ กลับกรอกแล้ว ยังจะมาข่มขู่เราเป็นรอบที่ 2 อีก เราเลยรับนัดคุย ....แต่เป็นตัวแทนคนใหม่มาคุย ตอนแรก คิดว่า น่าจะคุยตกลงกันได้.....แต่ไม่ได้ต่างจากทุกครั้ง คือ มาเพื่อข่มขู่ อ้างเอกสารลายลักษณ์อักษร และบอกว่า ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ว่า คุณ ม. ทำอะไร ไว้บ้าง คุณ ม. ไม่ได้พูดหรือบอกอะไรที่บริษัทเลย และอ้างว่า เราคุยกับคุณ ม 2 คน ไม่มีพยานรับรู้ เราต้องเล่าท้าวความตั้งแต่ต้นจนจบอีกรอบ และบอกว่า คณะกรรมการและลูกบ้านที่เข้าประชุมใน 2 ครั้ง นั้นเป็นพยานได้อย่างดี ว่า คุณ ม. สารภาพด้วยตัวเอง และตามกฎหมายเราได้สิทธิ์อันชอบในฐานะเจ้าของทรัพย์แล้วอย่างสมบรูณ์ตั้งแต่วันเสร็จสิ้นการดัดแปลง เขาอ้างว่า ถ้ามีลายเซ็นของคุณ ม. เขาถึงจะยอมจ่ายเรา และถ้าเราไม่ยอม เขาจะเล่นงานทางกฎหมาย ด้วย มาตรา 48 วรรค 3 ..
ขอคำแนะนำจากท่านผู้มีความรู้ เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับคอนโด
เรื่องมีอยู่ว่า เราได้ซื้อคอนโด เมื่อปลายปี 2556 และได้ขออนุญาตกับทางนิติบุคคลทำการดัดแปลงห้องโดยการเปลี่ยนจากหน้าต่างบานเลื่อนเป็นประตูบานเลื่อนแทน (บริเวณนั้นเป็นกระจกทั้งบานอยู่แล้ว เปลี่ยนเพียงกรอบกระจก หากมองจากภายนอกตัวอาคาร หากไม่สังเกตุดีๆ อาจจะไม่เห็นความแตกต่าง) ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็ได้อ่านกฎหมายมาบ้าง และการดัดแปลงของเราก็อยู่ในกรอบที่เราสามารถขอได้ คือ ไม่ได้ผิด พรบ ไม่ได้ต่อเติมที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก การขอไม่จำเป็นต้องยื่นแบบแปลน เราก็ดำเนินตามขั้นตอน คือ ติดต่อที่สำนักงาน แจ้งขอปรับปรุงห้อง พนักงานประจำออฟฟิตก็ให้ติดต่อคุยกับ ผจก นิติบุคคล ผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาต ผจก ได้เข้ามาที่ห้องของเรา เพื่อดูตำแหน่งที่จะทำ และคุยถึงลักษณะที่ขอทำ ก็แจ้งไปว่า จะขอดัดแปลงจากหน้าต่างบานเลื่อนเป็นประตูแทน ซึ่งไม่มีอะไรกระทบต่อโครงสร้างหลัก และใช้วัสดุชนิดเดียวกับอันเดิมทุกอย่าง มองจากภายนอก ถ้าไม่สังเกตุก็ไม่เห็นความแตกต่างมาก ผจก จึงอนุญาตให้ทำได้ เราถามว่า ต้องทำเอกสารอะไรไหม ผจก บอก ไม่ต้องทำเอกสารก็ได้ (ห้องอื่นๆ ที่มีการของต่อเติม ทำประตูทะลุระหว่างห้องก็ไม่ได้ให้ทำเอกสาร แค่ขออนุญาตด้วยวาจา และดำเนินการตามขั้นตอนที่นิติให้ทำ) เมื่อได้รับอนุญาตจาก ผจก ก็สามารถดำเนินการได้ ให้แจ้งที่สำนักงานล่วงหน้าก่อนนำช่างเข้ามาทำ 7 วัน ซึ่งเราก็ปฏิบัติตาม วันที่นำช่างมาทำ เราก็ติดต่อที่สำนักงาน ว่าต้องมีวางมัดจำอะไรไหม พนักงานงานประจำออฟฟิตถาม ทำนานไหม กี่วัน ช่างบอก แค่ครึ่งวันก็เสร็จ นักงานบอก ไม่ต้องวางมัดจำก็ได้ ซึ่งเราก็ทำเสร็จเรียบร้อยในเดือน พฤษภาคม 2557
หลังจากทำเสร็จแล้ว ประมาณ 2 เดือน เราได้รับโทรศัพท์จาก ผจก นิติบุคคล ว่า มีลูกบ้านท่านอื่นจะขอทำแบบเดียวกับเราด้วย แต่คราวนี้ อ้างว่าคณะกรรมการบอก ไม่ให้ทำ เลยจะขอให้เราแก้ไขทำกลับไปเป็นแบบเดิม และของร้องว่า อย่าบอกใครนะ ว่า ผจก เป็นคนอนุญาตให้ทำ เพราะเขาอาจจะถูกให้ออกจากงานได้ ให้บอกว่า เราทำไปเองโดยพละการคนเดียว เราบอกว่า เราเห็นใจเรื่องงานนะ แต่จะให้บอกว่า เราทำไปโดยพละการคงไม่ได้ เราทำตามขั้นตอนตามที่นิติบุคคลติดประกาศหน้าออฟฟิตทุกประการ ไม่ได้ฝ่าฝืนระเบียบแต่อย่างใด ช่วงนั้น ผจก โทรหาเราวันละ 3-4 สาย จนเราจิตตกไปเลย เราเลยติดต่อที่สำนักงาน ถ้าอย่างนั้น ขอให้นำเรื่องเราเข้าที่ประชุมใหญ่ ขอมติในที่ประชุมใหญ่เลย พนักงานประจำออฟฟิตบอกว่า ต้องให้ ผจก และ กรรมการนิติบุคคลเป็นคนนำเรื่องเข้าเท่านั้น เราเสนอเองไม่ได้ เราไม่รู้จักกรรมการสักคนตอนนั้น เรื่องก็เงียบไป
แต่ ผจก ก็โทรหาเราทุกเดือนขอโน้นนั่นนี้ อ้างสารพัด จนถึงการประชุมใหญ่ในปีต่อมา ปี 2558 เราได้รับเสนอชื่อให้เป็นกรรมการในปีนั้น เมื่อถึงวาระประชุมกรรมการนิติบุคคล เราจึงเอาเรื่องของห้องเราเข้าไปถามในที่ประชุมกรรมการ จึงรู้ว่า ผจก ไม่เคยนำเรื่องการขออนุญาตดัดแปลงห้องของเราเข้าที่ประชุม การกระทำทั้งหมด ผจก ดำเนินการทุกอย่างแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น มีทั้งกรรมการ 5-6 คนและที่ปรึกษาอีก 1 คน ร่วมประชุมด้วย ในวันนั้นเราได้เล่าเหตุการณ์ทั้งหมดและขั้นตอนการขออนุญาต และเมื่อคณะกรรมการและที่ปรึกษาซักถาม ผจก เอง ก็สารภาพต่อหน้า กรรมการและที่ปรึกษาว่า เขาได้ขึ้นไปตรวจสอบห้องและได้อนุญาตให้เราทำการดัดแปลงได้ตามที่ขอจริง คณะกรรมการถามเราว่า ถ้าจะขอให้ทำกลับไปเป็นแบบเดิมเราจะยินดีไหม เราบอก เรายอมให้ทำกลับไปเป็นแบบเดิมได้ โดย ผจก ต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด และชดเชยความเสียหายคืนแก่เรา เพราะเราทำตามขั้นตอนทุกอย่างอย่างถูกต้อง แต่ ผจก บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่นำเรื่องเข้าขออนุมัติจากคณะกรรมการ และจากที่ประชุมใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุให้เราเสียทรัพย์จากการดัดแปลงนั้น คณะกรรมการจึงมีมติให้ทำกลับหากลูกบ้านยินยอม ส่วนค่าเสียหายให้ไปตกลงกันเอง
วันนัดเจรจาค่าเสียหายกัน มีพนักงานจาก บ. เอ... (ชื่อสมมติ) 3 คน คือ ผจก นิติบุคคล (คุณ ม.), ผจก. ฝ่ายอาคาร (คุณ ต.) และพนักงาน (คุณ ว.) จาก บ. เอ... วันนั้น เราขอให้ ผจก นิติบุคคล ชดเชยค่าเสียหายให้เรา 45,000 บาท และให้เขารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำกลับเองทั้งหมด เขาต่อรอง เราลดให้เหลือ 35,000 บาท และเขาต้องรับผิดชอบค่าทำกลับทั้งหมด หลังจากคุยกันแล้ว เราก็รอให้มีการจ่ายเงิน แต่ปรากฏว่า คุณ ม. บ่ายเบี่ยง หลบหน้า ไม่ยอมจ่าย เราเข้าใจว่า ทุกคนมีภาระรับผิดชอบ อาจหาเงินก้อนไม่ได้ อันนี้ เข้าใจ จึงไม่เคยจี้จิก เราทวงถามเป็นระยะ 2-3 เดือนครั้ง เวลาผ่านไปจนจะครบปี ก็ไม่จ่าย
จนถึงนัดประชุมกรรมการครั้งต่อมาเป็นคณะกรรมการชุดใหม่ เราก็ทวงถาม ปรากฎว่า คุณ ม. ปฏิเสธว่า ไม่เคยคุยอะไรกับเราเลย ไม่เคยขึ้นไปดูห้องเรา ไม่เคยอนุญาตให้เราทำการดัดแปลงอะไรทั้งสิ้น วันนั้นเราปรี๊ดดดเลย แต่โชคดี มีลุงโย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้คณะกรรมการเข้าร่วมรับฟังการประชุมด้วย ลุงโยเลยเป็นพยานยืนยันเรื่องราวที่ คุณ ม. สารภาพในที่ประชุมครั้งก่อนได้ทุกขั้นตอนเป๊ะๆ จนคุณ ม. ยอมจำนนต่อพยานในวันนั้น ซึ่งคณะกรรมการก็ขอให้ คุณ ม. และทางบริษัท เอ.... รับผิดชอบดำเนินการให้เรียบร้อย แต่แล้วก็เหมือนเดิม คุณ ม. และทางบริษัทเอ...เงียบ..... เราจึงต้องทวงถามในกลุ่มไลน์คณะกรรมการ เรื่องการจ่ายเงินแก่เรา คุณ ม. ก็เงียบ ไม่ตอบ จึงมีเพียงคุณ ว. มาตอบแทน แต่มาเสนอให้เราทำสัญญาเช่าพื้นที่ที่ติดกับบริเวณที่เราดัดแปลงแทน เราก็งง เราถามว่า ใครให้เสนอทำสัญญาเช่า คุณ ว. บอกเราว่า เผื่อเป็นทางออกถ้าเราไม่อยากแก้ไขกลับ เราบอก สัญญานี้จะถูกต้องหรือป่าว จะมีปัญหาอีกไหม มติกรรมการให้ทำกลับ แล้วเราก็ยินยอมจะให้ทำกลับ แค่จ่ายค่าเสียหายแก่เรา เราอยากให้เสร็จๆ ไป ไม่อยากมีปัญหาเพิ่ม คุณ ว. บอก งั้นถ้าเราไม่ทำสัญญาเช่าก็เป็นไปตามที่ตกลงไว้ คือ คุณ ม. จ่ายเรา แต่ขอผ่อนจ่ายได้ไหม ไม่มีเงินก้อน เราบอก ผ่อนจ่ายได้ ครบเมื่อไหร่ค่อยให้ทำกลับ ....เวลาผ่านไปอีก 3 เดือน ก็แล้ว 5 เดือน ก็แล้ว เงียบ จนถึงนัดประชุมคณะกรรมการกี่ครั้ง คุณ ม. ก็ไม่เข้า ให้ คุณ ว. เข้าแทน .....จนถึงประชุมใหญ่ครั้งอีกรอบ ปี 2559 และ 2560 คุณ ม. ก็ไม่เข้าร่วมประชุมใหญ่ ให้คุณ ว. เข้าแทน สุดท้าย คุณ ม. ชิงลาออกจาก ผจก นิติบุคคล ในปลายปี 2560
เราเลยถามเข้าไปในกลุ่มไลน์คณะกรรมการ ว่า จะเอาอย่างไร ที่ คุณ ม. ชิงลาออกหนีความรับผิดชอบแบบนี้ เพราะตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที เราเป็นลูกบ้าน ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย ทำตามระเบียบทุกอย่าง สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการทำงานบกพร่องต่อหน้าที่ของพนักงานบริษัท เอ.... ทั้งหมด คณะกรรมการก็ให้ความเห็นว่า คุณ ม. เป็นพนักงานของบริษัท เอ.... บริษัท เอ...ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้
และเราก็โทรหา ผอ. บริษัทเอ... (คุณ ธ.) ด้วย บอกขอให้ช่วยไกล่เกลี่ยให้หน่อย จะบอกว่า คุณ ธ. ตอนแรกเหมือนจะพูดดี แต่เป็นเจ้าของบริษัทที่แย่มาก บอกไม่ขอรับรู้เรื่องใดใดที่ คุณ ม. ทำเลย แล้วถามเรากลับว่า มีหลักฐานอะไรว่าคุณ ม. อนุญาตให้เราทำได้ มีลายลักษณ์อักษรไหม ถ้าไม่มีบริษัทเอก็จะไม่ช่วยอะไรเลย เพราะถ้าไปถามจี้ก็ลูกน้องเขาก็จะลาออกไป (เราเป็นงง งอ. งู ร้อยตัวเลย) ถ้าเรามีหลักฐานอยากได้เงินก็ให้ไปฟ้องเอากับคุณ ม. เลย ....... เรานี่อึ้งไปเลย ไม่คิดว่า เจ้าของบริษัทจะขาดความรับผิดชอบขนาดนี้ ส่งพนักงานไปทำงานบริหารงานนิติบุคคล บริษัทได้เงินเดือนจากลูกบ้านที่จ่ายค่าส่วนกลาง ล้วพนักงานบกพร่องต่อหน้าที่ ทำให้ลูกบ้านความเสียหาย แต่จะไม่ขอรับรู้อะไรที่พนักงานของตัวเองทำเลย อยากได้ให้เราแจ้งความและฟ้องร้องเอาเอง
ซึ่งตอนนั้น เราเคยไปลงบันทึกประจำวันไว้ด้วยนะ ที่ สน. ใกล้ๆ ด้วยนะ และเราได้หาข้อมูลเกี่ยวกับ พรบ อาคารชุดพอสมควร และขอคำปรึกษาจากอาจารย์สอนกฎหมาย รร. ตำรวจ (พอดีหลานชายกำลังเรียนตำรวจอยู่ ตอนนั้น เลยขอปรึกษา) และอาจารย์ก็แนะนำเพื่อนรุ่นน้องที่ทำเป็นตำรวจทำงานในส่วนของ สคบ. ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำที่ดีมาก เราก็เล่าให้ฟังหมด ซึ่งก็ได้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องสิทธิ์ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นสิทธิ์อันชอบด้วยกฎหมายของผู้บริโภคว่า ตามสิทธิ์อันชอบด้วยกฎหมาย หากการขออนุญาตของเราถูกต้องตามระเบียบและได้รับอนุญาตโดยผู้มีอำนาจในการอนุญาตอย่างถูกต้อง เมื่อการดัดแปลงเพิ่มเติมนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลักของอาคารและไม่ผิด พรบ อาคารชุด แม้ไม่ได้ขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ตามกฎหมาย สคบ ถือว่า เราจะได้รับสิทธิ์คุ้มครองอันชอบด้วยกฎหมายในฐานะเจ้าของทรัพย์อย่างสมบรูณ์ (แต่หากกำลังทำการดัดแปลงต่อเติมอยู่ นิติสามารถข้อให้ระงับการต่อเติมได้) ดังนั้น ภายหลังเสร็จสิ้นการดัดแปลงเรียบร้อยไปแล้ว ทางนิติบุคคลจะไม่สามารถบังคับให้ข้าพเจ้าทำการอันใดที่ขัดต่อสิทธิ์อันชอบตามกฎหมายของข้าพเจ้าได้ ไม่มีสิทธิ์ระงับสาธารณูปโภค และไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดใดจากข้าพเจ้า และหากมีการกระทำอันใดที่ละเมิดในทรัพย์สินของข้าพเจ้าด้วยการนำช่างหรือบุคคลอื่นเข้ามาทำการใดใดในบริเวณที่กระทบต่อทรัพย์สินของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าสามารถแจ้งความและดำเนินการตามกฎหมายได้ทันที รวมทั้งร้องเรียนต่อ สคบ ได้ด้วย คือ เราเข้าใจว่า เราทำตามระเบียบถูกต้องทุกขั้นตอนตามที่นิติ (พนักงานประจำสำนักงาน)กำหนดให้ลูกบ้านทุกคนปฏิบัติตามแล้วนะ ส่วนในหน้าทีความรับผิดชอบของ ผจก นิติบุคคล ต้องปฏิบัติงานตามระเบียบของนิติบุคคล
ประเด็น คือ หลังจากที่คุยกับ คุณ ธ. เราได้รับ จดหมายจากนิติบุคคลขอให้เราทำห้องกลับไปเป็นแบบเดิม ภายใน 7 วัน ไม่อย่างนั้นจะดำเนินการเอาผิดเรา และหลังจากเราได้รับ จดหมาย และได้รับคำปรึกษาจากผู้รู้กฎหมายจาก สคบ แล้ว เราได้ทำจดหมายตอบกลับไป และขอยืนยันสิทธิ์อันชอบด้วยกฎหมายของเรา และได้ทำเรื่องร้องเรียนความบกพร่องของพนักงานบริษัท เอ...ต่อ ผจก นิติบุคคลคนใหม่และคณะกรรมการ
ภายหลัง ผจก. นิติขอนัดเจรจากับเรา เพราะเราจะกับ ผจกและคณะกรรมการที่มีอำนาจในการดูแลระเบียบนิติเท่านั้น และจะไม่คุยอะไรกับบริษัทเอ...อีกแล้ว เพราะตลบตแลง ไม่มีสัจจะ ไม่มีความรับผิดชอบ ซึ่งเราก็ยืนยันตามเดิมกับ ผจก นิติ คือ หากบริษัทเอ...จ่ายค่าเสียหายแก่เราตามที่เราเรียกร้องไป และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำกลับทั้งหมด ซึ่งระยะเวลาผ่านมา 5 ปี แล้ว เราจึงเรียกค่าเสียหายเพิ่มเป็น 75,000 บาท (ทั้งค่าเสียหาย เงินกู้ที่เรากู้มาตกแต่งห้อง ทั้งจิตตกตลอด 5 ปีที่ผ่านมา) เรายินยอมให้ทำกลับ ถ้าจะไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยแก่เราเลย เราก็ขอยันยันสิทธิ์ของเรา และร้องเรียกการทำงานบกพร่องของพนักงาน บ. เอ... ต่อ ผจก ด้วย เพราะ บ. เอ....เป็นคู่สัญญากับนิติให้เข้ามาช่วยบริหารจัดการความเรียบร้อย และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของ ผจก และคณะกรรมการด้วย
ผ่านไปอีก 2 เดือนค่ะ วันนี้ เรารับจดหมายสอดใต้ประตู มาจาก บริษัทเอ.... ขอนัดเจรจา ในจดหมายบอกว่า ได้ทำหนังสือให้เราดำเนินการไปแล้ว 2 ครั้ง แต่เรายังไม่ทำ ดังนั้นจะขอเจรจา ก่อนจะทำเนินการตามกฎหมาย!!!!!! เราร้องเลยว่า ขุ่นพระ!!!! ทำงานไม่มีความรับผิดชอบแล้ว ไม่มีสัจจะ กลับกรอกแล้ว ยังจะมาข่มขู่เราเป็นรอบที่ 2 อีก เราเลยรับนัดคุย ....แต่เป็นตัวแทนคนใหม่มาคุย ตอนแรก คิดว่า น่าจะคุยตกลงกันได้.....แต่ไม่ได้ต่างจากทุกครั้ง คือ มาเพื่อข่มขู่ อ้างเอกสารลายลักษณ์อักษร และบอกว่า ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ว่า คุณ ม. ทำอะไร ไว้บ้าง คุณ ม. ไม่ได้พูดหรือบอกอะไรที่บริษัทเลย และอ้างว่า เราคุยกับคุณ ม 2 คน ไม่มีพยานรับรู้ เราต้องเล่าท้าวความตั้งแต่ต้นจนจบอีกรอบ และบอกว่า คณะกรรมการและลูกบ้านที่เข้าประชุมใน 2 ครั้ง นั้นเป็นพยานได้อย่างดี ว่า คุณ ม. สารภาพด้วยตัวเอง และตามกฎหมายเราได้สิทธิ์อันชอบในฐานะเจ้าของทรัพย์แล้วอย่างสมบรูณ์ตั้งแต่วันเสร็จสิ้นการดัดแปลง เขาอ้างว่า ถ้ามีลายเซ็นของคุณ ม. เขาถึงจะยอมจ่ายเรา และถ้าเราไม่ยอม เขาจะเล่นงานทางกฎหมาย ด้วย มาตรา 48 วรรค 3 ..