ในกระทู้ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงการพยายามถ่ายยีนบางส่วนของไทลาซีนหรือเสือแทสมาเนียนเข้าไปในตัวอ่อนหนู เพื่อให้ยีนของไทลาซีนมีการแสดงออกในตัวอ่อนของสัตว์ต่างชนิด เป็นความพยายามในการพื้นคืนชีพสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ขณะเดียวกันบางท่านอาจจำได้ว่าเคยมีข่าวที่ตัวอ่อนของไก่ได้รับการดัดแปลงจนมีขาเหมือนไดโนเสาร์ แล้วมันเป็นมาอย่างไร ขาไก่กับขาไดโนเสาร์ต่างกันเพียงไร ลองมาดูกันเถอะ
ภาพจาก Joâo Botelho et. al. (2016)
ไอเดียนี้มีที่มาจากทฤษฎีที่ว่า นกทุกชนิดเป็นทายาทของไดโนเสาร์ แต่ในกลุ่มของนก (Avian) นั้นมีโครงสร้างของกระดูกขาที่แตกต่างจากไดโนเสาร์ โดยในขาของนกและไดโนเสาร์นั้นกระดูกขาจะประกอบด้วยกระดูก 2 ชิ้น (เช่นเดียวกับมนุษย์) คือ Tibia (แข้ง) และ Fibula (น่อง) ในไดโนเสาร์กระดูกทั้งสองจะเป็นรูปแท่ง ยาวตลอดความยาวของแข้ง ขณะที่ในนก กระดูก Fibula จะเปลี่ยนรูปไป คือจะมีรูปร่างเรียวลง แหลมบริเวณปลาย และสั้นลงกว่า Tibia ทำให้กระดูก Fibula ในนกยาวไม่ถึงกระดูกข้อเท้าแบบไดโนเสาร์และมนุษย์ ตัวกระดูก Fibula นี้ดูเหมือนจะมีพัฒนาการที่ดีในระยะที่ลูกนกยังเป็นเอมบริโออยู่แต่หยุดพัฒนาไปซะเฉยๆเมื่อยาวมาได้ครึ่งทางของ Tibia
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ลักษณะของกระดูก Tibia และ Fibula ในกลุ่มของเทอโรซอร์หรือสัตว์เลื้อยคลานบินได้ เทอโรพอดหรือไดโนเสาร์กลุ่มกินเนื้อเดินสองขาและนก
ทีมจาก University of Chile นำโดย Joâo Botelho ทำการศึกษาในปี 2016 และพบยีนในนกที่มีชื่อว่า Indian Hedgehog (IHH) ยีนนี้จะไปหยุดการพัฒนาของ Fibula ทำให้ตัวอ่อนนกมีขาแบบนกสมัยใหม่ จึงได้ทดลองยับยั้งการทำงานของยีน IHH ในเอมบริโอของไก่ดู ผลที่ได้นั้นน่าพอใจ ตัวอ่อนไก่มีกระดูกขาที่มี Fibula และ Tibia ยาวเท่ากันเหมือนกับขาของไดโนเสาร์
ทีมของ Botelho ยังสังเกตอีกด้วยว่าในตัวอ่อนไก่ปกติ กระดูก Fibula ดูจะหยุดการพัฒนาก่อนกระดูกส่วนอื่นและเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นโดยมีเหตุมาจากการพัฒนาของกระดูก Calcaneum หรือ กระดูกส้นเท้า ในไดโนเสาร์กระดูก Fibula จะยาวมาถึง Calcaneum นี้ แต่ก็เกิดปัญหาอีกคือ เมื่อหยุดการทำงานของยีน IHH แล้ว จะไปทำให้ยีนอีกตัว คือ Parathyroid-related protein (PthrP) มีการแสดงออกมากเกินไป ส่งผลให้กระดูก Fibula ยาวเกิน Tibia ไปอีก ซึ่งก็ต้องศึกษาการทำงานของกลุ่มยีนที่ควบคุมการสร้างกระดูกขาต่อไปว่ามีกี่ยีนกันแน่และแต่ละยีนทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร
อย่างไรก็ตามตัวอ่อนไก่ที่มีขาไดโนเสาร์ไม่ได้ฟักออกมาเป็นตัว และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งเดียวที่มีความพยายามฟื้นลักษณะบางประการที่หายไปของไดโนเสาร์ในตัวนก ลักษณะอื่นๆ เช่น ไก่ที่มีเท้าไดโนเสาร์ หรือปากที่ไม่มีจงอยก็เคยถูกศึกษาในนกเช่นกัน
ที่มาของข้อมูลและอ่านเพิ่มเติม
Molecular development of fibular reduction in birds and its evolution from dinosaurs. João Francisco Botelho et al., 2016
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/evo.12882
https://phys.org/news/2016-03-molecular-reverses-evolution-birds-dinosaur-like.html
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้บทความนี้เคยโพสต์ในเพจ "สมุดบันทึกไดโนเสาร์" เช่นเคย ใครสนใจเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไปติดตามเราได้ครับ ที่ https://www.facebook.com/Dinosaursdiary
ตัวอ่อนไก่ที่มีกระดูกขาแบบไดโนเสาร์
ภาพจาก Joâo Botelho et. al. (2016)
ไอเดียนี้มีที่มาจากทฤษฎีที่ว่า นกทุกชนิดเป็นทายาทของไดโนเสาร์ แต่ในกลุ่มของนก (Avian) นั้นมีโครงสร้างของกระดูกขาที่แตกต่างจากไดโนเสาร์ โดยในขาของนกและไดโนเสาร์นั้นกระดูกขาจะประกอบด้วยกระดูก 2 ชิ้น (เช่นเดียวกับมนุษย์) คือ Tibia (แข้ง) และ Fibula (น่อง) ในไดโนเสาร์กระดูกทั้งสองจะเป็นรูปแท่ง ยาวตลอดความยาวของแข้ง ขณะที่ในนก กระดูก Fibula จะเปลี่ยนรูปไป คือจะมีรูปร่างเรียวลง แหลมบริเวณปลาย และสั้นลงกว่า Tibia ทำให้กระดูก Fibula ในนกยาวไม่ถึงกระดูกข้อเท้าแบบไดโนเสาร์และมนุษย์ ตัวกระดูก Fibula นี้ดูเหมือนจะมีพัฒนาการที่ดีในระยะที่ลูกนกยังเป็นเอมบริโออยู่แต่หยุดพัฒนาไปซะเฉยๆเมื่อยาวมาได้ครึ่งทางของ Tibia
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทีมจาก University of Chile นำโดย Joâo Botelho ทำการศึกษาในปี 2016 และพบยีนในนกที่มีชื่อว่า Indian Hedgehog (IHH) ยีนนี้จะไปหยุดการพัฒนาของ Fibula ทำให้ตัวอ่อนนกมีขาแบบนกสมัยใหม่ จึงได้ทดลองยับยั้งการทำงานของยีน IHH ในเอมบริโอของไก่ดู ผลที่ได้นั้นน่าพอใจ ตัวอ่อนไก่มีกระดูกขาที่มี Fibula และ Tibia ยาวเท่ากันเหมือนกับขาของไดโนเสาร์
ทีมของ Botelho ยังสังเกตอีกด้วยว่าในตัวอ่อนไก่ปกติ กระดูก Fibula ดูจะหยุดการพัฒนาก่อนกระดูกส่วนอื่นและเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นโดยมีเหตุมาจากการพัฒนาของกระดูก Calcaneum หรือ กระดูกส้นเท้า ในไดโนเสาร์กระดูก Fibula จะยาวมาถึง Calcaneum นี้ แต่ก็เกิดปัญหาอีกคือ เมื่อหยุดการทำงานของยีน IHH แล้ว จะไปทำให้ยีนอีกตัว คือ Parathyroid-related protein (PthrP) มีการแสดงออกมากเกินไป ส่งผลให้กระดูก Fibula ยาวเกิน Tibia ไปอีก ซึ่งก็ต้องศึกษาการทำงานของกลุ่มยีนที่ควบคุมการสร้างกระดูกขาต่อไปว่ามีกี่ยีนกันแน่และแต่ละยีนทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร
อย่างไรก็ตามตัวอ่อนไก่ที่มีขาไดโนเสาร์ไม่ได้ฟักออกมาเป็นตัว และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งเดียวที่มีความพยายามฟื้นลักษณะบางประการที่หายไปของไดโนเสาร์ในตัวนก ลักษณะอื่นๆ เช่น ไก่ที่มีเท้าไดโนเสาร์ หรือปากที่ไม่มีจงอยก็เคยถูกศึกษาในนกเช่นกัน
ที่มาของข้อมูลและอ่านเพิ่มเติม
Molecular development of fibular reduction in birds and its evolution from dinosaurs. João Francisco Botelho et al., 2016 https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/evo.12882
https://phys.org/news/2016-03-molecular-reverses-evolution-birds-dinosaur-like.html
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้