วันที่ 20 ธันวาคม 2561 - 17:00 น.
ภาพถ่ายจากโดรนแสดงฝูงเพนกวินอาเดลีแห่งหมู่เกาะแดนเจอร์ (ภาพ-Thomas Sayre McChord, Hanumant Singh, Northeastern University, Woods Hole Oceanographic Institution)
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันอาศัยอัลกอริธึ่มพิเศษที่เขียนขึ้นเป็นการเฉพาะ ตรวจสอบภาพถ่ายผ่านดาวเทียมทั่วพื้นที่แอนตาร์ติก เพื่อตรวจสอบสภาพนิเวศของแหล่งที่อยู่อาศัยของเพนกวิน อาเดลี บนทวีปน้ำแข็งแห่งนี้ ลงเอยด้วยการค้นพบครั้งใหญ่ในแวดวงชีววิทยา เมื่อพบอาณาจักรเพนกวิน อาเดลี ที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน บนเกาะเล็กๆ ที่ถูกรายล้อมด้วยทะเลที่จับเป็นน้ำแข็ง มีเพนกวินสายพันธุ์นี้อยู่มากกว่า 1.5 ล้านตัว
เดิมทีทีมวิจัยที่นำโดย ฮีเธอร์ ลินช์ นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยสโตนี บรูก ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ใช้วิธีการตรวจภาพถ่ายผ่านดาวเทียมทีละภาพโดยละเอียดด้วยกำลังคน โดยใช้เวลานานถึง 10 เดือน แต่ยังไม่คืบหน้ามากเท่าใดนัก ทำให้หนึ่งในทีมวิจัยซึ่งเคยทำงานอยู่กับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) จัดการเขียนอัลกอริธึมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบหาร่องรอยของเพนกวินจากภาพถ่ายผ่านดาวเทียมเหล่านี้เป็นการเฉพาะ ไม่เพียงทำให้การตรวจสอบเร็วขึ้นเท่านั้น ยังส่งผลให้สามารถค้นพบแหล่งที่อยู่ใหม่ของอาเดลีเพนกวินครั้งนี้อีกด้วย
โฉมหน้า อาเดลี เพนกวิน (ภาพ-Andrew Shiva/ Wikipedia)
ร่องรอยที่ถูกคอมพิวเตอร์ตรวจพบก็คือ รอยเปื้อนมูลนกเพนกวินที่กระจายอยู่ทั่วหมู่เกาะที่ถูกขนานนามว่า “แดนเจอร์ ไอส์แลนด์”
“เราคิดว่าเรารู้อณาจักรเพนกวินอาเดลีทุกแห่งที่นั่นแล้ว เอาเข้าจริงก็พลาดจนได้” ลินช์บอกโดยให้เหตุผลว่า ส่วนหนึ่งที่พลากกันเพราะไม่คิดว่าจะพบพวกมันที่นั่น หมู่เกาะเหล่านี้มีขนาดเล็กมากจนไม่ปรากฏอยู่ในแผนที่แอนตาร์กติคส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ทีมสำรวจส่วนหนึ่งเคยขึ้นไปสำรวจหนึ่งในหมู่เกาะแห่งนี้มาก่อนแต่ ไม่ได้สำรวจทั่วทั้งหมู่เกาะ เนื่องจากอันตรายสมชื่อ เพราะมักถูกปกคลุมด้วยน้ำทะเลที่จับตัวเป็นน้ำแข็งอยู่เกือบตลอดทั้งปี ทำให้ประชากรเพนกวินอาดีเลทั่วไปยังไม่สามารถเข้าถึงตัวเกาะ
ลินช์ส่งทีมสำรวจเดินทางออกไปยังหมู่เกาะแห่งนี้เพื่อดำเนินการสำรวจเต็มรูปแบบ นับจำนวนประชากรนกบนเกาะทั้งหมด ทั้งจากทางภาคพื้นดินและด้วยโดรนจากทางอากาศ
การค้นพบครั้งนี้ กลายเป็นข่าวดีข่าวใหญ่สำหรับนักอนุรักษ์ทั้งหลาย เนื่องจากประชากรเพนกวินอาเดลีบนผ่นดินใหญ่ของทวีปกำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากภาวะโลกร้อนที่แย่ลงอย่างต่อเนื่องตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ทีมสำรวจพบว่าแม้จะมีจำนวนมากถึง 1.5 ล้านตัว แต่ก็ยังไม่ใช่จำนวนฝูงสูงสุดของอณาจักรเพนกวินแห่งนี้ หลังจากตรวจสอบภาพถ่ายผ่านดาวเทียมในพื้นที่เดียวกันย้อนหลังกลับไปถึงปี 1982 ทีมสำรวจเชื่อว่าจำนวนประชากรของอาณาจักรเพนกวินแห่งนี้น่าจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1990 หลังจากนั้นก็ค่อยๆ ลดลงเรื่อย แต่ไม่ใช่ในอัตราที่น่าตกใจ ลดลงอยู่ในราว 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ทีมสำรวจแยกกันออกเป็นหลายทีม ส่วนหนึ่งซึ่งนำโดย เคซีย์ ยังเฟลช นักวิจัยหลังปริญญาเอกประจำมหาวิทยาลัยคอนเนคติกัต ใช้เวลาส่วนหนึ่งตรวจสอบมูลของเพนกวินเหล่านี้เพื่อหาว่าพวกมันกินอะไรเป็นอาหาร อีกทีมนำโดย ไมเคิล โพลิโต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะสมุทรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชายฝั่งของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐหลุยเซียนา ขุดหลุมลึกลงไปบนตัวเกาะ เพื่อสืบค้นประวัติศาสตร์ในอดีตของเพนกวินกลุ่มนี้ จากการนำเอากระดูกและเศษเปลือกไข่ที่ได้จากหลุมเหล่านี้มาตรวจสอบหาอายุด้วยเทคนิค เรดิโอคาร์บอน พบว่าพวกมันซ่อนตัวอยู่บนหมู่เกาะแดนเจอร์ อยู่นานมากแล้ว
อย่างน้อยที่สุดก็มีปรากฏอยู่บนเกาะเหล่านี้มาตั้งแต่ 2,800 ปีก่อน
เป้าหมายต่อไปของทีมสำรวจก็คือการค้นหาสาเหตุที่ทำให้ประชากรเพนกวินลดจำนวนลง เพื่อหาทางอนุรักษ์อณาจักรเพนกวินเก่าแก่แห่งนี้ให้คงอยู่ต่อไป
มติชนออนไลน์
พบอาณาจักรเพนกวิน ซ่อนตัวนาน 2,800 ปี
ภาพถ่ายจากโดรนแสดงฝูงเพนกวินอาเดลีแห่งหมู่เกาะแดนเจอร์ (ภาพ-Thomas Sayre McChord, Hanumant Singh, Northeastern University, Woods Hole Oceanographic Institution)
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันอาศัยอัลกอริธึ่มพิเศษที่เขียนขึ้นเป็นการเฉพาะ ตรวจสอบภาพถ่ายผ่านดาวเทียมทั่วพื้นที่แอนตาร์ติก เพื่อตรวจสอบสภาพนิเวศของแหล่งที่อยู่อาศัยของเพนกวิน อาเดลี บนทวีปน้ำแข็งแห่งนี้ ลงเอยด้วยการค้นพบครั้งใหญ่ในแวดวงชีววิทยา เมื่อพบอาณาจักรเพนกวิน อาเดลี ที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน บนเกาะเล็กๆ ที่ถูกรายล้อมด้วยทะเลที่จับเป็นน้ำแข็ง มีเพนกวินสายพันธุ์นี้อยู่มากกว่า 1.5 ล้านตัว
เดิมทีทีมวิจัยที่นำโดย ฮีเธอร์ ลินช์ นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยสโตนี บรูก ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ใช้วิธีการตรวจภาพถ่ายผ่านดาวเทียมทีละภาพโดยละเอียดด้วยกำลังคน โดยใช้เวลานานถึง 10 เดือน แต่ยังไม่คืบหน้ามากเท่าใดนัก ทำให้หนึ่งในทีมวิจัยซึ่งเคยทำงานอยู่กับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) จัดการเขียนอัลกอริธึมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบหาร่องรอยของเพนกวินจากภาพถ่ายผ่านดาวเทียมเหล่านี้เป็นการเฉพาะ ไม่เพียงทำให้การตรวจสอบเร็วขึ้นเท่านั้น ยังส่งผลให้สามารถค้นพบแหล่งที่อยู่ใหม่ของอาเดลีเพนกวินครั้งนี้อีกด้วย
โฉมหน้า อาเดลี เพนกวิน (ภาพ-Andrew Shiva/ Wikipedia)
ร่องรอยที่ถูกคอมพิวเตอร์ตรวจพบก็คือ รอยเปื้อนมูลนกเพนกวินที่กระจายอยู่ทั่วหมู่เกาะที่ถูกขนานนามว่า “แดนเจอร์ ไอส์แลนด์”
“เราคิดว่าเรารู้อณาจักรเพนกวินอาเดลีทุกแห่งที่นั่นแล้ว เอาเข้าจริงก็พลาดจนได้” ลินช์บอกโดยให้เหตุผลว่า ส่วนหนึ่งที่พลากกันเพราะไม่คิดว่าจะพบพวกมันที่นั่น หมู่เกาะเหล่านี้มีขนาดเล็กมากจนไม่ปรากฏอยู่ในแผนที่แอนตาร์กติคส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ทีมสำรวจส่วนหนึ่งเคยขึ้นไปสำรวจหนึ่งในหมู่เกาะแห่งนี้มาก่อนแต่ ไม่ได้สำรวจทั่วทั้งหมู่เกาะ เนื่องจากอันตรายสมชื่อ เพราะมักถูกปกคลุมด้วยน้ำทะเลที่จับตัวเป็นน้ำแข็งอยู่เกือบตลอดทั้งปี ทำให้ประชากรเพนกวินอาดีเลทั่วไปยังไม่สามารถเข้าถึงตัวเกาะ
ลินช์ส่งทีมสำรวจเดินทางออกไปยังหมู่เกาะแห่งนี้เพื่อดำเนินการสำรวจเต็มรูปแบบ นับจำนวนประชากรนกบนเกาะทั้งหมด ทั้งจากทางภาคพื้นดินและด้วยโดรนจากทางอากาศ
การค้นพบครั้งนี้ กลายเป็นข่าวดีข่าวใหญ่สำหรับนักอนุรักษ์ทั้งหลาย เนื่องจากประชากรเพนกวินอาเดลีบนผ่นดินใหญ่ของทวีปกำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากภาวะโลกร้อนที่แย่ลงอย่างต่อเนื่องตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ทีมสำรวจพบว่าแม้จะมีจำนวนมากถึง 1.5 ล้านตัว แต่ก็ยังไม่ใช่จำนวนฝูงสูงสุดของอณาจักรเพนกวินแห่งนี้ หลังจากตรวจสอบภาพถ่ายผ่านดาวเทียมในพื้นที่เดียวกันย้อนหลังกลับไปถึงปี 1982 ทีมสำรวจเชื่อว่าจำนวนประชากรของอาณาจักรเพนกวินแห่งนี้น่าจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1990 หลังจากนั้นก็ค่อยๆ ลดลงเรื่อย แต่ไม่ใช่ในอัตราที่น่าตกใจ ลดลงอยู่ในราว 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ทีมสำรวจแยกกันออกเป็นหลายทีม ส่วนหนึ่งซึ่งนำโดย เคซีย์ ยังเฟลช นักวิจัยหลังปริญญาเอกประจำมหาวิทยาลัยคอนเนคติกัต ใช้เวลาส่วนหนึ่งตรวจสอบมูลของเพนกวินเหล่านี้เพื่อหาว่าพวกมันกินอะไรเป็นอาหาร อีกทีมนำโดย ไมเคิล โพลิโต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะสมุทรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชายฝั่งของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐหลุยเซียนา ขุดหลุมลึกลงไปบนตัวเกาะ เพื่อสืบค้นประวัติศาสตร์ในอดีตของเพนกวินกลุ่มนี้ จากการนำเอากระดูกและเศษเปลือกไข่ที่ได้จากหลุมเหล่านี้มาตรวจสอบหาอายุด้วยเทคนิค เรดิโอคาร์บอน พบว่าพวกมันซ่อนตัวอยู่บนหมู่เกาะแดนเจอร์ อยู่นานมากแล้ว
อย่างน้อยที่สุดก็มีปรากฏอยู่บนเกาะเหล่านี้มาตั้งแต่ 2,800 ปีก่อน
เป้าหมายต่อไปของทีมสำรวจก็คือการค้นหาสาเหตุที่ทำให้ประชากรเพนกวินลดจำนวนลง เพื่อหาทางอนุรักษ์อณาจักรเพนกวินเก่าแก่แห่งนี้ให้คงอยู่ต่อไป
มติชนออนไลน์