คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
การที่ลูกจ้างมีกำหนดลาออกอยู่แล้ว แต่นายจ้างให้พ้นสภาพก่อนถึงกำหนดลาออก ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
เป็นการสนองตอบความประสงค์ของลูกจ้างให้เร็วขึ้น
คำพิพากษาฎีกา ที่ 3459/2556
ลูกจ้างยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2526 โดยให้มีผลวันที่ 15 กรกฎาคม 2526 ต่อมาวันที่ 24 มิถุนายน 2526 นายจ้างประกาศให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งโดยให้ค่าจ้างถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2526 เป็นประกาศให้พ้นตำแหน่งเพราะเหตุที่ลูกจ้างลาออกการที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งก่อนวันที่ประสงค์ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง
อย่างไรก็ดี การที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานก่อนครบกำหนดในหนังสือลาออก นายจ้างต้องใช้ค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างมีสิทธิอยู่ทำงานตามที่ระบุในหนังสือลาออก เช่น
คำพิพากษาฎีกา ที่ 1196-1218/2546
นายจ้างจ้างลูกจ้างทำงานโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 25 ของเดือน เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกต่อนายจ้างก่อนวันที่ 25 ของเดือน จึงมีผลเป็นการลาออกเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ซึ่งมีระยะเวลาเกินกว่า 30 วันนับแต่วันยื่นใบลาออก แต่นายจ้างกลับอนุมัติให้มีผลเป็นการลาออกในวันที่ลูกจ้างยื่นใบลาออก ซึ่งเป็นเวลาก่อนกำหนดที่ลูกจ้างประสงค์จะให้มีผลเป็นการลาออก ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออก
อ้างอิง: คำอธิบายกฎหมายแรงงานเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดย อ.พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น
เป็นการสนองตอบความประสงค์ของลูกจ้างให้เร็วขึ้น
คำพิพากษาฎีกา ที่ 3459/2556
ลูกจ้างยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2526 โดยให้มีผลวันที่ 15 กรกฎาคม 2526 ต่อมาวันที่ 24 มิถุนายน 2526 นายจ้างประกาศให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งโดยให้ค่าจ้างถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2526 เป็นประกาศให้พ้นตำแหน่งเพราะเหตุที่ลูกจ้างลาออกการที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งก่อนวันที่ประสงค์ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง
อย่างไรก็ดี การที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานก่อนครบกำหนดในหนังสือลาออก นายจ้างต้องใช้ค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างมีสิทธิอยู่ทำงานตามที่ระบุในหนังสือลาออก เช่น
คำพิพากษาฎีกา ที่ 1196-1218/2546
นายจ้างจ้างลูกจ้างทำงานโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 25 ของเดือน เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกต่อนายจ้างก่อนวันที่ 25 ของเดือน จึงมีผลเป็นการลาออกเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ซึ่งมีระยะเวลาเกินกว่า 30 วันนับแต่วันยื่นใบลาออก แต่นายจ้างกลับอนุมัติให้มีผลเป็นการลาออกในวันที่ลูกจ้างยื่นใบลาออก ซึ่งเป็นเวลาก่อนกำหนดที่ลูกจ้างประสงค์จะให้มีผลเป็นการลาออก ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออก
อ้างอิง: คำอธิบายกฎหมายแรงงานเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดย อ.พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น
แสดงความคิดเห็น
เขียนใบลาออกล่วงหน้าสิ้นเดือนตามกฎ แต่บริษัท ทำหน้าสือพ้นสภาพการเป็นพนักงานเลยตอนกลางเดือน ถือว่า ไล่ออกหรือเปล่า
รายละเอียด
เบื้องต้น ได้เขียนใบลาออก สิ้นเดือน มกราคมปี 62 ซึ่งทางกรรมการผู้มีชื่อลงนาม ได้เซ็นอนุมัติเรียบร้อย
แต่แจ้งว่าให้หยุดงานได้เลย ใบลาออกให้มีผลสิ้นเดือนธันวาคม 61
อันนี้ก็ถือว่าให้หยุดงานเอง และให้มีผลเร็วกว่าในใบลาออก อันนี้ไม่ว่ากัน แก้ไขใบลาออกเป็นสิ้นเดือนธันวาคม 61
แต่จู่ ๆ บริษัทก็ทำหนังแจ้งการพ้นสภาพการเป็นพนักงาน ลงวันที่ 15/12/61 มีผล 15/12/61
ถามว่า เข้าข่ายโดนไล่ออกหรือเปล่า จะไปแจ้งทางประกันสังคมว่า ยังงัย ให้ยึดหนังสืออันไหน
ไม่ได้มีเจตนาฟ้องร้องบริษัท นะ แค่อยากรู้ว่าจะได้สิทธิ์อะไรจากทางประกันสังคมบ้าง ส่งมา 4 ปีกว่า