ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 6
มีหลักฐานว่าคนในสมัยอยุทธยาเรียกตนเองว่า ไทย ใช้ภาษาไทย เรียกชื่อรัฐว่ากรุงไทย เรียกกษัตริย์ว่าพระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงไทย
https://ppantip.com/topic/37451391/comment2
การจำแนกชนกลุ่มต่างๆ ออกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnicity) ปรากฏหลักฐานในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่โบราณแล้ว โดยชาติพันธ์ุในมุมมองคนสมัยโบราณไม่ได้จำแนกตามคุณสมบัติทางพันธุกรรม แต่จำแนกตามอัตลักษณ์ที่คนกลุ่มหนึ่งมีร่วมกัน เช่น ภาษา รูปร่างหน้าตา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดพัฒนาการความเป็นชนชาติขึ้นมา
มีหลักฐานว่าประชากรหลักของสยามในสมัยอยุทธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นรับรู้ (acknowledge) และเรียกตนเองว่า "ไทย" และเรียกภาษาของตนว่า "ภาษาไทย" เรียกราชธานีซึ่งมีคนไทยเป็นประชากรหลักว่า "กรุงไทย" หรือ "เมืองไทย" คนที่ใช้ภาษาและวัฒนธรรมเดียวกันในเมืองอื่นก็ถูกเรียกว่า ไทย เช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันคนในสมัยนั้นก็รู้จักที่จะจำแนกชนชาติอื่นๆ ด้วย ดังที่มีหลักฐานว่าคนสมัยอยุทธยารับรู้ว่ามีกลุ่มคนต่างชาติต่างภาษาที่เรียกว่า ลาว พม่า มอญ เขมร จีน จาม ญวน แขก ฝรั่ง ฯลฯ ซึ่งอาจอาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันได้
คนในสมัยโบราณไม่ได้จำแนกความเป็นเชื้อชาติแบบ race หรือ ethno-racial ที่ยึดถือตามลักษณะทางกายภาพและพันธุกรรมเป็นหลัก ชนชาติหนึ่งอาจถูกผสมกลืนจนสามารถกลายเป็นอีกชนชาติหนึ่งได้ ปรากฏในหลักฐานของลา ลูแบร์ กับ แฌร์แวส ระบุตรงกันว่า ประชากรไทยสยามมีการผสมผสานทางสายเลือดกับชาวต่างชาติมาก มีประชากรชาวลาว (หมายถึงล้านนาและล้านช้าง) กับชาวมอญที่ถูกกวาดต้อนจำนวนมากซึ่งกลมกลืนเป็นชนชาติเดียวกับไทยสยามจนยากจะแยกความแตกต่างได้
ความเป็นชนชาติจึงอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการสืบทอดทางพันธุกรรม แต่เป็นการสืบทอดอัตลักษณ์ที่มีจากรุ่นสู่รุ่น คนไทยในปัจจุบันอาจเป็นคนที่รับสืบทอดอัตลักษณ์ที่ถูกเรียกว่าไทยจากคนสมัยอยุทธยาผ่านมารุ่นสู่รุ่นและมีพัฒนาการมาตามลำดับจนกลายเป็นจินตกรรมเรื่องชาติในสมัยใหม่ โดยคนไทยในปัจจุบันอาจไม่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับคนไทยสมัยอยุทธยาเลย
การรับรู้เรื่องชนชาติในบริบทของคนโบราณแตกต่างกับความเป็น "รัฐชาติ" (nation-state) เพราะกรุงไทยของคนอยุทธยาเป็นดินแดนที่มีคนต่างชาติต่างภาษาอยู่จำนวนมาก ไม่ได้มีข้อบังคับประชากรในอาณาจักรต้องถือสัญชาติเป็นไทย ต่างจากสังคมแบบรัฐชาติสมัยใหม่ที่กำหนดให้ประชาการในประเทศต้องมีสัญชาติไทย มีภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ซึ่งพบว่ามีการเริ่มดำเนินตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาจนเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัฐนิยมยุครัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ทำให้ประเทศไทยเป็น "รัฐชาติไทย" อย่างสมบูรณ์
คนไทยสมัยอยุทธยากับคนไทยในปัจจุบันอาจไม่ใช่ประชากรกลุ่มเดียวกันตามหลักพันธุกรรมทั้งหมด แต่ก็มีหลักฐานว่าได้สืบทอดจินตกรรมในเรื่องความเป็นชนชาติสืบต่อกันมา การกล่าวว่าไทยสมัยกรุงศรีอยุทธยา ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และประเทศไทยในปัจจุบันไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิงเป็นการมองประวัติศาสตร์ที่ "ขาดความต่อเนื่อง" และขัดแย้งกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ว่ากรุงรัตนโกสินทร์ได้รับสืบทอดภาษาวัฒนธรรมประเพณีมาจากกรุงศรีอยุทธยาอย่างเห็นได้ชัด ชนชั้นนำและประชากรจำนวนมากเป็นประชากรในสมัยกรุงศรีอยุทธยา มีสำนึกรับรู้และควาผูกพันว่าได้สืบเชื้อสายมาจากสมัยอยุทธยา เรียกชื่อพระนครว่า "กรุงพระมหานครศรีอยุทธยา" และเรียกพลเมืองส่วนใหญ่ว่า "ไทย"
ถ้าไม่เกี่ยวข้องกันจริง ก็คงไม่มีความจำเป็นที่คนสมัยรัตนโกสินทร์จะต้องเจ็บแค้นกับการกระทำที่อังวะทำกับกรุงเก่า ดังที่ปรากฏในนิราศเพลงยาวตีเมืองพม่าของกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาทว่า
มันทำเมืองเราก่อนเท่าใด จะทดแทนมันให้หมดสิ้น
มันจิตต์อหังการ์ทามิฬ จะล้างให้สุดสิ้นอย่าสงกา
การเสร็จสำเร็จลงเมื่อใด ซึ่งคิดไว้ขอให้สมปราถนา
แม้นมิได้ก็ไม่กลับคืนมา จะเห็นเมืองพม่าในครั้งนี้
เกรงกริ่งอยู่แต่ข้างทัพบก จะไม่ยกหักได้ให้ถึงที่
เกลือกมันกั้นตัดทางตี จะตัดที่เสบียงอาหารไว้
ไม่สมคเนให้เรรวน ทำป่วนไม่หักเอามันได้
เท่านี้ดอกที่วิตกใจ จะทำให้เสียการเหมือนทวาย
เมื่อชนะแล้วกลับแพ้ให้แชไป จึงเสียไชยเสียเชิงไม่สมหมาย
พากันหนีแต่ไม่มีอันตราย ถ้าเสียหายอย่างอื่นไม่เปนไร
อันกรุงรัตนอังวะครั้งนี้ฤๅ จักพ้นเนื้อมืออย่าสงไสย
พม่าจะมาเปนข้าไทย จะได้ใช้สร้างกรุงอยุธยา
ในสงครามตีเมืองทวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทรงหวังจะใช้เมืองทวายเป็นฐานในการขยายอำนาจไปพม่าเพื่อกวาดต้อนเชลยอยุทธยากลับมา แต่กรมพระราชวังบวรฯ ทรงเห็นว่ารักษาเมืองทวายไว้ได้ยาก จะขอรื้อกำแพงเมืองแล้วกวาดครัวอพยพกลับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระพิโรธ ทรงมีหนังสือไปตำหนิกรมพระราชวังบวรฯว่า
"อ้ายพม่ายกมาตีกรุงได้ชาวกรุงแลพี่น้องขึ้นไปไว้ แต่ที่เมืองทวายเมืองเดียวดอกฤา เมืองอังวะแลเมืองอื่น ๆ ไทยชาวกรุงไม่มีฤา ไม่ช่วยเจ็บแค้นขึ้งโกรธบ้างเลย"
สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นถึงสำนึกรับรู้หรือจินตกรรมในเรื่องความผูกพันที่คนสมัยรัตนโกสินทร์มีต่อคนอยุทธยาได้อย่างชัดเจน
การสรุปทั้งสองอาณาจักรไม่เกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิงเพียงเพราะต่างอาณาจักรต่างช่วงเวลา เป็นการมองประวัติศาสตร์ว่าแต่ละอาณาจักรอยู่แยกกันโดดเดี่ยว โดยละเลยความต่อเนื่องรัฐและไม่สามารถอธิบายถึงพัฒนาการทางสังคมที่สืบทอดต่อมาของอยุทธยามาสู่รัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อรัฐไม่ก็ตาม แต่ไม่สามารถปฏิเสธหลักฐานความสัมพันธ์ของอยุทธยากับรัตนโกสินทร์ได้ครับ
ส่วนอาณาจักรอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน หลายรัฐเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุทธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเป็นชนชาติต่างภาษา ที่ไม่ได้ถูกนับว่าเป็น "ไทย" เหมือนกับประชากรส่วนใหญ่ของอยุทธยาและรัตนโกสินทร์ เช่น ดินแดนมลายูถูกสยามมองว่าเป็น "แขก" ล้านนาล้านช้างในอดีตถูกมองว่าเป็น "ลาว" (แม้จะมีหลักฐานว่าล้านนาไม่ได้เรียกตนเองว่าลาว แต่เรียกว่า ไท) แต่รัฐเหล่านั้นก็ถูกผนวกกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบันไปแล้ว การที่บอกว่ารัฐเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ "ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย" จึงไม่ใช่เรื่องผิดครับ
https://ppantip.com/topic/37451391/comment2
การจำแนกชนกลุ่มต่างๆ ออกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnicity) ปรากฏหลักฐานในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่โบราณแล้ว โดยชาติพันธ์ุในมุมมองคนสมัยโบราณไม่ได้จำแนกตามคุณสมบัติทางพันธุกรรม แต่จำแนกตามอัตลักษณ์ที่คนกลุ่มหนึ่งมีร่วมกัน เช่น ภาษา รูปร่างหน้าตา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดพัฒนาการความเป็นชนชาติขึ้นมา
มีหลักฐานว่าประชากรหลักของสยามในสมัยอยุทธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นรับรู้ (acknowledge) และเรียกตนเองว่า "ไทย" และเรียกภาษาของตนว่า "ภาษาไทย" เรียกราชธานีซึ่งมีคนไทยเป็นประชากรหลักว่า "กรุงไทย" หรือ "เมืองไทย" คนที่ใช้ภาษาและวัฒนธรรมเดียวกันในเมืองอื่นก็ถูกเรียกว่า ไทย เช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันคนในสมัยนั้นก็รู้จักที่จะจำแนกชนชาติอื่นๆ ด้วย ดังที่มีหลักฐานว่าคนสมัยอยุทธยารับรู้ว่ามีกลุ่มคนต่างชาติต่างภาษาที่เรียกว่า ลาว พม่า มอญ เขมร จีน จาม ญวน แขก ฝรั่ง ฯลฯ ซึ่งอาจอาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันได้
คนในสมัยโบราณไม่ได้จำแนกความเป็นเชื้อชาติแบบ race หรือ ethno-racial ที่ยึดถือตามลักษณะทางกายภาพและพันธุกรรมเป็นหลัก ชนชาติหนึ่งอาจถูกผสมกลืนจนสามารถกลายเป็นอีกชนชาติหนึ่งได้ ปรากฏในหลักฐานของลา ลูแบร์ กับ แฌร์แวส ระบุตรงกันว่า ประชากรไทยสยามมีการผสมผสานทางสายเลือดกับชาวต่างชาติมาก มีประชากรชาวลาว (หมายถึงล้านนาและล้านช้าง) กับชาวมอญที่ถูกกวาดต้อนจำนวนมากซึ่งกลมกลืนเป็นชนชาติเดียวกับไทยสยามจนยากจะแยกความแตกต่างได้
ความเป็นชนชาติจึงอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการสืบทอดทางพันธุกรรม แต่เป็นการสืบทอดอัตลักษณ์ที่มีจากรุ่นสู่รุ่น คนไทยในปัจจุบันอาจเป็นคนที่รับสืบทอดอัตลักษณ์ที่ถูกเรียกว่าไทยจากคนสมัยอยุทธยาผ่านมารุ่นสู่รุ่นและมีพัฒนาการมาตามลำดับจนกลายเป็นจินตกรรมเรื่องชาติในสมัยใหม่ โดยคนไทยในปัจจุบันอาจไม่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับคนไทยสมัยอยุทธยาเลย
การรับรู้เรื่องชนชาติในบริบทของคนโบราณแตกต่างกับความเป็น "รัฐชาติ" (nation-state) เพราะกรุงไทยของคนอยุทธยาเป็นดินแดนที่มีคนต่างชาติต่างภาษาอยู่จำนวนมาก ไม่ได้มีข้อบังคับประชากรในอาณาจักรต้องถือสัญชาติเป็นไทย ต่างจากสังคมแบบรัฐชาติสมัยใหม่ที่กำหนดให้ประชาการในประเทศต้องมีสัญชาติไทย มีภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ซึ่งพบว่ามีการเริ่มดำเนินตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาจนเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัฐนิยมยุครัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ทำให้ประเทศไทยเป็น "รัฐชาติไทย" อย่างสมบูรณ์
คนไทยสมัยอยุทธยากับคนไทยในปัจจุบันอาจไม่ใช่ประชากรกลุ่มเดียวกันตามหลักพันธุกรรมทั้งหมด แต่ก็มีหลักฐานว่าได้สืบทอดจินตกรรมในเรื่องความเป็นชนชาติสืบต่อกันมา การกล่าวว่าไทยสมัยกรุงศรีอยุทธยา ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และประเทศไทยในปัจจุบันไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิงเป็นการมองประวัติศาสตร์ที่ "ขาดความต่อเนื่อง" และขัดแย้งกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ว่ากรุงรัตนโกสินทร์ได้รับสืบทอดภาษาวัฒนธรรมประเพณีมาจากกรุงศรีอยุทธยาอย่างเห็นได้ชัด ชนชั้นนำและประชากรจำนวนมากเป็นประชากรในสมัยกรุงศรีอยุทธยา มีสำนึกรับรู้และควาผูกพันว่าได้สืบเชื้อสายมาจากสมัยอยุทธยา เรียกชื่อพระนครว่า "กรุงพระมหานครศรีอยุทธยา" และเรียกพลเมืองส่วนใหญ่ว่า "ไทย"
ถ้าไม่เกี่ยวข้องกันจริง ก็คงไม่มีความจำเป็นที่คนสมัยรัตนโกสินทร์จะต้องเจ็บแค้นกับการกระทำที่อังวะทำกับกรุงเก่า ดังที่ปรากฏในนิราศเพลงยาวตีเมืองพม่าของกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาทว่า
มันทำเมืองเราก่อนเท่าใด จะทดแทนมันให้หมดสิ้น
มันจิตต์อหังการ์ทามิฬ จะล้างให้สุดสิ้นอย่าสงกา
การเสร็จสำเร็จลงเมื่อใด ซึ่งคิดไว้ขอให้สมปราถนา
แม้นมิได้ก็ไม่กลับคืนมา จะเห็นเมืองพม่าในครั้งนี้
เกรงกริ่งอยู่แต่ข้างทัพบก จะไม่ยกหักได้ให้ถึงที่
เกลือกมันกั้นตัดทางตี จะตัดที่เสบียงอาหารไว้
ไม่สมคเนให้เรรวน ทำป่วนไม่หักเอามันได้
เท่านี้ดอกที่วิตกใจ จะทำให้เสียการเหมือนทวาย
เมื่อชนะแล้วกลับแพ้ให้แชไป จึงเสียไชยเสียเชิงไม่สมหมาย
พากันหนีแต่ไม่มีอันตราย ถ้าเสียหายอย่างอื่นไม่เปนไร
อันกรุงรัตนอังวะครั้งนี้ฤๅ จักพ้นเนื้อมืออย่าสงไสย
พม่าจะมาเปนข้าไทย จะได้ใช้สร้างกรุงอยุธยา
ในสงครามตีเมืองทวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทรงหวังจะใช้เมืองทวายเป็นฐานในการขยายอำนาจไปพม่าเพื่อกวาดต้อนเชลยอยุทธยากลับมา แต่กรมพระราชวังบวรฯ ทรงเห็นว่ารักษาเมืองทวายไว้ได้ยาก จะขอรื้อกำแพงเมืองแล้วกวาดครัวอพยพกลับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระพิโรธ ทรงมีหนังสือไปตำหนิกรมพระราชวังบวรฯว่า
"อ้ายพม่ายกมาตีกรุงได้ชาวกรุงแลพี่น้องขึ้นไปไว้ แต่ที่เมืองทวายเมืองเดียวดอกฤา เมืองอังวะแลเมืองอื่น ๆ ไทยชาวกรุงไม่มีฤา ไม่ช่วยเจ็บแค้นขึ้งโกรธบ้างเลย"
สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นถึงสำนึกรับรู้หรือจินตกรรมในเรื่องความผูกพันที่คนสมัยรัตนโกสินทร์มีต่อคนอยุทธยาได้อย่างชัดเจน
การสรุปทั้งสองอาณาจักรไม่เกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิงเพียงเพราะต่างอาณาจักรต่างช่วงเวลา เป็นการมองประวัติศาสตร์ว่าแต่ละอาณาจักรอยู่แยกกันโดดเดี่ยว โดยละเลยความต่อเนื่องรัฐและไม่สามารถอธิบายถึงพัฒนาการทางสังคมที่สืบทอดต่อมาของอยุทธยามาสู่รัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อรัฐไม่ก็ตาม แต่ไม่สามารถปฏิเสธหลักฐานความสัมพันธ์ของอยุทธยากับรัตนโกสินทร์ได้ครับ
ส่วนอาณาจักรอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน หลายรัฐเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุทธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเป็นชนชาติต่างภาษา ที่ไม่ได้ถูกนับว่าเป็น "ไทย" เหมือนกับประชากรส่วนใหญ่ของอยุทธยาและรัตนโกสินทร์ เช่น ดินแดนมลายูถูกสยามมองว่าเป็น "แขก" ล้านนาล้านช้างในอดีตถูกมองว่าเป็น "ลาว" (แม้จะมีหลักฐานว่าล้านนาไม่ได้เรียกตนเองว่าลาว แต่เรียกว่า ไท) แต่รัฐเหล่านั้นก็ถูกผนวกกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบันไปแล้ว การที่บอกว่ารัฐเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ "ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย" จึงไม่ใช่เรื่องผิดครับ
แสดงความคิดเห็น
มีคนยังคิดว่ากรุงศรีไม่ใช่ไทยแล้วกรุงศรีอยุธยาไม่ใช่ไทยตรงไหน