[CR] Review : เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ RX-78-2 Gundam (SDCS Non-Scale)

หลังจากที่รีวิว Gundam สามก๊กไปพักนึงช่วงสิ้นปีไปแล้ว ทีนี้ผมก็จะเอา Gunpla มาเขียนบทรีวิวกันอีกครั้ง โดยครั้งนี้ก็จะเป็น SD เหมือนเดิม แต่เป็น SD ไลน์ใหม่ที่ออกมาเมื่อปีนี้เอง [:พาพันยิ้ม:] ก็คือ SDCS (SD Cross Silhouette) บุกเบิกโดยท่านปู่เจ้าเก่า ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในวงการ SD อย่างจริงจัง ตั้งแต่ SDEX Standard ที่สามารถเอาชิ้นส่วนไปรวมกับพวก HG ได้ ซึ่ง SDCS จะมีอะไรดีต่อใจบ้าง ก็มารับชมกันเลยดีกว่า เพี้ยนแว๊นเพี้ยนแว๊น
=============================================================================
เริ่มจาก Box Art ก็สไตล์ SDCS แบบใหม่
สนนราคาก็อยู่ที่ 1,400 Yen (แบบพร้อมกับโครง CS - ถ้าไม่มีโครง CS ก็จะอยู่ที่ 800 Yen)
คิดเป็นเงินไทยแล้วก็ประมาณ 407 บาทสำหรับมีโครง CS และ 232 บาทสำหรับแบบปกติ (ไม่รวมค่าหิ้วและภาษี)
ถ้ารวมค่าหิ้วและภาษี ก็จะอยู่ที่ประมาณ 500 - 600 บาท (แบบมีโครง CS) และ 300 - 400 บาท (แบบปกติ)
วันที่ออกจำหน่าย : เดือน 6 ปี 2018
ส่วนนี่คือแบบปกติที่ให้มาแค่โครง SD Frame เท่านั้น
=============================================================================
ข้างกล่อง ก็นับว่าบางอยู่
=============================================================================
ซองห่อแผงรันเนอร์ที่ให้มา ก็มีอยู่ 2 ซองเท่านั้น
=============================================================================
จำนวนแผงที่ให้มา ก็มีอยู่ 4 ซอง แค่นั้นแหละ
ปล. มีชิ้นส่วนบางชิ้นหลุดจากแผงไปก่อนด้วย
=============================================================================
ใบต่อ เป็นแผ่นพับ SD
=============================================================================
สติกเกอร์ ให้มาเป็นสติกเกอร์ฟอยล์ มีแค่แผ่นเดียว
=============================================================================
เริ่มประกอบโครงหันก่อน ซึ่งจะบอกว่าเป็น SD ไลน์แรกที่ใส่โครงในเข้าไปด้วย (SD ไลน์อื่นไม่มีโครงใน) โดยยึดตามแบบ RG, MG และ PG และที่เห็ฯในรูปก็จะีดังนี้
1. โครง SD Frame (ด้านขวา) และ
2. โครง CS Frame (ด้านซ้าย)
ด้านหน้า
ด้านซ้าย
ด้านขวา
ด้านหลัง
มุมต่างๆ
=============================================================================
ตามมาด้วยอาวุธกันบ้าง ซึ่งก็ไม่มีอะไรวิเศษมากนัก ด้ามจับโล่ใช้วิธีถอดเปลี่ยนตำแหน่ง
ตัว Beam Saber ให้มาสีเดียว ต้องลงสีเอง
=============================================================================
ทีนี้ก็ประกอบเป็นตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดีเทลก็ให้มาจัดเต็ม เต็มกว่า SD เก่าหลายเท่า
ด้านหน้า
ด้านซ้าย
ด้านขวา
ด้านหลัง
มุมต่างๆ
=============================================================================
มาดูจุดขยับโดยรวมแล้ว ก็ขยับได้มากกว่า SD รุ่นเก่า ส่วนศอกกับเข่างอไม่ได้
=============================================================================
ส่วนคอก็เงยหย้า-ก้มหน้าได้นิดๆ
เอวก็หมุนได้รอบๆ 360 องศาอยู่
=============================================================================
อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ให้มาทั้งหมด ก็มีดังนี้
1. โครง SD Frame x 1 ea (สวมอยู่)
2. โครง CS Frame พร้อมหัว GM x 1 ea
3. Beam Rifle x 1 ea
4. Beam Saber x 1 ea และ
5. โล่ x 1 ea
=============================================================================
Action กันไป
=============================================================================
ลองเปลี่ยนไปใช้โครง CS Frame กันบ้าง ซึ่งวิธีเปลี่ยน ก็คือถอดเกราะออกจากโครงเดิม ซึ่งก็ไม่ยากอะไรมาก
ส่วนหน้า ก็เปลี่ยนสลับชิ้นส่วนตาด้วย (จะไม่เปลี่ยนก็ได้นะ ไม่ว่าอะไร เพี้ยนเพลีย) แต่จะถอดยากหน่อย
ด้านหน้า
ด้านซ้าย
ด้านขวา
ด้านหลัง
มุมต่างๆ
=============================================================================
มาดูจุดขยับแบบ CS Frame กันบ้าง ซึ่งก็จะขยับได้มากขึ้น ถ้าใครคิดไม่ออก ก็อารมณ์เดียวกับ MG ย่อส่วนดีๆ นี่แหละ
ส่วนเอวก็ไม่มีอะไรมาก
=============================================================================
Action กันต่อ
=============================================================================
ท่า Last Shooting ที่ใครๆ ก็ต้องทำ ไม่ทำคือผิด
=============================================================================
ประมวลข้อดี-ข้อเสียหลังการประกอบ

ข้อดี
1. ราคา 1,400 Yen ก็นับว่าคุ้มค่ากับของที่ให้มา
2. แถมโครง CS Frame ด้วย
3. สามารถถอดเกราะเพื่อเปลี่ยนโครงได้
4. แยกสีมาค่อนข้างดี
5. ดีเทลจัดเต็มเกินหน้าเกินตา SD ตัวเก่า
6. โครง CS Frame ขยับได้สุดๆ เหมาะกับสาย Action เป็นอย่างมาก
7. ประกอบง่ายมาก
8. ส่วนตา มีให้เลือก 2 แบบ
9. ชิ้นส่วนมือไม่มีรูตรงหลังมือ นับว่าปราณีต

ข้อเสีย
1. หายาก ที่ขายทั่วไปมีแต่แบบธรรมดา (ไม่แถมโครง CS Frame)
2. หักหลังคนที่มีตัวแบบปกติ
3. Beam Saber ไม่ได้แยกสี ต้องทำสีเอง
4. ใช้สติกเกอร์เยอะไปนิด ถ้าแยกสีมากกว่านี้ก็นับว่าเยี่ยมเลย
5. สำหรับคนที่มีชุดเฉพาะ SD Frame ก็จะโดนหักหลังจากที่มีโครง CS Frame ขายแยก
=============================================================================
บทสรุปโดยรวม ดีเทล นับว่าเฮียบันทำการบ้านเรื่องดีเทลบน Gunpla สาย SD มาดีกว่าที่เคยทำมา อย่างการแยกสีที่ทำมาค่อนข้างดี พร้อมกับดีเทลที่เยอะกว่าเดิม จึงได้ระดับ B ไป
ความยากในการประกอบ ก็ไม่ยากมากเลย จึงอยู่ที่ระดับ D
จุดขยับโดยรวม นับว่าเป็นการปฏิวัติ SD แบบจริงจัง โดยเพิ่มโครงในเข้าไป ไม่ว่าจะเป็น SD Frame ที่คุ้นเคยหรือโครง CS Frame ที่เพิ่มจุดขยับมาอีกเท่าตัว จึงขยับได้จุใจ ฉะนั้น จึงได้ระดับ A ไป
สรุปคะแนนทั้งหมด เอาไป 8 คะแนนเต็ม 10 คือนับว่าเป็น SD ที่ทำให้ปลื้มมาก การประกอบก็ไม่ยากเลย แถมดีเทลก็จัดเต็มจัดหนัก แม้ว่าโครงในแบบ CS Frame ที่ขายแยกเดี่ยวจะหายากก็ตาม
ชื่อสินค้า:   RX-78-2 Gundam (SDCS Non-Scale - Bandai)
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่