สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
เพราะพระพุทธเจ้าเข้าสมาบัติเท่ากัน
และเจตนาก่อน ขณะและหลังให้ ของทานบดีทั้งสองท่านเสมอกัน
************************
ถามว่า พระตถาคตสรรเสริญบิณฑบาตใด ที่นางสุชาดาถวายแล้วตรัสรู้ บิณฑบาตนั้นพระองค์เสวยในเวลาที่ยังมีราคะโทสะและโมหะ แต่บิณฑบาตนี้ที่นายจุนทะถวายแล้ว พระองค์เสวยในเวลาที่ปราศจากราคะโทสะโมหะ มิใช่หรือ แต่ไฉน บิณฑบาตทั้งสองนี้จึงมีผลเท่าๆ กัน.
แก้ว่า เพราะเสมอกันโดยการปรินิพพาน เสมอกันโดยการเข้าสมาบัติ และเสมอกันโดยการระลึกถึง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายแล้ว เสด็จปรินิพพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และเสวยบิณฑบาตที่นายจุนทะถวายแล้ว เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ รวมความว่า มีผลเสมอกันโดยการปรินิพพาน.
ก็ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ พระองค์ทรงเข้าสมาบัตินับได้สองล้านสี่แสนโกฏิ แม้ในวันเสด็จปรินิพพาน พระองค์ก็ทรงเข้าสมาบัติเหล่านั้นทั้งหมด. รวมความว่า มีผลเสมอกันโดยเสมอกันด้วยสมาบัติ.
ในกาลต่อมา นางสุชาดาได้ทราบว่า เล่ากันมาว่า ผู้ที่เราเห็นนั้นไม่ใช่รุกขเทวดา เป็นพระโพธิสัตว์ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้นฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ดำรงอยู่ได้ด้วยบิณฑบาตนั้น ๗ สัปดาห์. เมื่อนางได้ฟังดังนั้น ก็ระลึกได้ว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดปีติโสมนัสอย่างแรง.
ครั้นต่อมา นายจุนทะได้สดับว่า ได้ยินว่า บิณฑบาตครั้งสุดท้ายที่เราถวาย เราได้ยอดธรรมแล้ว ได้ยินว่า พระศาสดาเสวยบิณฑบาตของเราเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หวนระลึกได้ว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดโสมนัสอย่างแรง พึงทราบว่า มีผลเสมอกันแม้โดยการเสมอกันแห่งการระลึกถึงอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=3
และเจตนาก่อน ขณะและหลังให้ ของทานบดีทั้งสองท่านเสมอกัน
************************
ถามว่า พระตถาคตสรรเสริญบิณฑบาตใด ที่นางสุชาดาถวายแล้วตรัสรู้ บิณฑบาตนั้นพระองค์เสวยในเวลาที่ยังมีราคะโทสะและโมหะ แต่บิณฑบาตนี้ที่นายจุนทะถวายแล้ว พระองค์เสวยในเวลาที่ปราศจากราคะโทสะโมหะ มิใช่หรือ แต่ไฉน บิณฑบาตทั้งสองนี้จึงมีผลเท่าๆ กัน.
แก้ว่า เพราะเสมอกันโดยการปรินิพพาน เสมอกันโดยการเข้าสมาบัติ และเสมอกันโดยการระลึกถึง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายแล้ว เสด็จปรินิพพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และเสวยบิณฑบาตที่นายจุนทะถวายแล้ว เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ รวมความว่า มีผลเสมอกันโดยการปรินิพพาน.
ก็ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ พระองค์ทรงเข้าสมาบัตินับได้สองล้านสี่แสนโกฏิ แม้ในวันเสด็จปรินิพพาน พระองค์ก็ทรงเข้าสมาบัติเหล่านั้นทั้งหมด. รวมความว่า มีผลเสมอกันโดยเสมอกันด้วยสมาบัติ.
ในกาลต่อมา นางสุชาดาได้ทราบว่า เล่ากันมาว่า ผู้ที่เราเห็นนั้นไม่ใช่รุกขเทวดา เป็นพระโพธิสัตว์ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้นฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ดำรงอยู่ได้ด้วยบิณฑบาตนั้น ๗ สัปดาห์. เมื่อนางได้ฟังดังนั้น ก็ระลึกได้ว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดปีติโสมนัสอย่างแรง.
ครั้นต่อมา นายจุนทะได้สดับว่า ได้ยินว่า บิณฑบาตครั้งสุดท้ายที่เราถวาย เราได้ยอดธรรมแล้ว ได้ยินว่า พระศาสดาเสวยบิณฑบาตของเราเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หวนระลึกได้ว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดโสมนัสอย่างแรง พึงทราบว่า มีผลเสมอกันแม้โดยการเสมอกันแห่งการระลึกถึงอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=3
ความคิดเห็นที่ 9
การที่จะมีใครมาถวายทานให้เป็นเหตุแห่งบรรลุธรรม หรือการดับขันธ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้านั้น ก็ต้องมีกรรมดีมามาก และต้องเคยเกี่ยวข้องกันมาเป็นเหตุให้มาพบพระพุทธเจ้าและได้ถวายทาน นั่นแสดงว่า ไม่ใช่สิ่งที่ควรคิดหาเหตุผลมากนัก เพราะทุกอย่างมีเหตุแห่งการเกิด เหมือน คห.8 ว่าครับ เพราะเหตุและผลแบบลึกซึ้งในเรื่องของกรรมนั้นเป็นเรื่องอจินไตย
ความคิดเห็นที่ 1
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)
[๑๒๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
ดูกรอานนท์ บางทีใครๆ จะทำความร้อนใจให้เกิดแก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า
ดูกรนายจุนทะ มิใช่ลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของ ท่านเป็นครั้งสุดท้ายเสด็จปรินิพพานแล้ว ดังนี้ เธอพึงช่วยบรรเทาความร้อนใจ ของนายจุนทกัมมารบุตรเสียอย่างนี้ว่า
ดูกร นายจุนทะ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้าย เสด็จปรินิพพานแล้ว เรื่องนี้เราได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
บิณฑบาตสองคราวนี้ มีผลเสมอๆ กัน มีวิบากเสมอๆ กัน มีผลใหญ่กว่า มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ ยิ่งนัก บิณฑบาตสองคราวเป็นไฉน คือ
ตถาคตเสวยบิณฑบาตใดแล้ว ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างหนึ่ง
ตถาคตเสวยบิณฑบาตใดแล้ว เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุอย่างหนึ่ง
บิณฑบาตสองคราวนี้ มีผลเสมอๆ กัน มีวิบากเสมอๆ กัน มีผลใหญ่กว่า
มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ ยิ่งนัก
ทีฆนิกาย มหาวรรค๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)
[๑๒๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
ดูกรอานนท์ บางทีใครๆ จะทำความร้อนใจให้เกิดแก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า
ดูกรนายจุนทะ มิใช่ลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของ ท่านเป็นครั้งสุดท้ายเสด็จปรินิพพานแล้ว ดังนี้ เธอพึงช่วยบรรเทาความร้อนใจ ของนายจุนทกัมมารบุตรเสียอย่างนี้ว่า
ดูกร นายจุนทะ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้าย เสด็จปรินิพพานแล้ว เรื่องนี้เราได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
บิณฑบาตสองคราวนี้ มีผลเสมอๆ กัน มีวิบากเสมอๆ กัน มีผลใหญ่กว่า มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ ยิ่งนัก บิณฑบาตสองคราวเป็นไฉน คือ
ตถาคตเสวยบิณฑบาตใดแล้ว ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างหนึ่ง
ตถาคตเสวยบิณฑบาตใดแล้ว เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุอย่างหนึ่ง
บิณฑบาตสองคราวนี้ มีผลเสมอๆ กัน มีวิบากเสมอๆ กัน มีผลใหญ่กว่า
มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ ยิ่งนัก
แสดงความคิดเห็น
ทำไมจึงได้บุญเท่ากัน ?