สัญชาตญาณของธรรมชาติสิ่งมีชิวิต

สัญชาตญาณของธรรมชาติสิ่งมีชิวิต

    ๑. สัญชาตญาณก่อเกิด อยากได้ อยากมี อยากเป็น

    ๒. สัญชาตญาณดำรงอยู่ อยากได้อยู่ อยากอยู่รอด

    ๓. สัญชาตญาณไม่อยากเปลี่ยนแปลง ไม่อยากสูญเสีย เปลี่ยนแปลงดีเอา เปลี่ยนแปลงไม่ดีกลัว ถึงแม้จะเปลี่ยนแปลงไปทางดีก็กลัวดีไม่เท่าที่ใจต้องการ

    ทั้ง ๓ สัญชาตญาณคือ ตัว "กลัว" กลัวจึงจะเกิดการแย่งชิง

    ตัวกลัวเป็นหัวหน้าที่จะทำให้เราพลาดท่าอยู่เรื่อย

    ทำไมเราถึงกลัว เพราะอวิชชา คือ ความไม่รู้จริง

    ถ้าเราไปดูปฏิจจสมุปบาท (ปะติดจะสะหฺมุบบาด, Paticcasamuppada) เพราะมีอวิชชา (Aviija; ignorance; lack of essential knowledge) ต่อมามีสังขาร เป็นตัวก่อเกิด อยากเป็นโน้น อยากเป็นนี่ ก่อเกิด พอก่อเกิดเสร็จแล้วจึงจะให้คงอยู่ พยายามจะให้มีภพ ให้คงอยู่ แล้วไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง กลัวอนิจจัง ไม่ยอมรับความจริง เราก็จะทุกข์ ต้องดิ้นรน แย่งชิงเพื่อที่ต้องแสวงให้ตนเองอยู่ได้นาน เช่น จิ๋นซีฮ่องเต้ (秦始皇帝) กลัวตายจะต้องไปหายาอายุวัฒนะมากิน เรากลัวตายต้องไปฆ่าคนโน้นคนนี่ เพราะกลัวจะมาทำร้ายเรา

    ทั้งหมดก่อเกิดเป็นไปตามกรรม (karma; action; deed) เป็นกรรมวิบาก (consequence of one's acti ; result ; fruit) เป็นพฤติกรรม

    ความกลัว (afraid) เป็นจริตธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ความกลัวเป็นจริตในธรรม (intrinsic nature of a person; characteristic behavior; character; temperament)

    ฉะนั้น คนจะไปทำร้าย ทำลายความกลัวไม่ได้ ไม่ถูกต้อง เหมือนกับตัวอัตตา (Atta; self; soul; ego; personal entity) เพราะว่าเป็นหนึ่งในธรรม เราจะไปทำลายอัตตาไม่ได้ เหมือนกับกิเลส เราจะไปทำร้ายกิเลสไม่ได้

    ความกลัวอยู่ในธรรมชาติ เราเอามาหรือเปล่า? เราเอาความกลัวเข้าใจสู่จิตของเราแล้วเราจะเอาอะไรไปบวก เหมือนกับอารมณ์ เราจะเอาอะไรไปบวก สมมติว่าเวลานี้เรากลัวบาป เราก็หมั่นไม่ทำบาป ทำดี ฉะนั้น ความกลัวไม่เห็นจะผิดตรงไหน แต่ถ้าเราไปกลัวว่า เขาจะมาฆ่าเรา เราจะต้องไปเข่นฆ่าเขาก่อน อย่างนี้ผิดแน่นอน เราจะเอาอะไรไปบวก เหมือนกับอารมณ์

    พวกนี้เป็นตัวกลางๆ ในธรรมทั้งนั้นเลย แต่เราเอาอะไรเข้าไปบวก  แล้วเราบวกแล้วเอาตัวไหนไปใช้ เอาอะไรไปควบคุม ใช้ฐานจิตตัวไหนไปใช้ ถ้าใช้ฐานจิตแห่งความกลัว กลัวแล้วเรากลายเป็นว่าเข่นฆ่า กับความกลัวแต่สร้างเป็นมิตร เห็นหรือยังว่า มีความแตกต่างกัน

    ฉะนั้น ความกลัวเป็นสิ่งกลางๆ เพราะว่าเป็นสัญชาตญาณของธรรมชาติ ทุกคนต้องมี เพราะอยู่ในธรรม แต่ที่สำคัญเราเอาไปใช้ยังไงต่างหาก ต้องเข้าใจตรงนี้อย่าไปเข้าใจผิด เพราะถ้าเข้าใจผิด เราด่ากิเลสผิดแน่นอน โทษแต่กิเลส จะเอากิเลสออกจากจิตของเราให้หมด เป็นไปไม่ได้ เถียงกันตายเลยก็เอาออกไม่ได้ แล้วคนทำก็ยากไม่รู้ว่าจะทำยังไง ไม่รู้จะเอากิเลสออกยังไง แต่เราให้รู้เลยดีกว่า ควบคุมกิเลสให้ดี ดีกว่า คุมกิเลสแล้วเราใช้ฐานจิตตัวสัมมา (ถูกต้อง) ไปควบคุม ไปทำกิเลส มันก็จะถูกต้อง

    อยากอยู่รอดมันผิดตรงไหน แต่อยากอยู่รอดต้องให้ถูกวิธีซิ อยากอยู่รอดไม่ผิด ในเมื่อธรรมชาติสร้างเรามา เราก็ต้องมีธรรมชาติตัวหนึ่งที่จะต้องทำตัวให้อยู่รอด

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่