วิธีคิดกำไรเป็นเปอร์เซ็นจากราคาทุน

ต้องการทราบวิธีคิดกำไรเป็นเปอร์เซ็นจากราคาทุน

เช่น ราคาขาย 59 บาท ราคาทุน 50 บาท เท่ากับได้กำไร 9 บาท
      
      แต่ กำไร 9 บาท คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นของราคาทุนคะ ???

ใครมีวิธีคิดคำนวน ช่วยอธิบายหน่อยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
คำถามน่าสนใจมากๆ ไม่ใช่คณิตศาสตร์เด็กประถมหรอก

ยกความเห็นของสมาชิก : สมาชิกหมายเลข 751383

กำไรแบบเทียบต่อทุน = 35/(100-35) = 53.8%
กำไรแบบเทียบต่อราคาขาย  = 35/100 = 35%

ได้ทั้งสองแบบ แล้วแต่บริบท
จะลองขยายรายละเอียดให้ฟังทั้งสองแบบดังนี้



สาเหตุที่ว่าในโลกนี้ทำไมถึงต้องมีการคิดกำไรแบบเทียบต่อราคาขายด้วย ?

เพราะว่าจะได้สามารถทราบยอดกำไรที่คงเหลือจากการขายสะดวก
เช่นในกรณีต่อรองราคา เพราะลูกค้าจะต่อรองราคาโดยใช้ฐานจากราคาขาย (ใช้ฐานต้นทุนยากเพราะไม่ปรากฏให้เห็น)

สมมติตัวอย่างว่า ทุน 100 ถ้าตั้งกำไรจากทุน 20% ดังนั้นราคาขาย = 100 x 1.2 =120 บาท
ถ้าลุกค้าต่อรองขอลด 20% คิดเผินๆอาจเห็นว่าก็แค่เท่าทุน
แต่จริงๆแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น
เพราะเมื่อลด 20% จากฐานราคาขาย = 120 x 0.8 = 96 บาท
เท่ากับว่าเราขาดทุน 100-96 = 4 บาท

จากตัวอย่างเดิมลองเปรียบเทียบอีกวิธีคือแบบกำไรบนฐานราคาขายดู
ทุน 100 ต้องการกำไร 20% จากฐานราคาขาย
ดังนั้นต้องขายราคา = 100/(1 - 0.2)  = 125 บาท
(25/125 = 20% ok )
ทีนี้หากต้องมีการลดราคาจากฐานราคาขายเหมือนตัวอย่างแล้ว จะปลอดภัยกว่า
เช่น เมื่อถูกลูกค้าต่อรอง ขอลด 20%
( 125 x 0.8 = 100 เท่าทุนพอดี)
เราจะรู้ตัวได้ง่ายกว่าแบบแรกและรู้ทันทีว่านั่นคือจุดที่เราเท่าทุนพอดี
เพราะเป็นค่าตัวเลขที่เราตั้งไว้ด้วยบนหลักการเดียวกันที่ใช้ฐานราคาขายเหมือนกันเดียวกัน



นอกจากการต่อรองแล้ว ที่มาของการคิดกำไรแบบนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ
ในอดีตก่อนที่เราจะใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ประเทสเราใช้ภาษีที่เรียกว่า "ภาษีการค้า" อยู่ก่อน
ที่เลิกไปเพราะมีหลายอัตรามากตามแต่ประเภทกิจการ ยุ่งยากกว่ามาก
ซึ่งภาษีการค้าตัวนี้นี้จะคิดจากฐานยอดราคาขาย
ดังนั้น ถ้าตั้งราคาขายโดยใช้วิธีแบบกำไรบนราคาขายก็จะช่วยคำนวรกำไรขั้นต้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น
สมมติภาษีการค้าธุรกิจอย่างหนึ่ง = 5%
ถ้าตั้งราคาขายจากทุน โดยเผื่อภาษีแล้ว  ขายราคา = 105 บาท
แต่เมื่อคำนวณภาษีแล้ว จะเป็นจำนวนเงินภาษี =  105 x 5/100 = 5.25 บาท เท่ากับว่าขาดทุนไป= 25 สตางค์ ตั้งแต่ยังไม่ขาย

แต่ถ้าคิดจากฐานราคาขาย จะเป็นราคา = 105.27 บาท ซึ่งเมื่อคำนวณภาษีแล้วได้ต้นทุน 100 พอดี
( 105.27 x 5% = 5.27 )

แม้ว่าปัจจุบันจะมีการยกเลิกภาษีการค้าไปแล้ว
แต่ก็ยังมีภาษีอื่น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่ยังอาจต้องพึ่งวิธีการคิดบแบบนี้อยู่


ดังนั้นจึงเป็นที่มาที่ว่าทำไม ธุรกิจ/พาณิชย์ทั่วๆไป จึงนิยมใช้วิธีนี้
ก็เพราะว่า มันสอดคล้องกับบริบทที่เข้ามาเกี่ยวข้องดังกล่าวนั่นเอง

นอกจากนี้แล้วการคิดกำไรจากราคาขาย
หรือที่เรียกว่า กำไรขั้นต้น ( Gross margin ) ยังนิยมใช้ในการแสดงงบทางการเงินบางอย่าง เช่น ในงบบัญชีกำไร-ขาดทุน
เช่นในการทำ common size ของงบกำไรขาดทุน ไม่ว่าจะเป็น ราคาขาย ต้นทุนสินค้าขาย กำไรขั้นต้น ค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ย ภาษี  และกำไรสุทธิ
ก็นิยมเทียบตัวเลขต่างๆเหล่านั้นเป็นร้อยละโดยใช้ฐานราคาขายเป็นหลัก
ดูตัวอย่าง(ขอบคุณภาพจากเน็ต)


ดังนั้นหากอยู่ในสถานการณ์ที่กำลังสื่อสารกันในบริบทดังกล่าว ก็ควรใช้กำไรต่อราคาขายในการสื่อสารเพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน





แล้วกรณีไหนที่ใช้กำไรต่อราคาทุนบ้าง ?

สรุปคร่าวๆก็คงเป็นกรณีทั่วๆไป เพราะความสะดวกและง่ายในการคำนวณกว่า หรือกรณีในการเรียนการศึกษา
หรือ เพื่อในกรณีที่สนใจวัดประสิทธิภาพของอัตราผลตอบแทนต่อทุน
เช่น สมมติทุน 100 กำไร 20%
-ถ้าลงทุนเองทั้งหมดเต็ม 100 อัตราผลตอบแทน = 20/100 ------> ROI ( Return on Investment ) = 20%
-ถ้าลงทุนเอง(สมมติ)เพียง 80   อัตราผลตอบแทน = 20/80 ------> ROE ( Return on Equity ) = 25%






ในทำนองเดียวกัน เราอาจเรียกกำไรขั้นต้นในกรณีบริบทแรกว่า ROS ( Return on Sales ) ก็ได้ เช่นกัน


จากประสบการณ์ความเข้าใจของเรา คร่าวๆก็คงประมาณนี้
รอท่านอื่นมาช่วยเสริมอีกทีนะ


จบละ ขออนุญาตเขียนยาวหน่อยเพื่อบันทึกเก็บไว้เพื่อคนอื่นได้อ่านหรืออ่านเองในอนาคตจ้ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่