สวัสดีเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
ผมมีเรื่องสงสัยที่จะมาปรึกษาครับ เริ่มเลยแล้วกัน คือ ผมทำงานในบริษัทในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่างเทคนิค ทำงานระบบ 4 วัน หยุด 2 วัน หมุนเวียนกะ คือ
พนักงานรายเดือน กลุ่มปฏิบัติการ
วัน-เวลาในการทำงานปกติ ทำงาน 4 วันต่อเนื่อง และวันหยุด 2 วันต่อเนื่อง
โดยมีกะการทำงาน/วันทำงานปกติ และวันหยุด ขึ้น อยู่ตารางการทำงานที่บริษัทฯ กำหนดขึ้น
สำหรับ กะเช้า เวลา :.07:00 น – 19:00 น.
· สำหรับการทำงาน 9 ชั่วโมงแรกโดยรวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง บริษัทกำหนดให้เป็นเวลาทำงานปกติ (โดยบริษัทคิดเวลาทำงานปรกติ 8 ชั่วโมง)
สำหรับการทำงาน 3 ชั่วโมงหลังโดยรวมเวลาพัก 30 นาที บริษัทกำหนดเป็นการทำงานล่วงเวลา 2.5ชั่วโมง
สำหรับ กะดึก เวลา 19:00 น – 07:00 น
· สำหรับการทำงาน 3 ชั่วโมงแรกโดยรวมเวลาพัก 30 นาที บริษัทกำหนดให้เป็นการทำงานล่วงเวลา 2.5 ชั่วโมง สำหรับการทำงาน 9 ชั่วโมงหลังโดยรวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง กำหนดให้เป็นเวลาทำงานปกติ ( โดยบริษัทคิดเวลาทำงานปรกติ 8 ชั่วโมงทำงาน)
ตัวอย่าง
เงินเดือน 15000 บาท
จำนวนงวดที่จ่าย 26 งวดต่อปี
เงินเดือนต่องวดการจ่าย (15000x12)/26 = 6923.07
บริษัทคิดอยู่ที่ 14 วันทำงานต่อหนึ่งงวดการจ่าย (สัปดาห์คิดที่ เสาร์-ศุกร์) บริษัทจ่ายเงินทุกศุกร์เว้นศุกร์ครับ
จำนวนสัปดาห์ที่ทำงาน 52 สัปดาห์
จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ 40 ชั่วโมง
จำนวนเฉลี่ยการทำงานชั่วโมงต่อปี 2080 ชั่วโมง
สูตรการคำนวณค่าจ้างรายชั่วโมงของบริษัท
พนักงานรายเดือน = (เงินเดือน x 12 เดือน)/(52 สัปดาห์ x 42.5 หรือ 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
หมายเหตุ - งานสำนักงาน หารด้วย 42.5 ชั่วโมง (ทำงานจันทร์ - ศุกร์ 08:00- 17:30) (ซึ่งถูกต้องอยู่แล้ว)
- งานโรงงานหรืองานกะ หารด้วย 42 ชั่วโมง
พนักงานรายวัน = ค่าจ้างต่อวัน/7
สรุปคือการคิดเงินเดือนเป็นชั่วโมงเพื่อนำไปคิดค่าแรงโอที ต่อวันครับ โดยที่บริษัทได้กำหนดให้ 42 เป็นชั่วโมงทำงานซึ่งตามที่ทำงานจริงๆ แค่ 40 ชั่วโมง
ถ้าคำนวณตามสูตรบริษัทคิดที่ 42 ชั่วโมง เงินค่าจ้างต่อชั่วโมง = (15000x12)/52x42) = 82.417
ถ้าคำนวณจากจำนวนที่ทำงานจริง 40 ชั่วโมง เงินค่าจ้างต่อชั่วโมง = (15000x12)/52x40) = 86.538
ถึงจะมีส่วนต่างไม่มากแต่ก็เยอะสำหรับผู้ใช้แรงงานครับ
แบบนี้บริษัททำขัดต่อข้อกฏหมายหรือเปล่าครับ จะสามารถร้องให้แก้ไขได้มั้ย
บริษัทคิดเงินโอทีหารด้วย 42 ชั่วโมง ทั้งที่จริงทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมง แบบนี้เป็นธรรมมั้ยครับ
ผมมีเรื่องสงสัยที่จะมาปรึกษาครับ เริ่มเลยแล้วกัน คือ ผมทำงานในบริษัทในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่างเทคนิค ทำงานระบบ 4 วัน หยุด 2 วัน หมุนเวียนกะ คือ
พนักงานรายเดือน กลุ่มปฏิบัติการ
วัน-เวลาในการทำงานปกติ ทำงาน 4 วันต่อเนื่อง และวันหยุด 2 วันต่อเนื่อง
โดยมีกะการทำงาน/วันทำงานปกติ และวันหยุด ขึ้น อยู่ตารางการทำงานที่บริษัทฯ กำหนดขึ้น
สำหรับ กะเช้า เวลา :.07:00 น – 19:00 น.
· สำหรับการทำงาน 9 ชั่วโมงแรกโดยรวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง บริษัทกำหนดให้เป็นเวลาทำงานปกติ (โดยบริษัทคิดเวลาทำงานปรกติ 8 ชั่วโมง)
สำหรับการทำงาน 3 ชั่วโมงหลังโดยรวมเวลาพัก 30 นาที บริษัทกำหนดเป็นการทำงานล่วงเวลา 2.5ชั่วโมง
สำหรับ กะดึก เวลา 19:00 น – 07:00 น
· สำหรับการทำงาน 3 ชั่วโมงแรกโดยรวมเวลาพัก 30 นาที บริษัทกำหนดให้เป็นการทำงานล่วงเวลา 2.5 ชั่วโมง สำหรับการทำงาน 9 ชั่วโมงหลังโดยรวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง กำหนดให้เป็นเวลาทำงานปกติ ( โดยบริษัทคิดเวลาทำงานปรกติ 8 ชั่วโมงทำงาน)
ตัวอย่าง
เงินเดือน 15000 บาท
จำนวนงวดที่จ่าย 26 งวดต่อปี
เงินเดือนต่องวดการจ่าย (15000x12)/26 = 6923.07
บริษัทคิดอยู่ที่ 14 วันทำงานต่อหนึ่งงวดการจ่าย (สัปดาห์คิดที่ เสาร์-ศุกร์) บริษัทจ่ายเงินทุกศุกร์เว้นศุกร์ครับ
จำนวนสัปดาห์ที่ทำงาน 52 สัปดาห์
จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ 40 ชั่วโมง
จำนวนเฉลี่ยการทำงานชั่วโมงต่อปี 2080 ชั่วโมง
สูตรการคำนวณค่าจ้างรายชั่วโมงของบริษัท
พนักงานรายเดือน = (เงินเดือน x 12 เดือน)/(52 สัปดาห์ x 42.5 หรือ 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
หมายเหตุ - งานสำนักงาน หารด้วย 42.5 ชั่วโมง (ทำงานจันทร์ - ศุกร์ 08:00- 17:30) (ซึ่งถูกต้องอยู่แล้ว)
- งานโรงงานหรืองานกะ หารด้วย 42 ชั่วโมง
พนักงานรายวัน = ค่าจ้างต่อวัน/7
สรุปคือการคิดเงินเดือนเป็นชั่วโมงเพื่อนำไปคิดค่าแรงโอที ต่อวันครับ โดยที่บริษัทได้กำหนดให้ 42 เป็นชั่วโมงทำงานซึ่งตามที่ทำงานจริงๆ แค่ 40 ชั่วโมง
ถ้าคำนวณตามสูตรบริษัทคิดที่ 42 ชั่วโมง เงินค่าจ้างต่อชั่วโมง = (15000x12)/52x42) = 82.417
ถ้าคำนวณจากจำนวนที่ทำงานจริง 40 ชั่วโมง เงินค่าจ้างต่อชั่วโมง = (15000x12)/52x40) = 86.538
ถึงจะมีส่วนต่างไม่มากแต่ก็เยอะสำหรับผู้ใช้แรงงานครับ
แบบนี้บริษัททำขัดต่อข้อกฏหมายหรือเปล่าครับ จะสามารถร้องให้แก้ไขได้มั้ย