โดยส่วนตัว เห็นว่า แบ่งเป็น 3 กรณี
1. ถ่ายทำสารคดี หรือ ข่าว โดยไม่เป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ย่อมทำได้
2. เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่เป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ย่อมทำได้
3. เพื่อสร้างกระแสให้ตนเอง เพื่อปั่นป่วนเจ้าหน้าที่ แสดงอาการเหยียดหยาม ยุยงให้ประชาชนเกลียดเจ้าหน้าที่ ทางสื่อโซเชียลมัลติมิเดียต่างๆ ย่อมทำไม่ได้
ดังนั้น เพื่อให้การตรวจสอบ และการปฏิบัติหน้าที่ราชการ อยู่ด้วยกันอย่างจรรโลง จึงใคร่แนะนำดังนี้
วิธีรับมือกับสื่อ 1. ใช้วาจาสุภาพ 2. หากขอสัมภาษณ์ ตามระเบียบ หัวหน้าส่วนราชการเท่านั้นที่ให้สัมภาษณ์ได้ 3. หากขอดูเอกสารราชการ ประชาชนขอตรวจสอบเอกสารราชการจะต้องทำเป็นหนังสือ และผู้อนุญาตหรือแจ้งผลการตรวจสอบคือหัวหน้าส่วนราชการเท่านั้น 4. หากมาถ่ายรูปขณะทำงานตามหน้าที่โดยสุจริต และใช้คำพูดเหยียดหยามก็อาจมีความผิดฐาน ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หากเป็นการก่อกวนการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าพนักงานย่อมสั่งให้หยุดการกระทำได้ หากขัดขืนถือว่าขัดคำสั่งเจ้าพนักงานและการถ่ายรูปโดยผู้ถูกถ่ายไม่ยินยอมถือว่าเป็นการประทุษร้ายต่อจิตใจ มีความผิดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการละเมิดสิทธิเสรีภาพ และเมื่อประกอบกับการกระทำอื่นๆ เช่นคำพูด กิริยาอาการ หรือองค์ประกอบอื่น ย่อมมีความผิดตามกฎหมายฐานต่างๆ เข่น แอบถ่ายใต้กระโปรง เป็นความผิดฐาน กระทำอนาจารแล้ว กลับกัน หากเจ้าหน้าที่กระทำการทุจริต ประชาชนย่อมมีสิทธิถ่ายรูปและโต้แย้งทันทีโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนและประโยชน์สาธารณะ แต่หลังจากถ่ายแล้ว การนำไปโพสต์ เผยแพร่ ก็อาจถูกฟ้องฐาน หมิ่นประมาท และตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้ หากข้อมูล เสียง ข้อความ ประกอบนั้น เป็นเท็จ หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย โดยไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่ได้เพื่อป้องกันสิทธิ์ของตน กลับกันหากเป็นประโยชน์สาธารณะหรือป้องกันสิทธิ์ของตนโดยสุจริตย่อมไม่ผิดกฎหมาย
เพื่อน ๆ แสดงความคิดเห็นได้ครับ ยินดีรับฟังทุกคอมเม็นท์ ยาวไป....
ท่านคิดว่าสื่อ หรือ ประขาชนทั่วไป ถ่ายรูป หรือ คลิป เจ้าพนักงาน ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่
1. ถ่ายทำสารคดี หรือ ข่าว โดยไม่เป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ย่อมทำได้
2. เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่เป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ย่อมทำได้
3. เพื่อสร้างกระแสให้ตนเอง เพื่อปั่นป่วนเจ้าหน้าที่ แสดงอาการเหยียดหยาม ยุยงให้ประชาชนเกลียดเจ้าหน้าที่ ทางสื่อโซเชียลมัลติมิเดียต่างๆ ย่อมทำไม่ได้
ดังนั้น เพื่อให้การตรวจสอบ และการปฏิบัติหน้าที่ราชการ อยู่ด้วยกันอย่างจรรโลง จึงใคร่แนะนำดังนี้
วิธีรับมือกับสื่อ 1. ใช้วาจาสุภาพ 2. หากขอสัมภาษณ์ ตามระเบียบ หัวหน้าส่วนราชการเท่านั้นที่ให้สัมภาษณ์ได้ 3. หากขอดูเอกสารราชการ ประชาชนขอตรวจสอบเอกสารราชการจะต้องทำเป็นหนังสือ และผู้อนุญาตหรือแจ้งผลการตรวจสอบคือหัวหน้าส่วนราชการเท่านั้น 4. หากมาถ่ายรูปขณะทำงานตามหน้าที่โดยสุจริต และใช้คำพูดเหยียดหยามก็อาจมีความผิดฐาน ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หากเป็นการก่อกวนการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าพนักงานย่อมสั่งให้หยุดการกระทำได้ หากขัดขืนถือว่าขัดคำสั่งเจ้าพนักงานและการถ่ายรูปโดยผู้ถูกถ่ายไม่ยินยอมถือว่าเป็นการประทุษร้ายต่อจิตใจ มีความผิดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการละเมิดสิทธิเสรีภาพ และเมื่อประกอบกับการกระทำอื่นๆ เช่นคำพูด กิริยาอาการ หรือองค์ประกอบอื่น ย่อมมีความผิดตามกฎหมายฐานต่างๆ เข่น แอบถ่ายใต้กระโปรง เป็นความผิดฐาน กระทำอนาจารแล้ว กลับกัน หากเจ้าหน้าที่กระทำการทุจริต ประชาชนย่อมมีสิทธิถ่ายรูปและโต้แย้งทันทีโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนและประโยชน์สาธารณะ แต่หลังจากถ่ายแล้ว การนำไปโพสต์ เผยแพร่ ก็อาจถูกฟ้องฐาน หมิ่นประมาท และตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้ หากข้อมูล เสียง ข้อความ ประกอบนั้น เป็นเท็จ หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย โดยไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่ได้เพื่อป้องกันสิทธิ์ของตน กลับกันหากเป็นประโยชน์สาธารณะหรือป้องกันสิทธิ์ของตนโดยสุจริตย่อมไม่ผิดกฎหมาย
เพื่อน ๆ แสดงความคิดเห็นได้ครับ ยินดีรับฟังทุกคอมเม็นท์ ยาวไป....