สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
อายุของสัตว์ในแต่ละภูมิ
๑. อายุของสัตว์นรก มีแสดงไว้ในชินาลังการฎีกา และในธัมมหทยวิภังค อนุฎีกา เป็นการกำหนดอายุของสัตว์นรกแต่ละขุม แต่อย่างไรก็ดี มีสาธกบาลีแสดง ไว้ในวิภาวนีฎีกาว่า
อปาเยสุ หิ กมฺมเมว ปมาณํ
แปลเป็นใจความว่า ในอบายภูมิ นั้น อกุสลกรรมนั่นแหละเป็นเครื่องประมาณอายุ หมายความว่า ถ้าอกุสลกรรมนั้น หนักมาก ก็ต้องทนเสวยทุกข์อยู่ถึงอสงขัยปี ถ้าอกุสลกรรมนั้นเบา ก็ต้องเสวยทุกข์ น้อยลงมาตามลำดับ และหากว่าขณะที่กำลังเสวยทุกข์ทรมานอยู่ สัตว์นรกนั้นเกิด ระลึกนึกถึงกุสลที่ตนได้สร้างสมไว้แต่ปางก่อนขึ้นมาได้ ก็สามารถพ้นจากสัตว์นรก ไปบังเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาได้ทันทีก็มีมาก เรียกว่าเป็นการจุติจากสัตว์นรก เพราะหมดกรรมในชาตินั้น ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่จนสิ้นอายุขัย
๒. อายุของเปรต ก็ไม่แน่นอนเหมือนสัตว์นรกเช่นเดียวกัน ในเปตวัตถุพระ บาลีก็แสดงไว้ว่า เปรต และ
อสุรกาย ๒ จำพวกนี้ ต้องเสวยกรรมในระยะเวลา อันสั้นก็มีได้
๓. อายุของอสุรกาย ก็ไม่แน่นอนเช่นเดียวกัน ต้องรับกรรมเป็นเวลาช้านาน จนประมาณไม่ได้ก็มี ทนทุกข์อยู่เป็นเวลาไม่นานนักก็มี แล้วแต่กรรมที่ได้ทำมาแต่ ปางก่อน
๔. อายุของสัตว์ดิรัจฉาน บางอย่างก็น้อยนับวัน เช่น ยุงอายุประมาณ ๗ วัน บางอย่างก็นานนับเป็นร้อยปี เช่น เต่า อายุประมาณ ๓๐๐ ปี เป็นต้น แล้วแต่เผ่า พันธุ์ นอกจากนั้นแล้ว สัตว์ดิรัจฉานที่มีอายุยังไม่ถึงที่ควร ก็มีเหตุที่ทำให้ตายได้ หลายประการ เช่น อดอยาก ดินฟ้าอากาศแปรปรวน เป็นโรคระบาด หรือถูกฆ่า เป็นต้น ทั้งนี้ไม่แคล้วไปจากกรรมนั้นเลย
๕. อายุของมนุษย์ กล่าวเฉพาะในชมภูทวีปที่เราท่านอยู่กันนี้ ก็ไม่แน่นอน ในสุตตันตมหาวัคคพระบาลีว่า บุคคลใดมีอายุยืน ย่อมมีอายุถึง ๑๐๐ ปี และเกิน กว่า ๑๐๐ ปีไปเล็กน้อย ก็มีบ้าง แต่ไม่ถึง ๒๐๐ ปี
และในโลกบัญญัติปกรณ์ก็แสดงว่า อายุขัยของมนุษย์กำหนดร้อยปีนี้ เป็นมา ตั้งแต่สมัยพระเวสสันดร จนถึงสมัยสมเด็จพระสมณโคดมนี้ และนับแต่นั้นมา ๑๐๐ ปี อายุขัยก็ลดลง ๑ ปี ดังนั้นบัดนี้ (พ.ศ.๒๕๓๘) อายุขัยของมนุษย์จึงลดลงเหลือ เพียง ๗๕ ปีเท่านั้น ผู้ที่มีอายุยืนเป็นพิเศษ ก็ไม่เกิน ๒ เท่าอายุขัย คือไม่เกิน ๑๕๐ ปี นอกจากนั้นก็มีอันตรายที่ทำให้ถึงตายไม่น้อยเลย
๖. อายุของเทวดาในจาตุมมหาราชิกาภูมิ เฉพาะวินิปาติกอสุรา, เวมานิก เปรต เป็นภุมมัฏฐเทวดา(คือเทวดาที่อาศัยพื้นแผ่นดินและต้นไม้อยู่)เหล่านี้ จัดเป็น เทวดาชั้นต่ำ มีอายุไม่แน่นอนเหมือนกัน ดังมีบาลีแสดงไว้ว่า ภุมฺมเทวานํปิ กมฺมเมว ปมาณํ แปลเป็นใจความว่า แม้พวกภุมมัฏฐเทวดาทั้งหลาย ก็มีกำหนด อายุไม่แน่นอน กรรมเท่านั้นแหละเป็นประมาณของอายุเทวดาเหล่านั้น
เท่าที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๖ ข้อนี้ ล้วนแต่เป็นสัตว์ที่มีอายุไม่แน่นอนทั้งนั้น แล้ว แต่บุญทำกรรมแต่ง
๗. เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาภูมิ (เว้นเทวดาชั้นต่ำที่กล่าวในข้อ ๖) มีอายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ เทียบกับปีในมนุษย์ก็เท่ากับ ๙ ล้านปี คิดดังนี้
๑ วันทิพย์ ชั้นจาตุมมหาราชิกา เท่ากับ ๕๐ ปี
มนุษย์ ๓๐ วันทิพย์ เป็น ๑ เดือนทิพย์ ๕๐x๓๐ = ๑,๕๐๐ ปีมนุษย์
๑๒ เดือนทิพย์ เป็น ๑ ปีทิพย์ ๑,๕๐๐x๑๒ = ๑๘,๐๐๐ ปี มนุษย์
ดังนั้น ๕๐๐ ปีทิพย์ จึงเท่ากับ ๑๘,๐๐๐x๕๐๐ = ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปี มนุษย์
๘. เทวดาชั้นดาวดึงส์ มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ ชั้นนี้ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๑๐๐ ปีมนุษย์
ดังนั้น ๑,๐๐๐ ปีทิพย์เท่ากับ ๓๖ ล้านปีมนุษย์
๙. เทวดาชั้นยามา มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ ชั้นนี้ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๒๐๐ ปีมนุษย์
ดังนั้น ๒,๐๐๐ ปีทิพย์จึงเท่ากับ ๑๔๔ ล้านปีมนุษย์
๑๐. เทวดาชั้นดุสิต มีอายุ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ ชั้นนี้ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๔๐๐ ปี มนุษย์
ดังนั้น ๔,๐๐๐ ปีทิพย์จึงเท่ากับ ๕๗๖ ล้านปีมนุษย์
๑๑. เทวดาชั้นนิมมานรตี มีอายุ ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ ในชั้นนี้ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๘๐๐ ปี มนุษย์
ดังนั้น ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ จึงเท่ากับ ๒,๓๐๔ ล้านปีมนุษย์
๑๒. เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี มีอายุ ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
ในชั้นนี้ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์ ดังนั้น
๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์จึงเท่ากับ ๙,๒๑๖ ล้านปีมนุษย์
ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๔ แสดงว่า
๔. นวสตญฺเจกวีส วสฺสานํ โกฏิโย ตถา
วสฺสสตสหสฺสานิ สฏฺฐ จ วสวตฺตึสุ ฯ
แปลความว่า เก้าร้อยยี่สิบเอ็ดโกฏกับหกสิบแสนปี (โดยมนุษย์) เป็นประมาณอายุพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
๑๓. อายุของพรหมนั้น นับเป็นมหากัปป์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจน เหลือที่จะคณานับ แต่ก็มีหลักเกณฑ์ที่ควรจะทราบพอเป็นเค้าไว้ดังนี้
กัปป์ ถือเกณฑ์อายุขัยของมนุษย์ ซึ่งเรียกว่า อายุกัปป์ เหตุนั้นอายุของมนุษย์ สมัยหนึ่ง ๆ นั้น จึงเรียกว่า กัปป์ บางทีก็เรียก กัลป์
อันตรกัปป์ ถือเกณฑ์ของอายุมนุษย์ตั้งแต่สมัยที่อายุยืนที่สุด คือ อสงขัยปี แล้วลดน้อยลงมาตามลำดับจนถึง
อายุกัปป์ ๑๐ ปี แล้วกลับค่อย ๆ ขึ้นไปอีกจนถึง อสงขัยปี นับจากอสงขัยปีลงมาจนถึง ๑๐ ปี แล้วนับจาก ๑๐ ปีขึ้นไป
จนถึง อสงขัยปี ลงเที่ยวหนึ่ง และขึ้นอีกเที่ยวหนึ่ง เช่นนี้แหละ เรียกว่า ๑ อันตรกัปป์
ครบ ๖๔ อันตรกัปป์ นับเป็น ๑ อสงขัยกัปป์
ครบ ๔ อสงขัยกัปป์ จึงเป็น ๑ มหากัปป์
๑๔. อายุของรูปพรหมในปฐมฌานภูมิ ๓ นั้น ปาริสัชชาพรหม อายุ ๑ ใน ๓ มหากัปป์
ปุโรหิตพรหม อายุกึ่งมหากัปป์ มหาพรหมา มีอายุ ๑ มหากัปป์
๑๕. อายุของรูปพรหมในทุติยฌานภูมิ ๓ นั้น ปริตตาภาพรหม อายุ ๒ มหากัปป์
อัปปมาณาภาพรหม อายุ ๔ มหากัปป์ อาภัสราพรหม อายุ ๘ มหากัปป์
๑๖. อายุของรูปพรหมในตติยฌานภูมิ ๓ นั้น ปริตตสุภาพรหมอายุ ๑๖ มหากัปป์
อัปปมาณสุภาพรหม อายุ ๓๒ มหากัปป์ สุภกิณหาพรหม อายุ ๖๔ มหากัปป์
๑๗. อายุของรูปพรหมในจตุตถฌานภูมิ เฉพาะเวหัปผลาพรหม
และอสัญญ สัตตพรหม มีอายุ ๕๐๐ มหากัปป์ เท่ากันทั้ง ๒ ภูมิ
๑๘. อายุของพรหมอริยในสุทธาวาสภูมิ คือ
อวิหา ๑,๐๐๐ มหากัปป์
อตัปปา ๒,๐๐๐ มหากัปป์
สุทัสสา ๔,๐๐๐ มหากัปป์
สุทัสสี ๘,๐๐๐ มหากัปป์
อกนิฏฐา ๑๖,๐๐๐ มหากัปป์
๑๙. อายุของอรูปพรหม คือ
อากาสานัญจายตนพรหม ๒๐,๐๐๐ มหากัปป์
วิญญาณัญจายตนพรหม ๔๐,๐๐๐ มหากัปป์
อากิญจัญญายตนพรหม ๖๐,๐๐๐ มหากัปป์
เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ๘๔,๐๐๐ มหากัปป์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
๑. อายุของสัตว์นรก มีแสดงไว้ในชินาลังการฎีกา และในธัมมหทยวิภังค อนุฎีกา เป็นการกำหนดอายุของสัตว์นรกแต่ละขุม แต่อย่างไรก็ดี มีสาธกบาลีแสดง ไว้ในวิภาวนีฎีกาว่า
อปาเยสุ หิ กมฺมเมว ปมาณํ
แปลเป็นใจความว่า ในอบายภูมิ นั้น อกุสลกรรมนั่นแหละเป็นเครื่องประมาณอายุ หมายความว่า ถ้าอกุสลกรรมนั้น หนักมาก ก็ต้องทนเสวยทุกข์อยู่ถึงอสงขัยปี ถ้าอกุสลกรรมนั้นเบา ก็ต้องเสวยทุกข์ น้อยลงมาตามลำดับ และหากว่าขณะที่กำลังเสวยทุกข์ทรมานอยู่ สัตว์นรกนั้นเกิด ระลึกนึกถึงกุสลที่ตนได้สร้างสมไว้แต่ปางก่อนขึ้นมาได้ ก็สามารถพ้นจากสัตว์นรก ไปบังเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาได้ทันทีก็มีมาก เรียกว่าเป็นการจุติจากสัตว์นรก เพราะหมดกรรมในชาตินั้น ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่จนสิ้นอายุขัย
๒. อายุของเปรต ก็ไม่แน่นอนเหมือนสัตว์นรกเช่นเดียวกัน ในเปตวัตถุพระ บาลีก็แสดงไว้ว่า เปรต และ
อสุรกาย ๒ จำพวกนี้ ต้องเสวยกรรมในระยะเวลา อันสั้นก็มีได้
๓. อายุของอสุรกาย ก็ไม่แน่นอนเช่นเดียวกัน ต้องรับกรรมเป็นเวลาช้านาน จนประมาณไม่ได้ก็มี ทนทุกข์อยู่เป็นเวลาไม่นานนักก็มี แล้วแต่กรรมที่ได้ทำมาแต่ ปางก่อน
๔. อายุของสัตว์ดิรัจฉาน บางอย่างก็น้อยนับวัน เช่น ยุงอายุประมาณ ๗ วัน บางอย่างก็นานนับเป็นร้อยปี เช่น เต่า อายุประมาณ ๓๐๐ ปี เป็นต้น แล้วแต่เผ่า พันธุ์ นอกจากนั้นแล้ว สัตว์ดิรัจฉานที่มีอายุยังไม่ถึงที่ควร ก็มีเหตุที่ทำให้ตายได้ หลายประการ เช่น อดอยาก ดินฟ้าอากาศแปรปรวน เป็นโรคระบาด หรือถูกฆ่า เป็นต้น ทั้งนี้ไม่แคล้วไปจากกรรมนั้นเลย
๕. อายุของมนุษย์ กล่าวเฉพาะในชมภูทวีปที่เราท่านอยู่กันนี้ ก็ไม่แน่นอน ในสุตตันตมหาวัคคพระบาลีว่า บุคคลใดมีอายุยืน ย่อมมีอายุถึง ๑๐๐ ปี และเกิน กว่า ๑๐๐ ปีไปเล็กน้อย ก็มีบ้าง แต่ไม่ถึง ๒๐๐ ปี
และในโลกบัญญัติปกรณ์ก็แสดงว่า อายุขัยของมนุษย์กำหนดร้อยปีนี้ เป็นมา ตั้งแต่สมัยพระเวสสันดร จนถึงสมัยสมเด็จพระสมณโคดมนี้ และนับแต่นั้นมา ๑๐๐ ปี อายุขัยก็ลดลง ๑ ปี ดังนั้นบัดนี้ (พ.ศ.๒๕๓๘) อายุขัยของมนุษย์จึงลดลงเหลือ เพียง ๗๕ ปีเท่านั้น ผู้ที่มีอายุยืนเป็นพิเศษ ก็ไม่เกิน ๒ เท่าอายุขัย คือไม่เกิน ๑๕๐ ปี นอกจากนั้นก็มีอันตรายที่ทำให้ถึงตายไม่น้อยเลย
๖. อายุของเทวดาในจาตุมมหาราชิกาภูมิ เฉพาะวินิปาติกอสุรา, เวมานิก เปรต เป็นภุมมัฏฐเทวดา(คือเทวดาที่อาศัยพื้นแผ่นดินและต้นไม้อยู่)เหล่านี้ จัดเป็น เทวดาชั้นต่ำ มีอายุไม่แน่นอนเหมือนกัน ดังมีบาลีแสดงไว้ว่า ภุมฺมเทวานํปิ กมฺมเมว ปมาณํ แปลเป็นใจความว่า แม้พวกภุมมัฏฐเทวดาทั้งหลาย ก็มีกำหนด อายุไม่แน่นอน กรรมเท่านั้นแหละเป็นประมาณของอายุเทวดาเหล่านั้น
เท่าที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๖ ข้อนี้ ล้วนแต่เป็นสัตว์ที่มีอายุไม่แน่นอนทั้งนั้น แล้ว แต่บุญทำกรรมแต่ง
๗. เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาภูมิ (เว้นเทวดาชั้นต่ำที่กล่าวในข้อ ๖) มีอายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ เทียบกับปีในมนุษย์ก็เท่ากับ ๙ ล้านปี คิดดังนี้
๑ วันทิพย์ ชั้นจาตุมมหาราชิกา เท่ากับ ๕๐ ปี
มนุษย์ ๓๐ วันทิพย์ เป็น ๑ เดือนทิพย์ ๕๐x๓๐ = ๑,๕๐๐ ปีมนุษย์
๑๒ เดือนทิพย์ เป็น ๑ ปีทิพย์ ๑,๕๐๐x๑๒ = ๑๘,๐๐๐ ปี มนุษย์
ดังนั้น ๕๐๐ ปีทิพย์ จึงเท่ากับ ๑๘,๐๐๐x๕๐๐ = ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปี มนุษย์
๘. เทวดาชั้นดาวดึงส์ มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ ชั้นนี้ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๑๐๐ ปีมนุษย์
ดังนั้น ๑,๐๐๐ ปีทิพย์เท่ากับ ๓๖ ล้านปีมนุษย์
๙. เทวดาชั้นยามา มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ ชั้นนี้ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๒๐๐ ปีมนุษย์
ดังนั้น ๒,๐๐๐ ปีทิพย์จึงเท่ากับ ๑๔๔ ล้านปีมนุษย์
๑๐. เทวดาชั้นดุสิต มีอายุ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ ชั้นนี้ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๔๐๐ ปี มนุษย์
ดังนั้น ๔,๐๐๐ ปีทิพย์จึงเท่ากับ ๕๗๖ ล้านปีมนุษย์
๑๑. เทวดาชั้นนิมมานรตี มีอายุ ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ ในชั้นนี้ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๘๐๐ ปี มนุษย์
ดังนั้น ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ จึงเท่ากับ ๒,๓๐๔ ล้านปีมนุษย์
๑๒. เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี มีอายุ ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
ในชั้นนี้ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์ ดังนั้น
๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์จึงเท่ากับ ๙,๒๑๖ ล้านปีมนุษย์
ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๔ แสดงว่า
๔. นวสตญฺเจกวีส วสฺสานํ โกฏิโย ตถา
วสฺสสตสหสฺสานิ สฏฺฐ จ วสวตฺตึสุ ฯ
แปลความว่า เก้าร้อยยี่สิบเอ็ดโกฏกับหกสิบแสนปี (โดยมนุษย์) เป็นประมาณอายุพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
๑๓. อายุของพรหมนั้น นับเป็นมหากัปป์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจน เหลือที่จะคณานับ แต่ก็มีหลักเกณฑ์ที่ควรจะทราบพอเป็นเค้าไว้ดังนี้
กัปป์ ถือเกณฑ์อายุขัยของมนุษย์ ซึ่งเรียกว่า อายุกัปป์ เหตุนั้นอายุของมนุษย์ สมัยหนึ่ง ๆ นั้น จึงเรียกว่า กัปป์ บางทีก็เรียก กัลป์
อันตรกัปป์ ถือเกณฑ์ของอายุมนุษย์ตั้งแต่สมัยที่อายุยืนที่สุด คือ อสงขัยปี แล้วลดน้อยลงมาตามลำดับจนถึง
อายุกัปป์ ๑๐ ปี แล้วกลับค่อย ๆ ขึ้นไปอีกจนถึง อสงขัยปี นับจากอสงขัยปีลงมาจนถึง ๑๐ ปี แล้วนับจาก ๑๐ ปีขึ้นไป
จนถึง อสงขัยปี ลงเที่ยวหนึ่ง และขึ้นอีกเที่ยวหนึ่ง เช่นนี้แหละ เรียกว่า ๑ อันตรกัปป์
ครบ ๖๔ อันตรกัปป์ นับเป็น ๑ อสงขัยกัปป์
ครบ ๔ อสงขัยกัปป์ จึงเป็น ๑ มหากัปป์
๑๔. อายุของรูปพรหมในปฐมฌานภูมิ ๓ นั้น ปาริสัชชาพรหม อายุ ๑ ใน ๓ มหากัปป์
ปุโรหิตพรหม อายุกึ่งมหากัปป์ มหาพรหมา มีอายุ ๑ มหากัปป์
๑๕. อายุของรูปพรหมในทุติยฌานภูมิ ๓ นั้น ปริตตาภาพรหม อายุ ๒ มหากัปป์
อัปปมาณาภาพรหม อายุ ๔ มหากัปป์ อาภัสราพรหม อายุ ๘ มหากัปป์
๑๖. อายุของรูปพรหมในตติยฌานภูมิ ๓ นั้น ปริตตสุภาพรหมอายุ ๑๖ มหากัปป์
อัปปมาณสุภาพรหม อายุ ๓๒ มหากัปป์ สุภกิณหาพรหม อายุ ๖๔ มหากัปป์
๑๗. อายุของรูปพรหมในจตุตถฌานภูมิ เฉพาะเวหัปผลาพรหม
และอสัญญ สัตตพรหม มีอายุ ๕๐๐ มหากัปป์ เท่ากันทั้ง ๒ ภูมิ
๑๘. อายุของพรหมอริยในสุทธาวาสภูมิ คือ
อวิหา ๑,๐๐๐ มหากัปป์
อตัปปา ๒,๐๐๐ มหากัปป์
สุทัสสา ๔,๐๐๐ มหากัปป์
สุทัสสี ๘,๐๐๐ มหากัปป์
อกนิฏฐา ๑๖,๐๐๐ มหากัปป์
๑๙. อายุของอรูปพรหม คือ
อากาสานัญจายตนพรหม ๒๐,๐๐๐ มหากัปป์
วิญญาณัญจายตนพรหม ๔๐,๐๐๐ มหากัปป์
อากิญจัญญายตนพรหม ๖๐,๐๐๐ มหากัปป์
เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ๘๔,๐๐๐ มหากัปป์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
ทำไมพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมแก่อาจารย์ทั้งสองไม่ได้ครับ