ฟีเจอร์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ช่วยชีวิตผู้มีปัญหาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
Apple ได้ปล่อยฟีเจอร์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) มาพร้อมกับ watchOS 5.1.2 เมื่อวานนี้ ใครจะคิดว่าฟีเจอร์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) จะช่วยชีวิตคนจากการตรวจพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
ผู้ใช้รายหนี่งได้อัปเดต Apple Watch Series 4 เป็น watchOS 5.1.2 และลองใช้ฟีเจอร์ ECG ซึ่งผลวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ระบุว่าเขามีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation: A-fib) ซึ่งเขาคิดว่าอาจจะผลที่ได้อาจจะคลาดเคลื่อนและเป็นเท็จ เขาจึงได้ลองวัดแล้ววัดอีกหลายๆ ครั้ง แต่ผลที่ได้ก็ยังคงเหมือนเดิม
ด้วยความสงสัย เขาจึงได้ลองให้ภรรยาวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ปรากฎว่าผลที่ได้คือปกติ ซึ่งวัดหลายครั้งเช่นเดียวกัน และลองกลับมาวัดที่ตนเองอีกครั้ง ผลที่ได้ยังคงระบุว่าของมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
เขาจึงได้ไปพบแพทย์ที่คลีนิค และบอกกับแพทย์ว่า Apple Watch ได้ระบุว่าเขามีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แพทย์จึงได้นำตัวเขาไปวัด ECG จากอุปกรณ์ทางการแพทย์อีกครั้ง ซึ่งผลที่ได้ก็ระบุว่าเขามีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วเช่นเดียกับที่ระบุบน Apple Watch
ซึ่งแพทย์ก็ได้กล่าวว่า “สิ่งนี้ได้ช่วยชีวติคุณไว้ ผมได้อ่านข่าวเกี่ยวกับการเปิดใช้งาน ECG บน Apple Watch เมื่อคืนที่ผ่านมา และคาดว่าคงจะมีการตรวจพบในสัปดาห์นี้ แต่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นเร็วขนาดนี้”
Apple Watch ได้รับเครดิตการช่วยเหลือชีวิตมากมาย และฟีเจอร์ ECG ใหม่ก็ได้รับเครดิตแล้วครั้งแรกหลัง Apple ปล่อยฟีเจอร์ ECG ได้เพียง 1 วัน
ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ อย่างตรวจจับการล้ม (Fall Detection) ก็ได้รับเครดิตการช่วยชีวิตแล้วเช่นกัน แต่ฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อม watchOS 5 อย่างแจ้งเตือนหัวใจเต้นช้าผิดปกติ ยังไม่มีรายงานเครดิตการช่วยเหลือชีวิตแต่อย่างใด
ที่มา
https://www.iphonemod.net/ecg-feature-apple-watch-series-5-save-life-first-time.html
Apple Watch 4 ฟีเจอร์ ECG ใหม่ได้รับเครดิตช่วยเหลือชีวิตครั้งแรก หลังจาก Apple ปล่อยใช้งานได้เพียง 1 วัน
ฟีเจอร์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ช่วยชีวิตผู้มีปัญหาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
Apple ได้ปล่อยฟีเจอร์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) มาพร้อมกับ watchOS 5.1.2 เมื่อวานนี้ ใครจะคิดว่าฟีเจอร์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) จะช่วยชีวิตคนจากการตรวจพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
ผู้ใช้รายหนี่งได้อัปเดต Apple Watch Series 4 เป็น watchOS 5.1.2 และลองใช้ฟีเจอร์ ECG ซึ่งผลวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ระบุว่าเขามีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation: A-fib) ซึ่งเขาคิดว่าอาจจะผลที่ได้อาจจะคลาดเคลื่อนและเป็นเท็จ เขาจึงได้ลองวัดแล้ววัดอีกหลายๆ ครั้ง แต่ผลที่ได้ก็ยังคงเหมือนเดิม
ด้วยความสงสัย เขาจึงได้ลองให้ภรรยาวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ปรากฎว่าผลที่ได้คือปกติ ซึ่งวัดหลายครั้งเช่นเดียวกัน และลองกลับมาวัดที่ตนเองอีกครั้ง ผลที่ได้ยังคงระบุว่าของมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
เขาจึงได้ไปพบแพทย์ที่คลีนิค และบอกกับแพทย์ว่า Apple Watch ได้ระบุว่าเขามีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แพทย์จึงได้นำตัวเขาไปวัด ECG จากอุปกรณ์ทางการแพทย์อีกครั้ง ซึ่งผลที่ได้ก็ระบุว่าเขามีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วเช่นเดียกับที่ระบุบน Apple Watch
ซึ่งแพทย์ก็ได้กล่าวว่า “สิ่งนี้ได้ช่วยชีวติคุณไว้ ผมได้อ่านข่าวเกี่ยวกับการเปิดใช้งาน ECG บน Apple Watch เมื่อคืนที่ผ่านมา และคาดว่าคงจะมีการตรวจพบในสัปดาห์นี้ แต่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นเร็วขนาดนี้”
Apple Watch ได้รับเครดิตการช่วยเหลือชีวิตมากมาย และฟีเจอร์ ECG ใหม่ก็ได้รับเครดิตแล้วครั้งแรกหลัง Apple ปล่อยฟีเจอร์ ECG ได้เพียง 1 วัน
ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ อย่างตรวจจับการล้ม (Fall Detection) ก็ได้รับเครดิตการช่วยชีวิตแล้วเช่นกัน แต่ฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อม watchOS 5 อย่างแจ้งเตือนหัวใจเต้นช้าผิดปกติ ยังไม่มีรายงานเครดิตการช่วยเหลือชีวิตแต่อย่างใด
ที่มา https://www.iphonemod.net/ecg-feature-apple-watch-series-5-save-life-first-time.html