สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณ จขกท.สำหรับบทความดี ๆ ครับ
ผมขออนุญาติเสริมเกี่ยวกับดาวฤกษ์ที่มีแสงประหลาด 2 ดวง ที่ถูกกล่าวถึงในบทความนี้ครับ
..... เรื่องนี้ มันเริ่มมาจากช่วงเดือนตุลาคม 2558 ทางสำนักข่าว Dailymail ได้ลงข่าวว่า
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล และ สถาบันเซติ (SETI) ได้เผยว่า ได้จับตามองดาวฤกษ์ชื่อ KIC 8462852
ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากโลก 1,480 ปีแสง มาเป็นเวลานานกว่า 4 ปี ผ่านทางกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Kepler
และได้พบว่าดาวดวงนี้มี Curve ของแสงที่แปลกประหลาดกว่าดาวฤกษ์ทั่วไป จึงทำให้เชื่อว่าน่าจะมีสิ่งก่อสร้างของเอเลี่ยน
โคจรอยู่รอบดาว KIC 8462852 และดูดเอาแสงจากดาวไปเพื่อเป็นพลังงาน
ตัวอย่างภาพ (ในจินตนาการ) ของ MEGASTRUCTURE ที่มนุษย์ต่างดาวสร้างครอบดาวฤกษ์ใว้ดูดพลังงานของดาว
ดาวฤกษ์ KIC 8462852 นี้ เป็นดาวฤกษ์ที่ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย อยู่ในทิศทางกลุ่มดาวหงส์
ห่างจากโลก 1,480 ปีแสง ดาวดวงนี้ได้รับชื่อเล่นว่า Tabby's star ซึ่งตั้งตามชื่อนักดาราศาสตร์หญิง
Tabetha S. Boyajian ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมที่ศึกษาเรื่อง Light curve ที่แปลกประหลาดของดาวดวงนี้ครับ
อีกชื่อหนึ่ง คือ WTF star ย่อมาจาก Where's The Flux ? (Flux นี้คือ ความเข้มแสงของดาว)
Where's the flux นี้ก็คือ ความเข้มแสงของเธอหายไปใหนกันนี่ ??
ตำแหน่งของดาวฤกษ์ KIC 8462852
ดาวฤกษ์ KIC 8462852 เริ่มแสดงความแปลกประหลาดออกมาจาก Light curve ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากถึง 20%
ซึ่ง 20% นี่คือ มโหฬารมากครับ โดยการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของแสงจากดาวดวงนี้ ไม่เป็นไปตามทฤษฏีต่าง ๆ ที่เคยพบเจอ
แต่ความเข้มแสงมีการเปลี่ยนแปลงแบบสุ่ม ดังนั้น จึงมีข้อสันนิษฐานออกมาหลายข้อ คือ อาจมีดาวหางเคลื่อนที่ผ่าน
และก่อกำเนิดเมฆมวลสารออกมาหนาแน่นจนบดบังแสงของดาวไปมาก ข้อสันนิษฐานอื่น ๆ คือ อาจมีแถบดาวเคราะห์น้อย
ขนาดใหญ่บดบังแสง หรือ อาจกำลังมีการก่อตัวของ protoplanetary disk ที่กำลังจะกลายไปเป็นดาวเคราะห์ดวงใหม่
ภาพแสดง Light curve ของแสงจากดาวดวงนี้ จะมีช่วงที่ผิดปกติมากในวันที่ 800
และที่สำคัญคือวันที่ 1510 - 1570 ที่แสงลดลงไปกว่า 22% (ถือว่ามากแบบน่าตกใจ)
แผนการศึกษาต่อไป คือ ทาง SETI Institute (สถาบันเซติ) มีแผนที่จะใช้ Radio Telescope หลายตัว
เพื่อรับสัญญาณจากดาวฤกษ์ดวงนี้ เพื่อหวังผลในการ รับสัญญาณ จากสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาได้
Update ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาครับ
ทาง NASA ได้เปิดเผยว่า ทีมงานที่ติดตามเรื่องนี้ได้ตรวจพบว่า แสงที่ลดลง นั้น
ในส่วนของ spectrum ย่าน UV จะลดลงมากอย่างมีนัยสำคัญ วิเคราะห์ได้ว่า
มันน่าจะเป็น ฝุ่น ที่มี particle ที่ใหญ่กว่า interstellar dust ซึ่งมันน่าจะเป็น circumstellar dust
หรือ กลุ่มฝุ่นที่กำลังจะก่อตัวเป็น Protoplanetary disk นั่นเอง โดยกลุ่มฝุ่นนี้มีการเปลี่ยนแปลง
รูปทรงค่อนข้างบ่อย ทำให้ Light curve ของดาวดวงนี้จับ pattern ได้ยากครับ (ตามภาพ)
ต่อไป คือ ดาวฤกษ์ 1SWASP J140747.93-394542.6 หรือชื่อย่อคือ J1407 ครับ
ดาวฤกษ์ J1407 นี้ อยู่ในทิศทางกลุ่มดาวคนครึ่งม้า (Constellation of Centaurus) ห่างจากโลก 430 ปีแสง
ดาวดวงนี้อยู่ใน Class เดียวกับดวงอาทิตย์ มีมวลประมาณ 90% ของดวงอาทิตย์ ขนาดประมาณเท่าดวงอาทิตย์
แต่อายุยังอ่อนเยาว์มากเพียง 15 - 20 ล้านปี เท่านั้น
ดาวฤกษ์ J1407 มีดาวเคราะห์โคจรรอบ 1 ดวง คือ J1407 b ดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ประเภท GAS giant คือเป็นดาว gas ยักษ์
ที่มีแนวโน้มที่จะเป็น Brown dwarf ได้ ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบครับ J1407b นี้ ค้นพบด้วยวิธี Transit (การโคจรผ่านหน้าดาวแม่)
โคจรรอบดาวแม่ทุก ๆ 3,725 วัน (10 ปี 2 เดือน) และเธอได้รับชื่อเล่นว่า ดาวเสาร์บวมสเตียรอยด์ เพราะตัวดาวเองก็มีขนาดใหญ่
มีมวลมากถึง 15 - 25 เท่าของดาวพฤหัส และยังมีวงแหวนขนาดใหญ่มากล้อมรอบตัวเธอด้วยครับ โดยวงแหวนนี้ได้แผ่รัศมีออกไปกว้างถึง
90 ล้าน กิโลเมตร กว้างกว่าวงแหวนของดาวเสาร์ของเราถึง 200 เท่าทีเดียว และ มวลรวมของวงแหวนนี้ก็มากเท่าโลกของเรา
ดาวเคราะห์ J1407b นี้ อาจมีดวงจันทร์ 1 - 3 ดวง แต่หลักฐานยังไม่แน่ชัดนัก เพราะเป็นการยากที่จะตรวจสอบวงแหวนเหล่านั้นได้
ว่ามี Moon โคจรรอบปะปนอยู่ด้วยหรือไม่ และประการสำคัญ คือ วงแหวนขนาดยักษ์นี้ หากพิจารณาอายุของระบบดาวนี้แล้ว
ที่ใหม่มาก ๆๆๆ เพียง 15 - 20 ล้านปี วงแหวนนี้อาจกำลัง form ตัวเพื่อไปเป็นดวงจันทร์ขนาดยักษ์ของดาวเคราะห์ J1407b นี้
ก็เป็นไปได้มากครับ ต่างจากระบบสุริยะอื่น ๆ เช่น ระบบของเราที่มีอายุ 4 พันล้านปีแล้ว วงแหวนของดาวเคราะห์ทุกดวงจะ stable แล้ว
ไม่สามารถ form ตัวเป็น Moon ได้อีก แต่ของ J1407b นี้ คาดว่า อาจจะ form ตัวเป็น Moon ขนาดยักษ์ได้ในอีกหลายร้อยล้านปีข้างหน้าครับ
ภาพจากจินตนาการของดาวเคราะห์ J1407b จะเห็นว่าวงแหวนนั้นกว้างมาก ๆ เทียบกับตัวดาวก้อนนิดเดียว
นี่คือขนาดของวงแหวนที่แผ่ออกไป 90 ล้าน กิโลเมตร เทียบกับระยะวงโคจรประมาณ 600 ล้าน กิโลเมตร อลังการมาก (Scale จริง)
นี่คือกราฟการลดลงของความสว่างดาวฤกษ์ J1407 เมื่อดาวเคราะห์ J1407b นั้น ได้ transit ผ่าน
ซึ่งนักดาราศาสตร์ตะลึงกับวงแหวนนี้มาก และได้บันทึกค่า brightness ของดาวฤกษ์ J1407 นี้
จนได้ข้อมูลที่ละเอียดมากพอ และสรุปออกมาได้ตามที่อธิบายข้างบนครับ
จากคลิปนี้ จะเห็นว่าการตรวจสอบค่า brightness นั้นสามารถกระทำได้ละเอียดมาก ถึงขั้นที่
สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ดาวเคราะห์ J1407b นี้ มี GAP ของวงแหวนแบบใดบ้าง
แต่กรณี Light curve ของดาวฤกษ์ในกระทู้นี้ มันมีค่าลดลงของ curve มากถึง 20% ถือว่ามากจนน่าตกใจครับ
เพราะปกติการ transit ของดาวเคราะห์ในระบบทั่วไปจะทำให้ light curve ลดลงเพียง 0.5 - 1% เท่านั้น
และนี่เองที่มีการตั้งข้อสันนิษฐานไปหลายรูปแบบครับ
ผมขออนุญาติเสริมเกี่ยวกับดาวฤกษ์ที่มีแสงประหลาด 2 ดวง ที่ถูกกล่าวถึงในบทความนี้ครับ
..... เรื่องนี้ มันเริ่มมาจากช่วงเดือนตุลาคม 2558 ทางสำนักข่าว Dailymail ได้ลงข่าวว่า
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล และ สถาบันเซติ (SETI) ได้เผยว่า ได้จับตามองดาวฤกษ์ชื่อ KIC 8462852
ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากโลก 1,480 ปีแสง มาเป็นเวลานานกว่า 4 ปี ผ่านทางกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Kepler
และได้พบว่าดาวดวงนี้มี Curve ของแสงที่แปลกประหลาดกว่าดาวฤกษ์ทั่วไป จึงทำให้เชื่อว่าน่าจะมีสิ่งก่อสร้างของเอเลี่ยน
โคจรอยู่รอบดาว KIC 8462852 และดูดเอาแสงจากดาวไปเพื่อเป็นพลังงาน
ตัวอย่างภาพ (ในจินตนาการ) ของ MEGASTRUCTURE ที่มนุษย์ต่างดาวสร้างครอบดาวฤกษ์ใว้ดูดพลังงานของดาว
ดาวฤกษ์ KIC 8462852 นี้ เป็นดาวฤกษ์ที่ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย อยู่ในทิศทางกลุ่มดาวหงส์
ห่างจากโลก 1,480 ปีแสง ดาวดวงนี้ได้รับชื่อเล่นว่า Tabby's star ซึ่งตั้งตามชื่อนักดาราศาสตร์หญิง
Tabetha S. Boyajian ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมที่ศึกษาเรื่อง Light curve ที่แปลกประหลาดของดาวดวงนี้ครับ
อีกชื่อหนึ่ง คือ WTF star ย่อมาจาก Where's The Flux ? (Flux นี้คือ ความเข้มแสงของดาว)
Where's the flux นี้ก็คือ ความเข้มแสงของเธอหายไปใหนกันนี่ ??
ตำแหน่งของดาวฤกษ์ KIC 8462852
ดาวฤกษ์ KIC 8462852 เริ่มแสดงความแปลกประหลาดออกมาจาก Light curve ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากถึง 20%
ซึ่ง 20% นี่คือ มโหฬารมากครับ โดยการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของแสงจากดาวดวงนี้ ไม่เป็นไปตามทฤษฏีต่าง ๆ ที่เคยพบเจอ
แต่ความเข้มแสงมีการเปลี่ยนแปลงแบบสุ่ม ดังนั้น จึงมีข้อสันนิษฐานออกมาหลายข้อ คือ อาจมีดาวหางเคลื่อนที่ผ่าน
และก่อกำเนิดเมฆมวลสารออกมาหนาแน่นจนบดบังแสงของดาวไปมาก ข้อสันนิษฐานอื่น ๆ คือ อาจมีแถบดาวเคราะห์น้อย
ขนาดใหญ่บดบังแสง หรือ อาจกำลังมีการก่อตัวของ protoplanetary disk ที่กำลังจะกลายไปเป็นดาวเคราะห์ดวงใหม่
ภาพแสดง Light curve ของแสงจากดาวดวงนี้ จะมีช่วงที่ผิดปกติมากในวันที่ 800
และที่สำคัญคือวันที่ 1510 - 1570 ที่แสงลดลงไปกว่า 22% (ถือว่ามากแบบน่าตกใจ)
แผนการศึกษาต่อไป คือ ทาง SETI Institute (สถาบันเซติ) มีแผนที่จะใช้ Radio Telescope หลายตัว
เพื่อรับสัญญาณจากดาวฤกษ์ดวงนี้ เพื่อหวังผลในการ รับสัญญาณ จากสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาได้
Update ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาครับ
ทาง NASA ได้เปิดเผยว่า ทีมงานที่ติดตามเรื่องนี้ได้ตรวจพบว่า แสงที่ลดลง นั้น
ในส่วนของ spectrum ย่าน UV จะลดลงมากอย่างมีนัยสำคัญ วิเคราะห์ได้ว่า
มันน่าจะเป็น ฝุ่น ที่มี particle ที่ใหญ่กว่า interstellar dust ซึ่งมันน่าจะเป็น circumstellar dust
หรือ กลุ่มฝุ่นที่กำลังจะก่อตัวเป็น Protoplanetary disk นั่นเอง โดยกลุ่มฝุ่นนี้มีการเปลี่ยนแปลง
รูปทรงค่อนข้างบ่อย ทำให้ Light curve ของดาวดวงนี้จับ pattern ได้ยากครับ (ตามภาพ)
ต่อไป คือ ดาวฤกษ์ 1SWASP J140747.93-394542.6 หรือชื่อย่อคือ J1407 ครับ
ดาวฤกษ์ J1407 นี้ อยู่ในทิศทางกลุ่มดาวคนครึ่งม้า (Constellation of Centaurus) ห่างจากโลก 430 ปีแสง
ดาวดวงนี้อยู่ใน Class เดียวกับดวงอาทิตย์ มีมวลประมาณ 90% ของดวงอาทิตย์ ขนาดประมาณเท่าดวงอาทิตย์
แต่อายุยังอ่อนเยาว์มากเพียง 15 - 20 ล้านปี เท่านั้น
ดาวฤกษ์ J1407 มีดาวเคราะห์โคจรรอบ 1 ดวง คือ J1407 b ดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ประเภท GAS giant คือเป็นดาว gas ยักษ์
ที่มีแนวโน้มที่จะเป็น Brown dwarf ได้ ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบครับ J1407b นี้ ค้นพบด้วยวิธี Transit (การโคจรผ่านหน้าดาวแม่)
โคจรรอบดาวแม่ทุก ๆ 3,725 วัน (10 ปี 2 เดือน) และเธอได้รับชื่อเล่นว่า ดาวเสาร์บวมสเตียรอยด์ เพราะตัวดาวเองก็มีขนาดใหญ่
มีมวลมากถึง 15 - 25 เท่าของดาวพฤหัส และยังมีวงแหวนขนาดใหญ่มากล้อมรอบตัวเธอด้วยครับ โดยวงแหวนนี้ได้แผ่รัศมีออกไปกว้างถึง
90 ล้าน กิโลเมตร กว้างกว่าวงแหวนของดาวเสาร์ของเราถึง 200 เท่าทีเดียว และ มวลรวมของวงแหวนนี้ก็มากเท่าโลกของเรา
ดาวเคราะห์ J1407b นี้ อาจมีดวงจันทร์ 1 - 3 ดวง แต่หลักฐานยังไม่แน่ชัดนัก เพราะเป็นการยากที่จะตรวจสอบวงแหวนเหล่านั้นได้
ว่ามี Moon โคจรรอบปะปนอยู่ด้วยหรือไม่ และประการสำคัญ คือ วงแหวนขนาดยักษ์นี้ หากพิจารณาอายุของระบบดาวนี้แล้ว
ที่ใหม่มาก ๆๆๆ เพียง 15 - 20 ล้านปี วงแหวนนี้อาจกำลัง form ตัวเพื่อไปเป็นดวงจันทร์ขนาดยักษ์ของดาวเคราะห์ J1407b นี้
ก็เป็นไปได้มากครับ ต่างจากระบบสุริยะอื่น ๆ เช่น ระบบของเราที่มีอายุ 4 พันล้านปีแล้ว วงแหวนของดาวเคราะห์ทุกดวงจะ stable แล้ว
ไม่สามารถ form ตัวเป็น Moon ได้อีก แต่ของ J1407b นี้ คาดว่า อาจจะ form ตัวเป็น Moon ขนาดยักษ์ได้ในอีกหลายร้อยล้านปีข้างหน้าครับ
ภาพจากจินตนาการของดาวเคราะห์ J1407b จะเห็นว่าวงแหวนนั้นกว้างมาก ๆ เทียบกับตัวดาวก้อนนิดเดียว
นี่คือขนาดของวงแหวนที่แผ่ออกไป 90 ล้าน กิโลเมตร เทียบกับระยะวงโคจรประมาณ 600 ล้าน กิโลเมตร อลังการมาก (Scale จริง)
นี่คือกราฟการลดลงของความสว่างดาวฤกษ์ J1407 เมื่อดาวเคราะห์ J1407b นั้น ได้ transit ผ่าน
ซึ่งนักดาราศาสตร์ตะลึงกับวงแหวนนี้มาก และได้บันทึกค่า brightness ของดาวฤกษ์ J1407 นี้
จนได้ข้อมูลที่ละเอียดมากพอ และสรุปออกมาได้ตามที่อธิบายข้างบนครับ
จากคลิปนี้ จะเห็นว่าการตรวจสอบค่า brightness นั้นสามารถกระทำได้ละเอียดมาก ถึงขั้นที่
สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ดาวเคราะห์ J1407b นี้ มี GAP ของวงแหวนแบบใดบ้าง
แต่กรณี Light curve ของดาวฤกษ์ในกระทู้นี้ มันมีค่าลดลงของ curve มากถึง 20% ถือว่ามากจนน่าตกใจครับ
เพราะปกติการ transit ของดาวเคราะห์ในระบบทั่วไปจะทำให้ light curve ลดลงเพียง 0.5 - 1% เท่านั้น
และนี่เองที่มีการตั้งข้อสันนิษฐานไปหลายรูปแบบครับ
แสดงความคิดเห็น
พบดาวประหลาด นักดาราศาสตร์ปวดหัวจี๊ด มีแสงกะพริบแบบแปลกๆ
ดาววีวีวี-ดับเบิลยูไอที-07 ตามจินตนาการของศิลปิน แสงของดาวดวงนี้มีการหรี่ลงเป็นระยะในแบบที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนทำนองเดียวกับดาวแทบบี (จาก NASA/JPL-Caltech)
ยังจำ ดาวแทบบีได้ไหม ดาวแทบบี หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ดาวโบยาเจียน ได้ชื่อตาม ทาเบทา โบยาเจียน นักดาราศาสตร์คนแรกที่ศึกษาดาวดวงนี้ เป็นดาวฤกษ์ที่ได้ชื่อว่าแปลกที่สุดดวงหนึ่งเท่าที่เคยรู้จัก จากพฤติกรรมที่หรี่แสงลงเป็นช่วงสั้น ๆ เป็นครั้งคราวในแบบที่คาดเดาไม่ได้ และยังมีการหรี่แสงอย่างช้า ๆ ในระยะยาวอีกด้วย
และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ดาวแทบบีก็แผลงฤทธิ์อีกครั้ง โดยมีการหรี่แสงลงอีก ซ้ำยังส่องสว่างขึ้นกว่าปกติเป็นบางครั้ง
คำอธิบายถึงพฤติกรรมประหลาดของดาวแทบบีที่พอจะยอมรับได้มากที่สุดในขณะนี้คือ เกิดจากฝุ่นบริเวณรอบดาวดวงนี้มาบดบังแสงไป แต่ก็ยังอธิบายไม่ได้ว่าฝุ่นนี้มาจากไหน และก็อธิบายได้ไม่ทั้งหมด
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวอีกดวงหนึ่งที่แสดงสมบัติคล้ายดาวแทบบี ดาวดวงนี้มีชื่อว่า วีวีวี-ดับเบิลยูไอที-07 (VVV-WIT-07) ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์ในชิลี นำโดย โรแบร์โต ไซโต จากมหาวิทยาลัยซันตาแคทารินาในโฟลเรียนอโปลิส ประเทศบราซิล คณะนักสำรวจของไซโตได้ใช้กล้องวิสตาในทะเลทรายอาตากามาตรวจหาซูเปอร์โนวา แต่กลับสังเกตว่าดาวดวงนี้มีกะพริบในแบบแปลก ๆ เมื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง พบว่าดาวดวงนี้หรี่แสงลงและสว่างขึ้นเป็นระยะมาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน และไม่มีรูปแบบที่แน่นอนเช่นเดียวกับดาวแทบบี
ภาพตามจินตนาการของศิลปินของดาวแทบบีที่มีกลุ่มฝุ่นจำนวนมากรายล้อม กลุ่มฝุ่นที่บดบังแสงดาวเป็นผลให้แสงดาวหรี่ลงอย่างประหลาดดังที่นักดาราศาสตร์พบเห็น ดาววีวีวี-ดับเบิลยูไอที-07 ก็มีพฤติกรรมทำนองเดียวกัน (จาก NASA/JPL-Caltech.)
สิ่งหนึ่งที่ต่างจากดาวแทบบีอย่างมากก็คือ ขณะที่ดาวแทบบีหรี่แสงลงไป 22% ตั้งแต่เริ่มสังเกตการณ์มา แต่ดาววีวีวี-ดับเบิลยูไอที-07 หรี่แสงลงไปมากถึง 80%
ขณะนี้นักดาราศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักว่าดาวดวงนี้เป็นชนิดไหน เนื่องจากตำแหน่งของดาวอยู่ในระนาบทางช้างเผือกเมื่อมองจากโลก ฝุ่นจำนวนมากในระนาบได้บดบางแสงไปบางส่วน หากเป็นดาวแปรแสงอายุน้อย การหรี่แสงที่พบก็อาจเป็นเพียงกระบวนการภายในดาวเอง แต่หากไม่ใช่ ก็ต้องหาคำตอบกันต่อไป
ยังมีดาวอีกดวงหนึ่งที่อาจใกล้เคียงกับดาววีวีวี-ดับเบิลยูไอที-007 หรืออาจจะใกล้เคียงมากกว่าก็คือ ดาว เจ 1407 (J1407) นักดาราศาสตร์พบดาวดวงนี้ในปี 2555 มีการหรี่แสงลงเป็นระยะเช่นเดียวกัน แต่หรี่แสงไปมากถึง 95% เอริก มามาเจ็ก จากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ในนิวยอร์ก หนึ่งในคณะผู้ค้นพบอธิบายว่า การหรี่แสงของดาว เจ 1407 น่าจะเกิดจากการที่มีดาวเคราะห์บริวารหรือดาวแคระน้ำตาลที่มีวงแหวนขนาดมหึมา แหวนของดาวเคราะห์ดวงนี้มีขนาดใหญ่กว่าแหวนของดาวเสาร์ถึง 200 เท่า เมื่อแหวนผ่านหน้าดาวฤกษ์ ก็จะบดบังแสงจากดาวไป
ดาววีวีวี-ดับเบิลยูไอที-07 อาจคล้ายกับดาว เจ 1407 ก็ได้ ดาวดวงนี้มีดาวเคราะห์บริวารที่มีวงแหวนขนาดมหึมาโคจรรอบอยู่ วงแหวนที่บดบังดาวเป็นระยะ เป็นเหตุให้แสงดาวหรี่ลงไปเมื่อมองจากโลก (จาก Ron Miller.)
นักดาราศาสตร์คณะของไซโตกำลังมีแผนที่จะสำรวจดาวดวงนี้เพิ่มเติม โดยมองหากล้องที่ใหญ่กว่า เช่นกล้องเจมิไนที่มีขนาดใหญ่ถึง 8.1 เมตร หรือเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา เพื่อที่จะไขปัญหาให้ได้ว่าดาวดวงนี้หรี่แสงแบบนี้ได้อย่างไร
ที่มา: Have astronomers found another Tabby’s Star? – earthsky.org
มติชนออนไลน์