“Spider milk” - Jumping spider feeds babies with milk-like substance
Lactation (การให้นมบุตร) คือ ผลผลิตและการหลั่งน้ำนมสำหรับเด็ก
และเป็นคุณลักษณะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
แต่งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร
Science วันที่ 30 พฤศจิกายน 2018
นักวิจัยจากสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนแห่ง Xishuangbanna (XTBG)
ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน ได้รายงานถึงการให้นมของ
Toxeus magnus (Araneae: Salticidae) เป็นแมงมุมกระโดดที่คล้ายกับมด
ในการศึกษาภาคสนาม นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า
แมงมุมกระโดดตัวหนึ่งสร้างรังที่มีขนาดใหญ่มาก
ใหญ่เป็น 2 เท่าของแมงมุมที่โตเต็มวัยหลายตัว
หรือแมงมุมเพศเมียหรือแมงมุมวัยเยาว์หลายตัว
"
จากการสังเกตทำให้รู้สึกงงงันกับสายพันธุ์ที่คาดว่าเป็น noncolonial (ไม่มีอาณาจักร)
มีความเป็นไปได้ว่าแมงมุมกระโดดอาจได้รับการดูแลจากแม่แมงมุมเป็นเวลานาน
ก่อนที่จะแยกตัวออกไปหากินเอง เราจึงตัดสินใจที่จะทดสอบ "
Dr. Chen Zhanqi ผู้เขียนบทนำในการศึกษาครั้งนี้
นักวิจัยได้ประเมินว่า ลูกหลานแมงมุมมีพัฒนาการ
และทำตัวอย่างไรภายใต้การดูแลของแม่แมงมุม
ทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและในภาคสนาม
โดยไม่มีลูกแมงมุมออกจากรังเพื่อหาอาหารเลยจนกว่าจะมีอายุ 20 วัน
จากการสังเกตอย่างใกล้ชิดพบว่า
แม่แมงมุมกระโดดได้ให้ของเหลวกับลูกแมงมุม
ที่ดูเหมือนจะมีคุณค่าทางโภชนาการ
ซึ่งต่อจากนี้ไปเรียกว่า นมแมงมุมแก่ลูกแมงมุม
การจัดเตรียมน้ำนมใน T. magnus
จะเกี่ยวข้องกับอวัยวะพิเศษในช่วงเวลาที่ยาวนานมาก
คล้ายคลึงกับการให้นมลูกของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม
จากข้อสังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์
แสดงให้เห็นว่า มีหยดละอองจากลำไส้ของแม่แมงมุม
ที่ลูกแมงมุมดูดเลียนมดังกล่าว
ลูกแมงมุมจะได้รับหยดน้ำนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
ที่หลั่งออกมาจากลำไส้ใหญ่ของแม่
มีคุณค่าทางอาหารราว 4 เท่าของน้ำนมแม่วัว
จนกระทั่งถึงระยะกึ่งโตเต็มวัย subadult (ประมาณ 40 วัน)
หากลูกแมงมุมไม่ได้รับนมแมงมุมหลังจากเพิ่งเกิดใหม่
พวกมันจะหยุดพัฒนาการและจะตายภายใน 10 วัน
แสดงว่านมของแม่แมงมุมกระโดดนั้น
จำเป็นสำหรับการอยู่รอดชีวิตของลูกแมงมุมในระยะเริ่มแรก
นอกจากนี้นักวิจัยได้ทดสอบว่า
ทำไมแม่แมงมุมยังดูแลและยังจัดหาน้ำนมให้ลูกอย่างต่อเนื่อง
หลังจากผ่านไป 20 วันแล้ว
และลูกแมงมุมกระโดดสามารถหาอาหารได้เองแล้ว
แม่แมงมุมกระโดยยังคงดูแลรังตลอด
และทำการขนย้ายคราบของลูกแมงมุม
และซ่อมแซมรังแมงมุมที่เสียหาย
หลังจากที่ลูกแมงมุมได้รับ
การดูแลพร้อมกับน้ำนมจากแม่แมงมุมกระโดด
ร้อยละ 76 ของลูกแมงมุมที่คลอดออกมาก
จะรอดชีวิตได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ (ประมาณ 52 วัน)
การให้นมลูกแมงมุมหลังจากผ่านไป 20 วัน
แทบไม่มีผลต่อการรอดชีวิตของแมงมุม
ขนาดร่างกาย อัตราส่วนทางเพศ หรือระยะเวลาพัฒนาการ
แต่การมีแม่แมงมุมมีบทบาทสำคัญ
ในการรักษาอัตราการรอดตายของลูกแมงมุม
และขนาดของร่างกายที่เติบโตตามปกติ
ดังนั้นการจัดเตรียมน้ำนมของแม่แมงมุม
จึงช่วยเสริมการให้อาหารในขั้นตอนต่อ ๆ ไป
แม้ว่าแม่แมงมุมจะให้การดูแลลูก ๆ ทุกคนอย่างเดียวกัน
แต่มีแต่แมงมุมลูกสาวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้กลับมาทำรังใกล้ ๆ
หลังจากที่ผ่านการผสมพันธุ์และพร้อมจะมีลูก
แต่ลูกชายวัยรุ่นจะถูกโจมตีขับไล่จากแม่แมงมุมกระโดด
หากพวกมันพยายามจะกลับมาที่รังแห่งนี้
ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันสายเลือดชิดจากการผสมพันธุ์
พฤติกรรมนี้อาจจะลดภาวะซึมเศร้าในสายเลือดของแม่แมงมุมกระโดด
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในสายพันธุ์แมงมุมกระโดด
แม่แมงมุมกระโดดมีต้นทุนชีวิตมากกว่าแมงมุมตัวผู้
ทำให้ทำนายได้ว่า อัตราส่วนที่ลำเอียงทางเพศของแมงมุมกระโดด
จึงจะเป็นเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับความสำเร็จ
ของการสืบพันธุ์ด้วยระบบการผสมพันธุ์จากตัวผู้หลายตัว polygamous
"
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การจัดเตรียมนมแม่
และการดูแลของแม่กับลูกที่โตเต็มที่ตามเพศสภาพ
ก็ยังมีวิวัฒนาการในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
เราคาดหวังว่า ผลการวิจัยจะสนับสนุนให้มีการประเมิน
การเปลี่ยนแปลงภาวะการให้นมบุตร
และการดูแลของแม่ที่เพิ่มขึ้น
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาณาจักรแมงมุมกระโดด "
Dr. Chen Zhanqi ให้สัมภาษณ์
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2DS0wvH
https://bit.ly/2zv7ZOf
https://bit.ly/2zBlBY7
https://bit.ly/2FSJGPW
แมงมุมกระโดดให้น้ำนมแม่กับลูกแมงมุม
“Spider milk” - Jumping spider feeds babies with milk-like substance
Lactation (การให้นมบุตร) คือ ผลผลิตและการหลั่งน้ำนมสำหรับเด็ก
และเป็นคุณลักษณะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
แต่งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science วันที่ 30 พฤศจิกายน 2018
นักวิจัยจากสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนแห่ง Xishuangbanna (XTBG)
ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน ได้รายงานถึงการให้นมของ
Toxeus magnus (Araneae: Salticidae) เป็นแมงมุมกระโดดที่คล้ายกับมด
ในการศึกษาภาคสนาม นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า
แมงมุมกระโดดตัวหนึ่งสร้างรังที่มีขนาดใหญ่มาก
ใหญ่เป็น 2 เท่าของแมงมุมที่โตเต็มวัยหลายตัว
หรือแมงมุมเพศเมียหรือแมงมุมวัยเยาว์หลายตัว
" จากการสังเกตทำให้รู้สึกงงงันกับสายพันธุ์ที่คาดว่าเป็น noncolonial (ไม่มีอาณาจักร)
มีความเป็นไปได้ว่าแมงมุมกระโดดอาจได้รับการดูแลจากแม่แมงมุมเป็นเวลานาน
ก่อนที่จะแยกตัวออกไปหากินเอง เราจึงตัดสินใจที่จะทดสอบ "
Dr. Chen Zhanqi ผู้เขียนบทนำในการศึกษาครั้งนี้
นักวิจัยได้ประเมินว่า ลูกหลานแมงมุมมีพัฒนาการ
และทำตัวอย่างไรภายใต้การดูแลของแม่แมงมุม
ทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและในภาคสนาม
โดยไม่มีลูกแมงมุมออกจากรังเพื่อหาอาหารเลยจนกว่าจะมีอายุ 20 วัน
จากการสังเกตอย่างใกล้ชิดพบว่า
แม่แมงมุมกระโดดได้ให้ของเหลวกับลูกแมงมุม
ที่ดูเหมือนจะมีคุณค่าทางโภชนาการ
ซึ่งต่อจากนี้ไปเรียกว่า นมแมงมุมแก่ลูกแมงมุม
การจัดเตรียมน้ำนมใน T. magnus
จะเกี่ยวข้องกับอวัยวะพิเศษในช่วงเวลาที่ยาวนานมาก
คล้ายคลึงกับการให้นมลูกของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม
จากข้อสังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์
แสดงให้เห็นว่า มีหยดละอองจากลำไส้ของแม่แมงมุม
ที่ลูกแมงมุมดูดเลียนมดังกล่าว
ลูกแมงมุมจะได้รับหยดน้ำนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
ที่หลั่งออกมาจากลำไส้ใหญ่ของแม่
มีคุณค่าทางอาหารราว 4 เท่าของน้ำนมแม่วัว
จนกระทั่งถึงระยะกึ่งโตเต็มวัย subadult (ประมาณ 40 วัน)
หากลูกแมงมุมไม่ได้รับนมแมงมุมหลังจากเพิ่งเกิดใหม่
พวกมันจะหยุดพัฒนาการและจะตายภายใน 10 วัน
แสดงว่านมของแม่แมงมุมกระโดดนั้น
จำเป็นสำหรับการอยู่รอดชีวิตของลูกแมงมุมในระยะเริ่มแรก
นอกจากนี้นักวิจัยได้ทดสอบว่า
ทำไมแม่แมงมุมยังดูแลและยังจัดหาน้ำนมให้ลูกอย่างต่อเนื่อง
หลังจากผ่านไป 20 วันแล้ว
และลูกแมงมุมกระโดดสามารถหาอาหารได้เองแล้ว
แม่แมงมุมกระโดยยังคงดูแลรังตลอด
และทำการขนย้ายคราบของลูกแมงมุม
และซ่อมแซมรังแมงมุมที่เสียหาย
หลังจากที่ลูกแมงมุมได้รับ
การดูแลพร้อมกับน้ำนมจากแม่แมงมุมกระโดด
ร้อยละ 76 ของลูกแมงมุมที่คลอดออกมาก
จะรอดชีวิตได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ (ประมาณ 52 วัน)
การให้นมลูกแมงมุมหลังจากผ่านไป 20 วัน
แทบไม่มีผลต่อการรอดชีวิตของแมงมุม
ขนาดร่างกาย อัตราส่วนทางเพศ หรือระยะเวลาพัฒนาการ
แต่การมีแม่แมงมุมมีบทบาทสำคัญ
ในการรักษาอัตราการรอดตายของลูกแมงมุม
และขนาดของร่างกายที่เติบโตตามปกติ
ดังนั้นการจัดเตรียมน้ำนมของแม่แมงมุม
จึงช่วยเสริมการให้อาหารในขั้นตอนต่อ ๆ ไป
แม้ว่าแม่แมงมุมจะให้การดูแลลูก ๆ ทุกคนอย่างเดียวกัน
แต่มีแต่แมงมุมลูกสาวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้กลับมาทำรังใกล้ ๆ
หลังจากที่ผ่านการผสมพันธุ์และพร้อมจะมีลูก
แต่ลูกชายวัยรุ่นจะถูกโจมตีขับไล่จากแม่แมงมุมกระโดด
หากพวกมันพยายามจะกลับมาที่รังแห่งนี้
ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันสายเลือดชิดจากการผสมพันธุ์
พฤติกรรมนี้อาจจะลดภาวะซึมเศร้าในสายเลือดของแม่แมงมุมกระโดด
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในสายพันธุ์แมงมุมกระโดด
แม่แมงมุมกระโดดมีต้นทุนชีวิตมากกว่าแมงมุมตัวผู้
ทำให้ทำนายได้ว่า อัตราส่วนที่ลำเอียงทางเพศของแมงมุมกระโดด
จึงจะเป็นเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับความสำเร็จ
ของการสืบพันธุ์ด้วยระบบการผสมพันธุ์จากตัวผู้หลายตัว polygamous
" ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การจัดเตรียมนมแม่
และการดูแลของแม่กับลูกที่โตเต็มที่ตามเพศสภาพ
ก็ยังมีวิวัฒนาการในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
เราคาดหวังว่า ผลการวิจัยจะสนับสนุนให้มีการประเมิน
การเปลี่ยนแปลงภาวะการให้นมบุตร
และการดูแลของแม่ที่เพิ่มขึ้น
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาณาจักรแมงมุมกระโดด "
Dr. Chen Zhanqi ให้สัมภาษณ์
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2DS0wvH
https://bit.ly/2zv7ZOf
https://bit.ly/2zBlBY7
https://bit.ly/2FSJGPW
Toxeus magnus, adult female. Image credit: Chen et al, doi: 10.1126/science.aat3692
https://bit.ly/2PdjOxF