งานอดิเรก การดูดาว ก็เป็นงานอดิเรกที่น่าสนใจมากอย่างหนึ่ง ยิ่งปัจจุบัน ประเทศไทยเราเอง มีสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติและหอดูดาวในสังกัดที่กระจายไปทั่วทุก ๆ ภูมิภาค รวมถึงเครือข่าย/ชมรมดาราศาสตร์ ของสถาบันการศึกษา และ นักดาราศาสตร์มือสมัครเล่น หลาย ๆ กลุ่มรวมถึงปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ ที่มีสื่อต่าง ๆ ช่วงประชาสัมพันธ์ข้อมูล ด้วยนะครับ
เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่หลาย ๆ ท่าน หันมาสนใจงานอดิเรกประเภทนี้ เพราะความรู้ด้านดาราศาสตร์เป็นความรู้ที่มีมานานและยังมีอะไรให้น่าค้นหาและค้นพบต่าง ๆ อีกมากมาย
สำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้น การดูดาว แน่นอนว่า อุปกรณ์ที่หลายท่าน นึกถึง ก็คือ กล้องดูดาว นั่นเอง
*****ผมขอแนะนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกล้องดูดาว ดังนี้นะครับ*****
หลักการทำงานของกล้องดูดาว คือ
รวมแสงจากวัตถุแล้วขยายแสงที่ได้จากการรวมแสงจากวัตถุนั้นให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ผมเน้นหลักการตรงนี้นะครับ
1. รวมแสงจากวัตถุ คือ ตัวกล้องดูดาวจะมีเลนส์หรือกระจกชิ้นหนึ่งที่ทำหน้าที่รวมแสงจากวัตถุ ซึ่งชิ้นส่วนนี้จะเรียกว่า “เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) หรือ กระจกหลัก (Primary mirror)” ก็แล้วแต่จะเรียก แต่ก็ให้เข้าใจตรงกันว่า มันคือชิ้นส่วนสำหรับรวมแสงจากวัตถุนั่นเอง
โดยปกติเราจะพบว่า เมื่อนำเลนส์หรือกระจกรวมแสงไปใช้ แสงจะถูกรวมไปที่จุด ๆ หนึ่ง จุดนี้เรียกว่า จุดโฟกัส และระยะห่างระหว่างกึ่งกลางเลนส์หรือกระจกรวมแสง ถึง จุดโฟกัสจะเรียกว่า ระยะโฟกัสหรือทางยาวโฟกัสของเลนส์หรือกระจกรวมแสง
และโดยธรรมชาติ เลนส์หรือกระจกรวมแสง ที่มีขนาดต่าง ๆ กัน ก็จะมีพื้นที่รับแสงแตกต่างกันด้วย โดยเลนส์หรือกระจกรวมแสงขนาดใหญ่จะมีพื้นที่รับแสงมากกว่าเลนส์หรือกระจกรวมแสงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ชิ้นส่วนของเลนส์หรือกระจกรวมแสงนี้จะผลิตให้มีรูปแบบเป็นวงกลม ทำให้การบอกขนาดพื้นที่รับแสง จะบอกในหน่วยเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์หรือกระจกรวมแสงแทน ซึ่งเรียกว่า ขนาดรูรับแสงหรือขนาดหน้ากล้อง(Aperture) ขนาดหน้ากล้องที่ใหญ่กว่า 2 เท่าจะมีพื้นที่รับแสงมากกว่าถึง 4 เท่า และความสามารถหรือกำลังรวมแสงของเลนส์หรือกระจกรวมแสงจะเรียกว่า Light-Gathering Power ซึ่งเปรียบเทียบกำลังรวมแสงกับดวงตาของคนเรานั่นเอง
2. ขยายแสงที่ได้จากการรวมแสงจากวัตถุนั้นให้มองเห็นได้ คือ ตัวกล้องดูดาว จะมีชุดเลนส์ชุดหนึ่งที่ทำหน้าที่ขยายแสงตรงนี้ ชิ้นส่วนนี้จะเรียกว่า “เลนส์ใกล้ตา (eyepiece)”
*****จากหลักการเบื้องต้น .... ถ้าอยากมีกล้องดูดาว สิ่งที่ต้องคิดเมื่อจะซื้อกล้องดูดาว*****
1..
อย่าเอา !!! กำลังขยายของกล้องดูดาวมาเป็นเกณฑ์หลัก !!! ในการตัดสินใจซื้อ เพราะ
กำลังขยายของกล้องดูดาวได้จาก ระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ หารด้วย ระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา
สมมติ เวลาคุณซื้อกล้องดูดาวทีมี ระยะโฟกัสเลนส์ใกล้วัตถุ 400 มิลลิเมตร มีระยะโฟกัสเลนส์ใกล้ตา 10 มิลลิเมตร , 20 มิลลิเมตร และ 5 มิลลิเมตร เท่ากับว่า กล้องดูดาวที่คุณซื้อมีกำลังขยาย 40x 20x และ 80x ตามลำดับ
2..
ขนาดหน้ากล้องและระยะโฟกัสของกระจกหลัก คือสิ่งสำคัญในการเลือกซื้อ
2.1 ขนาดหน้ากล้องใหญ่จะมีพื้นที่รับแสงมากกว่าขนาดหน้ากล้องเล็ก
2.2 ระยะโฟกัสของกระจกหลักที่สั้น แสงก็จะถูกลดทอนความสว่าง น้อยกว่าระยะโฟกัสของกระจกหลักยาว ให้นึกถึงความสว่างของหลอดไฟ อยู่ใกล้มีความสว่างมากถ้าห่างออกไปความสว่างก็จะลดลงเรื่อย ๆ ดังนั้น ระยะโฟกัสของกระจกหลักเปรียบเสมือนระยะที่ห่างจากหลอดไฟนั่นเอง
ก็จะมีข้อสงสัยกันต่อว่า ... อ้าว ส่วนใหญ่ในตลาด ขนาดหน้ากล้องเล็กจะมีระยะโฟกัสที่สั้นกว่าขนาดหน้ากล้องใหญ่ แต่ขนาดหน้ากล้องใหญ่มีพื้นที่รับแสงได้มากกว่าขนาดหน้ากล้องเล็ก แล้วจะตัดสินใจอย่างไรดี
3
ค่า F/ratio คือ อัตราส่วนระหว่างระยะโฟกัสของกระจกหลักหรือเลนส์ใกล้วัตถุ หารด้วย ขนาดหน้ากล้องหรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์ใกล้วัตถุ เช่น กำลังตัดสินใจซื้อกล้องดูดาว 2 ตัวดังนี้
กล้องขนาด 4 นิ้ว(100 มิลลิเมตร) ระยะโฟกัส 400 มิลลิเมตร จะมี F/ratio = 400/100 = f/4
กล้องขนาด 8 นิ้ว(203 มิลลิเมตร) ระยะโฟกัส 2030 มิลลิเมตร จะมี F/ratio = 2030/203 = f/10
4
วัตถุบนท้องฟ้าที่อยากสังเกตการณ์หรือคาดว่าจะสังเกตการณ์มากที่สุด
ถ้า เป็นวัตถุประเภท ที่มีความสว่างมาก ๆ เช่น ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ แนะนำให้เลือกกล้องที่มีค่า f/10 ( f/ratio มาก บวกลบได้นิดหน่อย)
ถ้า เป็นวัตถุประเภท ที่มีความสว่างน้อย ๆ เช่น เนบิวลา กาแล๊กซี่ แนะนำให้เลือกกล้องที่มีค่า f/4 ( f/ratio น้อย บวกลบได้นิดหน่อย)
5 f/ratio ที่น้อยกว่า ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสมกับการสังเกตวัตถุที่มีความสว่างน้อย ๆ เสมอไป เพราะวัตถุที่มีความสว่างน้อย ๆ บางอย่างมีขนาดเล็ก กล้องที่มี F/ratio น้อย มักจะมีขนาดหน้ากล้องเล็ก และขนาดหน้ากล้องก็จะมีผลต่อ
ขีดจำกัดของกำลังขยายที่จะใช้ด้วย ซึ่งขีดจำกัดของกำลังขยายที่สามารถใช้ได้ คำนวนคร่าว ๆ จาก ขนาดหน้ากล้อง (นิ้ว) คูณ ด้วย 50 เช่น
เช่นกล้องขนาด 4 นิ้ว ขีดจำกัดของกำลังขยายคือ 4 x 50 = 200X นั่นเอง
เช่นกล้องขนาด 8 นิ้ว ขีดจำกัดของกำลังขยายคือ 8 x 50 = 400X นั่นเอง
6
คุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำเลนส์หรือกระจก
แสงที่ตกกระทบพื้นผิวของกระจกหรือเลนส์ จะมีการกระเจิงหรือถูกดูดกลืนไปบางส่วน ดังนั้น หากซื้อกล้องดูดาวที่เลือกสเปคมาดีทั้งหมดตรงความต้องการแต่คุณภาพของเลนส์หรือกระจกห่วยมาก เช่น
มีกล้องดูดาว ที่ f/4 กับ f/6 แต่กล้องตัว f/4 แสงมา 100 หน่วย แต่กระเจิงและถูกดูดกลืนไป 60 หน่วย เหลือแสงเพียงแค่ 40 หน่วยเท่านั้นที่เลนส์รวมได้ ก็หมดประโยชน์อยู่ดี สู้เอากล้อง f/7 แสงมา 100 หน่วย แต่กระเจิงและถูกดูดกลืนไป 10 หน่วย เหลือแสงเพียงแค่ 90 หน่วย ที่รวมได้ ดีกว่า
7
คุณภาพตามราคา
กล้องที่มีกลไกซับซ้อนมากกว่า จะมีราคาแพงกว่า กล้องที่มีกลไกซับซ้อนน้อยกว่า
กล้องที่มีขนาดหน้ากล้องกว้างกว่า จะมีราคาแพงกว่า กล้องที่มีขนาดหน้ากล้องแคบกว่า
เลนส์หรือกระจกคุณภาพดี จะมีราคาแพงกว่า เลนส์หรือกระจกคุณภาพห่วย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
https://www.dropbox.com/s/eb3uonb7kfpk787/One%20year%20of%20astronomy.pdf?dl=0
อันนี้เป็นลิงค์ที่ผมรวบรวมไว้....
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปัญหาที่หลาย ๆ ท่านมาถาม คือ
1..จะเลือกซื้อกล้องดูดาวอย่างไร
ข้อแนะนำเบื้องต้น...ก็ตามข้างบนเลยนะครับ
2..ซื้อกล้องมาแล้วประกอบอย่างไร
ข้อแนะนำเบื้องต้น...ให้อ่านคู่มือก่อน ทำความเข้าใจอุปกรณ์ทีละชิ้น ๆ และค่อย ๆ ประกอบร่างครับ
3..ส่องกลางวันเห็นชัด ส่องกลางคืนไปที่ดวงดาว มืด ไปหมด
ข้อแนะนำเบื้องต้น...ให้เลือกใช้กำลังขยายต่ำสุดก่อน ปรับโฟกัสให้ชัด แล้วค่อย ๆ เพิ่มกำลังขยายเข้าไป (ถ้าอยากเพิ่ม)
4..ใช้กำลังขยายสูงสุดที่มีมาให้แต่ส่องไปไม่เห็นอะไรเลย
ข้อแนะนำเบื้องต้น...ขีดจำกัดกำลังขยายของกล้องขึ้นอยู่กับขนาดหน้ากล้อง ขนาดหน้ากล้อง (นิ้ว) x 50 = กำลังขยายสูงสุดที่ใช้งานได้
แต่ถ้ายังไปเห็นเหมือนเดิม...น่าจะเป็นที่คุณภาพของกล้องและสเปคกล้องครับ
5..เห็นโฆษณาบอกว่า ส่องเห็นถึงดาวเสาร์
ข้อแนะนำเบื้องต้น...โฆษณาก็คือโฆษณา ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน ได้กล้องมาแล้ว ส่องเห็นดาวเสาร์จริงแต่ไม่ต่างอะไรกับมองด้วยตาเปล่า ก็ไม่ต้องซื้อให้เสียเงินฟรี ๆ ดีกว่า
ข้อแนะนำเบื้องต้น..ถ้าอยากมีกล้องดูดาว
เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่หลาย ๆ ท่าน หันมาสนใจงานอดิเรกประเภทนี้ เพราะความรู้ด้านดาราศาสตร์เป็นความรู้ที่มีมานานและยังมีอะไรให้น่าค้นหาและค้นพบต่าง ๆ อีกมากมาย
สำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้น การดูดาว แน่นอนว่า อุปกรณ์ที่หลายท่าน นึกถึง ก็คือ กล้องดูดาว นั่นเอง
*****ผมขอแนะนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกล้องดูดาว ดังนี้นะครับ*****
หลักการทำงานของกล้องดูดาว คือ รวมแสงจากวัตถุแล้วขยายแสงที่ได้จากการรวมแสงจากวัตถุนั้นให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ผมเน้นหลักการตรงนี้นะครับ
1. รวมแสงจากวัตถุ คือ ตัวกล้องดูดาวจะมีเลนส์หรือกระจกชิ้นหนึ่งที่ทำหน้าที่รวมแสงจากวัตถุ ซึ่งชิ้นส่วนนี้จะเรียกว่า “เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) หรือ กระจกหลัก (Primary mirror)” ก็แล้วแต่จะเรียก แต่ก็ให้เข้าใจตรงกันว่า มันคือชิ้นส่วนสำหรับรวมแสงจากวัตถุนั่นเอง
โดยปกติเราจะพบว่า เมื่อนำเลนส์หรือกระจกรวมแสงไปใช้ แสงจะถูกรวมไปที่จุด ๆ หนึ่ง จุดนี้เรียกว่า จุดโฟกัส และระยะห่างระหว่างกึ่งกลางเลนส์หรือกระจกรวมแสง ถึง จุดโฟกัสจะเรียกว่า ระยะโฟกัสหรือทางยาวโฟกัสของเลนส์หรือกระจกรวมแสง
และโดยธรรมชาติ เลนส์หรือกระจกรวมแสง ที่มีขนาดต่าง ๆ กัน ก็จะมีพื้นที่รับแสงแตกต่างกันด้วย โดยเลนส์หรือกระจกรวมแสงขนาดใหญ่จะมีพื้นที่รับแสงมากกว่าเลนส์หรือกระจกรวมแสงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ชิ้นส่วนของเลนส์หรือกระจกรวมแสงนี้จะผลิตให้มีรูปแบบเป็นวงกลม ทำให้การบอกขนาดพื้นที่รับแสง จะบอกในหน่วยเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์หรือกระจกรวมแสงแทน ซึ่งเรียกว่า ขนาดรูรับแสงหรือขนาดหน้ากล้อง(Aperture) ขนาดหน้ากล้องที่ใหญ่กว่า 2 เท่าจะมีพื้นที่รับแสงมากกว่าถึง 4 เท่า และความสามารถหรือกำลังรวมแสงของเลนส์หรือกระจกรวมแสงจะเรียกว่า Light-Gathering Power ซึ่งเปรียบเทียบกำลังรวมแสงกับดวงตาของคนเรานั่นเอง
2. ขยายแสงที่ได้จากการรวมแสงจากวัตถุนั้นให้มองเห็นได้ คือ ตัวกล้องดูดาว จะมีชุดเลนส์ชุดหนึ่งที่ทำหน้าที่ขยายแสงตรงนี้ ชิ้นส่วนนี้จะเรียกว่า “เลนส์ใกล้ตา (eyepiece)”
*****จากหลักการเบื้องต้น .... ถ้าอยากมีกล้องดูดาว สิ่งที่ต้องคิดเมื่อจะซื้อกล้องดูดาว*****
1..อย่าเอา !!! กำลังขยายของกล้องดูดาวมาเป็นเกณฑ์หลัก !!! ในการตัดสินใจซื้อ เพราะกำลังขยายของกล้องดูดาวได้จาก ระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ หารด้วย ระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา
สมมติ เวลาคุณซื้อกล้องดูดาวทีมี ระยะโฟกัสเลนส์ใกล้วัตถุ 400 มิลลิเมตร มีระยะโฟกัสเลนส์ใกล้ตา 10 มิลลิเมตร , 20 มิลลิเมตร และ 5 มิลลิเมตร เท่ากับว่า กล้องดูดาวที่คุณซื้อมีกำลังขยาย 40x 20x และ 80x ตามลำดับ
2..ขนาดหน้ากล้องและระยะโฟกัสของกระจกหลัก คือสิ่งสำคัญในการเลือกซื้อ
2.1 ขนาดหน้ากล้องใหญ่จะมีพื้นที่รับแสงมากกว่าขนาดหน้ากล้องเล็ก
2.2 ระยะโฟกัสของกระจกหลักที่สั้น แสงก็จะถูกลดทอนความสว่าง น้อยกว่าระยะโฟกัสของกระจกหลักยาว ให้นึกถึงความสว่างของหลอดไฟ อยู่ใกล้มีความสว่างมากถ้าห่างออกไปความสว่างก็จะลดลงเรื่อย ๆ ดังนั้น ระยะโฟกัสของกระจกหลักเปรียบเสมือนระยะที่ห่างจากหลอดไฟนั่นเอง
ก็จะมีข้อสงสัยกันต่อว่า ... อ้าว ส่วนใหญ่ในตลาด ขนาดหน้ากล้องเล็กจะมีระยะโฟกัสที่สั้นกว่าขนาดหน้ากล้องใหญ่ แต่ขนาดหน้ากล้องใหญ่มีพื้นที่รับแสงได้มากกว่าขนาดหน้ากล้องเล็ก แล้วจะตัดสินใจอย่างไรดี
3 ค่า F/ratio คือ อัตราส่วนระหว่างระยะโฟกัสของกระจกหลักหรือเลนส์ใกล้วัตถุ หารด้วย ขนาดหน้ากล้องหรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์ใกล้วัตถุ เช่น กำลังตัดสินใจซื้อกล้องดูดาว 2 ตัวดังนี้
กล้องขนาด 4 นิ้ว(100 มิลลิเมตร) ระยะโฟกัส 400 มิลลิเมตร จะมี F/ratio = 400/100 = f/4
กล้องขนาด 8 นิ้ว(203 มิลลิเมตร) ระยะโฟกัส 2030 มิลลิเมตร จะมี F/ratio = 2030/203 = f/10
4 วัตถุบนท้องฟ้าที่อยากสังเกตการณ์หรือคาดว่าจะสังเกตการณ์มากที่สุด
ถ้า เป็นวัตถุประเภท ที่มีความสว่างมาก ๆ เช่น ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ แนะนำให้เลือกกล้องที่มีค่า f/10 ( f/ratio มาก บวกลบได้นิดหน่อย)
ถ้า เป็นวัตถุประเภท ที่มีความสว่างน้อย ๆ เช่น เนบิวลา กาแล๊กซี่ แนะนำให้เลือกกล้องที่มีค่า f/4 ( f/ratio น้อย บวกลบได้นิดหน่อย)
5 f/ratio ที่น้อยกว่า ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสมกับการสังเกตวัตถุที่มีความสว่างน้อย ๆ เสมอไป เพราะวัตถุที่มีความสว่างน้อย ๆ บางอย่างมีขนาดเล็ก กล้องที่มี F/ratio น้อย มักจะมีขนาดหน้ากล้องเล็ก และขนาดหน้ากล้องก็จะมีผลต่อขีดจำกัดของกำลังขยายที่จะใช้ด้วย ซึ่งขีดจำกัดของกำลังขยายที่สามารถใช้ได้ คำนวนคร่าว ๆ จาก ขนาดหน้ากล้อง (นิ้ว) คูณ ด้วย 50 เช่น
เช่นกล้องขนาด 4 นิ้ว ขีดจำกัดของกำลังขยายคือ 4 x 50 = 200X นั่นเอง
เช่นกล้องขนาด 8 นิ้ว ขีดจำกัดของกำลังขยายคือ 8 x 50 = 400X นั่นเอง
6 คุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำเลนส์หรือกระจก
แสงที่ตกกระทบพื้นผิวของกระจกหรือเลนส์ จะมีการกระเจิงหรือถูกดูดกลืนไปบางส่วน ดังนั้น หากซื้อกล้องดูดาวที่เลือกสเปคมาดีทั้งหมดตรงความต้องการแต่คุณภาพของเลนส์หรือกระจกห่วยมาก เช่น
มีกล้องดูดาว ที่ f/4 กับ f/6 แต่กล้องตัว f/4 แสงมา 100 หน่วย แต่กระเจิงและถูกดูดกลืนไป 60 หน่วย เหลือแสงเพียงแค่ 40 หน่วยเท่านั้นที่เลนส์รวมได้ ก็หมดประโยชน์อยู่ดี สู้เอากล้อง f/7 แสงมา 100 หน่วย แต่กระเจิงและถูกดูดกลืนไป 10 หน่วย เหลือแสงเพียงแค่ 90 หน่วย ที่รวมได้ ดีกว่า
7 คุณภาพตามราคา
กล้องที่มีกลไกซับซ้อนมากกว่า จะมีราคาแพงกว่า กล้องที่มีกลไกซับซ้อนน้อยกว่า
กล้องที่มีขนาดหน้ากล้องกว้างกว่า จะมีราคาแพงกว่า กล้องที่มีขนาดหน้ากล้องแคบกว่า
เลนส์หรือกระจกคุณภาพดี จะมีราคาแพงกว่า เลนส์หรือกระจกคุณภาพห่วย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
https://www.dropbox.com/s/eb3uonb7kfpk787/One%20year%20of%20astronomy.pdf?dl=0
อันนี้เป็นลิงค์ที่ผมรวบรวมไว้....
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปัญหาที่หลาย ๆ ท่านมาถาม คือ
1..จะเลือกซื้อกล้องดูดาวอย่างไร
ข้อแนะนำเบื้องต้น...ก็ตามข้างบนเลยนะครับ
2..ซื้อกล้องมาแล้วประกอบอย่างไร
ข้อแนะนำเบื้องต้น...ให้อ่านคู่มือก่อน ทำความเข้าใจอุปกรณ์ทีละชิ้น ๆ และค่อย ๆ ประกอบร่างครับ
3..ส่องกลางวันเห็นชัด ส่องกลางคืนไปที่ดวงดาว มืด ไปหมด
ข้อแนะนำเบื้องต้น...ให้เลือกใช้กำลังขยายต่ำสุดก่อน ปรับโฟกัสให้ชัด แล้วค่อย ๆ เพิ่มกำลังขยายเข้าไป (ถ้าอยากเพิ่ม)
4..ใช้กำลังขยายสูงสุดที่มีมาให้แต่ส่องไปไม่เห็นอะไรเลย
ข้อแนะนำเบื้องต้น...ขีดจำกัดกำลังขยายของกล้องขึ้นอยู่กับขนาดหน้ากล้อง ขนาดหน้ากล้อง (นิ้ว) x 50 = กำลังขยายสูงสุดที่ใช้งานได้
แต่ถ้ายังไปเห็นเหมือนเดิม...น่าจะเป็นที่คุณภาพของกล้องและสเปคกล้องครับ
5..เห็นโฆษณาบอกว่า ส่องเห็นถึงดาวเสาร์
ข้อแนะนำเบื้องต้น...โฆษณาก็คือโฆษณา ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน ได้กล้องมาแล้ว ส่องเห็นดาวเสาร์จริงแต่ไม่ต่างอะไรกับมองด้วยตาเปล่า ก็ไม่ต้องซื้อให้เสียเงินฟรี ๆ ดีกว่า