พัฒนาการอีกระดับของฟุตบอลทีมชาติไทย ทีมชาติไทยจะไม่แพ้ใครใน AFF2018

จากกระทู้   https://ppantip.com/topic/38311723  ที่ผมได้ตั้งสรุปว่าเราคงต้องรอให้ถึงเอเชี่ยนคัพ ถึงจะประเมินทีมชาติไทยได้
แต่สิ่งที่ผมสังเกตเห็น หลังจากจบฟุตบอลชิงแชมป์อาเซี่ยน AFF 2018 ในรอบแรก
ได้เห็นฟอร์มของทีมชาติไทย มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายของการเล่นทีมชาติไทย ในยุคของโค้ชราเยวัช

โดยย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานฯ King's Cup ครั้งที่ 43
ที่สนามเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ทีมไทยพบกับ อุซเบกิสถาน ภายใต้การนำของโค้ชโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ในครั้งนั้น
ซึ่งผลการแข่งขันในครั้งนั้น ทีมไทยเราถูกอุซเบกิสถานสอนบอลไป 5-2

https://www.youtube.com/watch?v=vmDPsdvWL8M
ไฮไลท์การแข่งขัน

แต่สิ่งที่ผมไปสะดุด คงจะเป็น Comment ของชาวอุซเบกิสถาน ที่ได้ Comment ไว้ในคลิปดังกล่าว คือ
“Thailand has long way to get to that level where they can actually compete against teams like Uzbekistan.
In that game Thailand got actually lucky to be able to score twice!!! Great job Uzbekistan and very beautiful goals!!!
“ (ทีมไทยยังห่างไกล ที่จะไปอยู่ที่ระดับเดียวเหมือนกับทีมอุสเบกิสถาน ในเกมส์นี้ทีมไทยโชคดีที่สามารถทำได้ถึง 2 ประตู
อุสบกิสถานทำได้เยี่ยม เป็นประตูที่สวยงาม)
แน่นอนครับ เมื่อทีมเขาชนะ เขาก็ต้องคุยโวข่มเราได้ แต่ถ้าลองศึกษาดูเกมส์นั้นเต็มเกมส์
จะเห็นว่าในเกมส์ดูเหมือนเกมส์จะสูสี ทีมไทยเราจะทำเกมส์ดีกว่าด้วยซ้ำ แต่ทำไมผลถึงได้ขาดลอยขนาดนั้น  ลองดูภาพต่อไปนี้


จะเห็นได้ว่าในเกมส์รุก เราใช้ผู้เล่นในการรุก เป็นจำนวน ถึง 7 คน ในการรุกเพื่อทำประตูในแต่ละครั้ง
ขณะที่เกมส์รับของอุซเบกิสถานจะมีจำนวนในแนวรับถึง 9 คน


ถึงแม้ทีมไทยเราจะได้ประตูนำแล้ว แต่ก็ไม่ผ่อนการบุก ยังคงตั้งหน้าตั้งตารุก โดยใช้ผู้เล่นแนวรุกจำนวนมาก ถึง 5 คน ทำการรุกเพื่อที่จะทำประตูต่อเนื่อง
กลับกันในแนวรับของอุซเบกิสถานจะมี 7 คนมากกว่าแนวรุกเราเสมอ


กลับกันในการรุกของอุซเบกิสถาน จะใช้วิธีการตัดบอลแล้วแทงทะลุช่อง สวนกลับอย่างรวดเร็ว
โดยใช้ผู้เล่นในแนวรุกจำนวนน้อยกว่า โดยประตูที่ตีเสมอได้ใช้ผู้เล่น เพียง 3 คน
ในการรับของทีมชาติไทยเมื่อถูกโต้กลับ กองกลางจะตามไม่ทันเนื่องจากถูกสวนกลับทันอย่างรวดเร็ว
และกองหลังจะจัดระเบียบการวิ่ง การซ้อนไม่ทัน และจะสังเกตเห็นช่องว่างและพื้นที่ ที่ทำให้ผู้เล่นอุซเบกิสถาน มีพื้นที่โจมตีในเขตหน้าประตูเป็นพื้นที่กว้าง จนนำมาซึ่งประตูตีเสมอของอุซเบกิสถาน


และอีกครั้งในช่วงท้ายก่อนหมดเวลาครึ่งแรก จากลูกที่ผู้เล่นอุซเบกิสถานตัดได้ และได้จ่ายบอลสวนกลับอย่างรวดเร็ว
แนวรับผู้เล่นไทย เหลือเพียง 3 คน แนวรุกผู้เล่นอุซเบกิสถาน 3 คน มาซึ่งการเป็นประตูของอุสเบกิสถาน
พอมาในครึ่งหลังรูปเกมส์คงเป็นเหมือนเดิม
จนช่วงท้าย ทีมไทยเรามาโดนในช่วงท้าย 2 ประตู เนื่องจากหมดแรง
สรุป ในนัดดังกล่าว ที่เราพ่ายแพ้
ในเรื่องแทคติค ทั้งการทำเกมส์บุกช้าเกินไป เจอกับทีมที่การตั้งรับอย่างเป็นระบบ การป้องกันการสวนกลับที่จัดระเบียบไม่ทัน เหลือผู้เล่นในแนวรับน้อยเกินไป เนื่องจากดันเกมส์รุกกันหมด และหมดแรงในช่วงท้ายๆ เกมส์เนื่องจากรุกมากเกินไป ไม่ประเมินกำลังของตนเอง  รวมทั้งยังเสียเปรียบในตัวผู้เล่นเนื่องจากเกือบครึ่งทีมใช้ผู้เล่นรูปร่างเล็ก

ในปี 2016 การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานฯ King's Cup ครั้งที่ 44 รูปแบบการเล่นจะเป็นเช่นเดียวกับ ปี 2015 ผมจะไม่กล่าวถึง

ขอข้ามไป ในปี 2017 ในการเข้ามาของโค้ชราเยวัช  การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานฯ King's Cup ครั้งที่ 45 ได้มีการปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของทีมชาติไทยหลายอย่าง ดังนี้

1.รูปร่างของผู้เล่นทีมชาติไทย ที่เน้นผู้เล่นรูปร่างสูงใหญ่

2. ในเกมส์รุกจะใช้ผู้เล่นจำนวนไม่มาก ในการรุกส่วนใหญ่

3. ในการรับจะมีผู้เล่นไทยไม่น้อยกว่า 7-8 คนในการเล่นการรับตลอดทั้งเกมส์

โดยในเกมส์นัดชิงชนะเลิศ ทีมไทยเสมอทีเบลาลุสไป 0 – 0

https://www.youtube.com/watch?v=RboMQW4uUHM

เกมส์การแข่งขั้นไทย vs เบลารุส นัดชิงชนะเลิศ ฟุตบอลคิงส์คัพครั้งที่ 45

สรุปในการแข่งขันครั้งนั้น มีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่เราเน้นใช้ผู้เล่นสูงใหญ่   ในเกมส์การรุกจะใช้ผู้เล่นจำนวนน้อย รุกเร็วใช้จังหวะน้อยเข้าทำ  แต่การประสานงานความเข้าใจยังไม่ดี   ในด้านเกมส์รับจะใช้ผู้เล่นในแนวรับไม่น้อยกว่า 7-8 คน คอยรับคอยซ้อนตลอด ทำให้ในเกมส์ดังกล่าว เราสามารถสู้กับทีมที่มีผู้เล่นรูปร่างสูงใหญ่ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งรักษาเรี่ยวแรงให้ยืนระยะได้ตลอด 90 นาที


การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานฯ King's Cup ครั้งที่ 46 ในปี 2018
ในรอบชิงชนะเลิศ เราพบกับโคตรบอลอย่าง สโลวะเกีย ถือเป็นบททดสอบที่สำคัญของพัฒนาการของทีมฟุตบอลไทยในยุคของราเยวัช  ซึ่งในครั้งนี้ เราพ่ายไป 3 - 2
https://www.youtube.com/watch?v=3Umw3xvAwZ0
การแข่งขั้นระหว่าง ไทย vs สโลวะเกีย คู่ชิงชนะเลิศ ฟุตบอลคิงส์คัพครั้งที่ 46
ซึ่งในการแข่งขันครั้งนี้ แนวทางการเล่นของไทย ยังคงเน้นแนวทางเดิมที่โค้ชราเยวัช ใช้ คือ ใช้ตัวรุกน้อย  ตัวรับมาก แต่ก็ต้านทานต้นตำรับฟุตบอลยุโรปตะวันออก เน้นโต้กลับ อย่าง สโลวะเกียไม่ได้ สิ่งที่เราเห็นก็คือ การโต้กลับที่มีประสิทธิภาพ เฉียบขาด รวดเร็วของสโลวะเกีย  ซึ่งเป็นที่มาของการปรับใช้ในการแข่งขั้น AFF 2018


เกมส์การรุกที่เฉียบขาดของทีสโลวะเกีย

ซึ่งการพบกับโคตรทีมอย่างสโลวะเกีย  ทำให้ทีมไทยนำรูปแบบดังกล่าวมาปรับใช้ในการแข่งขัน AFF 2018 ครั้งนี้
ดังที่เราจะเห็นในรอบแรก

ในการแข่งขันฟุตบอล AFF 2018 รอบแรกในครั้งนี้ อาจจะวัดไม่ได้หรือเรายังไม่เจอของจริง
แต่สิ่งที่ผมเห็น ก็คือ พัฒนาการของทีมชาติไทย อีกระดับของฟุตบอลทีมชาติไทย นั้นคือ
1. เป็นทีมรุกที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพขึ้น ใช้ผู้เล่นในการรุกจำนวนน้อย
2. การรับ การป้องกันประตูที่เหนียวแน่น ยากที่จะเจาะเข้ามา
3. การรักษาพละกำลังการเล่นให้สามารถยืนระยะได้ตลอด 90 นาที
4. การป้องกันลูกกลางอากาศที่ไม่เสียเปรียบในด้านรูปร่าง
จากพัฒนาการที่ผ่านมา 2 ปี ของโค้ชราเยวัช ผมขอสรุปฟันธงเลยว่า ในการแข่งขันฟุตบอล AFF 2018 ไทยเราจะไม่แพ้ใครครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่