โรคกระดูก เป็นภาวะที่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงและยังนำไปสู่การสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างคาดไม่ถึง เพราะกระดูกที่เสื่อมสภาพนั้น กระดูกจะเกิดการแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะในส่วนของสะโพกและกระดูกสันหลังซึ่งอาจทำให้พิการได้
กระดูกเสื่อมสภาพพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร สาเหตุของกระดูกเสื่อมสภาพในหญิงสูงอายุเกิดขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง ส่วนผู้ชายเนื้อกระดูกจะลดลงช้ากว่าผู้หญิง
นอกจากนี้อาจมีสาเหตุอีกหลายอย่าง เริ่มจากการใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ระดับฮอร์โมนทอสเทอโรนต่ำกว่าปกติ หรืออาจมีสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายประการ ได้แก่ พันธุกรรม อาหาร วิถีการดำเนินชีวิต และการได้รับแสงแดดไม่เพียงพอในการสร้างวิตามินดี
มาทำความรู้จักกับกระดูก
กระดูกเป็นเนื้อเยื่อที่มีชีวิต ทำหน้าที่เหมือนธนาคารแคลเซียมที่เราสามารถถอนออกไปใช้ได้ตลอดชีวิต กระดูกของเรามีโครงสร้างที่แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของใยคอลลาเจนที่ให้ความยืดหยุ่นแก่กระดูก และส่วนที่มีแร่ธาติมาสะสมรอบๆ ใยคอลลาเจน ทำให้กระดูกแข็งและมีความแข็งแรงขึ้น
สาเหตุของการเกิดกระดูกเสื่อมสภาพ
เนื้อเยื่อกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์สองชนิด ซึ่งทำหน้าที่ทั้งสร้างและสลายเนื้อกระดูก โดยการสร้างและทำลายจะต้องสมดุลกันเสมอ กระดูกจึงจะแข็งแรง เมื่อใดที่เสียสมดุลกระดูกก็จะขาดความแข็งแรงและเกิดโรคได้ในที่สุด
ช่วงเวลาสำคัญในการสร้างกระดูกคือวัยเด็กและวัยรุ่น (อายุ 9-20 ปี) เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สูงสุดถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นกระดูกจะค่อยๆ สร้างไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ 30 ปี จะมีการทำลายมากกว่าการสร้าง
ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ฉะนั้นช่วงวัยเด็กจึงควรรีบฉวยโอกาสอันดีในการสะสมเนื้อกระดูก มิฉะนั้นแล้วอาจทำให้เด็กไม่สูงเท่าที่ควร และเสี่ยงจะที่เกิดภาวะกระดูกเสื่อมง่ายขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่
คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยให้ความสนใจกับกระดูกในช่วงที่กระดูกมีการสร้าง
นอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำลายเนื้อกระดูกได้แก่ อาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย บุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป และการใช้ยาบางชนิดซึ่งส่งผลเสียต่อกระดูกเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะทำให้กระดูกบางเร็ว
นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้วจะต้องคำนึงถึงปัจจัยทางกรรมพันธุ์ด้วย
กรรมพันธุ์ ส่งผลต่อสภาวะกระดูก
พันธุกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่ยังควบคุมไม่ได้ แล้วยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุม กำหนดปริมาณเนื้อกระดูก รวมไปถึงอัตราการสร้างและการสลายเนื้อกระดูก นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าพันธุกรรมมีบทบาทครอบคลุมไปถึงปริมาณการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย การตอบสนองของวิตามินดีและยาต่างๆ
ยีนกระดูกในคนต่างเชื้อชาติก็จะมีความต่างกัน โดยเฉพาะยีนที่ผิดปกติในคนไทยก็จะต่างจากยีนของคนยุโรป ใครโชคดีได้พันธุ์ดีปัญหาก็จะน้อยหน่อย ปัญหาใหญ่อีกส่วนจะเป็นเรื่องของพฤติกรรมการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายซึ่งจัดเป็นปัจจัยที่เราควบคุมได้ ถ้าตั้งใจทำอย่างจริงจัง
นักวิจัยพบว่าในร่างกายเรามียีนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรหัสในยีนที่ช่วยให้วิตามินดีและแคลเซียมทำงานเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
หากยีนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของยีนจะทำให้มีการถอดรหัสผิด สร้างโปรตีนน้อยลง คอลลาเจนก็จะถูกสร้างน้อยลงเช่นกัน กระดูกก็จะไม่แข็งแรง เปราะง่าย
คอลลาเจน กับโครงสร้างกระดูก
เวลาที่มีการสร้างกระดูก กระบวนการสร้างจะทำงานอย่างมีระเบียบภายใต้การควบคุมของยีนที่ชื่อว่า คอลวันอะวัน (COL1A1) โดยเลือกใช้โปรตีนที่ถูกชนิด แร่ธาตุต่างๆ อย่างถูกปริมาณและถูกเวลายีนชนิดนี้จะควบคุมการผลิตคอลลาเจนชนิดที่ใช้ในการสร้างกระดูกทำให้กระดูกแข็งแรง
หากคนคนนั้นกินแคลเซียมไม่เพียงพอจะเป็นสาเหตุที่เร่งกระดูกพรุนขึ้นไปอีก ในกรณีนี้อาหารที่มีแคลเซียมสูงสามารถยับยั้งการทำงานของยีนที่ผิดปกตินี้ได้
ข้อควรระวัง : อย่ากินแคลเซียมมากเกินกว่า 2,500 มิลลิกรัม เพราะสิ่งที่ดีไม่ได้หมายความว่าจะต้องกินให้มากๆ แคลเซียมต้องการตัวช่วยในการทำงาน หากปริมาณแคลเซียมไม่สมดุลกับตัวช่วย กระดูกก็จะเกิดปัญหาขึ้นแทนที่จะแข็งแรง
กระดูกอักเสบ
เรามักจะนึกภาพการอักเสบว่าต้องมีการบวมแดงของเนื้อเยื่อโดยเฉพาะผิวหนัง แต่เนื้อเยื่อกระดูกที่สมบูรณ์ก็อาจมีการอักเสบเกิดขึ้นได้เป็นปกติ การควบคุมการอักเสบเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสร้างกระดูก เมื่อใดที่กระบวนการอักเสบหลุดจากการควบคุม อย่างเช่น เกิดการอักเสบเรื้อรัง เนื้อกระดูกก็จะถูกทำลายมากกว่าการสร้าง และเมื่อมีการอักเสบที่เกิดขึ้นมากๆ จะทำให้โครงสร้างกระดูกบอบบางและกระดูกก็จะเกิดการเสื่อมสภาพในที่สุด การทำงานที่ผิดพลาดและการอักเสบนี้อาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมได้
อาหารที่ช่วยลดการอักเสบ และ ลดสาเหตุของการเกิดกระดูกเสื่อมสภาพ
หากเรารู้ตัวว่ามียีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียเนื้อกระดูก ควรให้ความสนใจเลือกกินอาหารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น อารหารที่มีกรดโอเมก้า-3 สูง ได้แก่ ปลาทะเล เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดฟักทอง สาหร่ายทะเล ไข่ที่มีโอเมก้า-3 สูง เป็นต้น
ชะลอกระดูกเสื่อมสภาพ และดูแลรักษาได้อย่างไร
การป้องกันและบำรุงรักษากระดูกเสื่อมสภาพทำได้ 2 วิธี คือ สร้างความแข็งแกร่งของกระดูกให้มากที่สุดในช่วง 30 ปีแรก และลดการสูญเสียเนื้อกระดูกในวัยผู้ใหญ่ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตลล์ที่จะช่วยลดการสูญเสียของเนื้อกระดูกโดยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกทำได้ ดังนี้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอโดยวิธีลงน้ำหนักตัว และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อ
- รับวิตามินดีให้เพียงพอ ไม่ว่าจากอาหารหรือแสงแดด หรือ การเสริมวิตามินดี
- กินแคลเซียมให้เพียงพอ เพื่อที่ร่างกายจะได้ไม่ต้องขอยืมแคลเซียมจากกระดูกมาใช้
- กินผักใบเขียวให้มากพอเพื่อให้ได้วิตามินเค
- ระวังอย่าเสริมวิตามินเอ เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุน
- ลดการใช้ยาสเตียร์ลอยที่มีผลต่อกระดูก ทำให้กระดูกบางขึ้นและเปราะง่าย โดยอาจเลือกใช้สารสกัดจากสมุนไพรเป็นตัวช่วย
- การดูแลรักษาโรคกระดูกเสื่อม ควรปฏิบัติตามการวินิจฉัยของแพทย์แผนปัจจุบัน ประกอบการรักษาที่ถูกต้องตรงจุด
โรคกระดูกเสื่อม สาเหตุ , การป้องกันและการดูแลรักษา
กระดูกเสื่อมสภาพพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร สาเหตุของกระดูกเสื่อมสภาพในหญิงสูงอายุเกิดขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง ส่วนผู้ชายเนื้อกระดูกจะลดลงช้ากว่าผู้หญิง
นอกจากนี้อาจมีสาเหตุอีกหลายอย่าง เริ่มจากการใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ระดับฮอร์โมนทอสเทอโรนต่ำกว่าปกติ หรืออาจมีสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายประการ ได้แก่ พันธุกรรม อาหาร วิถีการดำเนินชีวิต และการได้รับแสงแดดไม่เพียงพอในการสร้างวิตามินดี
มาทำความรู้จักกับกระดูก
กระดูกเป็นเนื้อเยื่อที่มีชีวิต ทำหน้าที่เหมือนธนาคารแคลเซียมที่เราสามารถถอนออกไปใช้ได้ตลอดชีวิต กระดูกของเรามีโครงสร้างที่แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของใยคอลลาเจนที่ให้ความยืดหยุ่นแก่กระดูก และส่วนที่มีแร่ธาติมาสะสมรอบๆ ใยคอลลาเจน ทำให้กระดูกแข็งและมีความแข็งแรงขึ้น
สาเหตุของการเกิดกระดูกเสื่อมสภาพ
เนื้อเยื่อกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์สองชนิด ซึ่งทำหน้าที่ทั้งสร้างและสลายเนื้อกระดูก โดยการสร้างและทำลายจะต้องสมดุลกันเสมอ กระดูกจึงจะแข็งแรง เมื่อใดที่เสียสมดุลกระดูกก็จะขาดความแข็งแรงและเกิดโรคได้ในที่สุด
ช่วงเวลาสำคัญในการสร้างกระดูกคือวัยเด็กและวัยรุ่น (อายุ 9-20 ปี) เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สูงสุดถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นกระดูกจะค่อยๆ สร้างไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ 30 ปี จะมีการทำลายมากกว่าการสร้าง
ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ฉะนั้นช่วงวัยเด็กจึงควรรีบฉวยโอกาสอันดีในการสะสมเนื้อกระดูก มิฉะนั้นแล้วอาจทำให้เด็กไม่สูงเท่าที่ควร และเสี่ยงจะที่เกิดภาวะกระดูกเสื่อมง่ายขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่
คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยให้ความสนใจกับกระดูกในช่วงที่กระดูกมีการสร้าง
นอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำลายเนื้อกระดูกได้แก่ อาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย บุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป และการใช้ยาบางชนิดซึ่งส่งผลเสียต่อกระดูกเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะทำให้กระดูกบางเร็ว
นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้วจะต้องคำนึงถึงปัจจัยทางกรรมพันธุ์ด้วย
กรรมพันธุ์ ส่งผลต่อสภาวะกระดูก
พันธุกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่ยังควบคุมไม่ได้ แล้วยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุม กำหนดปริมาณเนื้อกระดูก รวมไปถึงอัตราการสร้างและการสลายเนื้อกระดูก นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าพันธุกรรมมีบทบาทครอบคลุมไปถึงปริมาณการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย การตอบสนองของวิตามินดีและยาต่างๆ
ยีนกระดูกในคนต่างเชื้อชาติก็จะมีความต่างกัน โดยเฉพาะยีนที่ผิดปกติในคนไทยก็จะต่างจากยีนของคนยุโรป ใครโชคดีได้พันธุ์ดีปัญหาก็จะน้อยหน่อย ปัญหาใหญ่อีกส่วนจะเป็นเรื่องของพฤติกรรมการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายซึ่งจัดเป็นปัจจัยที่เราควบคุมได้ ถ้าตั้งใจทำอย่างจริงจัง
นักวิจัยพบว่าในร่างกายเรามียีนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรหัสในยีนที่ช่วยให้วิตามินดีและแคลเซียมทำงานเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
หากยีนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของยีนจะทำให้มีการถอดรหัสผิด สร้างโปรตีนน้อยลง คอลลาเจนก็จะถูกสร้างน้อยลงเช่นกัน กระดูกก็จะไม่แข็งแรง เปราะง่าย
คอลลาเจน กับโครงสร้างกระดูก
เวลาที่มีการสร้างกระดูก กระบวนการสร้างจะทำงานอย่างมีระเบียบภายใต้การควบคุมของยีนที่ชื่อว่า คอลวันอะวัน (COL1A1) โดยเลือกใช้โปรตีนที่ถูกชนิด แร่ธาตุต่างๆ อย่างถูกปริมาณและถูกเวลายีนชนิดนี้จะควบคุมการผลิตคอลลาเจนชนิดที่ใช้ในการสร้างกระดูกทำให้กระดูกแข็งแรง
หากคนคนนั้นกินแคลเซียมไม่เพียงพอจะเป็นสาเหตุที่เร่งกระดูกพรุนขึ้นไปอีก ในกรณีนี้อาหารที่มีแคลเซียมสูงสามารถยับยั้งการทำงานของยีนที่ผิดปกตินี้ได้
ข้อควรระวัง : อย่ากินแคลเซียมมากเกินกว่า 2,500 มิลลิกรัม เพราะสิ่งที่ดีไม่ได้หมายความว่าจะต้องกินให้มากๆ แคลเซียมต้องการตัวช่วยในการทำงาน หากปริมาณแคลเซียมไม่สมดุลกับตัวช่วย กระดูกก็จะเกิดปัญหาขึ้นแทนที่จะแข็งแรง
กระดูกอักเสบ
เรามักจะนึกภาพการอักเสบว่าต้องมีการบวมแดงของเนื้อเยื่อโดยเฉพาะผิวหนัง แต่เนื้อเยื่อกระดูกที่สมบูรณ์ก็อาจมีการอักเสบเกิดขึ้นได้เป็นปกติ การควบคุมการอักเสบเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสร้างกระดูก เมื่อใดที่กระบวนการอักเสบหลุดจากการควบคุม อย่างเช่น เกิดการอักเสบเรื้อรัง เนื้อกระดูกก็จะถูกทำลายมากกว่าการสร้าง และเมื่อมีการอักเสบที่เกิดขึ้นมากๆ จะทำให้โครงสร้างกระดูกบอบบางและกระดูกก็จะเกิดการเสื่อมสภาพในที่สุด การทำงานที่ผิดพลาดและการอักเสบนี้อาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมได้
อาหารที่ช่วยลดการอักเสบ และ ลดสาเหตุของการเกิดกระดูกเสื่อมสภาพ
หากเรารู้ตัวว่ามียีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียเนื้อกระดูก ควรให้ความสนใจเลือกกินอาหารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น อารหารที่มีกรดโอเมก้า-3 สูง ได้แก่ ปลาทะเล เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดฟักทอง สาหร่ายทะเล ไข่ที่มีโอเมก้า-3 สูง เป็นต้น
ชะลอกระดูกเสื่อมสภาพ และดูแลรักษาได้อย่างไร
การป้องกันและบำรุงรักษากระดูกเสื่อมสภาพทำได้ 2 วิธี คือ สร้างความแข็งแกร่งของกระดูกให้มากที่สุดในช่วง 30 ปีแรก และลดการสูญเสียเนื้อกระดูกในวัยผู้ใหญ่ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตลล์ที่จะช่วยลดการสูญเสียของเนื้อกระดูกโดยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกทำได้ ดังนี้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอโดยวิธีลงน้ำหนักตัว และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อ
- รับวิตามินดีให้เพียงพอ ไม่ว่าจากอาหารหรือแสงแดด หรือ การเสริมวิตามินดี
- กินแคลเซียมให้เพียงพอ เพื่อที่ร่างกายจะได้ไม่ต้องขอยืมแคลเซียมจากกระดูกมาใช้
- กินผักใบเขียวให้มากพอเพื่อให้ได้วิตามินเค
- ระวังอย่าเสริมวิตามินเอ เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุน
- ลดการใช้ยาสเตียร์ลอยที่มีผลต่อกระดูก ทำให้กระดูกบางขึ้นและเปราะง่าย โดยอาจเลือกใช้สารสกัดจากสมุนไพรเป็นตัวช่วย
- การดูแลรักษาโรคกระดูกเสื่อม ควรปฏิบัติตามการวินิจฉัยของแพทย์แผนปัจจุบัน ประกอบการรักษาที่ถูกต้องตรงจุด