คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
แหมอุตส่าห์เขียนตั้งนานมือไปโดนอะไรไม่รู้หายไปหมดต้องเสียเวลาพิมพ์ใหม่หมด
ที่บอกไปข้างบนนี้สามารถแก้ปัญหาการรับมรดกได้แล้ว หากว่าไม่สนใจจะเอาส่วนของ D
แต่ที่ยุ่งเพราะต้องการแบ่งแยกออกให้ AB กับอีกแปลงให้ C (อันที่จริงแบ่งเป็นสามแปลง
ก็ได้โดยแปลที่สองเตรียมให้ C ส่วนแปลงที่สามเตรียมไว้ให้ D ไม่จำเป็นตัองเอาไปรวม
กับส่วนของ C ก็ได้ หากเตรียมแปลงสามให้ D เมื่อ D กลับมาก็โอนให้ D) แต่ D ไม่อยู่ ยังไง
ก็แบ่งแยกไม่ได้เพราะไม่มีใครมาเซ็นชื่อแทน D นั่นเอง จึงมีอีกวิธีการที่ทำได้คือ
ให้ตั้งผู้จัดการมรดก และเมื่อศาลสั่งตั้งแล้วผู้จัดการมรดกจะต้องมาจดทะเบียน
ลงชื่อตนเองในฐานะผู้จัดการมรดกเสียก่อน เสร็จแล้วจึงจะดำเนินการจัดการมรดก
ต่อไปได้ การจัดการมรดกในกรณีนี้คือให้แบ่งแยกที่ดินออกตามจำนวนที่เหมาะสม
อาจแบ่งเป็นสองแปลงโดยเตรียมแบ่งเพื่อโอนให้ AB กับอีกแปลงแบ่งเตรียมโอนให้
C กับ D ก็ได้ แต่จะแบ่งเป็นสามหรือสี่แปลงก็ได้ไม่มีอะไรห้ามหรอก คือให้แบ่งเพื่อ
โอนให้ A B แยกกันก็ได้(รวมกันก็ได้) และแบ่งอีกแปลงให้ C และแบ่งอีกแปลงเพื่อโอนให้ D
คือทุกแปลงที่แบ่งออกมาจะมีชื่อผู้จัดการมรดกก่อนทุกแปลงเลย เมื่อจะโอนมรดก
ให้ใครก็มาจัดการโอนให้คนนั้นทีละคน(หากแบ่งแปลงเดียวเพื่อโอนให้ A ก็ทำได้
โดยรวมที่ดินที่ B จะได้ไปด้วยกัน และโอนมรดกให้ A ไปคนเดียวเลยเพราะ A ไม่เอา) ส่วนอีกแปลง
ที่คิดว่าจะแบ่งให้ C D นั้นไม่ควรทำอย่างนั้น ควรแบ่งออกมาอีกแปลงเพื่อเตรียมให้ D จะดีกว่า เพราะว่า
การที่ C ต้องการจะเป็นผู้จัดการมรดกและจะแบ่งและโอนมรดกลงขื่อคนเดียวนั้น มีแนวโน้มว่า
อยากจะอมที่ดินนั้นไว้เสียเองเพราะคิดว่าหาก D ไม่มาตนก็จะได้ แต่จริง ๆ มันมีวิธีการ
อื่นก็อย่างที่บอกว่าให้แบ่งออกเป็นสามแปลง แปลงที่ สองเตรียมสำหรับ C ส่วนแปลงที่สามก็เตรียมไว้
ให้ D มันไม่จำเป็นต้องเอาส่วนนั้นไปรวมกับ C เลย เพราะว่าหาก D กลับมาและแบ่งเตรียมไว้
ก็แค่โอนมรดกให้ D ไปก็เท่านั้นเอง แต่หากแบ่งรวม C กับของ D รวมกันเลย ถ้า C ในฐานะผู้จัดการมรดก
โอนมรดกแปลงนั้นให้ตนเอง มันก็จะเอาส่วนของ D ไปด้วยตรงนี้ผิดหลักเลย แสดงว่าเตรียมอมหมด
และการทำอย่างนี้หากไม่คิดจะอม เมื่อ D กลับมาและ C จะโอนให้ D มันจะต้องทำแบบยกให้ไม่ใช่ถือเป็น
โอนมรดกแล้ว ก็เพราะว่าตัวเองเกิดไปโอนรับมรดกมาหมด(คือหากแบ่งสองแปลงมันก็จะรวมส่วนของ D ไว้ด้วย)
และตรงนี้จะเสียค่าโอนมากกว่าการโอนมรดกธรรมดาหลายเท่าตัวเลย จึงไม่ควรทำอย่างนี้เว้นแต่จะมีเจตนาไม่ดี
คือคิดจะอมไว้แต่ต้นนั่นเอง การตั้งผู้จัดการมรดกต้องเลือกคนให้ดี เป็นสองคนก็ได้โดยให้ A ร่วมเป็นด้วย
หรือเป็นสามคนเลยก็ยังได้ แต่หลายคนจะทะเลาะกันเองอีกตกลงกันไม่ได้อีก(น่าเบื่อ)
มันจะมีปัญหาตรงที่หากแบ่งเป็นสามแปลงและ D ก็ยังไม่กลับมาที่ดินแปลง สามนี้จะมีชื่อ C เป็นผู้จัดการมรดก
เรื่อยไปจนกว่าจะมีการโอนมรดกให้ทายาท และหาก C ตายไปในขณะยังเป็นผู้จัดการมรดกนั้นทายาท C ไม่มี
สิทธิรับมรดกหรอก เขามีชื่อในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ทายาทของเจ้ามรดกก็มารับมรดกกัน
ต่อไปสำหรับส่วนที่เหลือนั้น
มาพูดเรื่องการที่ผู้จัดการมรดกแปลงนี้ เมื่อจดทะเบียนเป็นผู้จัดการมรดกในโฉนดแล้ว ผู้จัดการมรดกมีอำนาจหน้าที่
ในการจัดการมรดกได้หลายรูปแบบ จะขายที่ดินเพื่อเอาไปเงินไปแบ่งกันระหว่างทายาทก็ได้ จะเอาไปใช้หนี้ที่เจ้ามรดก
ติดค้างก็ได้ หรือจะโอนให้แก่ทายาทก็ได้ การโอนให้ทายาทนี้ทายาทตกลงกันอย่างไรก็ทำตามนั้นได้ แต่กรณีที่
ผัจัดการมรดกเห็นสมควรและมันมีเหตุผลหนักแน่นในตัวเอง ใคร ๆ ดูแล้วก็เห็นว่ามันสมควรเขาก็ทำได้ อย่างเช่น
การแบ่งแยกที่ดินออกมาเตรียมโอนเลยนี่ก็ดี สวนการจะโอนให้ใครอย่างไรนั้นทางเจ้าหน้าที่ที่ดินจะไม่เข้าไปยุ่ง
หรือขัดขวางเป็นอันขาดเพราะไม่ใช่หน้าที่ เจ้าหน้าที่มีหน้าที่อย่างเดียวคือหากผู้จัดการมรดกมาอ้างว่าจะโอนมรดกให้ทายาท
อย่างนี้คนรับโอนจะต้องเป็นทายาทเท่านั้น เพราะคำว่าโอนมรดกก็คือเพื่อให้ทายาท แต่หากบอกว่าจะขายอย่างนี้
ก็เป็นเรื่องขายไม่ใช่โอนมรดก ดังนั้นจะขายให้ใครก็ได้เพือเอาเงินไปแบ่งให้ทายาท ข้อนี้ต้องจำได้ดีว่าเป็นหน้าที่
ผู้จัดการมรดกไม่ใช่หน้าที่เจ้าหน้าที่ เราจึงได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าผู้จัดการมรดกบางทีไม่โอนให้ทายาทครบทุกคน
เพราะเหตุว่ามันมีเรื่องราวบางอย่างที่ทายาทเขาไม่เอาหรือมีกรณีบางอย่างที่มันทำให้ขัดข้องเขาก็เลยเลี่ยงไป
ไม่ทำอย่างนั้น อย่างกรณีที่ดินมีทายาทเป็นผู้เยาว์ผู้จัดการมรดกจะโอนขายเอาไปใช้หนี้ของเจ้ามรดกก็ได้
โดยไม่ต้องไปร้องศาลขออนุญาตขายที่ดินทีจะตกเป็นมรดกของผู้เยาว์ก่อน นี่เป็นเหตุผลอย่างหนี่งที่เลี่ยงการ
ไปขออนุญาตศาลโดยการตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อตัดปัญหานั้นเสียเลย
การไม่โอนให้ทายาทคนใดเจ้าหน้าที่ไม่สนใจไม่ขัดขวางหรอก แต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดชอบกับทายาท
คนนั้นเอาเอง หากเขาฟ้องก็ต้องรับผิดชอบเอาเต็ม ๆ จะโดนทั้งแพ่งและอาญาก็ได้ ก็รับผิดชอบเอาเอง
นี่มาบอกให้ทุกทางแล้ว จะคิดทำอะไรก็ทำกันไปและรับผิดชอบกันเอาเอง
มาติงไว้ก่อนว่า C นี่น่าจะมีเจตนาฮุบที่ดินส่วนของ D แน่ ๆ หากขวนขวายจะเป็นผู้จัดการมรดกเสียเอง
และแบ่งที่ดินรวมของ D เอามาโอนลงชื่อตัวเองรับมรดก (รับมรดกคือผู้จัดการมรดกทำการจดทะเบียนโอนมรดก
ให้ตัวเองรับมรดกนะ ไมใช่แค่จดทะเบียนผู้จัดการมรดกเฉย ๆ นั่นมันแค่ในฐาะนะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
ที่บอกไปข้างบนนี้สามารถแก้ปัญหาการรับมรดกได้แล้ว หากว่าไม่สนใจจะเอาส่วนของ D
แต่ที่ยุ่งเพราะต้องการแบ่งแยกออกให้ AB กับอีกแปลงให้ C (อันที่จริงแบ่งเป็นสามแปลง
ก็ได้โดยแปลที่สองเตรียมให้ C ส่วนแปลงที่สามเตรียมไว้ให้ D ไม่จำเป็นตัองเอาไปรวม
กับส่วนของ C ก็ได้ หากเตรียมแปลงสามให้ D เมื่อ D กลับมาก็โอนให้ D) แต่ D ไม่อยู่ ยังไง
ก็แบ่งแยกไม่ได้เพราะไม่มีใครมาเซ็นชื่อแทน D นั่นเอง จึงมีอีกวิธีการที่ทำได้คือ
ให้ตั้งผู้จัดการมรดก และเมื่อศาลสั่งตั้งแล้วผู้จัดการมรดกจะต้องมาจดทะเบียน
ลงชื่อตนเองในฐานะผู้จัดการมรดกเสียก่อน เสร็จแล้วจึงจะดำเนินการจัดการมรดก
ต่อไปได้ การจัดการมรดกในกรณีนี้คือให้แบ่งแยกที่ดินออกตามจำนวนที่เหมาะสม
อาจแบ่งเป็นสองแปลงโดยเตรียมแบ่งเพื่อโอนให้ AB กับอีกแปลงแบ่งเตรียมโอนให้
C กับ D ก็ได้ แต่จะแบ่งเป็นสามหรือสี่แปลงก็ได้ไม่มีอะไรห้ามหรอก คือให้แบ่งเพื่อ
โอนให้ A B แยกกันก็ได้(รวมกันก็ได้) และแบ่งอีกแปลงให้ C และแบ่งอีกแปลงเพื่อโอนให้ D
คือทุกแปลงที่แบ่งออกมาจะมีชื่อผู้จัดการมรดกก่อนทุกแปลงเลย เมื่อจะโอนมรดก
ให้ใครก็มาจัดการโอนให้คนนั้นทีละคน(หากแบ่งแปลงเดียวเพื่อโอนให้ A ก็ทำได้
โดยรวมที่ดินที่ B จะได้ไปด้วยกัน และโอนมรดกให้ A ไปคนเดียวเลยเพราะ A ไม่เอา) ส่วนอีกแปลง
ที่คิดว่าจะแบ่งให้ C D นั้นไม่ควรทำอย่างนั้น ควรแบ่งออกมาอีกแปลงเพื่อเตรียมให้ D จะดีกว่า เพราะว่า
การที่ C ต้องการจะเป็นผู้จัดการมรดกและจะแบ่งและโอนมรดกลงขื่อคนเดียวนั้น มีแนวโน้มว่า
อยากจะอมที่ดินนั้นไว้เสียเองเพราะคิดว่าหาก D ไม่มาตนก็จะได้ แต่จริง ๆ มันมีวิธีการ
อื่นก็อย่างที่บอกว่าให้แบ่งออกเป็นสามแปลง แปลงที่ สองเตรียมสำหรับ C ส่วนแปลงที่สามก็เตรียมไว้
ให้ D มันไม่จำเป็นต้องเอาส่วนนั้นไปรวมกับ C เลย เพราะว่าหาก D กลับมาและแบ่งเตรียมไว้
ก็แค่โอนมรดกให้ D ไปก็เท่านั้นเอง แต่หากแบ่งรวม C กับของ D รวมกันเลย ถ้า C ในฐานะผู้จัดการมรดก
โอนมรดกแปลงนั้นให้ตนเอง มันก็จะเอาส่วนของ D ไปด้วยตรงนี้ผิดหลักเลย แสดงว่าเตรียมอมหมด
และการทำอย่างนี้หากไม่คิดจะอม เมื่อ D กลับมาและ C จะโอนให้ D มันจะต้องทำแบบยกให้ไม่ใช่ถือเป็น
โอนมรดกแล้ว ก็เพราะว่าตัวเองเกิดไปโอนรับมรดกมาหมด(คือหากแบ่งสองแปลงมันก็จะรวมส่วนของ D ไว้ด้วย)
และตรงนี้จะเสียค่าโอนมากกว่าการโอนมรดกธรรมดาหลายเท่าตัวเลย จึงไม่ควรทำอย่างนี้เว้นแต่จะมีเจตนาไม่ดี
คือคิดจะอมไว้แต่ต้นนั่นเอง การตั้งผู้จัดการมรดกต้องเลือกคนให้ดี เป็นสองคนก็ได้โดยให้ A ร่วมเป็นด้วย
หรือเป็นสามคนเลยก็ยังได้ แต่หลายคนจะทะเลาะกันเองอีกตกลงกันไม่ได้อีก(น่าเบื่อ)
มันจะมีปัญหาตรงที่หากแบ่งเป็นสามแปลงและ D ก็ยังไม่กลับมาที่ดินแปลง สามนี้จะมีชื่อ C เป็นผู้จัดการมรดก
เรื่อยไปจนกว่าจะมีการโอนมรดกให้ทายาท และหาก C ตายไปในขณะยังเป็นผู้จัดการมรดกนั้นทายาท C ไม่มี
สิทธิรับมรดกหรอก เขามีชื่อในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ทายาทของเจ้ามรดกก็มารับมรดกกัน
ต่อไปสำหรับส่วนที่เหลือนั้น
มาพูดเรื่องการที่ผู้จัดการมรดกแปลงนี้ เมื่อจดทะเบียนเป็นผู้จัดการมรดกในโฉนดแล้ว ผู้จัดการมรดกมีอำนาจหน้าที่
ในการจัดการมรดกได้หลายรูปแบบ จะขายที่ดินเพื่อเอาไปเงินไปแบ่งกันระหว่างทายาทก็ได้ จะเอาไปใช้หนี้ที่เจ้ามรดก
ติดค้างก็ได้ หรือจะโอนให้แก่ทายาทก็ได้ การโอนให้ทายาทนี้ทายาทตกลงกันอย่างไรก็ทำตามนั้นได้ แต่กรณีที่
ผัจัดการมรดกเห็นสมควรและมันมีเหตุผลหนักแน่นในตัวเอง ใคร ๆ ดูแล้วก็เห็นว่ามันสมควรเขาก็ทำได้ อย่างเช่น
การแบ่งแยกที่ดินออกมาเตรียมโอนเลยนี่ก็ดี สวนการจะโอนให้ใครอย่างไรนั้นทางเจ้าหน้าที่ที่ดินจะไม่เข้าไปยุ่ง
หรือขัดขวางเป็นอันขาดเพราะไม่ใช่หน้าที่ เจ้าหน้าที่มีหน้าที่อย่างเดียวคือหากผู้จัดการมรดกมาอ้างว่าจะโอนมรดกให้ทายาท
อย่างนี้คนรับโอนจะต้องเป็นทายาทเท่านั้น เพราะคำว่าโอนมรดกก็คือเพื่อให้ทายาท แต่หากบอกว่าจะขายอย่างนี้
ก็เป็นเรื่องขายไม่ใช่โอนมรดก ดังนั้นจะขายให้ใครก็ได้เพือเอาเงินไปแบ่งให้ทายาท ข้อนี้ต้องจำได้ดีว่าเป็นหน้าที่
ผู้จัดการมรดกไม่ใช่หน้าที่เจ้าหน้าที่ เราจึงได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าผู้จัดการมรดกบางทีไม่โอนให้ทายาทครบทุกคน
เพราะเหตุว่ามันมีเรื่องราวบางอย่างที่ทายาทเขาไม่เอาหรือมีกรณีบางอย่างที่มันทำให้ขัดข้องเขาก็เลยเลี่ยงไป
ไม่ทำอย่างนั้น อย่างกรณีที่ดินมีทายาทเป็นผู้เยาว์ผู้จัดการมรดกจะโอนขายเอาไปใช้หนี้ของเจ้ามรดกก็ได้
โดยไม่ต้องไปร้องศาลขออนุญาตขายที่ดินทีจะตกเป็นมรดกของผู้เยาว์ก่อน นี่เป็นเหตุผลอย่างหนี่งที่เลี่ยงการ
ไปขออนุญาตศาลโดยการตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อตัดปัญหานั้นเสียเลย
การไม่โอนให้ทายาทคนใดเจ้าหน้าที่ไม่สนใจไม่ขัดขวางหรอก แต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดชอบกับทายาท
คนนั้นเอาเอง หากเขาฟ้องก็ต้องรับผิดชอบเอาเต็ม ๆ จะโดนทั้งแพ่งและอาญาก็ได้ ก็รับผิดชอบเอาเอง
นี่มาบอกให้ทุกทางแล้ว จะคิดทำอะไรก็ทำกันไปและรับผิดชอบกันเอาเอง
มาติงไว้ก่อนว่า C นี่น่าจะมีเจตนาฮุบที่ดินส่วนของ D แน่ ๆ หากขวนขวายจะเป็นผู้จัดการมรดกเสียเอง
และแบ่งที่ดินรวมของ D เอามาโอนลงชื่อตัวเองรับมรดก (รับมรดกคือผู้จัดการมรดกทำการจดทะเบียนโอนมรดก
ให้ตัวเองรับมรดกนะ ไมใช่แค่จดทะเบียนผู้จัดการมรดกเฉย ๆ นั่นมันแค่ในฐาะนะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
แสดงความคิดเห็น
การแบ่งมรดก (ที่ดิน)
คำถาม
1. ในกรณีที่ยังหาตัว D ไม่เจอ ถ้าจะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยให้เป็นชื่อ A และ C สามารถทำการแบ่งที่ดิน โดยยกส่วนของ D ให้ C เป็นคนดูแล ได้หรือไม่? ถ้าได้ ในส่วนของ C และ D นั้น จะมีชื่อในโฉนดร่วมกัน 2 คน หรือ เป็นชื่อ C แต่เพียงผู้เดียว ?
2. ถ้า C ยึดเอาส่วนของ D ไว้เอง โดยมิได้แบ่งให้ D ตามที่ตกลงไว้นั้น แล้ววันนึง D กลับมาฟ้องร้องเพื่อเอาส่วนของตนเองคืน D จะต้องฟ้องเฉพาะ C ที่รับส่วนของตนเองไป หรือฟ้องทายาททั้งหมดทุกคน ส่วน A และ B จะมีความผิดไปด้วยหรือไหม?
ปล. อยากแบ่งเหมือนกันค่ะแต่กลัวจะมีปัญหาตามมาทีหลัง ตอนนี้ก็เลยยังไม่ได้ตกลงอะไรกับ C แต่ C ก็เหมือนจะไม่พอใจคิดว่าเราไม่ยอมแบ่ง