ขายทิ้ง รร.เชียงใหม่-ภูเก็ต พิษทัวร์จีนวูบหนัก-ห้องพักล้น
https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-255830
นักท่องเที่ยวจีนวูบพ่นพิษโรงแรม “เชียงใหม่-ภูเก็ต” ทรุด แห่ขาย 150 ราย 10-500 ล้าน นายกโรงแรมภาคเหนือชี้เป็นโรงแรมขนาดกลาง-เล็ก ไม่มีใบอนุญาต เผยทุนจีนลงทุนเปิดรับกรุ๊ปทัวร์จีนโดยเฉพาะ เปิดข้อมูลเชียงใหม่มีโรงแรมทุนจีน 1,000 แห่ง นายกสมาคมโรงแรมไทยแจงซัพพลายล้นตลาด ผสมโรงนักท่องเที่ยวจีนหดตัว กระทบรุนแรง โบรกเกอร์รายใหญ่เผยประกาศขายโรงแรมพุ่ง 20%
ขายโรงแรมเชียงใหม่-ภูเก็ต
ผู้สื่อข่าว
“ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ขณะนี้เกิดปรากฏการณ์เจ้าของกิจการโรงแรมขนาดเล็ก รีสอร์ตต่าง ๆ มีการประกาศขายกิจการจำนวนมาก โดยจากการสำรวจทางเว็บไซต์ซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์หลายแห่ง พบว่ามีกิจการโรงแรมและรีสอร์ตในจังหวัดภูเก็ตและเชียงใหม่ประกาศขายกิจการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน กรณีของเว็บไซต์ DD Property และ Dot Property พบว่าในช่วงเดือน พ.ย.มีประกาศขายกิจการประเภทโรงแรมและรีสอร์ต ในพื้นที่เชียงใหม่ ภูเก็ต และพัทยา ซึ่งเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวหลักของนักท่องเที่ยว[จีนรวมกันกว่า 150 รายการ โดยพบว่าเป็นการประกาศขายโรงแรมในเชียงใหม่อยู่ที่ 49 รายการ ประกาศขายโรงแรมที่พัทยาประมาณ 51 รายการ และจังหวัดภูเก็ต 105 รายการ โดยข้อมูลประกาศขายรายการเก่าที่สุดไม่เกิน 1 เดือน โดยสินทรัพย์ที่ขายส่วนใหญ่ระดับราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท
ทั้งนี้โรงแรมและรีสอร์ตที่ประกาศขายในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นกิจการขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เช่น ธาราบุรี รีสอร์ท มีลักษณะเป็นรีสอร์ตไม้สักทอง ใกล้สนามบินเชียงใหม่เสนอขายราคา 52.5 ล้านบาท และบูติครีสอร์ตบริเวณอำเภอหางดง ราคา 25 ล้านบาท โดยระบุว่าเป็นรีสอร์ตที่ดำเนินกิจการมาแล้ว 3 ปี นอกจากนี้ยังมีโฮสเทลขนาดเล็กจำนวนมาก ในระดับราคา 5-30 ล้านบาท
สำหรับพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีประกาศขายโรงแรมและรีสอร์ตมากถึง 105 รายการ ส่วนใหญ่ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท จำนวน 34 รายการ และกลุ่มราคา 100-500 ล้านบาท อยู่ที่ 31 รายการ พื้นที่ประกาศขายมากที่สุดคือบริเวณอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ทั้งในตำบลกะทู้ ตำบลป่าตอง และตำบลกมลา รองลงมาคือตำบลราไวย์ และกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต
เชียงใหม่ รร.ทุนจีนนับพันแห่ง
นาง
ละเอียด บุ้งศรีทอง นายกสมาคมโรงแรมไทย (ภาคเหนือ) เปิดเผย
“ประชาชาติธุรกิจ” ถึงความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นว่า ภาพรวมปัจจุบันในจังหวัดเชียงใหม่มีโรงแรมมากกว่า 2,000 แห่ง จำนวนห้องพักมากกว่า 60,000 ห้อง ในส่วนของโรงแรมที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมถูกต้องมีราว 600 แห่ง มีห้องพักมากกว่า 25,000 ห้อง และในจำนวนนี้เป็นสมาชิกของสมาคม 68 แห่ง รวมกว่า 8,000 ห้อง ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงดำเนินกิจการตามปกติ ไม่พบว่ามีการปิดกิจการหรือขายกิจการทิ้ง
แต่ในส่วนของโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการลงทุนของกลุ่มทุนจีนที่มาร่วมกับคนไทยเพื่อรองรับกลุ่มทัวร์จีนโดยเฉพาะ ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมยังไม่มีการทำสถิติตัวเลขที่ชัดเจน คาดว่ามากกว่า 1,000 แห่ง ซึ่งจากฐานข้อมูลบนแพลตฟอร์ม OTA (online travel agent) มีความเป็นไปได้ว่ามีการทยอยปิดกิจการหรือขายกิจการ
นายกสมาคมโรงแรมไทย (ภาคเหนือ) กล่าวว่า ด้วยหลายปัจจัยคือ
1.การเข้มข้นและตรวจจับโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตอย่างจริงจังของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา ทำให้โรงแรมหลายแห่งต้องหยุดให้บริการหรือปิดกิจการไป
2.นักท่องเที่ยวจีนในรูปแบบกรุ๊ปทัวร์มีจำนวนลดลงอย่างมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของจีนที่ชะลอตัว มีผลทำให้การเดินทางของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ซึ่งเป็นกลุ่มระดับล่างและเป็นกลุ่ม ขนาดใหญ่อาจต้องชะลอการเดินทางท่องเที่ยว
ทั้ง 2 ปัจจัยน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรงแรมที่เปิดขึ้นมา เพื่อเน้นให้บริการนักท่องเที่ยวจีนต้องปิดกิจการลง เพราะเมื่อถูกเจ้าหน้าที่รัฐเข้มงวด ขณะที่ซัพพลายมีจำนวนมาก แต่ไม่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเฉพาะเข้ามาใช้บริการ จึงไม่สามารถแบกต้นทุนได้
นาง
ละเอียดกล่าวต่อว่า นักท่องเที่ยวจีนในเชียงใหม่ไม่ได้หายไปทั้งหมด แต่ที่มีจำนวนลดลงคือ กลุ่มทัวร์จีนที่มากับบริษัททัวร์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันคือ พฤติกรรมการท่องเที่ยวจีนเปลี่ยนไปมาก โดยนิยมเดินทางท่องเที่ยวเอง ออกแบบการเดินทางเอง จองที่พักเอง ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มกำลังซื้อระดับกลาง-บนที่นิยมพักโรงแรม 5-6 ดาว กลุ่มนี้จึงไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของโรงแรมทั่วไป
ห้องพักล้น-นักท่องเที่ยวหด
นางสาว
ศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวกับ
“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขยายตัว จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนแห่ลงทุนสร้างโรงแรมมากเกินความต้องการ ทำให้ในตลาดมีปริมาณห้องพักที่มากเกินความต้องการของตลาด หรือเกิดภาวะโอเวอร์ซัพพลาย
ปัจจัยที่ 2.สภาพตลาดห้องพักโรงแรมโอเวอร์ซัพพลายอยู่แล้ว เมื่อมาเจอกับสถานการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ทำให้ธุรกิจสะดุด เกิดปัญหากระแสเงินสดหมุนเวียน และ 3.ธุรกิจปรับตัวไม่ทัน เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น บวกกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจจำนวนมากปรับตัวตามไม่ทัน
“การบริหารธุรกิจโรงแรมวันนี้เปลี่ยนไปจาก 4-5 ปีก่อนอย่างมาก ทุกอย่างต้องเร็ว และขยับเข้าสู่ดิจิทัล แพลตฟอร์มกันหมดแล้ว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ธุรกิจในต่างจังหวัดยังปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก” นางสาวศุภวรรณกล่าว
ยอดประกาศขาย รร.พุ่ง 20%
นายแพทย์
สมศักดิ์ มุนีพีระกุล อดีตนายกสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย และประธานกรรมการ บริษัท ฟอร์เบสท์ พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด ผู้ประกอบการบริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ กล่าวกับ
“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การประกาศขายโรงแรมและรีสอร์ตในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และภูเก็ตผ่านทางเว็บไซต์ปัจจุบัน พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 20% หากเปรียบเทียบก่อนหน้านี้ สาเหตุหลักมองว่ามีผลจากปริมาณนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงจาก 4 ปัจจัย คือ จากกรณีเหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดภูเก็ต ส่งผลต่อเนื่องให้นักลงทุนจีนและนักท่องเที่ยวไม่เดินทางมาประเทศไทย และเรื่องเศรษฐกิจของประเทศจีนเองที่มีปัญหาชะลอตัว ประกอบกับสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งตนมีความกังวลว่า ในอนาคตอาจมีการปล่อยขายโรงแรมและรีสอร์ตในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ส่วนผู้ประกอบการที่กำลังจะเริ่มลงทุนสร้างโครงการใหม่อาจชะลอตัวลง เนื่องจากที่ผ่านมาในตลาดมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะมีการนำคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์มาปล่อยเช่ารายวัน ทำให้มาแย่งกลุ่มลูกค้าของโรงแรม
ธุรกิจจีนชะลอลงทุนในภูเก็ต
นาย
บุญ ยงสกุล ประธานกรรมการ บริษัท โบ๊ทพัฒนา จำกัด และบริษัท โบ๊ท แอสเซท แมนเนจเมนท์ จำกัด ในเครือภูเก็ต โบ๊ท ลากูน ผู้ประกอบการธุรกิจมารีน่า โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ จ.ภูเก็ต เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การประกาศขายกิจการโรงแรม รีสอร์ตของภูเก็ตตามเว็บไซต์ซื้อขายต่าง ๆ คิดว่าเป็นกิจการของนักลงทุนไทยที่ได้รับผลกระทบจากจำนวนทัวร์จีนที่หายไปประมาณ 50% ขณะที่นักท่องเที่ยวจีน FIT หายไปประมาณ 10% เพราะผู้ประกอบการไม่มีเงินไปจ่ายดอกเบี้ยสถาบันการเงิน จึงต้องหาทางขายธุรกิจ ในส่วนของบริษัทที่ทำธุรกิจด้านมารีน่าและโรงแรมได้รับผลกระทบทำให้รายได้หายไปพอสมควร เพราะมีลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวจีนประมาณ 20%
ส่วนบริษัท โบ๊ท แอสเซท แมนเนจเมนท์ ที่ทำธุรกิจบริหารสินทรัพย์ให้ลูกค้าที่ซื้ออาคารพาณิชย์ บ้าน ทาวน์เฮาส์ไปปล่อยเช่าต่อ ได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวจีนอย่างเห็นได้ชัดเจน หลังเกิดเหตุการณ์เรือล่ม 1 เดือน นักธุรกิจจีนมาเช่าอาคารพาณิชย์ไว้ทำสำนักงาน 4 ห้อง ก็ยุบสำนักงานเหลือ 1 ห้อง นอกจากนี้มีนักลงทุนจีนที่มาติดต่อจะเช่าอาคารพาณิชย์เพื่อลงทุนเปิดร้านอาหารก็ชะลอแผนออกไปไม่มีกำหนด บางรายหายไปเลย
“ในส่วนธุรกิจมารีน่า ท่าเทียบเรือ ซึ่งมีนักธุรกิจจีนเช่าอาคารพาณิชย์ทำออฟฟิศ 3 แห่ง ตอนนี้เหลือเพียง 2 แห่ง เรือที่ให้บริการจากที่เคยสูงถึง 30 ลำเหลือแค่ 8 ลำ เพราะปริมาณทัวร์หายไปส่งผลให้การลงทุนของนักธุรกิจจีนหายไปด้วย อย่างไรก็ตาม ตอนนี้กำลังประเมินว่า นักท่องเที่ยวจีนจะกลับมามากน้อยเพียงใด ซึ่งคงต้องรอช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงหยุดเทศกาลตรุษจีน” นาย
บุญกล่าว
ธุรกิจท่องเที่ยวสำลักทัวร์จีนหาย
แหล่งข่าววงการธุรกิจท่องเที่ยวรายหนึ่ง กล่าวกับ
“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หากประเมินภาพรวมนักท่องเที่ยวจีนย้อนหลังไป 10 ปีจะพบว่ามีการเติบโตอย่างรวดเร็วจากประมาณ 8-9 แสนคน ในปี 2551-2552 และปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเฉลี่ยปีละ 1-2 ล้านคนในช่วงปี 2554-2555 และที่ชัดเจนที่สุดคือในปี 2558 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 3 ล้านคน จากแนวโน้มดังกล่าวนี้ทำให้บรรดานักลงทุนต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่แห่เข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยวสำหรับตลาดจีน ทั้งร้านอาหาร แหล่งช็อปปิ้ง รวมถึงพวกการแสดงโชว์ต่าง ๆ สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวจีนโดยเฉพาะ ฯลฯ เกิดขึ้นตามมาอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อตลาดนักท่องเที่ยวจีนสะดุดและเกิดการชะลอตัว บวกกับการแข่งขันและสภาพตลาดที่เริ่มขยับเข้าสู่ตลาดคุณภาพจึงทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้เริ่มประสบปัญหาตามมา
ทั้งนี้ จากรายงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่านักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยปี 2553 อยู่ที่ 1.13 ล้านคน และปี 2558 อยู่ที่ 7.93 ล้านคน ปี 2559 จำนวน 8.77 ล้านคน และปี 2560 จำนวน 9.8 ล้านคน สำหรับปี 2561 โดยภาครัฐตั้งเป้าไว้ที่ 10.5 ล้านคน แต่เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนอยู่ที่ 9.01 ล้านคน
โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวจีนอยู่ที่ 6.4 แสนคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว -19.8% ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ในแง่เม็ดเงินรายได้อยู่ที่ 3.45 หมื่นล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคมปีที่แล้ว -16.59%
JJNY : ขายทิ้ง รร.เชียงใหม่-ภูเก็ต พิษทัวร์จีนวูบหนักฯ/วอนธปท.ตรึงดบ.แนะช้อปช่วยชาติช่วยธุรกิจตจว. เหตุยังไม่ฟื้นตัว
https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-255830
นักท่องเที่ยวจีนวูบพ่นพิษโรงแรม “เชียงใหม่-ภูเก็ต” ทรุด แห่ขาย 150 ราย 10-500 ล้าน นายกโรงแรมภาคเหนือชี้เป็นโรงแรมขนาดกลาง-เล็ก ไม่มีใบอนุญาต เผยทุนจีนลงทุนเปิดรับกรุ๊ปทัวร์จีนโดยเฉพาะ เปิดข้อมูลเชียงใหม่มีโรงแรมทุนจีน 1,000 แห่ง นายกสมาคมโรงแรมไทยแจงซัพพลายล้นตลาด ผสมโรงนักท่องเที่ยวจีนหดตัว กระทบรุนแรง โบรกเกอร์รายใหญ่เผยประกาศขายโรงแรมพุ่ง 20%
ขายโรงแรมเชียงใหม่-ภูเก็ต
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ขณะนี้เกิดปรากฏการณ์เจ้าของกิจการโรงแรมขนาดเล็ก รีสอร์ตต่าง ๆ มีการประกาศขายกิจการจำนวนมาก โดยจากการสำรวจทางเว็บไซต์ซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์หลายแห่ง พบว่ามีกิจการโรงแรมและรีสอร์ตในจังหวัดภูเก็ตและเชียงใหม่ประกาศขายกิจการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน กรณีของเว็บไซต์ DD Property และ Dot Property พบว่าในช่วงเดือน พ.ย.มีประกาศขายกิจการประเภทโรงแรมและรีสอร์ต ในพื้นที่เชียงใหม่ ภูเก็ต และพัทยา ซึ่งเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวหลักของนักท่องเที่ยว[จีนรวมกันกว่า 150 รายการ โดยพบว่าเป็นการประกาศขายโรงแรมในเชียงใหม่อยู่ที่ 49 รายการ ประกาศขายโรงแรมที่พัทยาประมาณ 51 รายการ และจังหวัดภูเก็ต 105 รายการ โดยข้อมูลประกาศขายรายการเก่าที่สุดไม่เกิน 1 เดือน โดยสินทรัพย์ที่ขายส่วนใหญ่ระดับราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท
ทั้งนี้โรงแรมและรีสอร์ตที่ประกาศขายในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นกิจการขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เช่น ธาราบุรี รีสอร์ท มีลักษณะเป็นรีสอร์ตไม้สักทอง ใกล้สนามบินเชียงใหม่เสนอขายราคา 52.5 ล้านบาท และบูติครีสอร์ตบริเวณอำเภอหางดง ราคา 25 ล้านบาท โดยระบุว่าเป็นรีสอร์ตที่ดำเนินกิจการมาแล้ว 3 ปี นอกจากนี้ยังมีโฮสเทลขนาดเล็กจำนวนมาก ในระดับราคา 5-30 ล้านบาท
สำหรับพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีประกาศขายโรงแรมและรีสอร์ตมากถึง 105 รายการ ส่วนใหญ่ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท จำนวน 34 รายการ และกลุ่มราคา 100-500 ล้านบาท อยู่ที่ 31 รายการ พื้นที่ประกาศขายมากที่สุดคือบริเวณอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ทั้งในตำบลกะทู้ ตำบลป่าตอง และตำบลกมลา รองลงมาคือตำบลราไวย์ และกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต
เชียงใหม่ รร.ทุนจีนนับพันแห่ง
นางละเอียด บุ้งศรีทอง นายกสมาคมโรงแรมไทย (ภาคเหนือ) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นว่า ภาพรวมปัจจุบันในจังหวัดเชียงใหม่มีโรงแรมมากกว่า 2,000 แห่ง จำนวนห้องพักมากกว่า 60,000 ห้อง ในส่วนของโรงแรมที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมถูกต้องมีราว 600 แห่ง มีห้องพักมากกว่า 25,000 ห้อง และในจำนวนนี้เป็นสมาชิกของสมาคม 68 แห่ง รวมกว่า 8,000 ห้อง ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงดำเนินกิจการตามปกติ ไม่พบว่ามีการปิดกิจการหรือขายกิจการทิ้ง
แต่ในส่วนของโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการลงทุนของกลุ่มทุนจีนที่มาร่วมกับคนไทยเพื่อรองรับกลุ่มทัวร์จีนโดยเฉพาะ ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมยังไม่มีการทำสถิติตัวเลขที่ชัดเจน คาดว่ามากกว่า 1,000 แห่ง ซึ่งจากฐานข้อมูลบนแพลตฟอร์ม OTA (online travel agent) มีความเป็นไปได้ว่ามีการทยอยปิดกิจการหรือขายกิจการ
นายกสมาคมโรงแรมไทย (ภาคเหนือ) กล่าวว่า ด้วยหลายปัจจัยคือ
1.การเข้มข้นและตรวจจับโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตอย่างจริงจังของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา ทำให้โรงแรมหลายแห่งต้องหยุดให้บริการหรือปิดกิจการไป
2.นักท่องเที่ยวจีนในรูปแบบกรุ๊ปทัวร์มีจำนวนลดลงอย่างมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของจีนที่ชะลอตัว มีผลทำให้การเดินทางของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ซึ่งเป็นกลุ่มระดับล่างและเป็นกลุ่ม ขนาดใหญ่อาจต้องชะลอการเดินทางท่องเที่ยว
ทั้ง 2 ปัจจัยน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรงแรมที่เปิดขึ้นมา เพื่อเน้นให้บริการนักท่องเที่ยวจีนต้องปิดกิจการลง เพราะเมื่อถูกเจ้าหน้าที่รัฐเข้มงวด ขณะที่ซัพพลายมีจำนวนมาก แต่ไม่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเฉพาะเข้ามาใช้บริการ จึงไม่สามารถแบกต้นทุนได้
นางละเอียดกล่าวต่อว่า นักท่องเที่ยวจีนในเชียงใหม่ไม่ได้หายไปทั้งหมด แต่ที่มีจำนวนลดลงคือ กลุ่มทัวร์จีนที่มากับบริษัททัวร์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันคือ พฤติกรรมการท่องเที่ยวจีนเปลี่ยนไปมาก โดยนิยมเดินทางท่องเที่ยวเอง ออกแบบการเดินทางเอง จองที่พักเอง ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มกำลังซื้อระดับกลาง-บนที่นิยมพักโรงแรม 5-6 ดาว กลุ่มนี้จึงไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของโรงแรมทั่วไป
ห้องพักล้น-นักท่องเที่ยวหด
นางสาวศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขยายตัว จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนแห่ลงทุนสร้างโรงแรมมากเกินความต้องการ ทำให้ในตลาดมีปริมาณห้องพักที่มากเกินความต้องการของตลาด หรือเกิดภาวะโอเวอร์ซัพพลาย
ปัจจัยที่ 2.สภาพตลาดห้องพักโรงแรมโอเวอร์ซัพพลายอยู่แล้ว เมื่อมาเจอกับสถานการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ทำให้ธุรกิจสะดุด เกิดปัญหากระแสเงินสดหมุนเวียน และ 3.ธุรกิจปรับตัวไม่ทัน เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น บวกกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจจำนวนมากปรับตัวตามไม่ทัน
“การบริหารธุรกิจโรงแรมวันนี้เปลี่ยนไปจาก 4-5 ปีก่อนอย่างมาก ทุกอย่างต้องเร็ว และขยับเข้าสู่ดิจิทัล แพลตฟอร์มกันหมดแล้ว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ธุรกิจในต่างจังหวัดยังปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก” นางสาวศุภวรรณกล่าว
ยอดประกาศขาย รร.พุ่ง 20%
นายแพทย์สมศักดิ์ มุนีพีระกุล อดีตนายกสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย และประธานกรรมการ บริษัท ฟอร์เบสท์ พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด ผู้ประกอบการบริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การประกาศขายโรงแรมและรีสอร์ตในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และภูเก็ตผ่านทางเว็บไซต์ปัจจุบัน พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 20% หากเปรียบเทียบก่อนหน้านี้ สาเหตุหลักมองว่ามีผลจากปริมาณนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงจาก 4 ปัจจัย คือ จากกรณีเหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดภูเก็ต ส่งผลต่อเนื่องให้นักลงทุนจีนและนักท่องเที่ยวไม่เดินทางมาประเทศไทย และเรื่องเศรษฐกิจของประเทศจีนเองที่มีปัญหาชะลอตัว ประกอบกับสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งตนมีความกังวลว่า ในอนาคตอาจมีการปล่อยขายโรงแรมและรีสอร์ตในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ส่วนผู้ประกอบการที่กำลังจะเริ่มลงทุนสร้างโครงการใหม่อาจชะลอตัวลง เนื่องจากที่ผ่านมาในตลาดมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะมีการนำคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์มาปล่อยเช่ารายวัน ทำให้มาแย่งกลุ่มลูกค้าของโรงแรม
ธุรกิจจีนชะลอลงทุนในภูเก็ต
นายบุญ ยงสกุล ประธานกรรมการ บริษัท โบ๊ทพัฒนา จำกัด และบริษัท โบ๊ท แอสเซท แมนเนจเมนท์ จำกัด ในเครือภูเก็ต โบ๊ท ลากูน ผู้ประกอบการธุรกิจมารีน่า โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ จ.ภูเก็ต เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การประกาศขายกิจการโรงแรม รีสอร์ตของภูเก็ตตามเว็บไซต์ซื้อขายต่าง ๆ คิดว่าเป็นกิจการของนักลงทุนไทยที่ได้รับผลกระทบจากจำนวนทัวร์จีนที่หายไปประมาณ 50% ขณะที่นักท่องเที่ยวจีน FIT หายไปประมาณ 10% เพราะผู้ประกอบการไม่มีเงินไปจ่ายดอกเบี้ยสถาบันการเงิน จึงต้องหาทางขายธุรกิจ ในส่วนของบริษัทที่ทำธุรกิจด้านมารีน่าและโรงแรมได้รับผลกระทบทำให้รายได้หายไปพอสมควร เพราะมีลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวจีนประมาณ 20%
ส่วนบริษัท โบ๊ท แอสเซท แมนเนจเมนท์ ที่ทำธุรกิจบริหารสินทรัพย์ให้ลูกค้าที่ซื้ออาคารพาณิชย์ บ้าน ทาวน์เฮาส์ไปปล่อยเช่าต่อ ได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวจีนอย่างเห็นได้ชัดเจน หลังเกิดเหตุการณ์เรือล่ม 1 เดือน นักธุรกิจจีนมาเช่าอาคารพาณิชย์ไว้ทำสำนักงาน 4 ห้อง ก็ยุบสำนักงานเหลือ 1 ห้อง นอกจากนี้มีนักลงทุนจีนที่มาติดต่อจะเช่าอาคารพาณิชย์เพื่อลงทุนเปิดร้านอาหารก็ชะลอแผนออกไปไม่มีกำหนด บางรายหายไปเลย
“ในส่วนธุรกิจมารีน่า ท่าเทียบเรือ ซึ่งมีนักธุรกิจจีนเช่าอาคารพาณิชย์ทำออฟฟิศ 3 แห่ง ตอนนี้เหลือเพียง 2 แห่ง เรือที่ให้บริการจากที่เคยสูงถึง 30 ลำเหลือแค่ 8 ลำ เพราะปริมาณทัวร์หายไปส่งผลให้การลงทุนของนักธุรกิจจีนหายไปด้วย อย่างไรก็ตาม ตอนนี้กำลังประเมินว่า นักท่องเที่ยวจีนจะกลับมามากน้อยเพียงใด ซึ่งคงต้องรอช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงหยุดเทศกาลตรุษจีน” นายบุญกล่าว
ธุรกิจท่องเที่ยวสำลักทัวร์จีนหาย
แหล่งข่าววงการธุรกิจท่องเที่ยวรายหนึ่ง กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หากประเมินภาพรวมนักท่องเที่ยวจีนย้อนหลังไป 10 ปีจะพบว่ามีการเติบโตอย่างรวดเร็วจากประมาณ 8-9 แสนคน ในปี 2551-2552 และปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเฉลี่ยปีละ 1-2 ล้านคนในช่วงปี 2554-2555 และที่ชัดเจนที่สุดคือในปี 2558 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 3 ล้านคน จากแนวโน้มดังกล่าวนี้ทำให้บรรดานักลงทุนต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่แห่เข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยวสำหรับตลาดจีน ทั้งร้านอาหาร แหล่งช็อปปิ้ง รวมถึงพวกการแสดงโชว์ต่าง ๆ สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวจีนโดยเฉพาะ ฯลฯ เกิดขึ้นตามมาอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อตลาดนักท่องเที่ยวจีนสะดุดและเกิดการชะลอตัว บวกกับการแข่งขันและสภาพตลาดที่เริ่มขยับเข้าสู่ตลาดคุณภาพจึงทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้เริ่มประสบปัญหาตามมา
ทั้งนี้ จากรายงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่านักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยปี 2553 อยู่ที่ 1.13 ล้านคน และปี 2558 อยู่ที่ 7.93 ล้านคน ปี 2559 จำนวน 8.77 ล้านคน และปี 2560 จำนวน 9.8 ล้านคน สำหรับปี 2561 โดยภาครัฐตั้งเป้าไว้ที่ 10.5 ล้านคน แต่เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนอยู่ที่ 9.01 ล้านคน
โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวจีนอยู่ที่ 6.4 แสนคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว -19.8% ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ในแง่เม็ดเงินรายได้อยู่ที่ 3.45 หมื่นล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคมปีที่แล้ว -16.59%