เมื่อกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งเท่าที่โลกเคยมีมา พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช หรือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 หรือ อเล็กซานเดอร์แห่งมาเซโดเนีย คงเป็นหนึ่งในนั้น
ปฐมบท
อเล็กซานเดอร์มหาราช หรืออเล็กซานเดอร์ที่ 3 ประสูติเมื่อ กรกฎาคม 356 ปีก่อนคริสตกาล สวรรคตในวันที่ 10 มิถุนายน 323 ปีก่อนคริสตกาล ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรมาเซโดเนีย และเป็น พระจักรพรรดิ ที่ขยายจักรวรรดิได้ถึงครึ่งโลกในสมัยโบราณ
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นพระโอรสของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาร์เซโดเนีย กับพระนางโอลิมเปียส พระองค์เป็นศิษย์ของอริสโตเติล ผู้เป็นมหานักปราชญ์แห่งโลกตะวันตก เมื่อพระเจ้าฟิลิปส์ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์ เหล่านายทหารในกองทัพจึงสนับสนุนให้อเล็กซานเดอร์ ซึ่งในขณะนั้นอายุเพียง 20 ปี ขึ้นครองบัลลังก์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของมาเซโดเนีย
หลังขึ้นครองราชย์ อเล็กซานเดอร์ได้แผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรมาเซโดเนียไปอย่างมาก โดยอเล็กซานเดอร์ใช้เวลาประมาณ 10 ปีในการตีได้ทั้งจักรวรรดิเปอร์เซีย, อาณาจักรบาบิโลน และดินแดนบางส่วนที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน
อเล็กซานเดอร์มหาราช (336–323 ปีก่อนค.ศ.)
ดวงพระชะตาของอเล็กซานเดอร์มหาราชขึ้นอยู่เป็นเวลา 13 ปีที่พระองค์ไม่แพ้ใครเลย จนถึงฤดูใบไม้ร่วงปี 324 B.C. เฮพาเอสเชียน (Hephaestion) ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีและนายทหารพระสหายสนิทที่ใกล้ชิดพระองค์ที่สุดของพระองค์ตายที่เมืองเอกบาตานา (Ecbatana) อเล็กซานเดอร์มหาราชเศร้าโศกเป็นอย่างมาก และไม่ยอมตั้งใครให้ทำหน้าที่แทนพระสหายรักในพระองค์ ทรงจัดพิธีศพให้ที่กรุงบาบิลอนโดยใช้กองฟืนที่มีราคาแพง ต่อจากนั้นได้รับสั่งให้สร้างสุสานขนาดใหญ่ที่สวยงามเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เฮพาเอสเชียนที่เมืองบาบิโลน สืบเนื่องจากการสูญเสียพระสหาย พระองค์ก็ได้แต่เสวยน้ำจันฑ์ถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุ ณ กรุงบาบิลอน จึ่งเป็นเหตุให้พระองค์ประชวรอยู่ 10 วันก็ได้ แล้วจึงเสด็จฯสู่สวรรคาลัยในวันที่ 10 มิถุนายน ปี 323 B.C. โดยมีพระชนมายุเพียง 33 พระชันษา
แม้พีลิปโปสจะมีชายาถึง 7-8 คน แต่นางโอลิมเพียสก็ได้เป็นชายาเอกอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์อาร์กีด อเล็กซานเดอร์จึงถือว่าสืบเชื้อสายมาจากเฮราคลีสผ่านทางกษัตริย์คารานุสแห่งมาเกโดนีอา4 ส่วนทางฝั่งมารดา เขาถือว่าตนสืบเชื้อสายจากนีโอโทลีมุส บุตรของอคิลลีส5 อเล็กซานเดอร์เป็นญาติห่าง ๆ ของนายพลพีร์รุสแห่งเอพิรุส ผู้ได้รับยกย่องจากฮันนิบาลว่าเป็นแม่ทัพผู้เก่งกาจที่สุด หรืออันดับที่สอง (รองจากอเล็กซานเดอร์) เท่าที่โลกเคยประสบพบเจอ
ตามบันทึกของพลูตาร์ค นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ในคืนวันก่อนวันวิวาห์ของนางโอลิมเพียสกับพีลิปโปส โอลิมเพียสฝันว่าท้องของนางถูกสายฟ้าฟาดเกิดเปลวเพลิงแผ่กระจายออกไป "ทั้งกว้างและไกล" ก่อนจะมอดดับไป หลังจากแต่งงานแล้ว พีลิปโปสเคยบอกว่า ตนฝันเห็นตัวเองกำลังปิดผนึกครรภ์ของภรรยาด้วยดวงตราที่สลักภาพของสิงโต พลูตาร์คตีความความฝันเหล่านี้ออกมาหลายความหมาย เช่นโอลิมเพียสตั้งครรภ์มาก่อนแล้วก่อนแต่งงาน โดยสังเกตจากการที่ครรภ์ถูกผนึก หรือบิดาของอเล็กซานเดอร์อาจเป็นเทพซูส นักวิจารณ์ในยุคโบราณมีความคิดแตกแยกกันไปว่าโอลิมเพียสประกาศเรื่องเชื้อสายอันศักดิ์สิทธิ์ของอเล็กซานเดอร์ด้วยความทะเยอทะยาน บางคนอ้างว่านางเป็นคนบอกอเล็กซานเดอร์เอง แต่บางคนก็ว่านางไม่สนใจคำแนะนำทำนองนี้เพราะเป็นการไม่เคารพ
ในวันที่อเล็กซานเดอร์เกิด พีลิปโปสกำลังเตรียมตัวเข้ายึดเมืองโพทิเดียซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งคาลกิดีกี (Chalkidiki) ในวันเดียวกันนั้น พีลิปโปสได้รับข่าวว่านายพลพาร์เมนิออนของพระองค์ได้ชัยชนะเหนือกองทัพผสมระหว่างพวกอิลลีเรียนกับพาอิเนียน และม้าของพระองค์ก็ชนะการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ยังเล่ากันด้วยว่า วันเดียวกันนั้น วิหารแห่งอาร์เทมิสที่เมืองเอเฟซัส อันเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ถูกไฟไหม้ทลายลง เฮเกเซียสแห่งแม็กนีเซียกล่าวว่า ที่วิหารล่มลงเป็นเพราะเทพีอาร์เทมิสเสด็จมาเฝ้ารอการประสูติของอเล็กซานเดอร์
เมื่อยังเล็ก ผู้เลี้ยงดูอเล็กซานเดอร์คือนางอภิบาล ลาไนกี พี่สาวของเคลอิตุสซึ่งในอนาคตได้เป็นทั้งเพื่อนและแม่ทัพของอเล็กซานเดอร์ ครูในวัยเยาว์ของอเล็กซานเดอร์คือลีโอไนดัสผู้เข้มงวด ซึ่งเป็นญาติทางฝ่ายมารดา และไลซิมาคัส
เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 10 ปี พ่อค้าม้าคนหนึ่งจากเมืองเทสสะลีนำม้ามาถวายพีลิปโปสตัวหนึ่ง โดยเสนอขายเป็นเงิน 13 ทาเลนท์ ม้าตัวนี้ไม่มีใครขี่ได้ พีลิปโปสจึงสั่งให้เอาตัวออกไป ทว่าอเล็กซานเดอร์สังเกตได้ว่าม้านี้กลัวเงาของตัวมันเอง จึงขอโอกาสฝึกม้านี้ให้เชื่อง ซึ่งต่อมาเขาสามารถทำได้สำเร็จ ตามบันทึกของพลูตาร์ค พีลิปโปสชื่นชมยินดีมากเพราะนี่เป็นสิ่งแสดงถึงความกล้าหาญและความมักใหญ่ใฝ่สูง เขาจูบบุตรชายด้วยน้ำตา และว่า "ลูกข้า เจ้าจะต้องหาอาณาจักรที่ใหญ่พอสำหรับความทะเยอทะยานของเจ้า มาเกโดนีอาเล็กเกินไปสำหรับเจ้าแล้ว" แล้วพระองค์จึงซื้อม้าตัวนั้นให้แก่อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานเดอร์ตั้งชื่อม้านั้นว่า บูซีฟาลัส หมายถึง "หัววัว" บูซีฟาลัสกลายเป็นสหายคู่หูติดตามอเล็กซานเดอร์ไปตลอดการเดินทางจนถึงอินเดีย เมื่อบูซีฟาลัสตาย (เนื่องจากแก่มาก ตามที่พลูตาร์คบันทึกไว้ มันมีอายุถึง 30 ปี) อเล็กซานเดอร์ได้ตั้งชื่อเมืองแห่งหนึ่งตามชื่อมัน คือเมืองบูซีฟาลา
การศึกษา และชีวิตวัยหนุ่ม
เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 13 ปี พีลิปโปสตัดสินพระทัยว่าอเล็กซานเดอร์ควรได้รับการศึกษาขั้นสูงขึ้น จึงเริ่มเสาะหาอาจารย์ดีให้แก่บุตร เขาเปลี่ยนอาจารย์ไปหลายคน เช่น ไอโซเครตีส และ สพีอุสสิปัส ซึ่งเป็นผู้สืบทอดของเพลโตที่วิทยาลัยแห่งเอเธนส์ ซึ่งขอลาออกเองเพื่อไปรับตำแหน่ง ในที่สุดพีลิปโปสเสนองานนี้ให้แก่ อริสโตเติล พีลิปโปสยกวิหารแห่งนิมฟ์ที่มีซาให้พวกเขาใช้เป็นห้องเรียน ค่าตอบแทนในการสอนหนังสือแก่อเล็กซานเดอร์คือการสร้างเมืองเกิดของอริสโตเติล คือเมืองสตาเกราที่พีลิปโปสทำลายราบไปขึ้นใหม่ และให้ฟื้นฟูเมืองนี้โดยการซื้อตัวหรือปลดปล่อยอดีตพลเมืองของเมืองนี้ที่ถูกจับตัวไปเป็นทาส และยกโทษให้แก่พวกที่ถูกเนรเทศไปด้วย
ทายาทของพีลิปโปส
ผู้สำเร็จราชการและผู้สืบทอดมาเกโดนีอา
เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 16 ปี การร่ำเรียนกับอริสโตเติลก็ยุติลง พระเจ้าพีลิปโปสยกทัพไปทำสงครามกับไบแซนเทียมและแต่งตั้งให้อเล็กซานเดอร์รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ระหว่างที่พีลิปโปสไม่อยู่ พวกแมดีในเทรซก็แข็งเมืองต่อต้านการปกครองของมาเกโดนีอา อเล็กซานเดอร์ตอบโต้อย่างฉับพลัน บดขยี้พวกแมดีและขับไล่ออกไปจากเขตแดน แล้วผนวกเมืองนี้เข้ากับอาณาจักรกรีก ตั้งเมืองใหม่ขึ้นให้ชื่อว่า อเล็กซานโดรโพลิส
หลังจากพีลิปโปสกลับมาจากไบแซนเทียม พระองค์มองกองกำลังเล็ก ๆ ให้แก่อเล็กซานเดอร์เพื่อไปปราบปรามกบฏทางตอนใต้ของเทรซ มีบันทึกว่าอเล็กซานเดอร์ได้ช่วยชีวิตของบิดาไว้ได้ระหว่างการรบครั้งหนึ่งกับนครรัฐกรีกชื่อเพรินทุส
ในขณะเดียวกัน เมืองแอมฟิสซาได้เริ่มการทำลายสถานสักการะเทพอพอลโลใกลักับวิหารแห่งเดลฟี ซึ่งเป็นโอกาสให้พีลิปโปสยื่นมือเข้าแทรกแซงกิจการของกรีซ ขณะที่พำนักอยู่ที่เมืองเทรซ พีลิปโปสสั่งให้อเล็กซานเดอร์รวบรวมกองทัพสำหรับการรณยุทธ์กับกรีซ เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ว่านครรัฐกรีกอื่น ๆ จะยื่นมือเข้ามายุ่ง อเล็กซานเดอร์จึงแสร้งทำเสมือนว่ากำลังเตรียมการไปโจมตีอิลลีเรียแทน ในระหว่างความยุ่งเหยิงนั้น อิลลีเรียถือโอกาสมารุกรานมาเกโดนีอา แต่อเล็กซานเดอร์ก็สามารถขับไล่ผู้รุกรานไปได้
ปีที่ 338 ก่อนคริสตกาล พีลิปโปสยกทัพมาร่วมกับอเล็กซานเดอร์แล้วมุ่งหน้าลงใต้ผ่านเมืองเทอร์โมไพลีซึ่งทำการต่อต้านอย่างโง่ ๆ ด้วยกองทหารชาวธีบส์ ทั้งสองบุกยึดเมืองเอลาเทียซึ่งอยู่ห่างจากเอเธนส์และธีบส์เพียงชั่วเดินทัพไม่กี่วัน ขณะเดียวกัน ชาวเอเธนส์ภายใต้การนำของดีมอสเทนีส ลงคะแนนเสียงให้เป็นพันธมิตรกับธีบส์เพื่อทำสงครามร่วมรบกับมาเกโดนีอา ทั้งเอเธนส์และพีลิปโปสพากันส่งทูตไปเพื่อเอาชนะใจธีบส์ แต่ทางเอเธนส์เป็นฝ่ายประสบความสำเร็จ พีลิปโปสยกทัพไปแอมฟิสซา จับกุมทหารรับจ้างที่ดีมอสเทนีสส่งไป แล้วเมืองนั้นก็ยอมจำนน พีลิปโปสกลับมาเมืองเอลาเทียและส่งข้อเสนอสงบศึกครั้งสุดท้ายไปยังเอเธนส์และธีบส์ แต่ทั้งสองเมืองปฏิเสธ
พีลิปโปสยกทัพลงใต้ แต่ถูกสกัดเอาไว้บริเวณใกล้เมืองไคโรเนียของโบโอเทีย โดยกองกำลังของเอเธนส์และธีบส์ ระหว่างการสัประยุทธ์แห่งไคโรเนีย พีลิปโปสบังคับบัญชากองทัพปีกขวา ส่วนอเล็กซานเดอร์บังคับบัญชากองทัพปีกซ้าย ร่วมกับกลุ่มนายพลซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของพีลิปโปส ตามแหล่งข้อมูลโบราณ ทั้งสองฟากของกองทัพต้องต่อสู้อย่างหนักเป็นเวลายาวนาน พีลิปโปสจงใจสั่งให้กองทัพปีกขวาของตนถอยทัพเพื่อให้ทหารฮอพไลท์ของเอเธนส์ติดตามมา ทำลายแถวทหารของฝ่ายตรงข้าม ส่วนปีกซ้ายนั้นอเล็กซานเดอร์เป็นคนนำหน้าบุกเข้าตีแถวทหารของธีบส์แตกกระจาย โดยมีนายพลของพีลิปโปสตามมาติด ๆ เมื่อสามารถทำลายสามัคคีของกองทัพฝ่ายศัตรูได้แล้ว พีลิปโปสสั่งให้กองทหารของตนเดินหน้ากดดันเข้าตีทัพศัตรู ทัพเอเธนส์ถูกตีพ่ายไป เหลือเพียงทัพธีบส์ต่อสู้เพียงลำพัง และถูกบดขยี้ลงอย่างราบคาบ
หลังจากได้ชัยชนะที่ไคโรเนีย พีลิปโปสกับอเล็กซานเดอร์เดินทัพต่อไปโดยไม่มีผู้ขัดขวางมุ่งสู่เพโลพอนนีส (Peloponnese) โดยได้รับการต้อนรับจากทุกเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึงสปาร์ตา กลับถูกปฏิเสธ ทว่าพวกเขาก็เพียงจากไปเฉย ๆ ที่เมืองโครินธ์ พีลิปโปสได้ริเริ่ม "พันธมิตรเฮเลนนิก" (Hellenic Alliance) (ซึ่งจำลองมาจากกองทัพพันธมิตรต่อต้านเปอร์เซียในอดีต เมื่อครั้งสงครามกรีก-เปอร์เซีย) โดยไม่นับรวมสปาร์ตา พีลิปโปสได้ชื่อเรียกว่า เฮเกมอน (Hegemon) (ซึ่งมักแปลเป็น "ผู้บัญชาการสูงสุด") ของคณะพันธมิตรนี้ นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เรียกคณะพันธมิตรนี้ว่า สันนิบาตแห่งโครินธ์ (League of Corinth) ครั้นแล้วพีลิปโปสประกาศแผนของตนในการทำสงครามต่อต้านอาณาจักรเปอร์เซีย โดยเขาจะเป็นผู้บัญชาการเอง
การลี้ภัยและหวนกลับคืน
หลังจากกลับมาเมืองเพลลา พีลิปโปสตกหลุมรักกับคลีโอพัตรา ยูรีไดส์ แห่งมาเกโดนีอา และต่อมาได้แต่งงานกัน นางเป็นหลานสาวของแอตตาลัส นายพลคนหนึ่งของเขา การแต่งงานครั้งนี้ทำให้สถานะรัชทายาทของอเล็กซานเดอร์ต้องสั่นคลอน เพราะถ้าหากคลีโอพัตรา ยูรีไดส์ให้กำเนิดบุตรชายแก่พีลิปโปส เด็กนั้นจะเป็นทายาทที่มีเชื้อสายมาเกโดนีอาโดยตรง ขณะที่อเล็กซานเดอร์เป็นเพียงลูกครึ่งมาเกโดนีอา ในระหว่างงานเลี้ยงฉลองพิธีวิวาห์ แอตตาลัสซึ่งเมามายได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์โดยอธิษฐานต่อเทพเจ้าขอให้การแต่งงานนี้สร้างทายาทอันถูกต้องตามกฎหมายให้แก่ราชบัลลังก์มาเกโดนีอา อเล็กซานเดอร์ตะโกนใส่แอตตาลัสว่า "อย่างนั้นข้าเป็นอะไรเล่า ลูกไม่มีพ่อหรือ?" แล้วขว้างแก้วใส่นายพล พีลิปโปสซึ่งก็เมามากเช่นกัน ชักดาบออกมาแล้วเดินไปหาอเล็กซานเดอร์ ก่อนจะหกล้มคว่ำไป อเล็กซานเดอร์จึงว่า "ดูเถอะ ชายผู้เตรียมจะยกทัพจากยุโรปสู่เอเชีย ไม่อาจแม้แต่จะเดินจากเก้าอี้ตัวหนึ่งไปถึงอีกตัวหนึ่ง"
[bพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาร์เซโดเนีย]
พระนางโอลิมเปียส
อริสโตเติล หนึ่งในผู้ประสาทวิชาให้กับอเล็กซานเดอร์
มีต่อครับ..
"Hellebore" ดอกไม้ที่ปลิดชีวิตอเล็กซานเดอร์ แห่งมาเซโดเนีย - อวสานของจักรวัติที่ยิ่งใหญ่
อเล็กซานเดอร์มหาราช หรืออเล็กซานเดอร์ที่ 3 ประสูติเมื่อ กรกฎาคม 356 ปีก่อนคริสตกาล สวรรคตในวันที่ 10 มิถุนายน 323 ปีก่อนคริสตกาล ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรมาเซโดเนีย และเป็น พระจักรพรรดิ ที่ขยายจักรวรรดิได้ถึงครึ่งโลกในสมัยโบราณ
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นพระโอรสของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาร์เซโดเนีย กับพระนางโอลิมเปียส พระองค์เป็นศิษย์ของอริสโตเติล ผู้เป็นมหานักปราชญ์แห่งโลกตะวันตก เมื่อพระเจ้าฟิลิปส์ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์ เหล่านายทหารในกองทัพจึงสนับสนุนให้อเล็กซานเดอร์ ซึ่งในขณะนั้นอายุเพียง 20 ปี ขึ้นครองบัลลังก์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของมาเซโดเนีย
หลังขึ้นครองราชย์ อเล็กซานเดอร์ได้แผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรมาเซโดเนียไปอย่างมาก โดยอเล็กซานเดอร์ใช้เวลาประมาณ 10 ปีในการตีได้ทั้งจักรวรรดิเปอร์เซีย, อาณาจักรบาบิโลน และดินแดนบางส่วนที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน
ดวงพระชะตาของอเล็กซานเดอร์มหาราชขึ้นอยู่เป็นเวลา 13 ปีที่พระองค์ไม่แพ้ใครเลย จนถึงฤดูใบไม้ร่วงปี 324 B.C. เฮพาเอสเชียน (Hephaestion) ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีและนายทหารพระสหายสนิทที่ใกล้ชิดพระองค์ที่สุดของพระองค์ตายที่เมืองเอกบาตานา (Ecbatana) อเล็กซานเดอร์มหาราชเศร้าโศกเป็นอย่างมาก และไม่ยอมตั้งใครให้ทำหน้าที่แทนพระสหายรักในพระองค์ ทรงจัดพิธีศพให้ที่กรุงบาบิลอนโดยใช้กองฟืนที่มีราคาแพง ต่อจากนั้นได้รับสั่งให้สร้างสุสานขนาดใหญ่ที่สวยงามเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เฮพาเอสเชียนที่เมืองบาบิโลน สืบเนื่องจากการสูญเสียพระสหาย พระองค์ก็ได้แต่เสวยน้ำจันฑ์ถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุ ณ กรุงบาบิลอน จึ่งเป็นเหตุให้พระองค์ประชวรอยู่ 10 วันก็ได้ แล้วจึงเสด็จฯสู่สวรรคาลัยในวันที่ 10 มิถุนายน ปี 323 B.C. โดยมีพระชนมายุเพียง 33 พระชันษา
แม้พีลิปโปสจะมีชายาถึง 7-8 คน แต่นางโอลิมเพียสก็ได้เป็นชายาเอกอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์อาร์กีด อเล็กซานเดอร์จึงถือว่าสืบเชื้อสายมาจากเฮราคลีสผ่านทางกษัตริย์คารานุสแห่งมาเกโดนีอา4 ส่วนทางฝั่งมารดา เขาถือว่าตนสืบเชื้อสายจากนีโอโทลีมุส บุตรของอคิลลีส5 อเล็กซานเดอร์เป็นญาติห่าง ๆ ของนายพลพีร์รุสแห่งเอพิรุส ผู้ได้รับยกย่องจากฮันนิบาลว่าเป็นแม่ทัพผู้เก่งกาจที่สุด หรืออันดับที่สอง (รองจากอเล็กซานเดอร์) เท่าที่โลกเคยประสบพบเจอ
ตามบันทึกของพลูตาร์ค นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ในคืนวันก่อนวันวิวาห์ของนางโอลิมเพียสกับพีลิปโปส โอลิมเพียสฝันว่าท้องของนางถูกสายฟ้าฟาดเกิดเปลวเพลิงแผ่กระจายออกไป "ทั้งกว้างและไกล" ก่อนจะมอดดับไป หลังจากแต่งงานแล้ว พีลิปโปสเคยบอกว่า ตนฝันเห็นตัวเองกำลังปิดผนึกครรภ์ของภรรยาด้วยดวงตราที่สลักภาพของสิงโต พลูตาร์คตีความความฝันเหล่านี้ออกมาหลายความหมาย เช่นโอลิมเพียสตั้งครรภ์มาก่อนแล้วก่อนแต่งงาน โดยสังเกตจากการที่ครรภ์ถูกผนึก หรือบิดาของอเล็กซานเดอร์อาจเป็นเทพซูส นักวิจารณ์ในยุคโบราณมีความคิดแตกแยกกันไปว่าโอลิมเพียสประกาศเรื่องเชื้อสายอันศักดิ์สิทธิ์ของอเล็กซานเดอร์ด้วยความทะเยอทะยาน บางคนอ้างว่านางเป็นคนบอกอเล็กซานเดอร์เอง แต่บางคนก็ว่านางไม่สนใจคำแนะนำทำนองนี้เพราะเป็นการไม่เคารพ
ในวันที่อเล็กซานเดอร์เกิด พีลิปโปสกำลังเตรียมตัวเข้ายึดเมืองโพทิเดียซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งคาลกิดีกี (Chalkidiki) ในวันเดียวกันนั้น พีลิปโปสได้รับข่าวว่านายพลพาร์เมนิออนของพระองค์ได้ชัยชนะเหนือกองทัพผสมระหว่างพวกอิลลีเรียนกับพาอิเนียน และม้าของพระองค์ก็ชนะการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ยังเล่ากันด้วยว่า วันเดียวกันนั้น วิหารแห่งอาร์เทมิสที่เมืองเอเฟซัส อันเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ถูกไฟไหม้ทลายลง เฮเกเซียสแห่งแม็กนีเซียกล่าวว่า ที่วิหารล่มลงเป็นเพราะเทพีอาร์เทมิสเสด็จมาเฝ้ารอการประสูติของอเล็กซานเดอร์
เมื่อยังเล็ก ผู้เลี้ยงดูอเล็กซานเดอร์คือนางอภิบาล ลาไนกี พี่สาวของเคลอิตุสซึ่งในอนาคตได้เป็นทั้งเพื่อนและแม่ทัพของอเล็กซานเดอร์ ครูในวัยเยาว์ของอเล็กซานเดอร์คือลีโอไนดัสผู้เข้มงวด ซึ่งเป็นญาติทางฝ่ายมารดา และไลซิมาคัส
เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 10 ปี พ่อค้าม้าคนหนึ่งจากเมืองเทสสะลีนำม้ามาถวายพีลิปโปสตัวหนึ่ง โดยเสนอขายเป็นเงิน 13 ทาเลนท์ ม้าตัวนี้ไม่มีใครขี่ได้ พีลิปโปสจึงสั่งให้เอาตัวออกไป ทว่าอเล็กซานเดอร์สังเกตได้ว่าม้านี้กลัวเงาของตัวมันเอง จึงขอโอกาสฝึกม้านี้ให้เชื่อง ซึ่งต่อมาเขาสามารถทำได้สำเร็จ ตามบันทึกของพลูตาร์ค พีลิปโปสชื่นชมยินดีมากเพราะนี่เป็นสิ่งแสดงถึงความกล้าหาญและความมักใหญ่ใฝ่สูง เขาจูบบุตรชายด้วยน้ำตา และว่า "ลูกข้า เจ้าจะต้องหาอาณาจักรที่ใหญ่พอสำหรับความทะเยอทะยานของเจ้า มาเกโดนีอาเล็กเกินไปสำหรับเจ้าแล้ว" แล้วพระองค์จึงซื้อม้าตัวนั้นให้แก่อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานเดอร์ตั้งชื่อม้านั้นว่า บูซีฟาลัส หมายถึง "หัววัว" บูซีฟาลัสกลายเป็นสหายคู่หูติดตามอเล็กซานเดอร์ไปตลอดการเดินทางจนถึงอินเดีย เมื่อบูซีฟาลัสตาย (เนื่องจากแก่มาก ตามที่พลูตาร์คบันทึกไว้ มันมีอายุถึง 30 ปี) อเล็กซานเดอร์ได้ตั้งชื่อเมืองแห่งหนึ่งตามชื่อมัน คือเมืองบูซีฟาลา
การศึกษา และชีวิตวัยหนุ่ม
เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 13 ปี พีลิปโปสตัดสินพระทัยว่าอเล็กซานเดอร์ควรได้รับการศึกษาขั้นสูงขึ้น จึงเริ่มเสาะหาอาจารย์ดีให้แก่บุตร เขาเปลี่ยนอาจารย์ไปหลายคน เช่น ไอโซเครตีส และ สพีอุสสิปัส ซึ่งเป็นผู้สืบทอดของเพลโตที่วิทยาลัยแห่งเอเธนส์ ซึ่งขอลาออกเองเพื่อไปรับตำแหน่ง ในที่สุดพีลิปโปสเสนองานนี้ให้แก่ อริสโตเติล พีลิปโปสยกวิหารแห่งนิมฟ์ที่มีซาให้พวกเขาใช้เป็นห้องเรียน ค่าตอบแทนในการสอนหนังสือแก่อเล็กซานเดอร์คือการสร้างเมืองเกิดของอริสโตเติล คือเมืองสตาเกราที่พีลิปโปสทำลายราบไปขึ้นใหม่ และให้ฟื้นฟูเมืองนี้โดยการซื้อตัวหรือปลดปล่อยอดีตพลเมืองของเมืองนี้ที่ถูกจับตัวไปเป็นทาส และยกโทษให้แก่พวกที่ถูกเนรเทศไปด้วย
ทายาทของพีลิปโปส
ผู้สำเร็จราชการและผู้สืบทอดมาเกโดนีอา
เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 16 ปี การร่ำเรียนกับอริสโตเติลก็ยุติลง พระเจ้าพีลิปโปสยกทัพไปทำสงครามกับไบแซนเทียมและแต่งตั้งให้อเล็กซานเดอร์รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ระหว่างที่พีลิปโปสไม่อยู่ พวกแมดีในเทรซก็แข็งเมืองต่อต้านการปกครองของมาเกโดนีอา อเล็กซานเดอร์ตอบโต้อย่างฉับพลัน บดขยี้พวกแมดีและขับไล่ออกไปจากเขตแดน แล้วผนวกเมืองนี้เข้ากับอาณาจักรกรีก ตั้งเมืองใหม่ขึ้นให้ชื่อว่า อเล็กซานโดรโพลิส
หลังจากพีลิปโปสกลับมาจากไบแซนเทียม พระองค์มองกองกำลังเล็ก ๆ ให้แก่อเล็กซานเดอร์เพื่อไปปราบปรามกบฏทางตอนใต้ของเทรซ มีบันทึกว่าอเล็กซานเดอร์ได้ช่วยชีวิตของบิดาไว้ได้ระหว่างการรบครั้งหนึ่งกับนครรัฐกรีกชื่อเพรินทุส
ในขณะเดียวกัน เมืองแอมฟิสซาได้เริ่มการทำลายสถานสักการะเทพอพอลโลใกลักับวิหารแห่งเดลฟี ซึ่งเป็นโอกาสให้พีลิปโปสยื่นมือเข้าแทรกแซงกิจการของกรีซ ขณะที่พำนักอยู่ที่เมืองเทรซ พีลิปโปสสั่งให้อเล็กซานเดอร์รวบรวมกองทัพสำหรับการรณยุทธ์กับกรีซ เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ว่านครรัฐกรีกอื่น ๆ จะยื่นมือเข้ามายุ่ง อเล็กซานเดอร์จึงแสร้งทำเสมือนว่ากำลังเตรียมการไปโจมตีอิลลีเรียแทน ในระหว่างความยุ่งเหยิงนั้น อิลลีเรียถือโอกาสมารุกรานมาเกโดนีอา แต่อเล็กซานเดอร์ก็สามารถขับไล่ผู้รุกรานไปได้
ปีที่ 338 ก่อนคริสตกาล พีลิปโปสยกทัพมาร่วมกับอเล็กซานเดอร์แล้วมุ่งหน้าลงใต้ผ่านเมืองเทอร์โมไพลีซึ่งทำการต่อต้านอย่างโง่ ๆ ด้วยกองทหารชาวธีบส์ ทั้งสองบุกยึดเมืองเอลาเทียซึ่งอยู่ห่างจากเอเธนส์และธีบส์เพียงชั่วเดินทัพไม่กี่วัน ขณะเดียวกัน ชาวเอเธนส์ภายใต้การนำของดีมอสเทนีส ลงคะแนนเสียงให้เป็นพันธมิตรกับธีบส์เพื่อทำสงครามร่วมรบกับมาเกโดนีอา ทั้งเอเธนส์และพีลิปโปสพากันส่งทูตไปเพื่อเอาชนะใจธีบส์ แต่ทางเอเธนส์เป็นฝ่ายประสบความสำเร็จ พีลิปโปสยกทัพไปแอมฟิสซา จับกุมทหารรับจ้างที่ดีมอสเทนีสส่งไป แล้วเมืองนั้นก็ยอมจำนน พีลิปโปสกลับมาเมืองเอลาเทียและส่งข้อเสนอสงบศึกครั้งสุดท้ายไปยังเอเธนส์และธีบส์ แต่ทั้งสองเมืองปฏิเสธ
พีลิปโปสยกทัพลงใต้ แต่ถูกสกัดเอาไว้บริเวณใกล้เมืองไคโรเนียของโบโอเทีย โดยกองกำลังของเอเธนส์และธีบส์ ระหว่างการสัประยุทธ์แห่งไคโรเนีย พีลิปโปสบังคับบัญชากองทัพปีกขวา ส่วนอเล็กซานเดอร์บังคับบัญชากองทัพปีกซ้าย ร่วมกับกลุ่มนายพลซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของพีลิปโปส ตามแหล่งข้อมูลโบราณ ทั้งสองฟากของกองทัพต้องต่อสู้อย่างหนักเป็นเวลายาวนาน พีลิปโปสจงใจสั่งให้กองทัพปีกขวาของตนถอยทัพเพื่อให้ทหารฮอพไลท์ของเอเธนส์ติดตามมา ทำลายแถวทหารของฝ่ายตรงข้าม ส่วนปีกซ้ายนั้นอเล็กซานเดอร์เป็นคนนำหน้าบุกเข้าตีแถวทหารของธีบส์แตกกระจาย โดยมีนายพลของพีลิปโปสตามมาติด ๆ เมื่อสามารถทำลายสามัคคีของกองทัพฝ่ายศัตรูได้แล้ว พีลิปโปสสั่งให้กองทหารของตนเดินหน้ากดดันเข้าตีทัพศัตรู ทัพเอเธนส์ถูกตีพ่ายไป เหลือเพียงทัพธีบส์ต่อสู้เพียงลำพัง และถูกบดขยี้ลงอย่างราบคาบ
หลังจากได้ชัยชนะที่ไคโรเนีย พีลิปโปสกับอเล็กซานเดอร์เดินทัพต่อไปโดยไม่มีผู้ขัดขวางมุ่งสู่เพโลพอนนีส (Peloponnese) โดยได้รับการต้อนรับจากทุกเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึงสปาร์ตา กลับถูกปฏิเสธ ทว่าพวกเขาก็เพียงจากไปเฉย ๆ ที่เมืองโครินธ์ พีลิปโปสได้ริเริ่ม "พันธมิตรเฮเลนนิก" (Hellenic Alliance) (ซึ่งจำลองมาจากกองทัพพันธมิตรต่อต้านเปอร์เซียในอดีต เมื่อครั้งสงครามกรีก-เปอร์เซีย) โดยไม่นับรวมสปาร์ตา พีลิปโปสได้ชื่อเรียกว่า เฮเกมอน (Hegemon) (ซึ่งมักแปลเป็น "ผู้บัญชาการสูงสุด") ของคณะพันธมิตรนี้ นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เรียกคณะพันธมิตรนี้ว่า สันนิบาตแห่งโครินธ์ (League of Corinth) ครั้นแล้วพีลิปโปสประกาศแผนของตนในการทำสงครามต่อต้านอาณาจักรเปอร์เซีย โดยเขาจะเป็นผู้บัญชาการเอง
การลี้ภัยและหวนกลับคืน
หลังจากกลับมาเมืองเพลลา พีลิปโปสตกหลุมรักกับคลีโอพัตรา ยูรีไดส์ แห่งมาเกโดนีอา และต่อมาได้แต่งงานกัน นางเป็นหลานสาวของแอตตาลัส นายพลคนหนึ่งของเขา การแต่งงานครั้งนี้ทำให้สถานะรัชทายาทของอเล็กซานเดอร์ต้องสั่นคลอน เพราะถ้าหากคลีโอพัตรา ยูรีไดส์ให้กำเนิดบุตรชายแก่พีลิปโปส เด็กนั้นจะเป็นทายาทที่มีเชื้อสายมาเกโดนีอาโดยตรง ขณะที่อเล็กซานเดอร์เป็นเพียงลูกครึ่งมาเกโดนีอา ในระหว่างงานเลี้ยงฉลองพิธีวิวาห์ แอตตาลัสซึ่งเมามายได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์โดยอธิษฐานต่อเทพเจ้าขอให้การแต่งงานนี้สร้างทายาทอันถูกต้องตามกฎหมายให้แก่ราชบัลลังก์มาเกโดนีอา อเล็กซานเดอร์ตะโกนใส่แอตตาลัสว่า "อย่างนั้นข้าเป็นอะไรเล่า ลูกไม่มีพ่อหรือ?" แล้วขว้างแก้วใส่นายพล พีลิปโปสซึ่งก็เมามากเช่นกัน ชักดาบออกมาแล้วเดินไปหาอเล็กซานเดอร์ ก่อนจะหกล้มคว่ำไป อเล็กซานเดอร์จึงว่า "ดูเถอะ ชายผู้เตรียมจะยกทัพจากยุโรปสู่เอเชีย ไม่อาจแม้แต่จะเดินจากเก้าอี้ตัวหนึ่งไปถึงอีกตัวหนึ่ง"
มีต่อครับ..