ANALYSIS: วิธีตามเชียร์ทีมชาติไทยไม่ให้หัวร้อน ใน เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018

ถ้าทีมของคุณยิงคู่แข่งได้เกินสิบลูกในสองเกม เสียไปแค่สองลูก ชนะรวด โดยหนึ่งในนั้นเป็นทีมรองแชมป์จากครั้งก่อน แล้วยังรู้สึกหงุดหงิดกับผลงาน - เชิญอ่าน

เกมแรกของรอบแบ่งกลุ่ม อดิศักดิ์ ไกรษร ก็ยิงคนเดียวเท่ากับที่ ธีรศิลป์ แดงดา ยิงได้ทั้งทัวร์นาเมนต์ในปี 2016 ไทยเปิดรังขยี้ติมอร์ เลสเต 7-0 ไม่มีใครพูดถึง 4 สตาร์ที่ติดภารกิจในต่างแดนอีกแล้ว ไทยยังคงน่ากลัวสำหรับทุกชาติอาเซียน มีเพียงอาวุธเดียวที่พวกเห็นว่าช้างศึกยังขาดไป - ฟุตบอลแบบ Tik-Tok เข้าทำประตูด้วยการจ่ายบอลจังหวะเดียวรัว ๆ ที่เป็นภาพจำคู่กับโค้ชซิโก้

เข้าสู่นัดที่สอง วัดจากหน้าเสื่อแล้วเกมนี้อาจเป็นงานหนักที่สุดของแชมป์เก่า เมื่ออินโดนีเซียบุกมารีแมตช์นัดชิงที่ราชมังฯ ไทยยังคงยิงระเบิดเถิดเทิง เอาชนะไปด้วยสกอร์ 4-2 แต่แฟนบอลก็ยังมีความกังวลว่าทำไมเสียง่ายจังทั้งสองประตู รวมไปถึงสไตล์การเล่นที่ไม่ค่อยจะ ‘เดินหน้าฆ่ามัน’ เท่าที่น่าจะเป็น

ผ่านไปสองเกม ไทยนำเป็นจ่าฝูงของกลุ่มบี ประตูได้เสียนำลิ่ว ตำแหน่งดาวซัลโวแทบจะอยู่ในมือ อดิศักดิ์ ไกรษร ไปแล้วครึ่งตัว - แต่ก็ยังมีแฟนบอลบางส่วนไม่สบายใจกับผลงานทัพช้างศึกอยู่ดี ถึงตรงนี้ผู้เขียนเชื่อว่า บางทีปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ผลงานของทีมเสียแล้ว จึงมีคำแนะนำการปรับตัวปรับใจมาฝาก เพื่อการชมและเชียร์อย่างสบายใจ

1.ไทยเป็นทีมที่เหนือกว่า

2. ไทยเล่นอย่างทีมที่เหนือกว่า
แฟนบอลไทยอาจคุ้นเคยกับสไตล์การเล่นแบบ ‘ขอให้ข้าได้สู้’ ที่ช้างศึกทำมาตลอดหลายปี ภาพนักเตะวิ่งลืมหายใจ ไล่ทุกจังหวะ เปิดหน้าบุกแหลกเพื่อหาโอกาสทำประตูให้มากที่สุด ที่เราต้องปรบมือให้แม้จะลงเอยด้วยพาดหัว ‘สุดต้าน’ ‘เต็มที่แล้ว’ ‘สู้ขาดใจ’ ‘ไล่ไม่ทัน’ ฯลฯ อาจจะยังติดตา

แน่นอนว่าวิธีการเล่นแบบนี้ไม่ได้ออกแบบมาให้ได้ใจแฟนเฉย ๆ แต่นั่นคือวิธีเล่นของทีมที่มีศักยภาพเป็นรอง แท็คติกเป็นรอง ทักษะผู้เล่นเป็นรอง ก็ต้องใส่อย่างอื่นลงไปทดแทนเพื่อสร้างโอกาสชนะให้ตัวเอง

ตัดภาพมาที่ราชมังคลากีฬาสถาน ขณะที่ทีมชาติไทยออกนำติมอร์ เลสเต ไปสุดกู่ 6-0 มากกว่าสกอร์ที่ยิงขาด รูปเกมที่เอาอยู่ทุกกระบวน คือ ‘ภาษากาย’ ของช้างศึก ถ้าใครจำได้ว่าครั้งสุดท้ายที่ได้เห็นช้างศึกนำคู่แข่งขาดลอยในครึ่งหลังโดยไม่เหนื่อยหอบ เสื้อไม่เลอะ ชายเสื้อยังอยู่ในกางเกงเรียบร้อยดี ก็อยากให้เล่าให้ผู้เขียนฟังบ้างเพราะจำไม่ได้จริง ๆ


มิโลวาน ราเยวัช ไม่มีเวทย์มนตร์อะไรมาจากยุโรปตะวันออก เขาเพียงสอนให้ทีมชาติไทยที่ศักยภาพตัวต่อตัวไม่ได้แพ้ใครในภูมิภาค รู้จักการเอาชนะด้วยการยืนตำแหน่ง(positioning) - ในสนามมีบอล 1 ลูก ครอบครองได้ทีละคน แต่เกมการยืนตำแหน่งนั้น ทั้ง 22 คนเล่นอยู่ตลอดเวลา แพ้ชนะกันอยู่ตลอดเวลา

เมื่อยืนถูก เคลื่อนที่ถูก ก็จะไม่มีพื้นที่ให้คู่แข่งเข้าทำ ทำได้เพียงครองบอลอยู่ในพื้นที่ที่อีกฝ่าย ‘ยอม’ ให้อยู่เท่านั้น ก่อนจะลงเอยด้วยการยิงไกลเอาดาบหน้า ลงเอยด้วยทีมที่พ่ายแพ้มีสถิติครองบอลเหนือกว่า สร้างโอกาสยิงมากกว่า สับไกยิงมากกว่า - ให้นักข่าวเอาไปเขียนหลังเกมว่า ‘ถึงแพ้แต่สู้ได้!’ อะไรทำนองนี้

ซึ่งในระดับอาเซียน ถ้าแพ้มาแล้วบอกว่าสู้ได้ดีแล้วนะ แฟนบอลไทยคงไม่รับฟังอีกแล้ว - เขาก็เลยเล่นเพื่อชนะ เท่านั้นเอง


3. ไทยเล่นเพื่อเป็นแชมป์

อ่านฉบับเต็มได้ที่ https://www.goal.com/th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/analysis-%E0%B8%A7%E0%B8%98%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B9%83%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F-%E0%B8%8B%E0%B8%8B%E0%B8%81-%E0%B8%84%E0%B8%9E-2018/pqo4nh6fhq5c19gb2iup0r1ow?utm_0source=fac8ebook.com&utm_medium=referral&utm_campaign=thfb
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่