ประเพณีลอยกระทง ตามปฏิทินทางจันทรคติ จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยมีคติตามความเชื่อที่ว่า เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ทั้งเพื่อชำระร่างกาย ดื่มกิน รวมไปถึงทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงไปในแหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังถือเป็นการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้าต่างๆ ให้ลอยหายไปกับแม่น้ำอีกด้วย แต่ถ้าหากถามถึงประวัติของวันลอยกระทงแล้วละก็... ตามมาเลย เราจะเล่าให้คุณฟังเอง แม้ในประเทศไทยจะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ว่ากันว่าการลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง โดยในตอนนั้นเรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียง" หรือ "การลอยพระประทีป"
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟอีกว่า เป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย จึงทำให้เชื่อกันว่า งานดังกล่าวนี้น่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน จนได้มีการสืบต่อกันเรื่อยมา ถึงกรุงรัตนโกสินทร์อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันนี้
คำบูชาขอขมา
ทิ้งท้ายกันไปด้วยคำกล่าวบูชาขอขมาในวันลอยกระทงก็แล้วกันนะคะ เผื่อใครยังไม่รู้ โดยบทสวดที่เรานำมาฝากนี้แปลว่า...ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระศรีศากยมุนี อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทราย แห่งนัมมทานทีอันไกลโพ้น ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานเทอญ
คำขอขมา
อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ
นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง
มุนิโท ปาทวลัญชัง อะภิปูชะยามิ อะยัง
ปะทีเปนะ มุนิโท ปาทวลัฐชัง ปูชา
มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ บูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ
https://www.thairath.co.th/content/1425038
วันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ขอขมาแม่คงคา
ประเพณีลอยกระทง ตามปฏิทินทางจันทรคติ จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยมีคติตามความเชื่อที่ว่า เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ทั้งเพื่อชำระร่างกาย ดื่มกิน รวมไปถึงทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงไปในแหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังถือเป็นการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้าต่างๆ ให้ลอยหายไปกับแม่น้ำอีกด้วย แต่ถ้าหากถามถึงประวัติของวันลอยกระทงแล้วละก็... ตามมาเลย เราจะเล่าให้คุณฟังเอง แม้ในประเทศไทยจะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ว่ากันว่าการลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง โดยในตอนนั้นเรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียง" หรือ "การลอยพระประทีป"
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟอีกว่า เป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย จึงทำให้เชื่อกันว่า งานดังกล่าวนี้น่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน จนได้มีการสืบต่อกันเรื่อยมา ถึงกรุงรัตนโกสินทร์อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันนี้
คำบูชาขอขมา
ทิ้งท้ายกันไปด้วยคำกล่าวบูชาขอขมาในวันลอยกระทงก็แล้วกันนะคะ เผื่อใครยังไม่รู้ โดยบทสวดที่เรานำมาฝากนี้แปลว่า...ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระศรีศากยมุนี อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทราย แห่งนัมมทานทีอันไกลโพ้น ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานเทอญ
คำขอขมา
อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ
นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง
มุนิโท ปาทวลัญชัง อะภิปูชะยามิ อะยัง
ปะทีเปนะ มุนิโท ปาทวลัฐชัง ปูชา
มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ บูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ
https://www.thairath.co.th/content/1425038