ย้อนอดีตไปยลโฉมสนามเหย้าของเหล่ายอดทีมพรีเมียร์ เปลี่ยนไปขนาดไหนหลังผ่านมาแล้วกว่า 26 ปี
หลังฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น พรีเมียร์ ลีก ตั้งแต่ปี 1992 แน่นอนว่าเหล่ายอดทีมต่างๆได้มีการปรับปรุงและโยกย้ายรังเหย้าเพื่อตอบรับความนิยมและกฎเกณฑ์ของลีกที่ขึ้นชื่อว่าเป็นที่นิยมที่สุดในโลก
โดยที่ทีมล่าสุดที่มีจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือ "ไก่เดือยทอง" ท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ ที่จะทำการย้ายสนามเหย้าใหม่สุดอลังการชื่อเดียวกับสโมสร ซึ่งมีความจุ 62,000 ที่นั่งในช่วงต้นปีหน้า
เว็บไซต์ ทอล์คสปอร์ต ได้ทำการรวบรวมภาพสนามของ 20 ทีมลีกผู้ดีเพื่อเป็นการรำลึงถึงจุดเริ่มต้นของของความยิ่งใหญ่ในเกมฟุตบอลอังกฤษที่มีมายาวนาน
1. อาร์เซน่อล - ไฮบิวรี่ สเตเดี้ยม สู่ เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม
สนามไฮบิวรี่มีความจุ 38,000 ที่นั่ง บวกกับพื้นที่ซ้อมที่ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากมีบ้านเรือนที่พักอาศัยอยู่ล้อมรอบสนามทั้งสี่ทิศ ทัพ"ปืนใหญ่"จึงจำเป็นต้องโบกมือสนามอันเป็นที่รักในปี 2006 สู่เอมิเรตส์ สเตเดี้ยมซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลมาก และสนามใหม่นี้ก็มีความจุที่มากขึ้นเกือบสองเท่า พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
2. บอร์นมัธ - ไวทัลลิตี้ สเตเดี้ยม
ดีน คอร์ท คือชื่อบ้านเก่าของบอร์นมัธ ทีมเล็กๆจากลีกล่างในอังกฤษ สนามของพวกเขามีอัฒจรรย์เพียง 3 ด้านในตอนแรกหลังถูกบูรณะใหม่ในไป 2001 โดยที่ตัวสนามหญ้าถูกจับหัน 90 องศาจากของเดิมและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ไวทัลลิตี้ สเตเดี้ยมตามชื่อของสปอนเซอร์รายใหญ่ อย่างไรก็ดี รังของ "เดอะ เชอร์รี่ส์" ยังคงความจิ๋วไว้ที่ 11,464 ที่นั่ง แต่ทางทีมก็มีการวางแผนว่าจะมีการสร้างสนามใหม่เช่นกัน
3. ไบรท์ตัน - โกลด์ สโตน กราวน์ด สู่ ฟัลเมอร์ สเตเดี้ยม
ณ สนามโกลด์ สโตน กราวน์ด นี้เองที่ ดาวเตะหน้าคม เดวิด เบ็คแฮม ลงเล่นนัดแรกให้กับ"ปีศาจแดง" ในปี 1992ซึ่งไม่ใช่เกมพรีเมียร์ลีกแต่เป็นครั้งที่ไบรท์ตันเพิ่งได้เลื่อนชั้นขึ้นมาในลีกระดับ 3 และได้พบกับแมนฯยูไนเต็ดในรายการลีกคัพเท่านั้น ลีกสูงสุดดูจะเป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อมของทีมเล็กๆทีมนี้ บวกกับสถานะการเงินที่ร่อแร่ ทำให้ทีมต้องยอมขายสนามเหย้านี้ออกไป
กว่า 10 ปีที่ต้องเล่นที่ วิธดีน สเตเดี้ยม และอีก 2 ปีที่ต้องแชร์สนามกับทีม กิลลิงแฮม แบบชั่วคราว ในที่สุดไบรท์ตันก็ได้รังใหม่เสียทีโดยไปเล่นที่ ฟัลเมอร์ สเตเดี้ยม ในปี 2011 และใช้ชื่อ อเมริกัน เอ็กซ์เพรส คอมมิวนิตี้ สเตเดี้ยมตามผู้สนับสนุนหลัก สนามนี้เริ่มใช้ในพรีเมียร์ลีกครั้งแรกในฤดูกาล 2017/18 ซึ่งช่างดูแตกต่างกับสถานการณ์ที่ โกลด์ สโตน กราวน์ด ลิบลับ
4. เบิร์นลี่ย์ - เทิร์ฟ มัวร์
ชื่อเท่แห่งนี้รับหน้าที่เป็นรังเหย้าของเบิร์นลี่ย์มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1883 พอมาในช่วงกลางปี 1990-99สแตนด์เก่าถูกปรับปรุงและเปลี่ยนมาใช้ชื่อ เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ และจิมมี่ แม็คอิลรอย สแตนด์ แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความเนี้ยบและประวัติศาสตร์ของสโมสร
5. คาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ - นิเนียน พาร์ค และ คาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ สเตเดี้ยม
ดาร์ดิฟฟ์ใช้เวลาที่นิเนียน ปาร์ค มาถึง 99 ปี ก่อนจะปิดตัวลงในปี 2009 ซึ่งสนามแห่งนี้ก็ถูกใช้เป็นสนามเหย้าของทีมชาติเวลส์ตั้งแต่ปี 1911 ถึงช่วงท้ายปี1980-89 อีกด้วย หลังจากนั้นที่ดินก็ถูกนำไปใช้เป็นย่านพักอาศัย
สนามใหม่อย่างคาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ สเตเดี้ยม มีความจุ 33,280 ที่นั่ง เปิดตัวในปี 1992 และถือเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศเวลส์
6. เชลซี - สแตมฟอร์ด บริดจ์
สแตมฟอร์ด บริดจ์ หรือ "เดอะ บริดจ์" เปลี่ยนไปเยอะมากจากภาพในอดีต แม้ทุนสร้างอัฒจรรย์ฝั่งตะวันออกที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1970 จะเกือบทำให้ทีมล้มละลาย แต่มันก็ยังคงตั้งตระหง่านอยู่จนถึงทุกวันนี้ เพียงแต่ลู่และอัฒจรรย์ปูนที่ล้อมรอบสนามหายไปหมดแล้วและสแตนด์ใหม่ก็ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1990
7. คริสตัล พาเลซ - เซลเฮิร์สท์ พาร์ค
วันเปิดสนามพรีเมียร์ ลีกในปี 92 อลัน เชียเรอร์มีส่วนยิงไปเน้นๆ 2 ลูกให้ "กุหลาบไฟ" ก่อนที่เจ้าบ้านจะยิงประตูตีเสมอในนาทีที่ 90 ในเกมที่พาเลซเปิดบ้านเสมอแบล็คเบิร์นไปอย่างสุดมัน 3-3
อัฒจรรย์ฝั่งถนนโฮมส์เดลถูกแทนที่ด้วยสแตนด์สองชั้นในปี 1994/95 และหลังจากนั้น ฝ่ายบริหารของ "ปราสาทเรือนแก้ว" ก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสร้างอัฒจรรย์หลักที่จะจุผู้ชมได้มากขึ้นจาก 26,000 คนเป็นมากกว่า 34,000 คน
8. เอฟเวอร์ตัน - กูดิสัน พาร์ค
กูดิสัน พาร์ค คือหนึ่งในสนามที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดในโลกฟุตบอลและมีความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหากไม่นับอัฒจรรย์ใหม่ฝั่งพาร์ค เอ็นด์ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 1994
บัลเลนส์โร้ด สแตนด์และ กัวลาดีส์ สตรีท เอ็นด์ สแตนด์ ที่ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกระดับเซียนของอังกฤษอย่างอาร์ชิบัล เลตช์ ในช่วงปี 1920-1
930 ก็ยังตั้งอยู่ที่กูดิสัน พาร์ค และเรายังคงต้องตั้งคำถามว่า "ท๊อฟฟี่สีน้ำเงิน" จะยังคงใช้สนามแห่งนี้ไปอีกนานแค่ไหน หลังมีข่าวว่าอาจจะมีการย้ายถิ่นในอนาคต
9. ฟูแล่ม - คราเวน ค็อตเทจ
คราเวน ค็อตเทจ คือรังเหย้าของทีม"เจ้าสัว" มาตั้งแต่ปี 1896 และหลังจากที่ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดเมื่อปี 2001ฟูแล่มถูกมอบหมายให้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่เพื่อรองรับกฎของพรีเมียร์ ลีก
3 ปีที่ทีมได้ใช้ในการติดตั้งที่นั่ง ทำให้ฟูแล่มต้องใช้สนามร่วมกับ ควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ส ที่ลอฟตัส โร้ด ระหว่างปี 2002-2004 ปัจจุบัน คราเวน ค็อตเทจ มีความจุประมาณ 25,700 ที่นั่ง และมีแผนจะขยายเพิ่มอีกกว่า 4,000 ที่นั่งด้วยงบประมาณกว่า 80 ล้านปอนด์
10. ฮัดเดอร์สฟิลด์ - สนามรี้ดส์โร้ด สู่ จอห์น สมิธส์ สเตเดี้ยม
ฮัดเดอร์สฟิลด์ย้ายจากสนาม รี้ดส์โร้ด มาที่ แม็คอัลไพน์ สเตเดี้ยมในปี 1994 ซึ่งปัจจุบันมีชื่อใหม่ว่า จอห์น สมิธส์ สเตเดี้ยมแต่มีที่นั่งมีเพียงแค่สองฝั่งในตอนนั้นก่อนอัฒจรรย์ฝั่งใต้จะเสร็จในช่วงสิ้นปี 94 และทีมต้องรอถึง 4 ปีกว่าจะมีอัฒจรรย์ฝั่งเหนือตามมา ทุกฟากของสนามประกอบด้วยหลังคาแนวโค้ง และได้ทำการใช้งานในพรีเมียร์ ลีกครั้งแรกเมื่อฤดูกาล 2017/18 ที่ผ่านมานี้เอง
11. เลสเตอร์ ซิตี้ - สนามฟิลเบิร์ต สตรีท สู่ คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม
สนามเดิมของ "จิ้งจอกสยาม" อย่าง สนามฟิลเบิร์ต สตรีท ถูกใช้งานมาตั้งแต่ปี 1891 ก่อนจะย้ายถิ่นฐานมาที่ คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยมในปี 2002 ที่นี่เลสเตอร์สร้างประวัติศาสตร์เถลิงแชมป์พรีเมียร์ ลีกไปอย่างสวยงามในฤดูกาล 2015/16
12. ลิเวอร์พูล - แอนฟิลด์
แอนฟิลด์ ได้ชื่อว่าเป็นสนามที่มีการเข้าชมมากที่สุดในอังกฤษก่อนที่จะถูกลดจำนวนความจุลงด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
ลิเวอร์พูลเฉลิมฉลองวันเกิดครบ 100 ปีสโมสรในปี 1992 พอดิบพอดี โดยการเปิดอัฒจรรย์ใหม่ฝั่ง เครมลิน โร้ด และตั้งชื่อว่าเซ็นทีนารี่ สแตนด์ โดยมีการเปลี่ยนชื่อใหม่ตามตำนานดังของทีมอย่าง เคนนี่ ดัลกลิช
อัฒจรรย์ค็อปอันเลื่องลือถูกทุบลงในปี 1994 และสร้างขึ้นใหม่เป็นแบบที่นั่ง จุได้ 12,390 คน แอนฟิลด์โร้ด สแตนด์ถูกปรับปรุงในปี 1998 และล่าสุดกับอัฒจรรย์หลักที่เพิ่งเปิดในปี 2016 ส่งผลให้ความจุรวมของทั้งสนามขึ้นไปแตะ 54,074 ที่นั่ง
13. แมนเชสเตอร์ ซิตี้ - สนามเมน โร้ด และ เอติฮัด สเตเดี้ยม
สนามเมน โร้ด ครั้งหนึ่งเคยเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในระดับสโมสร อัฒจรรย์หลักและหลังคาอันโดดเด่นถูกสร้างในช่วงปี 1970สแตนด์ฝั่งแพล็ตต์ เลน ถูกซ่อมแซมในช่วงพรีเมียร์ ลีกซีซั่นแรก และมีการเพิ่มห้องวีไอพีเข้าไปพร้อมตั้งชื่อใหม่ว่าอัมโบร แสตนด์แฟนบอลซิตี้ในตอนนั้นคงไม่รู้ว่า เวลาของพวกเขาในเมน โร้ดเหลือไม่มาก ก่อนที่สโมสรจะพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เนื่องจากที่สนามเมน โร้ด จำเป็นต้องมีการบูรณะซ่อมแซมในหลายๆจุด ทางสโมสรจึงถือโอกาสย้ายไปที่ อีสท์แลนด์ส สเตเดี้ยม (เอติฮัด สเตเดี้ยมในปัจจุบัน) ในปี 2003 ซึ่งได้ถูกสร้างไว้ก่อนแล้วสำหรับการแข่งขันกีฬาเครือจักรภาพในปี 2002 พร้อมด้วยความสมบูรณ์ของการออกแบบและความตั้งใจในการนำมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลเช่นกัน
หลังจากแมนฯซิตี้ได้แชมป์ลีกสองสมัยในช่วง 3 ปีให้หลัง ทางสโมสรก็ได้เพิ่มความจุของสนามเป็น 55,000 ที่นั่ง และอาจมีการต่อยอดอีกในอนาคต
14. แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด - โอลด์ แทรฟฟอร์ด
ต่างจากสนามฟุตบอลอื่นๆในอดีต โอลด์ แทรฟฟอร์ดเป็นสนามที่มีแผนพัฒนาที่มองข้ามช้อตไปค่อนข้างไกล ในช่วงแรก ยูไนเต็ด โร้ด สแตนด์
ถุกสร้างขึ้นไปช่วงปี 1960 ด้วยการสร้างการยึดหลังคาแบบเท้ากับผนัง หมายความว่า จะไม่มีเสาบังวิสัยทัศน์แฟนบอลให้รำคาญใจในการชมเกม โครงสร้างแบบนี้ถูกเพิ่มเติมเข้าไปที่สแตนด์ด้านอื่นๆของสนามเช่นกัน ทำให้ "โรงละครแห่งความฝัน" ดูเป็นทรงถ้วยใบใหญ่
อย่างไรก็ตาม ด้วยกฎของลีกที่ว่า ไม่มีการยืนในสนาม ทุกจุดต้องเป็นที่นั่ง อัฒจรรย์ฝั่งสเตรทฟอร์ด เอ็นด์ก็ได้มีการปรับปรุงเพื่อรองรับกฎดังกล่าว
แมนฯยูไนเต็ดจึงเริ่มต้นฤดูกาลแรกในพรีเมียร์ ลีกแบบที่สนามไม่ที่นั่งแค่ 3 ฝั่ง จนกระทั่งการก่อสร้างทั้งหมดสำเร็จ และจุแฟนบอลได้กว่า 44,000 คน ก่อนฤดูกาลแรกนั้นจะจบลง
ด้วยความสำเร็จอย่างล้นหลามของสโมสร จึงมีการบูรณะต่อมาเรื่อยๆ จนในปัจจุบัน โอลด์ แทรฟฟอร์ด สามารถจุผู้คนได้ราวๆ 75,000 ที่นั่ง
(มีต่อ)
จากอดีตถึงปัจจุบัน สนามเหย้า 20 ทีมพรีเมียร์ลีก
หลังฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น พรีเมียร์ ลีก ตั้งแต่ปี 1992 แน่นอนว่าเหล่ายอดทีมต่างๆได้มีการปรับปรุงและโยกย้ายรังเหย้าเพื่อตอบรับความนิยมและกฎเกณฑ์ของลีกที่ขึ้นชื่อว่าเป็นที่นิยมที่สุดในโลก
โดยที่ทีมล่าสุดที่มีจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือ "ไก่เดือยทอง" ท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ ที่จะทำการย้ายสนามเหย้าใหม่สุดอลังการชื่อเดียวกับสโมสร ซึ่งมีความจุ 62,000 ที่นั่งในช่วงต้นปีหน้า
เว็บไซต์ ทอล์คสปอร์ต ได้ทำการรวบรวมภาพสนามของ 20 ทีมลีกผู้ดีเพื่อเป็นการรำลึงถึงจุดเริ่มต้นของของความยิ่งใหญ่ในเกมฟุตบอลอังกฤษที่มีมายาวนาน
1. อาร์เซน่อล - ไฮบิวรี่ สเตเดี้ยม สู่ เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม
สนามไฮบิวรี่มีความจุ 38,000 ที่นั่ง บวกกับพื้นที่ซ้อมที่ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากมีบ้านเรือนที่พักอาศัยอยู่ล้อมรอบสนามทั้งสี่ทิศ ทัพ"ปืนใหญ่"จึงจำเป็นต้องโบกมือสนามอันเป็นที่รักในปี 2006 สู่เอมิเรตส์ สเตเดี้ยมซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลมาก และสนามใหม่นี้ก็มีความจุที่มากขึ้นเกือบสองเท่า พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
2. บอร์นมัธ - ไวทัลลิตี้ สเตเดี้ยม
ดีน คอร์ท คือชื่อบ้านเก่าของบอร์นมัธ ทีมเล็กๆจากลีกล่างในอังกฤษ สนามของพวกเขามีอัฒจรรย์เพียง 3 ด้านในตอนแรกหลังถูกบูรณะใหม่ในไป 2001 โดยที่ตัวสนามหญ้าถูกจับหัน 90 องศาจากของเดิมและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ไวทัลลิตี้ สเตเดี้ยมตามชื่อของสปอนเซอร์รายใหญ่ อย่างไรก็ดี รังของ "เดอะ เชอร์รี่ส์" ยังคงความจิ๋วไว้ที่ 11,464 ที่นั่ง แต่ทางทีมก็มีการวางแผนว่าจะมีการสร้างสนามใหม่เช่นกัน
3. ไบรท์ตัน - โกลด์ สโตน กราวน์ด สู่ ฟัลเมอร์ สเตเดี้ยม
ณ สนามโกลด์ สโตน กราวน์ด นี้เองที่ ดาวเตะหน้าคม เดวิด เบ็คแฮม ลงเล่นนัดแรกให้กับ"ปีศาจแดง" ในปี 1992ซึ่งไม่ใช่เกมพรีเมียร์ลีกแต่เป็นครั้งที่ไบรท์ตันเพิ่งได้เลื่อนชั้นขึ้นมาในลีกระดับ 3 และได้พบกับแมนฯยูไนเต็ดในรายการลีกคัพเท่านั้น ลีกสูงสุดดูจะเป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อมของทีมเล็กๆทีมนี้ บวกกับสถานะการเงินที่ร่อแร่ ทำให้ทีมต้องยอมขายสนามเหย้านี้ออกไป
กว่า 10 ปีที่ต้องเล่นที่ วิธดีน สเตเดี้ยม และอีก 2 ปีที่ต้องแชร์สนามกับทีม กิลลิงแฮม แบบชั่วคราว ในที่สุดไบรท์ตันก็ได้รังใหม่เสียทีโดยไปเล่นที่ ฟัลเมอร์ สเตเดี้ยม ในปี 2011 และใช้ชื่อ อเมริกัน เอ็กซ์เพรส คอมมิวนิตี้ สเตเดี้ยมตามผู้สนับสนุนหลัก สนามนี้เริ่มใช้ในพรีเมียร์ลีกครั้งแรกในฤดูกาล 2017/18 ซึ่งช่างดูแตกต่างกับสถานการณ์ที่ โกลด์ สโตน กราวน์ด ลิบลับ
4. เบิร์นลี่ย์ - เทิร์ฟ มัวร์
ชื่อเท่แห่งนี้รับหน้าที่เป็นรังเหย้าของเบิร์นลี่ย์มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1883 พอมาในช่วงกลางปี 1990-99สแตนด์เก่าถูกปรับปรุงและเปลี่ยนมาใช้ชื่อ เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ และจิมมี่ แม็คอิลรอย สแตนด์ แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความเนี้ยบและประวัติศาสตร์ของสโมสร
5. คาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ - นิเนียน พาร์ค และ คาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ สเตเดี้ยม
ดาร์ดิฟฟ์ใช้เวลาที่นิเนียน ปาร์ค มาถึง 99 ปี ก่อนจะปิดตัวลงในปี 2009 ซึ่งสนามแห่งนี้ก็ถูกใช้เป็นสนามเหย้าของทีมชาติเวลส์ตั้งแต่ปี 1911 ถึงช่วงท้ายปี1980-89 อีกด้วย หลังจากนั้นที่ดินก็ถูกนำไปใช้เป็นย่านพักอาศัย
สนามใหม่อย่างคาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ สเตเดี้ยม มีความจุ 33,280 ที่นั่ง เปิดตัวในปี 1992 และถือเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศเวลส์
6. เชลซี - สแตมฟอร์ด บริดจ์
สแตมฟอร์ด บริดจ์ หรือ "เดอะ บริดจ์" เปลี่ยนไปเยอะมากจากภาพในอดีต แม้ทุนสร้างอัฒจรรย์ฝั่งตะวันออกที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1970 จะเกือบทำให้ทีมล้มละลาย แต่มันก็ยังคงตั้งตระหง่านอยู่จนถึงทุกวันนี้ เพียงแต่ลู่และอัฒจรรย์ปูนที่ล้อมรอบสนามหายไปหมดแล้วและสแตนด์ใหม่ก็ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1990
7. คริสตัล พาเลซ - เซลเฮิร์สท์ พาร์ค
วันเปิดสนามพรีเมียร์ ลีกในปี 92 อลัน เชียเรอร์มีส่วนยิงไปเน้นๆ 2 ลูกให้ "กุหลาบไฟ" ก่อนที่เจ้าบ้านจะยิงประตูตีเสมอในนาทีที่ 90 ในเกมที่พาเลซเปิดบ้านเสมอแบล็คเบิร์นไปอย่างสุดมัน 3-3
อัฒจรรย์ฝั่งถนนโฮมส์เดลถูกแทนที่ด้วยสแตนด์สองชั้นในปี 1994/95 และหลังจากนั้น ฝ่ายบริหารของ "ปราสาทเรือนแก้ว" ก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสร้างอัฒจรรย์หลักที่จะจุผู้ชมได้มากขึ้นจาก 26,000 คนเป็นมากกว่า 34,000 คน
8. เอฟเวอร์ตัน - กูดิสัน พาร์ค
กูดิสัน พาร์ค คือหนึ่งในสนามที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดในโลกฟุตบอลและมีความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหากไม่นับอัฒจรรย์ใหม่ฝั่งพาร์ค เอ็นด์ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 1994
บัลเลนส์โร้ด สแตนด์และ กัวลาดีส์ สตรีท เอ็นด์ สแตนด์ ที่ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกระดับเซียนของอังกฤษอย่างอาร์ชิบัล เลตช์ ในช่วงปี 1920-1930 ก็ยังตั้งอยู่ที่กูดิสัน พาร์ค และเรายังคงต้องตั้งคำถามว่า "ท๊อฟฟี่สีน้ำเงิน" จะยังคงใช้สนามแห่งนี้ไปอีกนานแค่ไหน หลังมีข่าวว่าอาจจะมีการย้ายถิ่นในอนาคต
9. ฟูแล่ม - คราเวน ค็อตเทจ
คราเวน ค็อตเทจ คือรังเหย้าของทีม"เจ้าสัว" มาตั้งแต่ปี 1896 และหลังจากที่ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดเมื่อปี 2001ฟูแล่มถูกมอบหมายให้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่เพื่อรองรับกฎของพรีเมียร์ ลีก
3 ปีที่ทีมได้ใช้ในการติดตั้งที่นั่ง ทำให้ฟูแล่มต้องใช้สนามร่วมกับ ควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ส ที่ลอฟตัส โร้ด ระหว่างปี 2002-2004 ปัจจุบัน คราเวน ค็อตเทจ มีความจุประมาณ 25,700 ที่นั่ง และมีแผนจะขยายเพิ่มอีกกว่า 4,000 ที่นั่งด้วยงบประมาณกว่า 80 ล้านปอนด์
10. ฮัดเดอร์สฟิลด์ - สนามรี้ดส์โร้ด สู่ จอห์น สมิธส์ สเตเดี้ยม
ฮัดเดอร์สฟิลด์ย้ายจากสนาม รี้ดส์โร้ด มาที่ แม็คอัลไพน์ สเตเดี้ยมในปี 1994 ซึ่งปัจจุบันมีชื่อใหม่ว่า จอห์น สมิธส์ สเตเดี้ยมแต่มีที่นั่งมีเพียงแค่สองฝั่งในตอนนั้นก่อนอัฒจรรย์ฝั่งใต้จะเสร็จในช่วงสิ้นปี 94 และทีมต้องรอถึง 4 ปีกว่าจะมีอัฒจรรย์ฝั่งเหนือตามมา ทุกฟากของสนามประกอบด้วยหลังคาแนวโค้ง และได้ทำการใช้งานในพรีเมียร์ ลีกครั้งแรกเมื่อฤดูกาล 2017/18 ที่ผ่านมานี้เอง
11. เลสเตอร์ ซิตี้ - สนามฟิลเบิร์ต สตรีท สู่ คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม
สนามเดิมของ "จิ้งจอกสยาม" อย่าง สนามฟิลเบิร์ต สตรีท ถูกใช้งานมาตั้งแต่ปี 1891 ก่อนจะย้ายถิ่นฐานมาที่ คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยมในปี 2002 ที่นี่เลสเตอร์สร้างประวัติศาสตร์เถลิงแชมป์พรีเมียร์ ลีกไปอย่างสวยงามในฤดูกาล 2015/16
12. ลิเวอร์พูล - แอนฟิลด์
แอนฟิลด์ ได้ชื่อว่าเป็นสนามที่มีการเข้าชมมากที่สุดในอังกฤษก่อนที่จะถูกลดจำนวนความจุลงด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
ลิเวอร์พูลเฉลิมฉลองวันเกิดครบ 100 ปีสโมสรในปี 1992 พอดิบพอดี โดยการเปิดอัฒจรรย์ใหม่ฝั่ง เครมลิน โร้ด และตั้งชื่อว่าเซ็นทีนารี่ สแตนด์ โดยมีการเปลี่ยนชื่อใหม่ตามตำนานดังของทีมอย่าง เคนนี่ ดัลกลิช
อัฒจรรย์ค็อปอันเลื่องลือถูกทุบลงในปี 1994 และสร้างขึ้นใหม่เป็นแบบที่นั่ง จุได้ 12,390 คน แอนฟิลด์โร้ด สแตนด์ถูกปรับปรุงในปี 1998 และล่าสุดกับอัฒจรรย์หลักที่เพิ่งเปิดในปี 2016 ส่งผลให้ความจุรวมของทั้งสนามขึ้นไปแตะ 54,074 ที่นั่ง
13. แมนเชสเตอร์ ซิตี้ - สนามเมน โร้ด และ เอติฮัด สเตเดี้ยม
สนามเมน โร้ด ครั้งหนึ่งเคยเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในระดับสโมสร อัฒจรรย์หลักและหลังคาอันโดดเด่นถูกสร้างในช่วงปี 1970สแตนด์ฝั่งแพล็ตต์ เลน ถูกซ่อมแซมในช่วงพรีเมียร์ ลีกซีซั่นแรก และมีการเพิ่มห้องวีไอพีเข้าไปพร้อมตั้งชื่อใหม่ว่าอัมโบร แสตนด์แฟนบอลซิตี้ในตอนนั้นคงไม่รู้ว่า เวลาของพวกเขาในเมน โร้ดเหลือไม่มาก ก่อนที่สโมสรจะพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เนื่องจากที่สนามเมน โร้ด จำเป็นต้องมีการบูรณะซ่อมแซมในหลายๆจุด ทางสโมสรจึงถือโอกาสย้ายไปที่ อีสท์แลนด์ส สเตเดี้ยม (เอติฮัด สเตเดี้ยมในปัจจุบัน) ในปี 2003 ซึ่งได้ถูกสร้างไว้ก่อนแล้วสำหรับการแข่งขันกีฬาเครือจักรภาพในปี 2002 พร้อมด้วยความสมบูรณ์ของการออกแบบและความตั้งใจในการนำมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลเช่นกัน
หลังจากแมนฯซิตี้ได้แชมป์ลีกสองสมัยในช่วง 3 ปีให้หลัง ทางสโมสรก็ได้เพิ่มความจุของสนามเป็น 55,000 ที่นั่ง และอาจมีการต่อยอดอีกในอนาคต
14. แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด - โอลด์ แทรฟฟอร์ด
ต่างจากสนามฟุตบอลอื่นๆในอดีต โอลด์ แทรฟฟอร์ดเป็นสนามที่มีแผนพัฒนาที่มองข้ามช้อตไปค่อนข้างไกล ในช่วงแรก ยูไนเต็ด โร้ด สแตนด์
ถุกสร้างขึ้นไปช่วงปี 1960 ด้วยการสร้างการยึดหลังคาแบบเท้ากับผนัง หมายความว่า จะไม่มีเสาบังวิสัยทัศน์แฟนบอลให้รำคาญใจในการชมเกม โครงสร้างแบบนี้ถูกเพิ่มเติมเข้าไปที่สแตนด์ด้านอื่นๆของสนามเช่นกัน ทำให้ "โรงละครแห่งความฝัน" ดูเป็นทรงถ้วยใบใหญ่
อย่างไรก็ตาม ด้วยกฎของลีกที่ว่า ไม่มีการยืนในสนาม ทุกจุดต้องเป็นที่นั่ง อัฒจรรย์ฝั่งสเตรทฟอร์ด เอ็นด์ก็ได้มีการปรับปรุงเพื่อรองรับกฎดังกล่าว
แมนฯยูไนเต็ดจึงเริ่มต้นฤดูกาลแรกในพรีเมียร์ ลีกแบบที่สนามไม่ที่นั่งแค่ 3 ฝั่ง จนกระทั่งการก่อสร้างทั้งหมดสำเร็จ และจุแฟนบอลได้กว่า 44,000 คน ก่อนฤดูกาลแรกนั้นจะจบลง
ด้วยความสำเร็จอย่างล้นหลามของสโมสร จึงมีการบูรณะต่อมาเรื่อยๆ จนในปัจจุบัน โอลด์ แทรฟฟอร์ด สามารถจุผู้คนได้ราวๆ 75,000 ที่นั่ง
(มีต่อ)