คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
มาแลกเปลี่ยนความรู้ค่ะ ของเบลเยี่ยมนะคะ จากที่เคยพูดคุยกับหลายๆกระทู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนในเมืองไทย และตัวเองได้มาอยู่
ที่ต่างประเทศจนมีลูก และได้อยู่เคียงข้างลูก เป็นผู้ให้คำปรึกษา สอนการบ้านลูกๆมา
ของไทยเรียนแบบเข้มข้นก่อนอายุจริง บางคนรู้จริงเพราะเรียนเก่ง บางคนก็เรียนไม่รู้เรื่องเพราะเรียนก่อนอายุและหนักเกินไป อย่างเช่นเด็กอนุบาล
เรียนเลข เรียนอ่านเขียนกันแล้ว จึงทำให้เด็กที่มาเรียนแลกเปลี่ยน ดูเหมือนจะรู้มากกว่า เรียนเก่งกว่า
แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับที่นี่ เริ่มเรียนเมื่ออายุถึงแล้ว เมื่อเรียนแล้วเด็กทุกคนเข้าใจเพื่อต่อยอดเอาไปใช้ในระดับสูง เมื่อเรียนสูงขึ้นก็จะยากขึ้น
ไปเรื่อยๆ และเด็กจะมีพื้นฐานที่ดี โดยที่เด็กๆไม่จำเป็นต้องไปเรียนพิเศษหามรุ่ง หามค่ำ แต่จะเอาส่วนนี้ไปทำอย่างอื่นแทน อย่างเช่น เรียนดนตรี
เล่นกีฬาแทน
ถ้าจะดูเนื้อหาที่เรียน ก็เรียนเหมือนที่ดิฉันเรียน แต่ต่างกันที่ความลึกที่ได้เรียน อย่างเช่นเด็กที่เลือกเรียนวิศวะ จะได้เรียนคณิตศาตร์ในม.๕
และม.๕ถึง๘ชม/อาทิตย์ แต่เด็กที่เลือกเรียนแพทย์จะเรียนคณิตศาสตร์แค่๔-๖ชม.แต่จะไปเน้นวิชาวิทยาศาศตร์แทน
ถ้าจะถามจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ว่าต้องการอะไร จุดประสงค์ก็คือในระดับมหาวิทยาลัยมากกว่า ว่าเด็กทุกคนต้องรู้และต้องทำได้
ถ้าเอาเด็กเก่งในระดับมหาวิทยาลัยมาเทียบกัน ไม่ว่าของไทยหรือของเบลเยี่ยม ก็คือเก่งเหมือนกัน เพชรก็คือเพชรนั่นเอง ไม่ว่าจะเจียรนัยด้วย
ด้วยเครื่องมือแบบพื้นๆ หรือเจียรนัยด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย
ที่ต่างประเทศจนมีลูก และได้อยู่เคียงข้างลูก เป็นผู้ให้คำปรึกษา สอนการบ้านลูกๆมา
ของไทยเรียนแบบเข้มข้นก่อนอายุจริง บางคนรู้จริงเพราะเรียนเก่ง บางคนก็เรียนไม่รู้เรื่องเพราะเรียนก่อนอายุและหนักเกินไป อย่างเช่นเด็กอนุบาล
เรียนเลข เรียนอ่านเขียนกันแล้ว จึงทำให้เด็กที่มาเรียนแลกเปลี่ยน ดูเหมือนจะรู้มากกว่า เรียนเก่งกว่า
แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับที่นี่ เริ่มเรียนเมื่ออายุถึงแล้ว เมื่อเรียนแล้วเด็กทุกคนเข้าใจเพื่อต่อยอดเอาไปใช้ในระดับสูง เมื่อเรียนสูงขึ้นก็จะยากขึ้น
ไปเรื่อยๆ และเด็กจะมีพื้นฐานที่ดี โดยที่เด็กๆไม่จำเป็นต้องไปเรียนพิเศษหามรุ่ง หามค่ำ แต่จะเอาส่วนนี้ไปทำอย่างอื่นแทน อย่างเช่น เรียนดนตรี
เล่นกีฬาแทน
ถ้าจะดูเนื้อหาที่เรียน ก็เรียนเหมือนที่ดิฉันเรียน แต่ต่างกันที่ความลึกที่ได้เรียน อย่างเช่นเด็กที่เลือกเรียนวิศวะ จะได้เรียนคณิตศาตร์ในม.๕
และม.๕ถึง๘ชม/อาทิตย์ แต่เด็กที่เลือกเรียนแพทย์จะเรียนคณิตศาสตร์แค่๔-๖ชม.แต่จะไปเน้นวิชาวิทยาศาศตร์แทน
ถ้าจะถามจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ว่าต้องการอะไร จุดประสงค์ก็คือในระดับมหาวิทยาลัยมากกว่า ว่าเด็กทุกคนต้องรู้และต้องทำได้
ถ้าเอาเด็กเก่งในระดับมหาวิทยาลัยมาเทียบกัน ไม่ว่าของไทยหรือของเบลเยี่ยม ก็คือเก่งเหมือนกัน เพชรก็คือเพชรนั่นเอง ไม่ว่าจะเจียรนัยด้วย
ด้วยเครื่องมือแบบพื้นๆ หรือเจียรนัยด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย
แสดงความคิดเห็น
หลักสูตรม.ปลายของไทย เทียบกับต่างประเทศ
ที่ได้เคยอ่านผ่านๆตา
เด็กไทย ที่ไปเรียนแลกเปลี่ยนเรียนม.ปลายที่ USA
สายวิชาเลข ฟิสิกต์ เคมี
เห็นว่าเรียนไม่ยาก
ทำคะแนนได้ค่อนข้างดีกกว่าค่าเฉลี่ย
อาจติดเรื่องภาษา ความเข้าใจโจทย์
จึงสงสัยว่า
1. เราเรียนเข้ม หรือ เรียนล้ำกว่าเค้าครับ
หรือผมเข้าใจผิดเอง เพราะเค้าก้อเรียนเท่าๆเรา
แต่เด็กเรา คัดเลือกไปก่อนว่า ได้ในระดับนึง
2. ไม่ทราบว่า แล้วถ้าเปรียบกับญี่ปุ่น จีน เกาหลี
ใครเรียนเข้ม หรือ ล้ำไปกว่ากัน
เข้าใจบริบท ที่มันต้องเข้าไปดูระดับของเด็กไทยที่ไป
หรือระดับโรงเรียนที่ต่างประเทศด้วยว่า เป็นโรงเรียนไก่กา
หรือ ระดับหัวกะทิ
จึงเรียนถามในมุมของตัวหลักสูตร ที่ใช้สอนระดับม.ปลาย
ใครที่เคยไปเรียนม.ปลาย ที่ต่างประเทศ
ลองให้ความเห็นหน่อยครับ
ขอบคุณครับ