📍📍~มาลาริน~ปกป้องกระดูกสันหลักของชาติด้วย ร่าง พ.ร.บ.ข้าวชาวนาไทย ผลผลิตส่งออกข้าวไทย คาดเกินเป้าตั้งไว้ 11 ล้านตัน


ปกป้องกระดูกสันหลักของชาติด้วย ร่าง พ.ร.บ.ข้าวชาวนาไทย





เหตุผล ของร่างพระราชบัญญัติข้าวชาวนาไทย

แม้ประเทศไทยจะมีชาวนาอยู่จำนวนไม่น้อย แต่ชาวนาไม่มีกฎหมายว่าด้วยชาวนาเพื่อรับรองและคุ้มครองในอาชีพตน ต่างกับอาชีพอื่นๆ ที่มีกฎหมายรับรอง เช่น ช้าราชการ ตำรวจ ทหาร แพทย์ ทนายความ ขณะที่ชาวนาเป็นอาชีพที่ไม่มีอำนาจต่อรองและถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางและรัฐบาล จนทำให้เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว

ด้วยเหตุนี้เพื่อความมั่นคงในชีวิตและอาชีพชาวนา จึงจะต้องเพิ่มอำนาจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ชาวนาควรจะได้โดยการตรา พ.ร.บ ข้าวชาวนาไทยขึ้นกำหนดให้มีการจัดตั้ง "กองทุนชาวนาไทย" หมวดที่ 1 มาตรา 5 กำหนด ให้จัดตั้งกองทุนหนึ่ง เรียกว่า “กองทุนธนาคารข้าวชาวนาไทย” (กธ.ขช.) ให้กองทุนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อส่งเสริมการปลูกข้าว การขายข้าว การออมข้าว และการออมเงินของสมาชิก (2) เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก เพื่อเป็นหลักประกันแก่ สมาชิกและบุคคลในครัวเรือนเมื่ออยู่ในวัยชราภาพหรือทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย (3) เพื่อจัดตั้งโรงสีข้าวกลางทุกอำเภอ

นอกจากนี้ มาตรา 11 ระบุว่า กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณและรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน

การคุ้มครองชาวนาไทย

กฎหมายว่าด้วยข้าวชาวนาไทยนี้จะช่วยคุ้มครองชาวนาไทย ดังนี้

1) รัฐจะเข้ามามีส่วนสนับสนุนในกองทุนชาวนา ด้วยการสมทบค่าธรรมธรรมเนียมซื้อขายข้าว

2) กองทุนช่วยจะเหลือชาวนาที่มีที่นาเป็นของตนเองแต่ไม่มีโฉนด และชาวนาที่มีอาชีพทำนาแต่ไม่มีที่นา จะต้องได้รับการดูแลให้มีที่นาเป็นของตนเอง โดยนำโฉนดที่

นา นส.3 ที่อยู่กับนายทุนและธนาคาร ธกส. มาใช้ให้เกิดประโยชน์

3) ชาวนาจะต้องเป็นผู้ขายข้าวให้กับพ่อค้าและกำหนดราคาเองได้ตามกลไกการผลิต

4) กองทุนจะช่วยจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีราคาย่อมเยาและทำให้ต้นทุนในการทำนาลดลง

5) กองทุนจะมาช่วยชาวนาในกรณีเจ็บป่วยหรือในกรณีจำเป็นเร่งด่วนและต้องการความช่วยเหลือทุกกรณี

6) ให้เป็นเงินบำเหน็จบำนาญให้กับชาวนาที่เป็นสมาชิกหลักจากที่ไม่สามารถทำนาได้

7) ทำให้ลูกหลานสืบทอดอาชีพทำนาตามเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษและเป็นอาชีพที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติข้าวชาวนาไทย พ.ศ. … ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 143(2) ดังนั้น จึงต้องส่งร่างฉบับนี้ไปให้นายกรัฐมนตรีพิจารณารับรองก่อน

ขอขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซด์รัฐสภา


http://www.radioparliament.net/parliament/viewNews.php?nId=9861#.W--W6qdtef1



รองประธาน สนช.คนที่สอง รับหนังสือจาก 5 สมาคมเครือข่ายชาวนาไทย สนับสนุนให้ สนช.ผ่านร่างกฎหมายข้าวให้เป็นกฎหมาย





20 ส.ค.61 - รองประธาน สนช.คนที่สอง รับหนังสือจาก 5 สมาคมเครือข่ายชาวนาไทย สนับสนุนให้ สนช.ผ่านร่างกฎหมายข้าวให้เป็นกฎหมาย หวังเป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งให้ชาวนาไทย คาด สนช.จะสามารถพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ให้แล้วเสร็จก่อนหมดวาระการทำงาน

      นายพีระศักดิ์  พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่สอง และนายกิตติศักดิ์ รัตนะวราหะ สมาชิก สนช. รับหนังสือจากผู้แทนสมาคมเครือข่ายชาวนาไทย 5 สมาคม ประกอบด้วย นายประสิทธิ  บุญเฉย สมาคมส่งเสริมชาวนาข้าวไทย นายวิชัย ชิตยวงศ์ สมาคมส่งเสริมชาวนาและเกษตรกรไทย นายเสรี มัดต่อเห็ด อุปนายกสมาคมเครือข่ายชาวนาไทย นายธีร์วริศ  พรพันธ์วริศ นายกสมาคมส่งเสริมเกษตรกรชาวนาอีสาน นายสัมฤทธิ์  คิมณารักษ์ อุปนายกสมาคมเกษตรกรไทย และนายระวี  รุ่งเรือง รองประธานกรรมการกลางศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ เพื่อ ขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้าว พ.ศ. .... ให้เป็นกฎหมาย ทั้งนี้ ทาง 5 สมาคมเครือข่ายชาวนาฯ เห็นว่า สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการคุ้มครองดูแลชาวนาไทยเป็นการเฉพาะ และทำให้ชาวนามีเครื่องมือในการหารือกับผู้ประกอบการโรงสี พ่อค้าคนกลาง และภาครัฐ อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวนาไทยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมา เคยมีการเสนอร่างกฎหมายข้าวมาแล้วหลายรัฐบาล แต่ก็ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาในขณะนั้น ดังนั้น จึงคาดหวังว่า สนช. จะผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว ก่อนรัฐบาลชุดนี้จะหมดวาระการทำงานลง

      นายพีระศักดิ์ กล่าวว่า จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของ สนช. โดย สนช.ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายข้าวฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมเสนอแนะอันจะนำไปสู่การออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่องข้าวนั้น นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความห่วงใยชาวนาโดยให้ช่วยดูแลชาวนาซึ่งเป็นต้นน้ำของเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ขณะนี้ สนช.ได้ยกร่างกฎหมายข้าวเสร็จแล้ว และช่วงบ่ายวันนี้ (20 ส.ค.61) จะส่งร่างกฎหมายให้ประธาน สนช. พิจารณา หากว่าตีความแล้วไม่ใช่กฎหมายการเงิน ก็จะส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ตามกรอบระยะเวลาคาดว่า สนช.จะสามารถพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ให้แล้วเสร็จได้ก่อนหมดวาระการทำงาน


http://www.radioparliament.net/parliament/viewNews.php?nId=9861#.W--W6qdtef1


ผู้ค้าข้าว-โรงสี-ชาวนา รุมค้านร่างกม.ข้าวฉบับใหม่ ชี้ซ้ำซ้อน เพิ่มภาระ โทษแรงไป




https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1229519

พาณิชย์เผยข้าวไทยส่งออกฉลุย
25 ต.ค. 2561 05:30 น.



นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงแนวโน้มการส่งออกข้าวไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 61 ว่า จะยังขยายตัวได้ดี โดยมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป้าหมายการส่งออกข้าวทั้งปี 61 ที่ประเมินไว้ที่ 11 ล้านตันทำได้แน่นอน เพราะการส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-19 ต.ค.61 ทำได้แล้ว 8.932 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.71% คิดเป็นมูลค่า 4,606 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 21.20% คิดเป็นเงินบาท 147,346 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.56% ขณะที่อินเดียยังเป็นผู้ส่งออกปริมาณมากที่สุดของโลก โดยวันที่ 1 ม.ค.-2 ต.ค.61 ส่งออกได้แล้ว 9.21 ล้านตัน

สำหรับปัจจัยที่จะทำให้การส่งออกข้าวเป็นไปตามเป้าหมาย มาจากไทยยังค้างการส่งมอบภายใต้สัญญารัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับจีนในงวดที่ 6 ภายใต้สัญญา 1 ล้านตัน เป็นข้าวขาว 5% ปริมาณ 100,000 ตัน มูลค่า 1,400 ล้านบาท คาดว่าจะส่งมอบได้เสร็จกลางเดือน พ.ย.61 และยังได้มีหนังสือถึงจีน เพื่อเร่งรัดให้เจรจาเรื่องราคาและการส่งมอบข้าวอีก 100,000 ตันในงวดที่ 7 ด้วย หากตกลงกันได้จะช่วยกระตุ้นการส่งออกได้

นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าไทยจะชนะการประมูลขายข้าวให้กับฟิลิปปินส์ โดยปีนี้ฟิลิปปินส์ตั้งเป้าหมายเปิดประมูล 3 ครั้ง ครั้งละ 250,000 ตัน รวม 750,000 ตัน โดยเปิดประมูลครั้งแรกวันที่ 18 ต.ค.61 กำหนดส่งมอบเดือน พ.ย.61 ซึ่งไทยชนะประมูล 18,000 ตัน เวียดนาม 28,000 ตัน ส่วน 2 ครั้งหลัง กำหนดส่งมอบเดือน มี.ค.62 คาดจะเปิดประมูลวันที่ 8 พ.ย. และวันที่ 22 พ.ย.นี้ และยังขายข้าวให้กับญี่ปุ่นที่เปิดประมูลตั้งแต่เดือน ก.ค.-ต.ค.61 ได้กว่า 87,000 ตัน.

https://www.thairath.co.th/content/1402938


ข้าวส่งออกนอกไตรมาสสุดท้ายสดใส ออเดอร์ทะลัก มั่นใจถึงเป้า 11 ล้านตัน

โดย ไทยรัฐออนไลน์

24 ต.ค. 2561 14:50 น.

กรมการค้าต่างประเทศ เผย ส่งออกข้าวไตรมาสสุดท้ายปี 61 ยังสดใส เหตุออเดอร์ยังทะลัก ทั้งจีทูจี และเอกชน มั่นใจทั้งปีเข้าเป้า 11 ล้านตัน หลังยอดส่งออกเกือบ 10 เดือนทำได้แล้ว 8.932 ล้านตัน... 

เมื่อวันที่ 24 ต.ค.2561 นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงแนวโน้มการส่งออกข้าวไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 61 ว่า จะยังขยายตัวได้ดี โดยมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป้าหมายการส่งออกข้าวทั้งปี 61 ที่ประเมินไว้ที่ 11 ล้านตันทำได้แน่นอน เพราะการส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-19 ต.ค.61 ทำได้แล้ว 8.932 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.71% คิดเป็นมูลค่า 4,606 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 21.20% คิดเป็นเงินบาท 147,346 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.56% ขณะที่อินเดียยังเป็นผู้ส่งออกปริมาณมากที่สุดของโลก โดยวันที่ 1 ม.ค.-2 ต.ค.61 ส่งออกได้แล้ว 9.21 ล้านตัน

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวต่อว่า สำหรับปัจจัยที่จะทำให้การส่งออกข้าวเป็นไปตามเป้าหมาย มาจากไทยยังค้างการส่งมอบภายใต้สัญญารัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับจีนในงวดที่ 6 ภายใต้สัญญา 1 ล้านตัน เป็นข้าวขาว 5% ปริมาณ 100,000 ตัน มูลค่า 1,400 ล้านบาท คาดว่าจะส่งมอบได้เสร็จกลางเดือนพ.ย.61 และยังได้มีหนังสือถึงจีน เพื่อเร่งรัดให้เจรจาเรื่องราคาและการส่งมอบข้าวอีก 100,000 ตันในงวดที่ 7 ด้วย หากตกลงกันได้ จะช่วยกระตุ้นการส่งออกได้

นายอดุลย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าไทยจะชนะการประมูลขายข้าวให้กับฟิลิปปินส์ โดยปีนี้ฟิลิปปินส์ตั้งเป้าหมายเปิดประมูล 3 ครั้งๆ ละ 250,000 ตัน รวม 750,000 ตัน โดยเปิดประมูลครั้งแรกวันที่ 18 ต.ค.61 กำหนดส่งมอบเดือนพ.ย.61 ซึ่งไทยชนะประมูล 18,000 ตัน เวียดนาม 28,000 ตัน ส่วน 2 ครั้งหลัง กำหนดส่งมอบเดือนมี.ค.62 คาดจะเปิดประมูลวันที่ 8 พ.ย. และวันที่ 22 พ.ย.นี้ และยังขายข้าวให้กับญี่ปุ่นที่เปิดประมูลตั้งแต่เดือนก.ค.-ต.ค.61 ได้กว่า 87,000 ตัน 

นอกจากการส่งมอบข้าวภายใต้สัญญาจีทูจี และแนวโน้มที่ไทยจะชนะประมูลขายข้าวให้กับฟิลิปปินส์แล้ว ยังมีคำสั่งซื้อจากตลาดต่างๆ เข้ามายังภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง เป็นผลดีต่อราคาข้าวเปลือกของไทยที่กำลังออกสู่ตลาด ที่ราคาจะสูงขึ้น ล่าสุดราคาข้าวเปลือกเจ้าอยู่ที่ตันละ 7,600-7,700 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 14,000-17,000 บาท ขณะที่ราคาส่งออกแบบเอฟโอบี (ณ ท่าเรือ) ข้าวขาวตันละ 413 เหรียญฯ และข้าวหอมมะลิตันละ 1,114 เหรียญฯ” อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าว



นายอดุลย์ กล่าวต่อถึงการสร้างความเชื่อมั่นและขยายตลาดข้าวไทยว่า กรมฯ มีแผนจะจัดประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดต่างๆ โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ข้าวคุณลักษณะพิเศษ เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสังข์หยด และข้าว กข43 และผลิตภัณฑ์ข้าว โดยจะจัดคณะผู้แทนการค้าข้าวไปเจรจากับผู้นำเข้าฮ่องกง และเชิญผู้นำเข้าข้าวฮ่องกงมาเจรจาซื้อขายข้าวกับผู้ส่งออกไทย, จัดคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาขยายตลาดข้าวไทยที่สิงคโปร์ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐฯ แคนาดา แอฟริกา และโอเชียเนีย, การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เป็นต้น

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีข้าวอังกอร์ของกัมพูชาและข้าวหอมเวียดนาม ได้ลำดับที่ 1 และ 2 ในการประกวดข้าวดีเด่นของโลกปี 61 และข้าวหอมมะลิไทยได้อันดับ 3 นั้น การตัดสินขึ้นอยู่กับรสนิยมของกรรมการเป็นหลัก ที่ใช้เกณฑ์ตัดสิน ได้แก่ กลิ่น รสชาติ ความเหนียวนุ่ม และรูปร่าง แต่ไม่ได้สะท้อนคุณภาพที่แท้จริงของข้าว โดยข้าวหอมมะลิไทยยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลก และยังคงส่งออกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

https://www.thairath.co.th/content/1402546#cxrecs_s

ชาวนาทำไมจะไม่ชอบใจพ.ร.บ.ข้าว เพราะมีแต่ปกป้องข้าวและชาวนาไทย

ส่วนผลผลิตข้าวไทยก็ส่งออกได้ฉลุยไปเลยค่ะ  ปีนี้ไม่ได้ที่ 2 ก็เป็นที่ 1 แน่นอนค่ะ

ชาวนามีแต่เรื่องดีๆเป็นปีทองจริงๆ  ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ดูแลค่ะ

แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  การเมือง รัฐบาล กระทรวงพาณิชย์
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่