รายงานเปิดเผยว่าเอฟเอวางแผนจะปรับมาตรการใหม่ต้อนรับเบร็กซิท ด้วยการลดโควต้านักเตะต่างชาติของทีมในพรีเมียร์ลีกเหลือ 12 คนเปิดทางให้มีนักเตะโฮมโกรว์นมากขึ้น
เดอะ ไทม์สระบุว่าแผนการปรับเปลี่ยนครั้งนี้จะยื่นให้ 20 สโมสรบนลีกสูงสุดทราบในสัปดาห์นี้ โดยจะเป็นการลดจำนวนโควต้านักเตะต่างชาติลงเหลือแค่มากสุด 12 คนจากเดิม 17 คน
หากการปรับเปลี่ยนเกิดขึ้นจริงก็จะส่งผลกับหลายสโมสรในพรีเมียร์ลีก หลังตอนนี้มีอยู่ 13 ทีมที่ลงทะเบียนนักเตะต่างชาติในทีมชุดใหญ่เอาไว้เกิน 12 คน
แมนเชสเตอร์ ซิตี้และท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์คือสองสโมสรที่มีนักเตะต่างชาติลงทะเบียนไว้ 17 คน ส่วนเชลซีกับลิเวอร์พูลมีอยู่ 16 คน
การแยกตัวจากอียูของสหราชอาณาจักรกำลังนับถอยหลังอยู่ตอนนี้ ทำให้สโมสรในพรีเมียร์ลีกต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน หากพวกเขาหาข้อตกลงกับเอฟเอไม่ได้
ถ้าไม่มีข้อตกลงเกิดขึ้น นักเตะจากในประเทศกลุ่มอียูอาจต้องผ่านกระบวนการเดียวกับนักเตะนอกอียูเพื่อขอเวิร์ค เพอร์มิตสำหรับการค้าแข้งในแดนผู้ดี
จากรายงานระบุว่าเอฟเอจะมอบใบรับรองจากองค์กรเพื่อใช้ในการขอเวิร์ค เพอร์มิตให้กับนักเตะต่างชาติทุกคนที่จะเซ็นกับทีมในพรีเมียร์ลีก เป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มโคว้ตานักเตะโฮมโกรว์น
เอฟเอเชื่อว่าการทำแบบนี้จะยังทำให้นักเตะต่างชาติย้ายสู่อังกฤษได้อย่างต่อเนื่องและรักษาความนิยมจากทั่วโลกไว้ ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มจำนวนนักเตะอังกฤษไปด้วยในตัว
ในตอนนี้นักเตะที่ได้รับการพิจารณาให้เป็น"โฮมโกรว์น"นั้นเกิดในต่างแดนก็ได้ แต่ต้องใช้เวลากับอคาเดมี่ของทีมในอังกฤษหรือเวลส์เป็นเวลา 3 ปีในช่วงอายุ 16-21 ปี
กระนั้นหลังจากเกิดเบร็กซิทแล้ว สโมสรจะต้องรอให้นักเตะดาวรุ่งในยุโรปอายุครบ 18 ปีก่อนถึงเซ็นสัญญาได้
เชื่อว่ารัฐบาลเองก็ยินดีที่จะไฟเขียวให้กับกฏใหม่หากเอฟเอและพรีเมียร์ลีกหาข้อตกลงกันได้ แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นตอนสหราชอาณาจักรแยกตัว แผนต่างๆจะเข้าสู่ช่วงปรับเปลี่ยนที่ยาวไปจนถึงสิ้นปี 2020
ถึงอย่างนั้นทั้งสองฝ่ายยังหาข้อตกลงกันไม่ได้ โดยเชื่อกันว่าผู้บริหารพรีเมียร์ลีกอยากให้เวิร์ค เพอร์มิตอนุมัติให้กับนักเตะทุกคนโดยไม่สนกฏปัจจุบันที่พิจารณาด้วยจำนวนการติดทีมชาติ, อันดับทีมชาติในฟีฟ่าแรงค์กิ้งของนักเตะคนนั้น, ค่าตัวและค่าเหนื่อย
ขณะที่เอฟเออยากให้เบร็กซิทเป็นโอกาสในการเพิ่มจำนวนนักเตะอังกฤษบนลีกสูงสุด หลังแข้งผู้ดีที่ออกสตาร์ทในเกมพรีเมียร์ลีกเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนนั้นมีแค่ 62 คนหรือคิดเป็น 28 เปอร์เซนต์
อย่างไรก็ตามเอฟเอไม่อยากทำให้ความสามารถในการดึงยอดนักเตะจากต่างแดนของสโมสรต้องได้รับผลกระทบไปด้วย
โฆษกของรัฐบาลอังกฤษบอกกับเดอะ ไทม์สว่า "เราตระหนักถึงความต้องการของกีฬา, รวมถึงฟุตบอล, ที่ยังอยากจะเข้าถึงคนที่มีพรสวรรค์จากอียูและทั่วโลก แล้วเรากำลังพูดคุยกับองค์กรกีฬาต่างๆถึงเรื่องนี้"
แมนฯ ซิตี้, เชลซีและทีมที่เหลือในพรีเมียร์ลีกจะได้รับรายละเอียดเกี่ยวกับแผนนี้แบบเต็มๆในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้
นอกจากนี้รายงานระบุว่าเอฟเอยังแฮปปี้กับกฏของลีกรองลงมา ซึ่งบังคับให้มีนักเตะโฮมโกรว์น 7 คนจากทั้งตัวจริงและสำรองในแต่ละเกม
จำนวนนักเตะต่างชาติของแต่ละทีมในพรีเมียร์ลีกตอนนี้
17 คน - แมนฯ ซิตี้, สเปอร์ส, ไบรจ์ตัน, ฮัดเดอร์สฟิลด์, วัตฟอร์ด
16 คน - เชลซี, ลิเวอร์พูล, ฟูแล่ม, เวสต์แฮม
15 คน - อาร์เซน่อล
14 คน - แมนฯ ยูไนเต็ด, นิวคาสเซิ่ล
13 คน - เลสเตอร์
12 คน - คริสตัล พาเลซ, วูลฟ์ส
11 คน - เซาแธมป์ตัน
10 คน - เอฟเวอร์ตัน
7 คน - คาร์ดิฟฟ์
6 คน - เบิร์นลี่ย์
5 คน - บอร์นมัธ
credit : www.soccersuck.com
เผย'เอฟเอ'เล็งลดโควต้าต่างชาติในพรีเมียร์เหลือทีมละ 12 คน
เดอะ ไทม์สระบุว่าแผนการปรับเปลี่ยนครั้งนี้จะยื่นให้ 20 สโมสรบนลีกสูงสุดทราบในสัปดาห์นี้ โดยจะเป็นการลดจำนวนโควต้านักเตะต่างชาติลงเหลือแค่มากสุด 12 คนจากเดิม 17 คน
หากการปรับเปลี่ยนเกิดขึ้นจริงก็จะส่งผลกับหลายสโมสรในพรีเมียร์ลีก หลังตอนนี้มีอยู่ 13 ทีมที่ลงทะเบียนนักเตะต่างชาติในทีมชุดใหญ่เอาไว้เกิน 12 คน
แมนเชสเตอร์ ซิตี้และท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์คือสองสโมสรที่มีนักเตะต่างชาติลงทะเบียนไว้ 17 คน ส่วนเชลซีกับลิเวอร์พูลมีอยู่ 16 คน
การแยกตัวจากอียูของสหราชอาณาจักรกำลังนับถอยหลังอยู่ตอนนี้ ทำให้สโมสรในพรีเมียร์ลีกต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน หากพวกเขาหาข้อตกลงกับเอฟเอไม่ได้
ถ้าไม่มีข้อตกลงเกิดขึ้น นักเตะจากในประเทศกลุ่มอียูอาจต้องผ่านกระบวนการเดียวกับนักเตะนอกอียูเพื่อขอเวิร์ค เพอร์มิตสำหรับการค้าแข้งในแดนผู้ดี
จากรายงานระบุว่าเอฟเอจะมอบใบรับรองจากองค์กรเพื่อใช้ในการขอเวิร์ค เพอร์มิตให้กับนักเตะต่างชาติทุกคนที่จะเซ็นกับทีมในพรีเมียร์ลีก เป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มโคว้ตานักเตะโฮมโกรว์น
เอฟเอเชื่อว่าการทำแบบนี้จะยังทำให้นักเตะต่างชาติย้ายสู่อังกฤษได้อย่างต่อเนื่องและรักษาความนิยมจากทั่วโลกไว้ ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มจำนวนนักเตะอังกฤษไปด้วยในตัว
ในตอนนี้นักเตะที่ได้รับการพิจารณาให้เป็น"โฮมโกรว์น"นั้นเกิดในต่างแดนก็ได้ แต่ต้องใช้เวลากับอคาเดมี่ของทีมในอังกฤษหรือเวลส์เป็นเวลา 3 ปีในช่วงอายุ 16-21 ปี
กระนั้นหลังจากเกิดเบร็กซิทแล้ว สโมสรจะต้องรอให้นักเตะดาวรุ่งในยุโรปอายุครบ 18 ปีก่อนถึงเซ็นสัญญาได้
เชื่อว่ารัฐบาลเองก็ยินดีที่จะไฟเขียวให้กับกฏใหม่หากเอฟเอและพรีเมียร์ลีกหาข้อตกลงกันได้ แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นตอนสหราชอาณาจักรแยกตัว แผนต่างๆจะเข้าสู่ช่วงปรับเปลี่ยนที่ยาวไปจนถึงสิ้นปี 2020
ถึงอย่างนั้นทั้งสองฝ่ายยังหาข้อตกลงกันไม่ได้ โดยเชื่อกันว่าผู้บริหารพรีเมียร์ลีกอยากให้เวิร์ค เพอร์มิตอนุมัติให้กับนักเตะทุกคนโดยไม่สนกฏปัจจุบันที่พิจารณาด้วยจำนวนการติดทีมชาติ, อันดับทีมชาติในฟีฟ่าแรงค์กิ้งของนักเตะคนนั้น, ค่าตัวและค่าเหนื่อย
ขณะที่เอฟเออยากให้เบร็กซิทเป็นโอกาสในการเพิ่มจำนวนนักเตะอังกฤษบนลีกสูงสุด หลังแข้งผู้ดีที่ออกสตาร์ทในเกมพรีเมียร์ลีกเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนนั้นมีแค่ 62 คนหรือคิดเป็น 28 เปอร์เซนต์
อย่างไรก็ตามเอฟเอไม่อยากทำให้ความสามารถในการดึงยอดนักเตะจากต่างแดนของสโมสรต้องได้รับผลกระทบไปด้วย
โฆษกของรัฐบาลอังกฤษบอกกับเดอะ ไทม์สว่า "เราตระหนักถึงความต้องการของกีฬา, รวมถึงฟุตบอล, ที่ยังอยากจะเข้าถึงคนที่มีพรสวรรค์จากอียูและทั่วโลก แล้วเรากำลังพูดคุยกับองค์กรกีฬาต่างๆถึงเรื่องนี้"
แมนฯ ซิตี้, เชลซีและทีมที่เหลือในพรีเมียร์ลีกจะได้รับรายละเอียดเกี่ยวกับแผนนี้แบบเต็มๆในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้
นอกจากนี้รายงานระบุว่าเอฟเอยังแฮปปี้กับกฏของลีกรองลงมา ซึ่งบังคับให้มีนักเตะโฮมโกรว์น 7 คนจากทั้งตัวจริงและสำรองในแต่ละเกม
จำนวนนักเตะต่างชาติของแต่ละทีมในพรีเมียร์ลีกตอนนี้
17 คน - แมนฯ ซิตี้, สเปอร์ส, ไบรจ์ตัน, ฮัดเดอร์สฟิลด์, วัตฟอร์ด
16 คน - เชลซี, ลิเวอร์พูล, ฟูแล่ม, เวสต์แฮม
15 คน - อาร์เซน่อล
14 คน - แมนฯ ยูไนเต็ด, นิวคาสเซิ่ล
13 คน - เลสเตอร์
12 คน - คริสตัล พาเลซ, วูลฟ์ส
11 คน - เซาแธมป์ตัน
10 คน - เอฟเวอร์ตัน
7 คน - คาร์ดิฟฟ์
6 คน - เบิร์นลี่ย์
5 คน - บอร์นมัธ
credit : www.soccersuck.com