ทันทีที่ผมทราบข่าวเศร้าการจากไปของ Stan Lee คุณปู่ของวงการการ์ตูนแนวซุปเปอร์ฮีโร่ มันสมองและหัวใจของอาณาจักร Marvel ที่ตอนนี้ไปอยู่ใต้ร่มเงาของ Disney ผมก็หวนนึกถึงวันเวลาในวัยเด็กที่หลงใหลในการ์ตูนแนวซุปเปอร์ฮีโร่ โดยเฉพาะของค่าย Marvel ที่ชอบเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น Spider-Man, Fantastic Four, Captain America, The Hulk, X-Men, Iron Man และตัวละครอีกมากมายใน Marvel Universe
ผมโตมากับการอ่านหนังสือการ์ตูน Marvel ชอบไปซื้อการ์ตูนมือสองของค่ายนี้จากสนามหลวงสมัยที่ยังมีแผงหนังสือริมคลองหลอดตรงหัวมุมรูปปั้นแม่พระธรณีบีบมวยผม ไม่มีปัญญาซื้อของใหม่เพราะแพงมาก ยอมซื้อมือสองแบบฉีกปกอ่านแทน
จำได้ว่า ตอนเด็กๆ ผมชอบการ์ตูนค่าย Marvel มากกว่า DC ค่ายคู่แข่ง เพราะตัวเอกของ DC สมัยนั้นมักจะเป็นประเภทสมบูรณ์แบบซึ่งหาได้ยากในชีวิตจริง ในขณะที่ตัวเอกของ Marvel จะมีเลือดเนื้อวิญญาณที่สัมผัสได้ในชีวิตจริง เช่น Peter Parker ที่แม้จะเป็น Spider-Man ซุปเปอร์ฮีโร่พละกำลังมหาศาล แต่ในชีวิตประจำวัน กลับเป็นเด็กเนิร์ดสุดๆและต้องเผชิญกับสารพันปัญหาที่วัยรุ่นในสมัยนั้นต้องเจอ เป็นต้น
อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผมชอบการ์ตูนค่าย Marvel คือมักจะสอดแทรกเหตุการณ์สำคัญและบรรยากาศทางสังคมในสมัยนั้นอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเหยียดผิว เรื่องการเรียกร้องความเสมอภาค หรือการต่อต้านสงครามเวียดนาม พูดง่ายๆคือเป็นค่ายการ์ตูนที่มีความเป็นเสรีนิยมค่อนข้างสูง
แต่ Marvel ก็ถูกวิจารณ์เชิงลบเรื่องการชอบเน้นภาพโชว์สรีระผู้หญิงในลีลายั่วยวนแบบเอาใจวัยรุ่นผู้ชายที่เป็นฐานลูกค้าหลัก เป็นภาพลักษณ์ที่มักจะถูกโจมตีจากคนอ่านโดยเฉพาะผู้หญิง
นอกจากนี้ ตัว Stan Lee ก็ตกเป็นข่าวอื้อฉาวเรื่องการไม่ให้เครดิตอย่างที่ควรจะเป็นกับคนที่มีส่วนร่วมสร้างตัวการ์ตูนกับเขามาในยุคบุกเบิก ไม่ว่าจะเป็น Jack Kirby ที่เป็นคนวาดตัวการ์ตูน X-Men, Fantastic Four, Captain America, Thor หรือ Steve Ditko คนวาด Spider-Man และ Doctor Strange จนเป็นคดีฟ้องร้องที่สามารถตกลงกันได้ก่อนจะไปถึงศาลสูงเนื่องจาก Disney ที่กำลังจะเข้าซื้อกิจการ Marvel ไม่ต้องการให้มีคดีติดค้างที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าซื้อกิจการ โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าการ์ตูนหรือ graphic novel เป็น visual art ที่คนแต่งเรื่อง (Stan Lee) และคนที่ช่วยวาดภาพตัวละครตามจินตนาการขึ้นมาและเปรียบเสมือนคนเล่าเรื่องราวด้วยภาพน่าจะมีความสำคัญพอๆกัน แต่ไม่ว่ามุมมองของคนที่สนใจเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร คงปฏิเสธไม่ได้ว่า Stan Lee ยังคงเป็นปุถุชนที่มีจุดอ่อนเหมือนมนุษย์ทั่วไป เปรียบได้กับตัวละครซุปเปอร์ฮีโร่ของเขานั่นเอง
Stan Lee , Jack Kirby และ Steve Ditko ในทศวรรษ 1960
อย่างไรก็ตาม Stan Lee จะยังคงอยู่ในใจผมไปตลอดเพราะได้ยินชื่อนี้ทีไรก็นึกถึงวัยเด็กที่ทุกอย่างล้วนเป็นการเรียนรู้และน่าตื่นเต้นไปหมด
ขอจบบทความไว้อาลัยนี้ด้วยคำอุทานซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Stan Lee สมัยที่ยังเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ Marvel Comics ที่มักจะลงท้ายบทสนทนากับผู้อ่านด้วยคำว่า...
Excelsior! ที่มีความหมายว่า เดินหน้าสู่ความรุ่งโรจน์ยิ่งๆขึ้นไป
อาลัย Stan Lee (1922-2018) คุณปู่แห่งวงการการ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่
ทันทีที่ผมทราบข่าวเศร้าการจากไปของ Stan Lee คุณปู่ของวงการการ์ตูนแนวซุปเปอร์ฮีโร่ มันสมองและหัวใจของอาณาจักร Marvel ที่ตอนนี้ไปอยู่ใต้ร่มเงาของ Disney ผมก็หวนนึกถึงวันเวลาในวัยเด็กที่หลงใหลในการ์ตูนแนวซุปเปอร์ฮีโร่ โดยเฉพาะของค่าย Marvel ที่ชอบเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น Spider-Man, Fantastic Four, Captain America, The Hulk, X-Men, Iron Man และตัวละครอีกมากมายใน Marvel Universe
ผมโตมากับการอ่านหนังสือการ์ตูน Marvel ชอบไปซื้อการ์ตูนมือสองของค่ายนี้จากสนามหลวงสมัยที่ยังมีแผงหนังสือริมคลองหลอดตรงหัวมุมรูปปั้นแม่พระธรณีบีบมวยผม ไม่มีปัญญาซื้อของใหม่เพราะแพงมาก ยอมซื้อมือสองแบบฉีกปกอ่านแทน
จำได้ว่า ตอนเด็กๆ ผมชอบการ์ตูนค่าย Marvel มากกว่า DC ค่ายคู่แข่ง เพราะตัวเอกของ DC สมัยนั้นมักจะเป็นประเภทสมบูรณ์แบบซึ่งหาได้ยากในชีวิตจริง ในขณะที่ตัวเอกของ Marvel จะมีเลือดเนื้อวิญญาณที่สัมผัสได้ในชีวิตจริง เช่น Peter Parker ที่แม้จะเป็น Spider-Man ซุปเปอร์ฮีโร่พละกำลังมหาศาล แต่ในชีวิตประจำวัน กลับเป็นเด็กเนิร์ดสุดๆและต้องเผชิญกับสารพันปัญหาที่วัยรุ่นในสมัยนั้นต้องเจอ เป็นต้น
อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผมชอบการ์ตูนค่าย Marvel คือมักจะสอดแทรกเหตุการณ์สำคัญและบรรยากาศทางสังคมในสมัยนั้นอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเหยียดผิว เรื่องการเรียกร้องความเสมอภาค หรือการต่อต้านสงครามเวียดนาม พูดง่ายๆคือเป็นค่ายการ์ตูนที่มีความเป็นเสรีนิยมค่อนข้างสูง
แต่ Marvel ก็ถูกวิจารณ์เชิงลบเรื่องการชอบเน้นภาพโชว์สรีระผู้หญิงในลีลายั่วยวนแบบเอาใจวัยรุ่นผู้ชายที่เป็นฐานลูกค้าหลัก เป็นภาพลักษณ์ที่มักจะถูกโจมตีจากคนอ่านโดยเฉพาะผู้หญิง
นอกจากนี้ ตัว Stan Lee ก็ตกเป็นข่าวอื้อฉาวเรื่องการไม่ให้เครดิตอย่างที่ควรจะเป็นกับคนที่มีส่วนร่วมสร้างตัวการ์ตูนกับเขามาในยุคบุกเบิก ไม่ว่าจะเป็น Jack Kirby ที่เป็นคนวาดตัวการ์ตูน X-Men, Fantastic Four, Captain America, Thor หรือ Steve Ditko คนวาด Spider-Man และ Doctor Strange จนเป็นคดีฟ้องร้องที่สามารถตกลงกันได้ก่อนจะไปถึงศาลสูงเนื่องจาก Disney ที่กำลังจะเข้าซื้อกิจการ Marvel ไม่ต้องการให้มีคดีติดค้างที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าซื้อกิจการ โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าการ์ตูนหรือ graphic novel เป็น visual art ที่คนแต่งเรื่อง (Stan Lee) และคนที่ช่วยวาดภาพตัวละครตามจินตนาการขึ้นมาและเปรียบเสมือนคนเล่าเรื่องราวด้วยภาพน่าจะมีความสำคัญพอๆกัน แต่ไม่ว่ามุมมองของคนที่สนใจเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร คงปฏิเสธไม่ได้ว่า Stan Lee ยังคงเป็นปุถุชนที่มีจุดอ่อนเหมือนมนุษย์ทั่วไป เปรียบได้กับตัวละครซุปเปอร์ฮีโร่ของเขานั่นเอง
อย่างไรก็ตาม Stan Lee จะยังคงอยู่ในใจผมไปตลอดเพราะได้ยินชื่อนี้ทีไรก็นึกถึงวัยเด็กที่ทุกอย่างล้วนเป็นการเรียนรู้และน่าตื่นเต้นไปหมด
ขอจบบทความไว้อาลัยนี้ด้วยคำอุทานซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Stan Lee สมัยที่ยังเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ Marvel Comics ที่มักจะลงท้ายบทสนทนากับผู้อ่านด้วยคำว่า...
Excelsior! ที่มีความหมายว่า เดินหน้าสู่ความรุ่งโรจน์ยิ่งๆขึ้นไป