สมองของนัก Beatbox มืออาชีพกับนักกีต้าร์ตอบสนองต่อเสียงดนตรีไปในทางที่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับแต่ละคนหรือกับคนที่ไม่ได้เป็นนักดนตรี
งานวิจัยได้มีการตีพิมพ์ใน Cerebral Cortex และได้รับทุนโดย Wellcome Sheds โดยทำการวิจัยว่า จะทำการเรียนรู้กระบวนการรับรู้เสียงดนตรีอย่างไร
นักวิจัยพบว่าพื้นที่สมองนั้น มีการควบคุมริมฝีปากให้เคลื่อนไหวเป็นลักษณะเฉพาะเมื่อนัก Beatbox ได้ยินเสียงท่วงทำนองจังหวะ Beatbox ก่อนหน้านี้ ในขณะที่การทำงานของสมองในส่วนของมือนักกีต้าร์ก็มีการเคลื่อนไหวเมื่อพวกเขาได้ฟังเสียงกีต้าร์
“การวิจัยส่วนใหญ่จะโฟกัสไปในเรื่องของการฝึกซ้อมของนักดนตรี ซึ่งพวกเขาได้รับการบ่มเพาะเรื่องรู้มาตั้งแต่วัยเด็ก แต่พวกเราพบว่า นัก Beatbox มืออาชีพกับนักกีต้าร์ก็มีการเผยให้เห็นถึงการทำงานของสมองแบบเดียวกับนักดนตรีคลาสสิก” กล่าวโดย Dr.Saloni Krishnan
“พวกเราตื่นเต้นมากที่ค้นพบว่า ประสบการณ์ของพวกเขาชี้ให้เห็นถึงการผลิตเสียงดนตรีให้พวกเราได้รับรู้ บางทีก็อธิบายได้ว่า ทำไมนักดนตรีมืออาชีพสามาถปรับเสียงโทนได้อย่างเป็นมืออาชีพ จนเป็นเรื่องง่ายที่จะเล่นดนตรีที่ซับซ้อนโดยที่ไม่ต้องคิดถึงตัวโน้ตแต่ละตัวเลย” เธอกล่าว
นักวิจัยได้นำผู้คนกว่า 60 คนร่วมงานวิจัย โดยแต่ละคนก็จะถูกแบ่งออกเป็นคนที่ไม่ใช่นักดนตรี เป็นนัก Beatbox มืออาชีพและเป็นนักกีต้าร์มืออาชีพ โดยนักดนตรีที่เป็นมืออาชีพก็มีประสบการณ์โดยเฉลี่ยประมาณ 8-9 ปี
ในขณะที่ทำการสแกนด้วย MRI นั้น ผู้เข้าร่วมก็ได้ฟังเสียงบันทึก Beatbox กับเสียงกีต้าร์ ด้วยเหตุนี้พวกเขาฟังเสียงดนตรีไม่เหมือนกัน โดยเสียง Beatbox ก็ผลิตโดย Harry Yeff ซึ่งก็เป็นผู้ร่วมทำงานวิจัยนี้ด้วย
ทีมนักวิจัยพบว่า เครื่องตรวจจับความถี่พื้นที่สมองมีการควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งส่งผลต่อสมองของนักดนตรี แต่ไม่ส่งผลต่อสมองของคนที่ไม่ใช่นักดนตรี ซึ่งก็เป็นความจริงเมื่อนักดนตรีได้ฟังเสียงบันทึกด้วยเสียงที่พวกเขาเล่นดนตรีชนิดนั้นๆ นักวิจัยกล่าวว่า พื้นที่สมองมีความเชื่อมโยงต่อการเคลื่อนไหวจนสร้างเป็นเสียงดนตรีขึ้นมาได้ โดยเป็นดนตรีที่นักดนตรีกำลังได้ยินอยู่
เช่นกันทีมนักวิจัยก็ได้ทำการสังเกตว่า มีการทำงานบริเวณพื้นที่สมองมากขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษากับการได้ยินเสียงที่ซับซ้อน โดยมีความเชื่อมโยงไปถึงการมองภาพหรืออ่าน “พวกเราพบว่า การรับรู้นี้มีความเชื่อมโยงกันเมื่อคุณได้ยินเสียงเครื่องดนตรีที่คุณเล่นได้ และเผยให้เห็นว่าความชำนาญช่วยให้สมองของคุณตอบสนองต่อเสียงดนตรีดียิ่งขึ้น ชี้ให้เห็นว่า การศึกษาทางด้านดนตรีเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ ตัวอย่างนี้ก็เกิดจาการตอบสนองของสมอง” กล่าวโดย Sophie Scott
นัก Beatbox และผู้ทำงานวิจัยร่วมอย่าง Harry Yeff ก็ได้ให้ความเห็นว่า “งานวิจัยนี้เผยให้เห็นว่า ความสามารถในการรับรู้สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์หรือรับฟังผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ น่าแปลกใจที่การเล่น Beatbox ในปี 2018 ก็รวมไปถึงเทคนิคการใช้น้ำเสียงด้วย เป็นความท้าทายในการใช้น้ำเสียงที่มีอยู่ก่อนหน้านี้
“งานวิจัยนี้ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การเล่น Beatbox เป็นการเรียนรู้การใช้น้ำเสียงของมนุษย์หลากหลายรูปแบบที่กลั่นออกมาจากความคิดของพวกเราที่เชื่อมโยงกับการใช้ร่างกายของพวกเรา”
นักวิจัยกล่าวว่า การค้นพบต่างๆนี้จะช่วยให้ทำความเข้าใจเครือข่ายของสมองที่เชื่อมโยงกับการรับรู้ทางเสียง ซึ่งก็อาจจะอธิบายได้ถึงการใช้คำพูดหรือภาษาบำบัด
“บางทียิ่งมีการวิจัยพวกนี้มากขึ้น ก็จะยิ่งบอกพวกเราว่า การ Beatbox อาจเป็นรูปแบบการผลิตน้ำเสียงของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับการใช้เสียงพูด โดยเฉพาะกับคนที่สูญเสียความสามารถทางด้านการพูด” Scott กล่าวเพิ่มเติม
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
สมองของนัก Beatbox กับนักกีต้าร์มีการตอบสนองการฟังเสียงดนตรีไปในทางที่แตกต่างกัน
สมองของนัก Beatbox มืออาชีพกับนักกีต้าร์ตอบสนองต่อเสียงดนตรีไปในทางที่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับแต่ละคนหรือกับคนที่ไม่ได้เป็นนักดนตรี
งานวิจัยได้มีการตีพิมพ์ใน Cerebral Cortex และได้รับทุนโดย Wellcome Sheds โดยทำการวิจัยว่า จะทำการเรียนรู้กระบวนการรับรู้เสียงดนตรีอย่างไร
นักวิจัยพบว่าพื้นที่สมองนั้น มีการควบคุมริมฝีปากให้เคลื่อนไหวเป็นลักษณะเฉพาะเมื่อนัก Beatbox ได้ยินเสียงท่วงทำนองจังหวะ Beatbox ก่อนหน้านี้ ในขณะที่การทำงานของสมองในส่วนของมือนักกีต้าร์ก็มีการเคลื่อนไหวเมื่อพวกเขาได้ฟังเสียงกีต้าร์
“การวิจัยส่วนใหญ่จะโฟกัสไปในเรื่องของการฝึกซ้อมของนักดนตรี ซึ่งพวกเขาได้รับการบ่มเพาะเรื่องรู้มาตั้งแต่วัยเด็ก แต่พวกเราพบว่า นัก Beatbox มืออาชีพกับนักกีต้าร์ก็มีการเผยให้เห็นถึงการทำงานของสมองแบบเดียวกับนักดนตรีคลาสสิก” กล่าวโดย Dr.Saloni Krishnan
“พวกเราตื่นเต้นมากที่ค้นพบว่า ประสบการณ์ของพวกเขาชี้ให้เห็นถึงการผลิตเสียงดนตรีให้พวกเราได้รับรู้ บางทีก็อธิบายได้ว่า ทำไมนักดนตรีมืออาชีพสามาถปรับเสียงโทนได้อย่างเป็นมืออาชีพ จนเป็นเรื่องง่ายที่จะเล่นดนตรีที่ซับซ้อนโดยที่ไม่ต้องคิดถึงตัวโน้ตแต่ละตัวเลย” เธอกล่าว
นักวิจัยได้นำผู้คนกว่า 60 คนร่วมงานวิจัย โดยแต่ละคนก็จะถูกแบ่งออกเป็นคนที่ไม่ใช่นักดนตรี เป็นนัก Beatbox มืออาชีพและเป็นนักกีต้าร์มืออาชีพ โดยนักดนตรีที่เป็นมืออาชีพก็มีประสบการณ์โดยเฉลี่ยประมาณ 8-9 ปี
ในขณะที่ทำการสแกนด้วย MRI นั้น ผู้เข้าร่วมก็ได้ฟังเสียงบันทึก Beatbox กับเสียงกีต้าร์ ด้วยเหตุนี้พวกเขาฟังเสียงดนตรีไม่เหมือนกัน โดยเสียง Beatbox ก็ผลิตโดย Harry Yeff ซึ่งก็เป็นผู้ร่วมทำงานวิจัยนี้ด้วย
ทีมนักวิจัยพบว่า เครื่องตรวจจับความถี่พื้นที่สมองมีการควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งส่งผลต่อสมองของนักดนตรี แต่ไม่ส่งผลต่อสมองของคนที่ไม่ใช่นักดนตรี ซึ่งก็เป็นความจริงเมื่อนักดนตรีได้ฟังเสียงบันทึกด้วยเสียงที่พวกเขาเล่นดนตรีชนิดนั้นๆ นักวิจัยกล่าวว่า พื้นที่สมองมีความเชื่อมโยงต่อการเคลื่อนไหวจนสร้างเป็นเสียงดนตรีขึ้นมาได้ โดยเป็นดนตรีที่นักดนตรีกำลังได้ยินอยู่
เช่นกันทีมนักวิจัยก็ได้ทำการสังเกตว่า มีการทำงานบริเวณพื้นที่สมองมากขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษากับการได้ยินเสียงที่ซับซ้อน โดยมีความเชื่อมโยงไปถึงการมองภาพหรืออ่าน “พวกเราพบว่า การรับรู้นี้มีความเชื่อมโยงกันเมื่อคุณได้ยินเสียงเครื่องดนตรีที่คุณเล่นได้ และเผยให้เห็นว่าความชำนาญช่วยให้สมองของคุณตอบสนองต่อเสียงดนตรีดียิ่งขึ้น ชี้ให้เห็นว่า การศึกษาทางด้านดนตรีเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ ตัวอย่างนี้ก็เกิดจาการตอบสนองของสมอง” กล่าวโดย Sophie Scott
นัก Beatbox และผู้ทำงานวิจัยร่วมอย่าง Harry Yeff ก็ได้ให้ความเห็นว่า “งานวิจัยนี้เผยให้เห็นว่า ความสามารถในการรับรู้สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์หรือรับฟังผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ น่าแปลกใจที่การเล่น Beatbox ในปี 2018 ก็รวมไปถึงเทคนิคการใช้น้ำเสียงด้วย เป็นความท้าทายในการใช้น้ำเสียงที่มีอยู่ก่อนหน้านี้
“งานวิจัยนี้ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การเล่น Beatbox เป็นการเรียนรู้การใช้น้ำเสียงของมนุษย์หลากหลายรูปแบบที่กลั่นออกมาจากความคิดของพวกเราที่เชื่อมโยงกับการใช้ร่างกายของพวกเรา”
นักวิจัยกล่าวว่า การค้นพบต่างๆนี้จะช่วยให้ทำความเข้าใจเครือข่ายของสมองที่เชื่อมโยงกับการรับรู้ทางเสียง ซึ่งก็อาจจะอธิบายได้ถึงการใช้คำพูดหรือภาษาบำบัด
“บางทียิ่งมีการวิจัยพวกนี้มากขึ้น ก็จะยิ่งบอกพวกเราว่า การ Beatbox อาจเป็นรูปแบบการผลิตน้ำเสียงของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับการใช้เสียงพูด โดยเฉพาะกับคนที่สูญเสียความสามารถทางด้านการพูด” Scott กล่าวเพิ่มเติม
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com