ควบคุมงานฐานราก รู้ทันผู้รับเหมา

เมื่องานก่อสร้างบ้านของเราได้ทำการตอกเสาเข็มแล้ว ส่วนของงานที่ดำเนินการต่อไป คือ งานฐานราก
( กรณีนี้เป็นบ้านเดี่ยว ใช้เสาเข็มเดี่ยว และ เข็มคู่ )

งานฐานราก คือ งานที่มีความสำคัญที่สุด โดยจะสรุปเป็นขันตอนดั้งนี้

1. งานขุดดิน หาตำแหน่งเสาเข็ม งานตัดหัวเข็ม
2. งานตอกผังหากริดไลน์ ของฐานรากแต่ละต้น
3. งานดิ่งหาศูนย์เสาหรือตำแหน่งของฐานราก
   ( ปัญหาคือ ศูนย์เสา,ฐานราก ไม่ตรงกัน กับศูนย์เสาเข็ม มีการเยื้องศูนย์กัน ทำให้เกิดแรงดัดในเสาเข็ม เสาเข็มอาจหักได้ เนื่องจากเสาเข็มถูกออกแบบให้รับแรงอัด เพียงอย่างเดียว ต้องแก้ไขโดยการขยายฐานราก หรือ ตอกเสาเข็มเพิ่ม ในกรณีที่ฐานรากไม่นั่งบนเสาเข็ม ทำให้เกิดอาคารทรุดตัวได้)
   ( สิ่งที่เคยเจอ ผู้รับเหมาทำ ทำศูนย์เสา,ฐานราก ให้ตรงกับศูนย์ เสาเข็ม โดย จุดหรือเขียน ตำแหน่งหลอกเรา เพื่อจะได้ไม่ต้องทำการขยายฐานราก แก้งานเหล็กเสริม แก้งานไม้แบบ  เพราะช่างได้ทำใว้แล้วขี้เกียจแก้  งานช้า ใส่ไปทั้งยังงั้น ไม่ได้เซนต์ออกแบบ ควบคุมงานเอง นี่ ไม่ต้องรับผิดชอบด้วย วิศวกรซวย )
   ( เจ้าของบ้านจะต้องตรวจเช็คศูนย์เสา,ฐานราก กับ ศูนย์ เสาเข็ม ให้ดี งานฐานรากแก้ไขยากที่สุด )
4. งานเหล็กเสริมฐานราก , เสา เช็คชนิดเหล็ก ขนาด จำนวน ระยะ Covering ด้วย
5. งานไม้แบบ
6. งานเทคอนกรีต  จะต้องมี lean concrete รอง เพื่อไม่ให้คอนกรีตปนเปื้อนกับโคลนหรือดินทำให้ คอนกรีตคุณภาพลดลงได้
   เช็ค strength และ slump คอนกรีต ( เคยเจอเทฐานรากตอนฝนตกน้ำเต็มฐานรากเลย  ผู้รับเหมาบอกเราว่าเทคอนกรีตไล่น้ำออก  เจอแบบนี้ใช้ไม่ได้นะครับ คอนกรีตจะไม่มีคุณภาพเลย เพราะคอนกรีตที่ใช้กับงานบ้านมัน  ไม่ใช่แบบกับที่ใช้งานพวกเสาตอม่อสะพานใต้น้ำ  ระวังด้วย ต้องยกเลิก เอาคอนกรีตนี้ออกให้หมด
แล้วเทคอนกรีตใหม่ในวันที่อากาศดี )
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่