คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1) ระบบงานซ่อมบำรุงอากาศยานนั้นต่างจากงานในโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ เพราะกฏหมาย พ.ร.บ. การบินกำหนดเอาไว้ว่า “ วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน “ ( Licensed Aircraft Maintenance Engineer ) ผู้ที่จะทำหน้าที่เซ็นต์รับรองงานซ่อมบำรุง และเซ็นต์รับรองปล่อยให้เครื่องบินออกบินได้นั้นจะต้องผ่านการสอบ license หรือที่เรียกว่าใบรับรองนายช่างภาคพื้นดินและได้รับการอบรมเครื่องบินเฉพาะแบบ รุ่นที่ตัวเองเซ็นต์รับรอง และ ยังกำหนดอีกว่าผู้ที่มีสิทธ์ขอสอบ license นั้นจะต้องมีประสบการณ์ ทำงานเป็นช่างซ่อมเครื่องบินอย่างน้อย 4 ปี ยกเว้นผู้จบหลักสูตรนายช่างภาคพื้นดินจากสถาบันการบินเรือน ได้รับสิทธิพิเศษลดเหลือ 2 ปี สายการบินไม่รับนักศึกษาจบใหม่มาทำงานในตำแหน่งนี้นะครับ
คนที่เรียนจบจากสถาบันการบินพลเรือนวุฒิ อนุปริญญา ก็จะไปสมัครงานเป็นช่างซ่อมเครื่องบินตรงตามสายงานที่เรียนมา ส่วนคนที่จบปริญญาตรี วิศวะกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทั่วไป ถ้าอยากจะเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน ก็ต้องไปสมัครงานในตำแหน่งช่างซ่อมเครื่องบิน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องทำงานเป็นช่างเหมือนกับคนที่จบจากสถาบันการบินทุกอย่างครับ
แต่คนที่จบวิศวะกรรมศาสตร์ก็มีโอการสมัครงานในตำแหน่งอื่นอีกนะครับ เช่น วิศวกรวางแผนซ่อมบำรุง หรือ วิศวกรสนับสนุนฝ่ายเทคนิคอันนี้ไม่ต้องมีประสบการณ์มาก่อนก็ทำได้เลย แต่ไม่ได้ทำงานกับเครื่องบินนะครับ เป็นงานออฟฟิสทำเกี่ยวกับเอกสารซะมากกว่า ผมว่าเหมาะกับผู้หญิงดีนะครับ ไม่ต้องลำบากตรากตรำมากนัก แต่รับไม่ค่อยเยอะนะ นานๆจะเปิดรับสักที
เมื่อทำงานในตำแหน่งช่างซ่อมเครื่องบินจนมีประสบการณ์ครบ ก็หาทางไปสอบ license กันเองครับ ทั้งช่างที่จบจากสถาบันการบินหรือจบจากมหาวิทยาลัย มีสิทธิสอบเท่าเทียมกัน ข้อสอบเดียวกัน license ที่ได้มาก็อันเดียวกันครับ หลังจากสอบผ่านแล้วเมื่อถึงวาระอันเหมาะสมสายการบินก็จะส่งเข้าอบรมเครื่องบินเฉพาะแบบ เช่น Airbus A320,A330,A350,A380,หรือ Boeing B737,B777,B787 จากนั้นจึงจะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานครับ ทั้งหมดนี้ใช้เวลาอย่างน้อยๆก็ 5 ปียิ่งถ้าเป็นสายการบินใหญ่ๆมีคนรอคิวกันเยอะก็อาจจะรอนานถึง 8-10 ปีโน่นแหละครับ
2) จบสถาบันการบินหรือจบจากมหาวิทยาลัย ล้วนมีโอกาสในความก้าวหน้าเท่ากันครับ งานซ่อมบำรุงอากาศยานนั้น ความสำเร็จในอาชีพคือการมี license และผ่านการอบรมเครื่องบินเฉพาะแบบ
3) ไม่มีปัญหาเรื่องอายุหรอกครับ 20-21 นี้กำลังดีเลย แต่เวลาไปทำงานอย่าซนมากนักก็แล้วกัน
4) ทั้งสถาบันการบินและมหาวิทยาลัย เรียนจบต้องออกไปหาสมัครงานครับ
5) ข้อได้เปรียบของนักศึกษาที่จบจากสถาบันการบินก็จะเป็น เรื่องทักษะทางช่าง เพราะเรียนในภาคปฏิบัติมามากกว่า เมื่อเริ่มต้นทำงานจะมีความคล่องตัวและเรียนรู้งานได้เร็ว และได้เปรียบเรื่องอายุเพราะเริ่มงานเร็วกว่า แต่ถึงยังไงระยะ 3-4 ปีทุกคนก็ทันกันหมดแหละครับ สุดท้ายขึ้นอยู่กับความกสนใจศึกษาหาความรู้ และความรับผิดชอบในการทำงานมากกว่าครับ
6) ข้อนี้ผมไม่ทราบ ต้องถามที่สถาบันโดยตรงครับ
คนที่เรียนจบจากสถาบันการบินพลเรือนวุฒิ อนุปริญญา ก็จะไปสมัครงานเป็นช่างซ่อมเครื่องบินตรงตามสายงานที่เรียนมา ส่วนคนที่จบปริญญาตรี วิศวะกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทั่วไป ถ้าอยากจะเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน ก็ต้องไปสมัครงานในตำแหน่งช่างซ่อมเครื่องบิน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องทำงานเป็นช่างเหมือนกับคนที่จบจากสถาบันการบินทุกอย่างครับ
แต่คนที่จบวิศวะกรรมศาสตร์ก็มีโอการสมัครงานในตำแหน่งอื่นอีกนะครับ เช่น วิศวกรวางแผนซ่อมบำรุง หรือ วิศวกรสนับสนุนฝ่ายเทคนิคอันนี้ไม่ต้องมีประสบการณ์มาก่อนก็ทำได้เลย แต่ไม่ได้ทำงานกับเครื่องบินนะครับ เป็นงานออฟฟิสทำเกี่ยวกับเอกสารซะมากกว่า ผมว่าเหมาะกับผู้หญิงดีนะครับ ไม่ต้องลำบากตรากตรำมากนัก แต่รับไม่ค่อยเยอะนะ นานๆจะเปิดรับสักที
เมื่อทำงานในตำแหน่งช่างซ่อมเครื่องบินจนมีประสบการณ์ครบ ก็หาทางไปสอบ license กันเองครับ ทั้งช่างที่จบจากสถาบันการบินหรือจบจากมหาวิทยาลัย มีสิทธิสอบเท่าเทียมกัน ข้อสอบเดียวกัน license ที่ได้มาก็อันเดียวกันครับ หลังจากสอบผ่านแล้วเมื่อถึงวาระอันเหมาะสมสายการบินก็จะส่งเข้าอบรมเครื่องบินเฉพาะแบบ เช่น Airbus A320,A330,A350,A380,หรือ Boeing B737,B777,B787 จากนั้นจึงจะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานครับ ทั้งหมดนี้ใช้เวลาอย่างน้อยๆก็ 5 ปียิ่งถ้าเป็นสายการบินใหญ่ๆมีคนรอคิวกันเยอะก็อาจจะรอนานถึง 8-10 ปีโน่นแหละครับ
2) จบสถาบันการบินหรือจบจากมหาวิทยาลัย ล้วนมีโอกาสในความก้าวหน้าเท่ากันครับ งานซ่อมบำรุงอากาศยานนั้น ความสำเร็จในอาชีพคือการมี license และผ่านการอบรมเครื่องบินเฉพาะแบบ
3) ไม่มีปัญหาเรื่องอายุหรอกครับ 20-21 นี้กำลังดีเลย แต่เวลาไปทำงานอย่าซนมากนักก็แล้วกัน
4) ทั้งสถาบันการบินและมหาวิทยาลัย เรียนจบต้องออกไปหาสมัครงานครับ
5) ข้อได้เปรียบของนักศึกษาที่จบจากสถาบันการบินก็จะเป็น เรื่องทักษะทางช่าง เพราะเรียนในภาคปฏิบัติมามากกว่า เมื่อเริ่มต้นทำงานจะมีความคล่องตัวและเรียนรู้งานได้เร็ว และได้เปรียบเรื่องอายุเพราะเริ่มงานเร็วกว่า แต่ถึงยังไงระยะ 3-4 ปีทุกคนก็ทันกันหมดแหละครับ สุดท้ายขึ้นอยู่กับความกสนใจศึกษาหาความรู้ และความรับผิดชอบในการทำงานมากกว่าครับ
6) ข้อนี้ผมไม่ทราบ ต้องถามที่สถาบันโดยตรงครับ
แสดงความคิดเห็น
วิศวะการบินที่มหาลัยทั่วไป Vs สถาบันการบินพลเรือน?
1. ถ้าจบมาแล้วเนี่ยวิศวะที่จบจากมหาลัยก็คือจบมาเป็นวิศวะ แล้ว นศ ที่จบมาจากสถาบันการบินพลเรือนเนี่ยจบมาคือจะได้เป็นวิศวะมั้ยคะ หรือเป็นช่างซ่อม เคยไปอ่านในกระทู้นึงเขาบอกว่า นศ ที่จบมาสถาบินการบินพลเรือนหากสอบ license แล้วสามารถไต่เต้าเป็นวิศวะได้ไม่ยาก จริงหรอคะ?
2. ถ้าเราจบวิศวะการบินจากมหาลัยทั่วไปแล้วไปสอบ license กับ จบจากสถาบันการบินพลเรือนไปแล้วไปสอบ license ตำแหน่งงานไหนสามารถเติบโตได้มากกว่ากันคะ?
3. ถ้าเรียนสถาบันการบินพลเรือน "หลักสูตรอนุปริญญาที่ใช้ระยะเวลา2ปีครึ่ง จบมาแล้วไปทำงานจริงได้" ถ้าเทียบอายุแล้วก็อาจจะอายุประมาณ 20-21 ปี เราจะสามารถเข้าทำงานที่ไหนได้หรอคะ?
4. ถ้าจบจากสถาบันการบินพลเรือนแล้วเนี่ยเขาจะมีงานมาเสนอมั้ยคะ หรือเราต้องไปหาสมัครงานเหมือนคนที่จบ ป.ตรีทั่วไป?
5. นศ ที่จบจากสถาบันการบินพลเรือนมีข้อได้เปรียบจาก นศ ป.ตรีอย่างไรคะ?
6. ถ้าเลือกจะเรียนหลักสูตร2ปีครึ่งจริงๆ เมื่อจบแล้วเลือกเรียนต่อเนื่องสาขาAEE(เรียน4ปี)ที่เดิม คือเราต้องเรียนอีกปีครึ่งเพื่อให้ครบ4ปี หรือเรียนอีก4ปี(รวม6ปี)ถึงจะได้วุฒิ ป.ตรีคะ?
พอดีไม่ค่อยรู้เรื่องของสถานบันการบินพลเรือนเท่าไหร่ หากพิมอะไรผิดไปก็ขออภัยล่วงหน้าด้วยนะคะ