ภาพถ่ายแม่น้ำเจ้าพระยาขณะเรือด่วนเข้าเทียบท่าสี่พระยาราวปี พ.ศ.2530 มองไปฝั่งตรงข้ามเห็นไซโลของบริษัทศรีกรุงและโรงสี 19 ย่านคลองสานตั้งเรียงราย (ปัจุบันคือโรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตันและสถานที่ก่อสร้างโครงการไอคอนสยาม)
บรรยากาศในอดีต ภายในสถานีรถไฟปากคลองสาน สถานีรถไฟสัมปทานเอกชนสายแรกๆ สายหนึ่งของประเทศไทยซึ่งดำเนินสัมปทานโดย
บริษัท ท่าจีนเรวเวลกัมปนีลิมิเต็ดทุนจำกัด เปิดเดินรถวันแรกตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2447 จากสถานีปากคลองสานถึงสถานีมหาชัย ปัจจุบันสถานีคลองสานถูกยกเลิกไปตั้งแต่วันที่1มกราคม2504คงเหลือช่วงทางตั้งแต่สถานีวงเวียนใหญ่-สถานีมหาชัยในปัจจุบัน ขอขอบคุณ ภาพจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และเพจรักษ์คลองสาน
ภาพถ่ายถนนเจริญนครกว่า 50 ปีก่อน ถ่ายจากบริเวณที่ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างศูนย์การคัาไอคอนสยาม แนวต้นไม้คือสถานที่ซึ่งภายหลังก่อสร้างอาคารพานิชย์ริมถนนช่วงเจริญนครซอย 2 ถึงซอย 4 ในปัจจุบัน
ภาพประกอบจากหนังสือสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน
โรงสีสิบเก้า โรงสีข้าว 19 ถ่ายเมื่อปี ค.ศ.1952 (พ.ศ.2495) ภาพโดย Paul (Found Slides), United States
โรงสีสิบเก้า ธนบุรี พ.ศ.2495
อีกมุมหนึ่งของภาพอดีตย่านคลองสาน
ภาพถ่ายโบราณแลเห็นบรรยากาศการสัญจรทางน้ำในคลองสมเด็จเจ้าพระยาหน้าวัดน้อยขำแถม (
วัดอนงคาราม)
ภาพนี้สันนิษฐานว่าถ่ายจากบริเวณแยกที่คลองสมเด็จเจ้าพระยาตัดกับคลองสานบริเวณหน้าวัดพระยาญาติ (
วัดพิชัยญาติ) ในปัจจุบัน
บรรยากาศภายในร้านเอี๊ยบฮั่วไถ่ซึ่งขายของจิปาถะอยู่ในตลาดศิรินทร์ในยุคกว่า40ปีที่แล้ว (ตลาดศิรินทร์อยู่บริเวณเดียวกับโรงสี 19 ในอดีต ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่กำลังก่อสร้างโครงการไอคอนสยาม)
ภาพในอดีตของอาคารที่ว่าการอำเภอคลองสาน(ปัจจุบันคือ สำนักงานเขตคลองสาน) ซึ่งได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอคลองสานในปีพ.ศ.2500 และย้ายที่ว่าการอำเภอจากที่ตั้งเดิมหน้าวัดทองนพคุณ มาสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กพื้นไม้สองชั้นที่ถนนลาดหญ้า ในปีพ.ศ.2503 ซึ่งในขณะนั้น นายกำแหง ทองโกมล ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคลองสาน
ไอคอน สยาม
ไอคอนสยาม (ICONSIAM) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยความร่วมมือของ สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโครงการ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไปในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (วันนี้)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ไอคอนสยาม เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ 50 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างในพื้นที่อันเคยเป็นที่ตั้งของโรงสีสิบเก้า และตลาดศิรินทร์ ซึ่งต่อมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท สยามอรุณ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในเครือศรีกรุงวัฒนา ก่อนที่เครือเจริญโภคภัณฑ์จะซื้อที่ดินนี้รวมถึงบริเวณใกล้เคียง โดยพื้นที่โครงการตั้งอยู่ระหว่างโรงแรมเพนนินซูล่า กรุงเทพ และโรงแรมมิลเลเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ นอกจากนี้ยังอยู่ตรงข้ามกับ โรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน และโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ ด้วย
ไอคอนสยาม มีมูลค่าการลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ 35,000 ล้านบาท ต่อมาเพิ่มเป็น 50,000 ล้านบาท และ 54,000 ล้านบาท ตามลำดับ
นับเป็นการลงทุนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ด้านอสังหาริมทรัพย์ของไทยเมื่อช่วงเปิดตัว (ปัจจุบันสถิตินี้เป็นของโครงการวัน แบงค็อก) โดยครึ่งหนึ่งเป็นเงินลงทุนของบริษัทพันธมิตรทั้งสาม ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นสินเชื่อที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารธนชาต เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งผู้ร่วมทุนทั้งสามบริษัท ได้วางแผนเชื่อมโยงโครงการเข้ากับโรงแรม ศูนย์การค้า และแหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอีกด้วย
โครงการไอคอนสยาม ออกแบบโดยใช้แนวคิด "เมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันดร์" (The Icon of Eternal Prosperity) พื้นที่โครงการประกอบด้วย
อาคารศูนย์การค้า 2 อาคาร (ไอคอนสยาม และไอคอนลักซ์) ออกแบบโดยได้แรงบันดาลใจจากกระทง บายศรี และการห่มสไบ โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้
- ห้างสรรพสินค้าสยามทาคาชิมาย่า สาขาแรกในประเทศไทย พื้นที่ 36,000 ตารางเมตร โดยเป็นสาขานอกประเทศญี่ปุ่นที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด
- ตลาดสุขสยาม
- ไอคอนแอคทีฟ โซนจำหน่ายอุปกรณ์กีฬา แฟชันด้านกีฬา และอุปกรณ์กลางแจ้ง
- ไอคอนเลเจนด์
- ไอคอนคราฟต์ แหล่งรวมงานหัตถศิลป์ฝีมือคนไทย โดยความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ
- แอปเปิลสโตร์ สาขาแรกในประเทศไทย และเป็นสาขาที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อจากประเทศสิงคโปร์[20][21]
- ศูนย์ประชุมและโรงมหรสพอเนกประสงค์ ทรูไอคอน ฮอลล์ ประกอบด้วยโถงประชุมหลัก พื้นที่ 3,006 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 3,000 ที่นั่ง และห้องประชุมย่อยอีก 14 ห้อง (ร่วมทุนกับ ทรู คอร์ปอเรชั่น)
-โรงภาพยนตร์ไอคอน ซีเนคอนิค ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ปจำนวน 14 โรง ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์โฟร์ดีเอ็กซ์ และไอแมกซ์ ระบบละ 1 โรง
- สถานออกกำลังกายไอคอน บาย ฟิตเนสเฟิรส์ท
- ริเวอร์ มิวเซียม แบงค็อก พิพิธภัณฑ์มาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้า โดยได้รับความร่วมมือจากกรมธนารักษ์ และกรมศิลปากร
อาคารที่พักอาศัย 2 อาคาร ได้แก่
แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส แอท ไอคอนสยาม ความสูง 317.95 เมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และทำลายสถิติอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยของตึกคิง เพาเวอร์ มหานคร ที่ 314.2 เมตร เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561
เดอะ เรสซิเดนเซส แมนดาริน โอเรียนเต็ล แบงค็อก แอท ไอคอนสยาม ความสูง 272.20 เมตร เป็นอาคารที่พักอาศัยโดยกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ทแมนดารินโอเรียนเต็ลแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอาคารที่มีความสูงเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]
ลานกิจกรรมริเวอร์พาร์ค ความยาวเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา 500 เมตร นับเป็นทางเดินริมแม่น้ำยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้ยังมีท่าเทียบเรือ บริการเรือรับ-ส่ง จากท่าเรือสำคัญริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริการรถรับ-ส่ง เชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส และร่วมทุนกับกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าเข้ากับศูนย์การค้าอีกด้วย
ชมภาพเก่า ‘ย่านคลองสาน-เจริญนคร’ อดีตโรงสีก่อนเป็นอภิมหาโครงการ ‘ไอคอนสยาม’
ภาพถ่ายแม่น้ำเจ้าพระยาขณะเรือด่วนเข้าเทียบท่าสี่พระยาราวปี พ.ศ.2530 มองไปฝั่งตรงข้ามเห็นไซโลของบริษัทศรีกรุงและโรงสี 19 ย่านคลองสานตั้งเรียงราย (ปัจุบันคือโรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตันและสถานที่ก่อสร้างโครงการไอคอนสยาม)
บรรยากาศในอดีต ภายในสถานีรถไฟปากคลองสาน สถานีรถไฟสัมปทานเอกชนสายแรกๆ สายหนึ่งของประเทศไทยซึ่งดำเนินสัมปทานโดยบริษัท ท่าจีนเรวเวลกัมปนีลิมิเต็ดทุนจำกัด เปิดเดินรถวันแรกตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2447 จากสถานีปากคลองสานถึงสถานีมหาชัย ปัจจุบันสถานีคลองสานถูกยกเลิกไปตั้งแต่วันที่1มกราคม2504คงเหลือช่วงทางตั้งแต่สถานีวงเวียนใหญ่-สถานีมหาชัยในปัจจุบัน ขอขอบคุณ ภาพจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และเพจรักษ์คลองสาน
ภาพถ่ายถนนเจริญนครกว่า 50 ปีก่อน ถ่ายจากบริเวณที่ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างศูนย์การคัาไอคอนสยาม แนวต้นไม้คือสถานที่ซึ่งภายหลังก่อสร้างอาคารพานิชย์ริมถนนช่วงเจริญนครซอย 2 ถึงซอย 4 ในปัจจุบัน
ภาพประกอบจากหนังสือสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน
โรงสีสิบเก้า โรงสีข้าว 19 ถ่ายเมื่อปี ค.ศ.1952 (พ.ศ.2495) ภาพโดย Paul (Found Slides), United States
โรงสีสิบเก้า ธนบุรี พ.ศ.2495
อีกมุมหนึ่งของภาพอดีตย่านคลองสาน
ภาพถ่ายโบราณแลเห็นบรรยากาศการสัญจรทางน้ำในคลองสมเด็จเจ้าพระยาหน้าวัดน้อยขำแถม (วัดอนงคาราม)
ภาพนี้สันนิษฐานว่าถ่ายจากบริเวณแยกที่คลองสมเด็จเจ้าพระยาตัดกับคลองสานบริเวณหน้าวัดพระยาญาติ (วัดพิชัยญาติ) ในปัจจุบัน
บรรยากาศภายในร้านเอี๊ยบฮั่วไถ่ซึ่งขายของจิปาถะอยู่ในตลาดศิรินทร์ในยุคกว่า40ปีที่แล้ว (ตลาดศิรินทร์อยู่บริเวณเดียวกับโรงสี 19 ในอดีต ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่กำลังก่อสร้างโครงการไอคอนสยาม)
ภาพในอดีตของอาคารที่ว่าการอำเภอคลองสาน(ปัจจุบันคือ สำนักงานเขตคลองสาน) ซึ่งได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอคลองสานในปีพ.ศ.2500 และย้ายที่ว่าการอำเภอจากที่ตั้งเดิมหน้าวัดทองนพคุณ มาสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กพื้นไม้สองชั้นที่ถนนลาดหญ้า ในปีพ.ศ.2503 ซึ่งในขณะนั้น นายกำแหง ทองโกมล ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคลองสาน
ไอคอนสยาม (ICONSIAM) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยความร่วมมือของ สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโครงการ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไปในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (วันนี้)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้