ลูกปลาหมึกยักษ์หลายพันตัวในตู้ปลา

กระทู้สนทนา
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
UGA Aquarium: Octopus

1.

.

เมื่อตอนที่  University of Georgia’s Marine Education Center and Aquarium
ได้รับปลาหมึกยักษ์ตัวหนึ่งมาเมื่อไม่นานมานี้ (8 สิงหาคม 2018)
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยกลับได้อะไรมากกว่าที่เคยคาดคิดไว้
ในตอนแรกนักวิจัยต่างคิดว่า  ปลาหมึกยักษ์ตัวนี้เป็นเพศผู้
นักวิจัยจึงตั้งชื่อเธอว่า Octavius
แล้วปล่อยให้เธออยู่ในตู้ปลาเพียงลำพังตัวเดียว
เธอเป็นสัตว์สังคมชอบร่ายรำ  แม้ว่าเธอจะเป็นสัตว์น้ำก็ตามที
แต่เธอชอบแกว่งหนวดปลาหมึกหลายอันของเธอไปที่ข้างตู้ปลา
เพื่อสำรวจและตรวจสอบสัตว์บกที่อยู่ด้านนอกของตู้ปลา


แต่แล้วในวันหนึ่ง Octavius  เธอกลับว่ายถอยหลัง
เข้าไปซ่อนตัวอยู่ในโพรงหินเป็นเวลาหลายวันมาก
และหลังจากนั้นหนึ่งวันก่อนสิ้นเดือนตุลาคม 2018
Devin Dumont  ผู้อนุบาล/เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ได้ไปทำความสะอาดตู้ปลา
ก็พบว่ามีเศษอนุภาคขนาดเล็กสีขาวเกือบพันชิ้นที่ลอยอยู่ในตู้ปลา


" ผมสังเกตเห็นจุดที่เป็นกลุ่มก้อนสีขาว
ขยับไปมา แล้วผมก็ตระหนักว่า
โอ้พระเจ้า เธอกำลังมีลูก มีลูกน้อย
ลูกปลาหมึกยักษ์ทุกตัวเลย
และแล้วผมก็ตื่นเต้นอย่างแรง
ผมรีบเร่งค่อย ๆ ตักพวกมันออกมาทันที
ผมตักพวกมันลงในถังน้ำ
ถังแล้วถังเล่า จำนวนหลายถัง
ทุกถังน้ำต่างเต็มไปด้วยลูกปลาหมึก octopi ตัวเล็ก ๆ "
Devin Dumont ให้สัมภาษณ์ใน  Savannah Now


การตักลูกปลาหมึกยักษ์ขึ้นมาไปไว้ในบ่ออนุบาล
เพื่อทำการอนุบาลและให้อาหาร
เพื่อสร้างโอกาส/อัตรารอดตายให้มากขึ้น
เพราะตามธรรมชาติลูกปลาหมึกยักษ์/ปลาหมึกยักษ์ขนาดเล็ก
จะเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อาหารใต้ท้องทะเล


เพียงชั่วข้ามคืนที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ UGA Marine Extension และ Georgia Sea Grant
มีลูกปลาหมึกนับได้หลายพันตัว
จากแม่ปลาหมึกยักษ์เพียงตัวเดียว
นักวิจัยต่างรู้ดีว่าชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นนี้
คือ การเริ่มต้นของจุดจบชีวิตของ Octavius


ตอนนี้เห็นได้ชัดเลยว่า Octavius เป็นปลาหมึกยักษ์เพศเมีย
ซึ่งเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่ผิดพลาดที่เข้าใจได้ง่ายมาก
ลักษณะเพศสภาพของปลาหมึกยักษ์บางสายพันธุ์
แทบจะไม่แตกต่างกันเลย
เบาะแสหลักที่ต้องสังเกตอย่างแรง
คือความแตกต่างทางกายภาพเล็กน้อย
ตรงหนวดข้างที่สามของปลาหมึกยักษ์
ปลาหมึกยักษ์เพศผู้ใช้ในการผสมพันธุ์
และหลังจากผสมพันธุ์เสร็จก็รอวันตายเช่นกัน  
เพราะมักจะตกเป็นอาหารปลาหมึกยักษ์เพศเมีย


Devin Dumont กับเพื่อนร่วมงานต่างคิดว่า
Octavius  ​​ต้องตั้งครรภ์ก่อนที่เธอจะมาถึง
แต่เธอก็รอคอยที่จะวางไข่
จนกระทั่งเธอรู้สึกสบายใจในบ้านหลังใหม่ของเธอ
Octopuses สามารถเก็บรักษาน้ำอสุจิเพศผู้ได้นานหลายสัปดาห์
หลังจากที่เธอผสมพันธุ์เสร็จแล้ว
เธอจะเริ่มหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ก่อนที่จะให้น้ำอสุจิเพศผู้ผสมกับไข่อ่อนของเธอ
แล้วจึงจะเริ่มวางไข่จำนวนมากหลายพันฟอง
เพื่อให้ลูก ๆ ของเธอฟักตัวออกมาเจริญเติบโตต่อไป


แต่น่าเสียดายที่เมื่อปลาหมึกยักษ์เพศเมียเริ่มวางไข่
พวกเธอก็เริ่มต้นนับวันตายอย่างช้า ๆ เพื่อรอวันตาย
พวกเธอจะเริ่มหยุดกินอาหารและอุทิศตนเอง
เพื่อปกป้องและป้องกันบรรดาไข่ที่ทะยอยฟักตัวในคราวเดียวกัน
และในที่สุดพวกเธอก็ตายจากไป
เช่นเดียวกับปลาหมึกยักษ์เพศผู้ที่มักจะไม่รอดตาย
หลังจากที่ได้ผสมพันธุ์กับปลาหมึกยักษ์เพศเมีย
มักจะตกเป็นอาหารอีกมื้อหนึ่งของปลาหมึกยักษ์เพศเมีย
ทั้งนี้น่าจะเป็นแหล่งอาหารสำคัญในการเตรียมการวางไข่ของเพศเมีย


ในที่สุดไข่ชุดสุดท้ายของปลาหมึกยักษ์ก็ฟักตัวออกมา
และว่ายหมุนวนเวียนรอบตู้ปลาของ Octavius
พฤติกรรมของลูกปลาหมึกยักษ์คล้ายกับตัวอ่อนหอยนางรม
ที่ค่อนข้างตอบสนองต่อสารเคมีบางอย่างหรือทางกายภาพ
ตัวอ่อนแต่ละตัวยังมองไม่เห็นเหมือนตาบอด
และพวกมันดูเหมือนกลุ่มก้อนเมฆสีขาวที่ลอยละล่อง

แต่ถ้าส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
จะมองเห็นหนวดของลูกปลาหมึกยักษ์
องคาพยพหนวดแปดเส้นหลัก
รวมทั้งตาที่ปูดโปนและลำตัวที่เป็นกระเปาะ
อวัยวะที่เปลี่ยนสีของพวกมันที่เรียกว่า Chromatophores
มีลักษณะเป็นจุดเมื่อพวกมันกระดิกตัวไปมาในจานแก้ว
จำนวนและโอกาสรอดของลูกปลาหมึกยักษ์ไม่แน่นอน
แต่หวังว่าเรื่องนี้คงจบลงด้วยดี
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Baby Octopuses at the UGA Aquarium


.

" ขอให้มีโชค  
เพราะทุกคนต่างต้องการลูกปลาหมึกยักษ์มาก "
Lisa Olenderski ผู้ช่วยอนุบาล/เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้สัมภาษณ์


สำหรับ Octavius ​​จุดเริ่มต้นการวางไข่ของเธอ
คือจุดเริ่มต้นการตายของเธอ
สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ Octopus vulgaris
จะมีอายุประมาณ 18 เดือน
และเพศเมียจะตายหลังจากออกไข่

" แม่ปลาหมึกยักษ์จะปกป้องไข่ในที่หลบภัย
ด้วยการเป็นที่พักพิง โบกหนวดไปมา
หรือทำให้น้ำกระเพื่อมหรือทำให้พวกมันเคลื่อนไหว
หลังจากที่ลูกเธอได้ฟักตัวหมดแล้ว
เธอก็จะตายไปในไม่ช้าหลังจากนั้น "
Devin Dumont ให้สัมภาษณ์

แม้ว่า Octavius ​​จะตายไปเมื่อเร็ว ๆ นี้
แต่บรรดาลูก ๆ ของเธอจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
ทั้งในธรรมชาติและในตู้ปลาที่เพาะเลี้ยง
บางตัวจะได้รับปล่อยลงในชายฝั่ง Skidaway ของท้องถิ่น
แต่ลูกปลาหมึกยักษ์ตัวอื่น ๆ อาจจะโตขึ้นในถังเพาะ
และยังคงมีการเลี้ยงดูเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยมากขึ้น
ใน  Shellfish Research Lab ที่อยู่ใกล้เคียง


ปลาหมึกยักษ์มักจะจบชีวิตของตนเอง
พวกเธอเป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลกประหลาดมาก
พวกเธอยอมเสียสละชีวิตตนเองเพื่อลูกหลานของตนเอง
นั้นคือ วัฏจักรของชีวิตปลาหมึกยักษ์


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2PhOlz8
https://bit.ly/2JtVzd7
https://bbc.in/1SP2fzU
.



2.

Octopus vulgaris Merculiano

3.

2 วันของการจับคู่ (Octopus cyanea)  (Credit: Georgette Douwma / NPL)

4.

การเริ่มต้นเพศสัมพันธุ์ของปลาหมึกยักษ์ (Credit: Pierangelo Pirak)

5.

ปลาหมึกยักษ์แปซิฟิค Giant Pacific (Enteroctopus dofleini) ที่ทัองทะเล (Credit: Jeff Rotman / NPL)

6.

ปลาหมึกยักษ์ Algae เพศผู้ (Abdopus aculeatus)
จับคู่ในระยะห่างเพื่อป้องกันการถูกจับกิน (Credit: Roy Caldwell)

7.

ปลาหมึกยักษ์ Wunderpus (Wunderpus photogenicus) จับคู่ (Credit: Roy Caldwell)

8.

ปลาหมึกยักษ์ Algae  (Abdopus aculeatus) จับคู่ (Credit: Roy Caldwell)

9.

ปลาหมึกยักษ์ Argonauts การจับคู่
คือ ชีวิตที่ต้องตาย (Credit: David Shale / NPL)

10.

ปลาหมึกยักษ์ Greater blue-ringed (Hapalochlaena lunulata) จับคู่
(Credit: Roy Caldwell)

11.

ปลาหมีกยักษ์ Pacific striped ขนาดเล็ก (Octopus chierchiae)
(Credit: Roy Caldwell)

12.

หนวดพัวพันกันระหว่างการจับคู่ปลาหมึกยักษ์ Larger Pacific Striped Octopus
A) การสอดหนวดปลาหมึก hectocotylized arm ของเพศผู้ (ซ้าย) เข้าในโพรงเก็บกักน้ำเชื้อเพศเมีย (ขวา)
B) เพศเมีย (ขวา สีจาง) ค่อย ๆ ตอบรับจากเพศผู้ (ซ้าย) ระหว่างการจับคู่
C) การจัดให้เข้าที่เข้าทางระหว่างการจับคู่
D) การจัดให้เข้าที่เข้าทางระหว่างการจับคู่ที่มีการสอดใส่เข้าในโพรงเก็บกักน้ำเชื้อ
E) การสอดหนวดปลาหมึก Hectocotylus ในระยะห่างระหว่างที่หนวดพัวพันกัน (เพศผู้ ซ้าย เพศเมีย ขวา)  
Credit : RLC

13.

Hectocotyle octopodis

14.

Hectocotyle octopodis

15.

Chromatophores ในปลาหมึก

16.


17.



.
ปลาที่ไม่ใช่ปลา


ผู้อ่านหลายคนเมื่อเห็นชื่อเรื่องแล้วคงมีคำถามขึ้นในใจว่า
มีด้วยหรือปลาที่ไม่ใช่ปลา แล้วสิ่งที่ว่านี้คืออะไร
ผู้เขียนมีข้อมูลที่จะให้คำตอบในเรื่องนี้


ในช่วงแรกเริ่ม องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์
การกำหนดชื่อ การตรวจสอบชนิดจากลักษณะรูปพรรณสัณฐาน
ลักษณะนิสัย และถิ่นอาศัย รวมทั้งความสัมพันธ์ทางสายพันธุ์
ที่ศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า animal taxonomy
หรือที่ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติคำไทยขึ้นใช้ว่า อนุกรมวิธานสัตว์ นั้น
มีต้นกำเนิดมาจากนักอนุกรมวิธานชาติตะวันตก
โดยได้จัดจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำไว้ในกลุ่มเดียวกัน
และกำหนดชื่อเรียกให้มีคำ fish ต่อท้าย เช่น star fish jelly fish
เมื่อองค์ความรู้เหล่านี้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย
คนไทยจึงกำหนดชื่อเรียกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำโดยมีคำ “ปลา”
นำหน้าเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลาดาว ปลาโลมา ปลาวาฬ ปลาพะยูน ปลาหมึก


ต่อมาเมื่อศาสตร์สาขาวิชานี้มีความก้าวหน้าและเกิดการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น
จึงพบว่าแท้ที่จริงแล้วสัตว์บางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำ
และมีชื่อเรียกกันมาแต่เดิมโดยมีคำ “ปลา” นำหน้านั้น ไม่ใช่ปลา
แต่เป็นสัตว์อีกกลุ่มหนึ่งที่มีลักษณะรูปพรรณสัณฐาน ลักษณะนิสัย
และถิ่นอาศัย รวมทั้งความสัมพันธ์ทางสายพันธุ์ต่างออกไป
เช่น ดาวทะเลหรือที่เรียกว่าปลาดาวนั้นเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
วาฬ โลมา และพะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกลุ่มเดียวกับมนุษย์
หมึกเป็นสัตว์พวกหอย อย่างไรก็ตาม


ยังมีนักภาษาบางคนเห็นว่า ในเมื่อชื่อเรียกเหล่านี้เป็นชื่อที่นิยมเรียก
และใช้กันมานานมากจนเป็นที่เข้าใจตรงกัน
อย่างปลาวาฬ ปลาหมึก ปลาโลมา ก็ควรจะอนุโลมให้ใช้ได้ต่อไป
จึงยังคงพบการใช้คำว่า “ปลา” เรียกสัตว์ที่ไม่ใช่ปลาตามความนิยมแต่เดิม
แต่เป็นปลาที่ไม่ใช่ปลา

Credit : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
.


.

ที่มา  https://bit.ly/2oLNLYT
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่