คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
คุณน่าน นรเทพ มาช่วยตอบที่เฟซบุ๊กละครับว่า
"จากข้อมูลในนี้ เล่าเรื่องย่อ ปี่แก้วนางหงส์ ต้นฉบับภาพยนตร์ไว้
จบแค่นางเอกเป่าปี่จนตาย ไม่มีการเกิดใหม่ข้ามภพ
และนางเอกชื่อ “หงส์” ตรงตามชื่อเรื่อง
ทำให้อยากหามาดูเหมือนกันครับ"
----------------------------------
ปี่แก้วนางหงส์
ฉายเมื่อ ปี พ.ศ.2513 (ค.ศ.1970)
ชื่อหนัง ปี่แก้วนางหงส์
ผู้สร้าง เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์
ผู้กำกับ เสนีย์ โกมารชุน
ผู้แสดง มิตร ชัยบัญชา /สุทิศา พัฒนุช /อดุลย์ ดุลยรัตน์
เยาวเรศ นิสากร/ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร ณ อยุธยา/กันทิมา ดาราพันธ์
เสน่ห์ โกมารชุน/สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม/สมพงษ์ พงษ์มิตร/ท้วม ทรนง
ดรุณี อมรานนท์ - ปี่แก้วนางหงษ์
เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องปี่แก้วนางหงษ์ ตราวงดนตรีศิษย์สุรพล
ขอบคุณเพลงจากแผ่นเสียง ป้านกครับ
https://www.youtube.com/v/Dj38aUHVQp0&feature
ปี่แก้วนางหงส์ เป็น บทประพันธ์ของ เสน่ห์ โกมารชุน ซึ่งในช่วงเวลานั้น
ชื่อเสียงของเสน่ห์ โกมารชุน คือ นักพากย์ ที่คนชื่นชอบ และ บทบาทในตัวประกอบ ประเภท ผู้ช่วยพระเอก
ในบทตลก หรือ ชาวจีน ที่ พูดไทยไม่ชัด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของ เสน่ห์ โกมารชุน
เรื่องราวโดยย่อๆของ ปี่แก้วนางหงส์ ย้อนอดีตรักไปตั้งแต่ ยุคสมัยของ รัชกาลที่ 5
เป็นเรื่องราวของความรักระหว่าง หลวงราช กับ หงส์ สาวน้อยนักดนตรี ในวงดนตรีชื่อดังยุคนั้น
เริ่มเรื่องเมื่อ หลวงราช (มิตร ชัยบัญชา) ลูกชายของ พระยาพิชัย ได้เรียนวิชาปี่จนสำเร็จ จนกลายเป็น
นักปี่อันเป็นที่ชื่นชอบของคนในสังคมวัง แต่ผู้เป็นพ่อก็ยังไม่พอใจ เพราะหวังที่จะให้หลวงราชผู้เป็นบุตร
ได้มีชื่อเสียงมากขึ้นไปอีก จึงได้ส่งให้ลูกชายไปเรียนต่อยังสำนักดนตรีไทยของ จางวางพ่วง ผู้เป็นเพื่อนรัก
เพื่อให้สอนเพิ่มเติม ความเป็นอัจฉริยทางด้านปี่ให้กับลูกชายในระดับสุดยอด แต่บังเอิญหัวหน้าคณะ
คือจางวางพ่วง มีเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถจะประสาทวิชาปี่ระดับสุดยอดให้กับลูกชายของเพื่อนได้
จึงมอบหมายภาระนี้ให้กับ นักปี่สาว ผู้มีนามว่า หงส์ เป็นผู้สอนสั่ง
ด้วยความใกล้ชิดกันระหว่าง หงส์ (สุทิศา) กับ หลวงราช
ในการเรียนปี่นี่เอง ทำให้ทั้งคู่รักกันและได้เสียกัน สร้างความผิดหวังและเคียดแค้นให้กับ นายสิน มือระนาด
ที่หลงรักหงส์มาโดยตลอด จึงทำให้เกิดเรื่องทะเลาะ และมีเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันมาโดยตลอด
แล้ววันหนึ่งพระยาพิชัย ผู้เป็นบิดาก็ได้เรียกตัวหลวงราชให้มาแสดงการเป่าปี่โชว์ถวายเสด็จในกรม
ทำให้หลวงราชจำใจต้องจากหงส์ผู้เป็นที่รัก แต่ได้สัญญากันว่า เมื่อเสร็จงานถวายปี่กับเสด็จในกรมแล้วจะให้ พ่อมาสู่ขอเธอ
เมื่อหลวงราชได้เข้าไปถวายการแสดงปี่ให้กับเสด็จในกรม สร้างความพอใจให้กับเสด็จในกรมมากถึงขนาด
ออกปากประทานรางวัลให้กับหลวงราช ด้วยผู้หญิงที่ได้เลือกสรรมา
จึงทำให้หลวงราชจำเป็นจำใจที่จะต้องเข้าพิธีสมรสกับหญิงที่เสด็จในกรมให้มา
และในงานวิวาห์ของหลวงราช กับ นันทิกา นั้น
ทางเจ้าภาพได้ว่าจ้างให้วงดนตรีของจางวางพ่วง มาแสดงในวันงาน
โดยเจ้าคณะได้จัดนักแสดงที่มีมือเยี่ยมยอดที่สุดมาร่วมแสดง
ซึ่งหนึ่งในนักแสดงดนตรีที่สุดยอดของวง ย่อมมี "หงส์" ร่วมอยู่ได้คนหนึ่ง
ทำให้หงส์ได้รับรู้ว่าหลวงราชคนรักของเธอ ได้ตระบัดสัตย์ที่เคยให้กับเธอเสียแล้ว
แต่เพื่ออยากให้คนรักได้พบกับความสุขที่สุดในวันมงคล
หงส์จึงเตรียมตัวอย่างสุดยอดที่สุด ที่จะโชว์การเป่าปี่ระดับเทพ เพื่อกล่อมหอให้กับผู้เคยเป็นสุดที่รัก
สุดยอดของเรื่อง ก็คือฉากการเป่าปี่ของหงส์ ที่ทุ่มเทจิตใจทั้งหมด เพื่อให้คนที่เธอรักมีความสุขนี่เอง
คือที่มาของเรื่อง ปีแก้วนางหงส์ เพลงปี่และเสียงปี่ในวันนั้นของเธอสะกดคนดูทั้งงานให้หยุดนิ่ง
เหมือนถูกมนต์ ไม่มีใครกระดิกตัวแม้จะอยากจะไปทำธุระสำคัญอย่างไร
ด้วยจิตวิญญาณที่หงส์ทุ่มเทเป่าปี่เพื่อให้คนรักมีความสุขในวันงานนี่เอง ทำให้เธอยอมสละชีวิตและ
จิตวิญญาณทั้งหมดใส่ลงในปี่ที่เธอเป่า เพลงจบลงเมื่อหงส์สิ้นใจไปพร้อมๆกับเพลงปี่ในวันนั้น
สร้างคามสะเทือนใจให้กับคนดูทุกคน โดยเฉพาะกับหลวงราชที่ต้องเสียใจเป็นที่สุด ในวันที่ใครๆคิดว่า
เขากำลังมีความสุขที่สุด
จากนั้นตำนานแห่งเสียงปี่นางหงส์ ก็ถูกกล่าวมาจนถึงทุกวันนี้
หนังจบได้อย่าง ลึกซึ้ง กินใจ และฝังอยู่ในหัวใจของคนไทยมาโดยตลอด ทำให้หนังเรื่องนี้ ได้รับการ
สร้างขึ้นมาซ้ำแล้ว ซ้ำอีก (?) และทุกครั้ง ก็มีคนติดตามดูอย่างประทับใจมิรู้เลือน และเมื่อนิยาย (?) เรื่องนี้ได้
ถูกนำมาทำเป็นละครทีวี ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของ ปีแก้วนางหงส์ ยิ่งฝังแน่นอยู่ในหัวใจของคนไทยมากยิ่งขึ้น
ด้วยความประทับใจของ ปี่แก้วนางหงส์ ฉบับดั้งเดิม ที่นำออกฉายในปี 2513 นี้ เต็มเปี่ยมไปด้วยรสชาติ
ครบถ้วนนี่เอง ทำให้สามารถแหวกออกมายืนอยู่บนแถวหน้าของหนังไทยในปีนั้นได้ ทั้งๆที่ในปี 2513 นี้
มีหนังเด่นๆเข้าฉายหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ โทน ของ เปี๊ยก โปสเตอร์, มนต์รักลูกทุ่ง ของ รังสี ทัศนพยัคฆ์,
ฝนเหนือ ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร และ เรือมนุษย์ ของ ดอกดิน กัญยามาลย์ เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูล จากคอลัมน์ข่าวบันเทิง หนังสือพิมพ์แนวหน้า
อาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2554 โดย ชนิตร ภู่กาญจน์
-------------------------------
จาก
๑ http://www.sakidjai.com/index.php/topic,6993.0/wap2.html?PHPSESSID=fesv8065idovpfvln1vbn7stq0&fbclid=IwAR0BUEkadQUXXeLxXqPHZ-21Wvm6x3NRPNjOKwyYbWsZznis65U7S3bRvEU
๒ เพจข่าวสารวงการหนังสือ
https://www.facebook.com/groups/booklifecycle/permalink/894262340780008/
"จากข้อมูลในนี้ เล่าเรื่องย่อ ปี่แก้วนางหงส์ ต้นฉบับภาพยนตร์ไว้
จบแค่นางเอกเป่าปี่จนตาย ไม่มีการเกิดใหม่ข้ามภพ
และนางเอกชื่อ “หงส์” ตรงตามชื่อเรื่อง
ทำให้อยากหามาดูเหมือนกันครับ"
----------------------------------
ปี่แก้วนางหงส์
ฉายเมื่อ ปี พ.ศ.2513 (ค.ศ.1970)
ชื่อหนัง ปี่แก้วนางหงส์
ผู้สร้าง เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์
ผู้กำกับ เสนีย์ โกมารชุน
ผู้แสดง มิตร ชัยบัญชา /สุทิศา พัฒนุช /อดุลย์ ดุลยรัตน์
เยาวเรศ นิสากร/ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร ณ อยุธยา/กันทิมา ดาราพันธ์
เสน่ห์ โกมารชุน/สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม/สมพงษ์ พงษ์มิตร/ท้วม ทรนง
ดรุณี อมรานนท์ - ปี่แก้วนางหงษ์
เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องปี่แก้วนางหงษ์ ตราวงดนตรีศิษย์สุรพล
ขอบคุณเพลงจากแผ่นเสียง ป้านกครับ
https://www.youtube.com/v/Dj38aUHVQp0&feature
ปี่แก้วนางหงส์ เป็น บทประพันธ์ของ เสน่ห์ โกมารชุน ซึ่งในช่วงเวลานั้น
ชื่อเสียงของเสน่ห์ โกมารชุน คือ นักพากย์ ที่คนชื่นชอบ และ บทบาทในตัวประกอบ ประเภท ผู้ช่วยพระเอก
ในบทตลก หรือ ชาวจีน ที่ พูดไทยไม่ชัด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของ เสน่ห์ โกมารชุน
เรื่องราวโดยย่อๆของ ปี่แก้วนางหงส์ ย้อนอดีตรักไปตั้งแต่ ยุคสมัยของ รัชกาลที่ 5
เป็นเรื่องราวของความรักระหว่าง หลวงราช กับ หงส์ สาวน้อยนักดนตรี ในวงดนตรีชื่อดังยุคนั้น
เริ่มเรื่องเมื่อ หลวงราช (มิตร ชัยบัญชา) ลูกชายของ พระยาพิชัย ได้เรียนวิชาปี่จนสำเร็จ จนกลายเป็น
นักปี่อันเป็นที่ชื่นชอบของคนในสังคมวัง แต่ผู้เป็นพ่อก็ยังไม่พอใจ เพราะหวังที่จะให้หลวงราชผู้เป็นบุตร
ได้มีชื่อเสียงมากขึ้นไปอีก จึงได้ส่งให้ลูกชายไปเรียนต่อยังสำนักดนตรีไทยของ จางวางพ่วง ผู้เป็นเพื่อนรัก
เพื่อให้สอนเพิ่มเติม ความเป็นอัจฉริยทางด้านปี่ให้กับลูกชายในระดับสุดยอด แต่บังเอิญหัวหน้าคณะ
คือจางวางพ่วง มีเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถจะประสาทวิชาปี่ระดับสุดยอดให้กับลูกชายของเพื่อนได้
จึงมอบหมายภาระนี้ให้กับ นักปี่สาว ผู้มีนามว่า หงส์ เป็นผู้สอนสั่ง
ด้วยความใกล้ชิดกันระหว่าง หงส์ (สุทิศา) กับ หลวงราช
ในการเรียนปี่นี่เอง ทำให้ทั้งคู่รักกันและได้เสียกัน สร้างความผิดหวังและเคียดแค้นให้กับ นายสิน มือระนาด
ที่หลงรักหงส์มาโดยตลอด จึงทำให้เกิดเรื่องทะเลาะ และมีเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันมาโดยตลอด
แล้ววันหนึ่งพระยาพิชัย ผู้เป็นบิดาก็ได้เรียกตัวหลวงราชให้มาแสดงการเป่าปี่โชว์ถวายเสด็จในกรม
ทำให้หลวงราชจำใจต้องจากหงส์ผู้เป็นที่รัก แต่ได้สัญญากันว่า เมื่อเสร็จงานถวายปี่กับเสด็จในกรมแล้วจะให้ พ่อมาสู่ขอเธอ
เมื่อหลวงราชได้เข้าไปถวายการแสดงปี่ให้กับเสด็จในกรม สร้างความพอใจให้กับเสด็จในกรมมากถึงขนาด
ออกปากประทานรางวัลให้กับหลวงราช ด้วยผู้หญิงที่ได้เลือกสรรมา
จึงทำให้หลวงราชจำเป็นจำใจที่จะต้องเข้าพิธีสมรสกับหญิงที่เสด็จในกรมให้มา
และในงานวิวาห์ของหลวงราช กับ นันทิกา นั้น
ทางเจ้าภาพได้ว่าจ้างให้วงดนตรีของจางวางพ่วง มาแสดงในวันงาน
โดยเจ้าคณะได้จัดนักแสดงที่มีมือเยี่ยมยอดที่สุดมาร่วมแสดง
ซึ่งหนึ่งในนักแสดงดนตรีที่สุดยอดของวง ย่อมมี "หงส์" ร่วมอยู่ได้คนหนึ่ง
ทำให้หงส์ได้รับรู้ว่าหลวงราชคนรักของเธอ ได้ตระบัดสัตย์ที่เคยให้กับเธอเสียแล้ว
แต่เพื่ออยากให้คนรักได้พบกับความสุขที่สุดในวันมงคล
หงส์จึงเตรียมตัวอย่างสุดยอดที่สุด ที่จะโชว์การเป่าปี่ระดับเทพ เพื่อกล่อมหอให้กับผู้เคยเป็นสุดที่รัก
สุดยอดของเรื่อง ก็คือฉากการเป่าปี่ของหงส์ ที่ทุ่มเทจิตใจทั้งหมด เพื่อให้คนที่เธอรักมีความสุขนี่เอง
คือที่มาของเรื่อง ปีแก้วนางหงส์ เพลงปี่และเสียงปี่ในวันนั้นของเธอสะกดคนดูทั้งงานให้หยุดนิ่ง
เหมือนถูกมนต์ ไม่มีใครกระดิกตัวแม้จะอยากจะไปทำธุระสำคัญอย่างไร
ด้วยจิตวิญญาณที่หงส์ทุ่มเทเป่าปี่เพื่อให้คนรักมีความสุขในวันงานนี่เอง ทำให้เธอยอมสละชีวิตและ
จิตวิญญาณทั้งหมดใส่ลงในปี่ที่เธอเป่า เพลงจบลงเมื่อหงส์สิ้นใจไปพร้อมๆกับเพลงปี่ในวันนั้น
สร้างคามสะเทือนใจให้กับคนดูทุกคน โดยเฉพาะกับหลวงราชที่ต้องเสียใจเป็นที่สุด ในวันที่ใครๆคิดว่า
เขากำลังมีความสุขที่สุด
จากนั้นตำนานแห่งเสียงปี่นางหงส์ ก็ถูกกล่าวมาจนถึงทุกวันนี้
หนังจบได้อย่าง ลึกซึ้ง กินใจ และฝังอยู่ในหัวใจของคนไทยมาโดยตลอด ทำให้หนังเรื่องนี้ ได้รับการ
สร้างขึ้นมาซ้ำแล้ว ซ้ำอีก (?) และทุกครั้ง ก็มีคนติดตามดูอย่างประทับใจมิรู้เลือน และเมื่อนิยาย (?) เรื่องนี้ได้
ถูกนำมาทำเป็นละครทีวี ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของ ปีแก้วนางหงส์ ยิ่งฝังแน่นอยู่ในหัวใจของคนไทยมากยิ่งขึ้น
ด้วยความประทับใจของ ปี่แก้วนางหงส์ ฉบับดั้งเดิม ที่นำออกฉายในปี 2513 นี้ เต็มเปี่ยมไปด้วยรสชาติ
ครบถ้วนนี่เอง ทำให้สามารถแหวกออกมายืนอยู่บนแถวหน้าของหนังไทยในปีนั้นได้ ทั้งๆที่ในปี 2513 นี้
มีหนังเด่นๆเข้าฉายหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ โทน ของ เปี๊ยก โปสเตอร์, มนต์รักลูกทุ่ง ของ รังสี ทัศนพยัคฆ์,
ฝนเหนือ ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร และ เรือมนุษย์ ของ ดอกดิน กัญยามาลย์ เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูล จากคอลัมน์ข่าวบันเทิง หนังสือพิมพ์แนวหน้า
อาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2554 โดย ชนิตร ภู่กาญจน์
-------------------------------
จาก
๑ http://www.sakidjai.com/index.php/topic,6993.0/wap2.html?PHPSESSID=fesv8065idovpfvln1vbn7stq0&fbclid=IwAR0BUEkadQUXXeLxXqPHZ-21Wvm6x3NRPNjOKwyYbWsZznis65U7S3bRvEU
๒ เพจข่าวสารวงการหนังสือ
https://www.facebook.com/groups/booklifecycle/permalink/894262340780008/
แสดงความคิดเห็น
ปี่แก้วนางหงส์ เคยเป็นหนังใหญ่ ก่อนละครทั้ง ๒ เวอร์ชั่นใช่ไหม
เคยเป็นหนังใหญ่ มาก่อนละครช่อง ๓ ทั้ง ๒ เวอร์ชั่น (๒๕๕๐ / ๒๕๖๑)
ใช่ไหมครับ
ลองค้นหลักฐานอะไร ก็มิพบเลย
ใครเล่นเวอร์ชั่นหนังใหญ่บ้าง ปีไหน ยังไง
ถ้าใครมีใบปิดหนัง รึข่าว มาแบ่งปันกัน จะขอบคุณมากครับ