สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
การนับเลขภาษาไทยมาจากภาษาจีน บรรพบุรุษใช้ระบบนี้ตั้งแต่ยังอยู่ยูนนานยังไม่อพยพลงมา ดังนั้นระบบการนับเลขและการอ่านเลขจะเหมือนกลุ่ม จีน เกาหลี ญี่ปุ่น
=======================
คำว่า"เอ็ด"ในภาษาไทย มาจากตัวอักษร 一 จีนโบราณอ่านว่า"เอ็ด"เหมือนกัน(แปลว่าหนึ่ง) ปัจจุบันตัวสะกดหายอ่านว่า"อี"แทน ส่วนญี่ปุ่นยังมีร่อยรอยตัวสะกดอยู่อ่านว่า"อิจิ" เสียง จิ ที่ต่อท้ายเข้ามาคือร่องรอยตัวสะกดแม่กดในคำว่าเอ็ด
คำว่า"ยี่"ในภาษาไทย มาจากตัวอักษร 二 จีนโบราณอ่านว่า"ยี"เหมือนไทย(แปลว่าสอง) กาลเวลาเปลี่ยนไปเพี้ยนไปตอนนี้อ่านเป็น"เอ้อ"แทน ส่วนญี่ปุ่นยังพอคล้ายๆของเดินอยู่คืออ่านว่า"นิ"
"สาม" มาจากตัวอักษร 三 แปลว่าสาม จีนโบราณอ่านว่า"ซาม" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ซาน" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"ซัง"
"สี่" มาจากตัวอักษร 四 แปลว่าสี่ จีนโบราณอ่านว่า"ซี" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ซื่อ" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"ชิ"
"ห้า" มาจากตัวอักษร 五 แปลว่าห้า จีนโบราณอ่านว่า"งา" จีนปัจจุบันอ่านว่า"อู่" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"โกะ"
"หก" มาจากตัวอักษร 六 แปลว่าหก ภาษาไทยสมัยก่อนอ่านว่า"รก" จีนโบราณอ่านว่า"รุก" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ลิ่ว" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"โรกุ" (กุ ที่ต่อท้ายคือร่องรอยตัวสะกดแม่กก)
"เจ็ด" มาจากตัวอักษร 七 แปลว่าเจ็ด จีนโบราณอ่านว่า"เช็ด" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ชี" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"ชิจิ" ( จิ ที่ต่อท้ายคือร่องรอยตัวสะกดแม่กด)
"แปด" มาจากตัวอักษร 八 แปลว่าแปด จีนโบราณอ่านว่า"เปด" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ปา" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"ฮาจิ" (จิ ที่ต่อท้ายคือร่องรอยตัวสะกดแม่กด)
"เก้า" มาจากตัวอักษร 九 แปลว่าเก้า จีนโบราณอ่านว่า"กิว" จีนปัจจุบันอ่านว่า"จิ่ว" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"คิว"
"สิบ" มาจากตัวอักษร 十 แปลว่าสิบ จีนโบราณอ่านว่า"สิบ" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ฉือ" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"จู"
==================================
จีนเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน สมัยก่อนจีนมีตัวสะกด กาลเวลาเปลี่ยนไปตัวสะกดหายกลายเป็นวรรณยุกต์หมด ส่วนภาษาไทยมีระบบตัวสะกดเหมือนเดิม ทำให้ไทยคล้ายกับจีนโบราณ ส่วนจีนปัจจุบันเพี้ยนไปเยอะ ญี่ปุ่นไม่ต้องพูดถึงเอาคำจีนมาใช้แต่เพี้ยนยิ่งกว่าเดิม นอกจากการนับเลขแล้วยังมีคำไทย-จีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น-เวียดนาม อีกมากมายที่เป็นคำเดียวกันแต่คนไทยไม่ค่อยรู้ คนที่เรียนภาษาจีนหรือญี่ปุ่นจะรู้ดีว่าคำไทยหลายคำมันคล้ายคำจีนคำญี่ปุ่นแค่ไหน แค่เราไม่ใช้ตัวอักษรจีนเท่านั้นเองเพราะบรรพบุรุษดันอพยพลงมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซะก่อนเลยรับภาษาเขมรรับบาลีสันสกฤตเข้ามาแทน
=======================
คำว่า"เอ็ด"ในภาษาไทย มาจากตัวอักษร 一 จีนโบราณอ่านว่า"เอ็ด"เหมือนกัน(แปลว่าหนึ่ง) ปัจจุบันตัวสะกดหายอ่านว่า"อี"แทน ส่วนญี่ปุ่นยังมีร่อยรอยตัวสะกดอยู่อ่านว่า"อิจิ" เสียง จิ ที่ต่อท้ายเข้ามาคือร่องรอยตัวสะกดแม่กดในคำว่าเอ็ด
คำว่า"ยี่"ในภาษาไทย มาจากตัวอักษร 二 จีนโบราณอ่านว่า"ยี"เหมือนไทย(แปลว่าสอง) กาลเวลาเปลี่ยนไปเพี้ยนไปตอนนี้อ่านเป็น"เอ้อ"แทน ส่วนญี่ปุ่นยังพอคล้ายๆของเดินอยู่คืออ่านว่า"นิ"
"สาม" มาจากตัวอักษร 三 แปลว่าสาม จีนโบราณอ่านว่า"ซาม" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ซาน" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"ซัง"
"สี่" มาจากตัวอักษร 四 แปลว่าสี่ จีนโบราณอ่านว่า"ซี" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ซื่อ" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"ชิ"
"ห้า" มาจากตัวอักษร 五 แปลว่าห้า จีนโบราณอ่านว่า"งา" จีนปัจจุบันอ่านว่า"อู่" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"โกะ"
"หก" มาจากตัวอักษร 六 แปลว่าหก ภาษาไทยสมัยก่อนอ่านว่า"รก" จีนโบราณอ่านว่า"รุก" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ลิ่ว" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"โรกุ" (กุ ที่ต่อท้ายคือร่องรอยตัวสะกดแม่กก)
"เจ็ด" มาจากตัวอักษร 七 แปลว่าเจ็ด จีนโบราณอ่านว่า"เช็ด" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ชี" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"ชิจิ" ( จิ ที่ต่อท้ายคือร่องรอยตัวสะกดแม่กด)
"แปด" มาจากตัวอักษร 八 แปลว่าแปด จีนโบราณอ่านว่า"เปด" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ปา" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"ฮาจิ" (จิ ที่ต่อท้ายคือร่องรอยตัวสะกดแม่กด)
"เก้า" มาจากตัวอักษร 九 แปลว่าเก้า จีนโบราณอ่านว่า"กิว" จีนปัจจุบันอ่านว่า"จิ่ว" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"คิว"
"สิบ" มาจากตัวอักษร 十 แปลว่าสิบ จีนโบราณอ่านว่า"สิบ" จีนปัจจุบันอ่านว่า"ฉือ" ส่วนญี่ปุ่นอ่านว่า"จู"
==================================
จีนเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน สมัยก่อนจีนมีตัวสะกด กาลเวลาเปลี่ยนไปตัวสะกดหายกลายเป็นวรรณยุกต์หมด ส่วนภาษาไทยมีระบบตัวสะกดเหมือนเดิม ทำให้ไทยคล้ายกับจีนโบราณ ส่วนจีนปัจจุบันเพี้ยนไปเยอะ ญี่ปุ่นไม่ต้องพูดถึงเอาคำจีนมาใช้แต่เพี้ยนยิ่งกว่าเดิม นอกจากการนับเลขแล้วยังมีคำไทย-จีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น-เวียดนาม อีกมากมายที่เป็นคำเดียวกันแต่คนไทยไม่ค่อยรู้ คนที่เรียนภาษาจีนหรือญี่ปุ่นจะรู้ดีว่าคำไทยหลายคำมันคล้ายคำจีนคำญี่ปุ่นแค่ไหน แค่เราไม่ใช้ตัวอักษรจีนเท่านั้นเองเพราะบรรพบุรุษดันอพยพลงมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซะก่อนเลยรับภาษาเขมรรับบาลีสันสกฤตเข้ามาแทน
แสดงความคิดเห็น
คำเรียกเลข 11 และ 12 มีที่มาที่ไปอย่างไร
เรียกเลข 11 ว่า "สิบเอ็ด" ทำไมถึงไม่เรียก "สิบหนึ่ง"
***มีแค่บางกรณีที่เรียก "สิบหนึ่ง" เพื่อความชัดเจนในการสื่อสาร เพราะ "สิบเอ็ด" กับ "สิบเจ็ด" ออกเสียงใกล้เคียงกันมาก
สิบ ยี่สิบ(ทำไมไม่เป็น สองสิบ) สามสิบ สี่สิบ.....
เข้าใจว่าการเรียก หนึ่ง สมัยก่อนนิยมเรียกว่า อ้าย
สอง นิยมเรียกว่า ยี่ เช่นเดือนอ้าย เดือนยี่
สิบเอ็ด อาจจะมาจาก สิบอ้ายหรือเปล่า แล้วเรียกเพี้ยนมาเป็น สิบเอ็ด
ยี่สิบ ยังพอเข้าใจได้ ถ้านำคำว่ายี่ในความหมายนี้มาใช้
ในภาษาอังกฤษ
เรียกเลข 11 ว่า "Eleven" ทำไมถึงไม่เรียก Oneteen
เรียกเลข 12 ว่า "Twelve" ทำไมถึงไม่เรียก Twoteen