ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ! ข้อสอบวิชาสามัญ “ฟิสิกส์” 17 จาก 25 ข้อ มาจากเนื้อหาแค่ 50% ของบทเรียนทั้งหมด!

[Level] #ฟิสิกส์ #มอปลาย #ข้อสอบวิชาสามัญฟิสิกส์
[Status] #เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย #เวลามีน้อยทำไงดี #ไม่เข้าใจตั้งแต่แรก #ลืมไปแล้ว #ขอเน้นๆ

ไปเจาะ(โคตร)ลึก เกี่ยวกับแนวข้อสอบฟิสิกส์เข้ามหาวิทยาลัย – แบบครบ จบในโพสต์เดียว >>>เซฟเก็บไว้อ่านได้เลย


ติดตามบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ facebook fanpage: อ้าวหรอ สรุปฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิต อังกฤษ ม.ปลาย แบบโคตรเข้าใจง่าย
http://bit.ly/2PaB1MS

คืองี้... วิชาฟิสิกส์ ม.ปลาย เป็นวิชาที่มีเนื้อหาเยอะมาก หนังสือเรียนรวมๆ แล้วก็ 5 เล่ม 20 บท เยอะแค่ไหน ถามใจเธอดู!

เนื้อหาที่ต้องทำความเข้าใจก็ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็คือ “สูตร” เอ่อ.. มันจะเยอะไปไหน!!!

แค่เรื่อง การเคลื่อนที่แนวเส้นตรงของ ม. 4 ที่เหล่านักรบ ม.6 ต้องระลึกชาติกลับไปอ่านเพื่อเตรียมขึ้นเขียง เอ้ยยยย! ไม่ใช่ๆๆ เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ปาไปแล้ว 5 สูตร ยังไม่รวมกราฟอะไรต่อมิอะไรอีก

พอเข้าบทที่ 2 ก็เริ่มด้วย F = ma = mg ต่อด้วย Act = Re-act บลาๆๆๆ ท้ายๆ บทก็อาจเริ่มมีความคิดที่ว่า “ช่าง....มันเถอะ” เข้ามาในหัว

OK ใกล้สอบละ เวลาก็มีน้อย งั้นเอาไงดีหว่า?
ณ จุดๆ นี้จะเอาไงก็ได้ที่อย่างน้อยก็ขอให้มีความรู้ติดตัวเข้าห้องสอบบ้าง ขอแบบเน้นๆ

พูดเลย... ถ้าจะเอาแบบ “เน้นๆ” เราก็ต้องอ่านมันแบบ “เน้นๆ” ไปเลยสิ! จะยากอะไร

คือให้ “เน้น” เรื่องที่มันจะออกสอบแน่ๆ ออกมันทุกปี ออกมันทุกสำนัก แบบว่าถ้าไม่ออกนี่ไม่ใช่ฟิสิกส์เลยจริงๆ

ว่าแต่... เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องไหนควรเน้น หรือไม่ควรเน้นมาก?
งั้นก็ต้องมาดูสถิติกัน

เริ่มจากมีเนื้อหา 20 บท ซึ่งทั้งหมดจะถูกนำมาออกเป็นข้อสอบวิชาสามัญฟิสิกส์จำนวน 25 ข้อ

จากสถิติข้อสอบวิชาสามัญฟิสิกส์ 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2555-2559 ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าข้อสอบจำนวน 17 ข้อจาก 25 ข้อ มาจากเนื้อหาแค่ 10 บท

หรือถ้าจะให้พูดกันในหน่วยเปอร์เซ็นต์ ก็ประมาณ 70% ของจำนวนข้อสอบ มาจากเนื้อหาในหนังสือเรียนแค่ 50%... เฮ้ย!!! แบบนี้ก็ได้หรอ???

เนื้อหาวิชาสามัญฟิสิกส์ยอดฮิตในกลุ่ม 50% แรก (อ้างอิงจาก webythebrain มีลิงค์ให้ท้ายบทความ) จำนวน 17 จาก 25 ข้อโดยประมาณ ประกอบด้วย
(1) แสง (เฉลี่ย 2.4 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(2) ไฟฟ้าสถิต (เฉลี่ย 2.4 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(3) เสียง (ประมาณ 2 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(4) สมบัติสาร (ของแข็ง+ของเหลว) (เฉลี่ย 1.8 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(5) ฟิสิกส์นิวเคลียร์ (เฉลี่ย 1.8 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(6) ซิมเปิลฮาร์มอนิก (เฉลี่ย 1.4 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(7) แม่เหล็ก (เฉลี่ย 1.4 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(8) ไฟฟ้ากระแสสลับ และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เฉลี่ย 1.4 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(9) นิวตัน (เฉลี่ย 1.2 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(10) วงกลม (เฉลี่ย 1.2 ข้อ จาก 25 ข้อ)

เนื้อหาวิชาสามัญฟิสิกส์ในกลุ่ม 50% หลัง จำนวน 8 ข้อจาก 25 ข้อโดยประมาณ ประกอบด้วย
(11) การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง (เฉลี่ย 1 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(12) สมดุล (เฉลี่ย 1 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(13) ความร้อนและแก๊ส (เฉลี่ย 1 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(14) คลื่น (เฉลี่ย 1 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(15) ไฟฟ้ากระแสตรง (เฉลี่ย 1 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(16) โมเมนตัม (เฉลี่ย 0.8 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(17) ฟิสิกส์อะตอม (เฉลี่ย 0.8 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(18) งานและพลังงาน (เฉลี่ย 0.6 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(19) โพรเจคไทล์ (เฉลี่ย 0.6 ข้อ จาก 25 ข้อ)
(20) การหมุน (เฉลี่ย 0.2 ข้อ จาก 25 ข้อ)

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่แปลกที่จะเอาเวลาส่วนใหญ่ทุ่มให้กับเนื้อหาในกลุ่ม 50% แรก ไม่ว่าโจทย์จะออกมาแบบไหน ก็มั่นใจว่าจะทำได้แน่ๆ

ส่วนเนื้อหาในกลุ่ม 50% หลังก็แค่ “ลองฝึกทำ” ให้ผ่านหูผ่านตา เพื่อให้สมองจดจำไว้ว่า เห้ย... เคยทำมานี่หว่า และเกิดบังเอิญทำได้อีก ก็เหมือนกับได้ Bonus มาเป็นของขวัญนั่นเอง

เช่น สมมติเกิดไปจ๊ะเอ๋กับโจทย์เรื่อง “การเคลื่อนที่แนวดิ่ง” ซึ่งเป็นหัวข้อย่อยในเรื่อง “การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง”

ถ้าเจอโจทย์บอกว่าให้ “ปล่อยวัตถุ” ลงจากยอดเขา
เชื่อได้เลยว่า ถึงแม้จะเคยอ่านผ่านๆ มา แต่ก็จะคลับคล้ายคลับคลาว่า เฮ้ย! นี่โจทย์มันบอกว่า u = 0 นี่หว่า

สมมติถ้าโจทย์เปลี่ยนจาก “ปล่อย” เป็น “โยน” ล่ะ? อ้อ! แสดงว่า u มีค่าอะไรซักค่าตามโจทย์บอก

และถ้าบอก “โยนขึ้น” ก็จะรู้ทันทีว่ามันหมายถึงว่าค่า g ติด(-) นี่หว่า รู้ๆๆๆ... อะไรประมาณนี้

ลองคิดดู ถึงแม้จะเป็น 50% หลัง แต่ถ้าไม่ได้ “ลองฝึกทำ” บางบ้าง เนื่องจาก “เท” มาเพราะขี้เกียจอ่าน ขี้เกียจจำสูตรก็ “จบเห่” แบบไม่ต้องลุ้น Bonus อะไรเลย

เพราะ Bonus ที่ว่านี้ ในบางสถานการณ์อาจหมายถึงคะแนนตัดตัวในคณะที่เราเลือกก็เป็นได้

*** เห็นไหมว่าการ “เน้น” อาจทำให้หลายคนมีกำลังใจในการอ่านฟิสิกส์ขึ้นมาได้เยอะ ***

อ่านแป๊บๆ เดี๋ยวก็จบ ก็แค่ 50% แรกเอง จะซักเท่าไรกันเชียว! ที่เหลือก็แค่ฝึกทำเพิ่มเติมอีกนิดๆ หน่อยๆ ให้พอเป็นพิธี

หลังจากนั้นคือแบบ... “พร้อมลุยแล้วอ่ะ ร้อนวิชาจังวู้!”

แต่ในกรณีที่อ่านเนื้อหาทั้งหมดไม่ทันจริงๆ เราก็ยังมีความรู้ในส่วน 50% แรกที่เราทุ่มเทเวลาให้กับมัน

ถึงแม้มันจะเป็นความรู้เพียงบางส่วน แต่บางส่วนที่ว่านี้เป็นส่วนที่มีคะแนนมากที่สุดในรายวิชาสามัญฟิสิกส์ซะด้วย จริงไหมล่ะ!

#ติดตามประเด็นที่อาจไม่เคยรู้มาก่อนในห้องเรียนได้ที่ http://bit.ly/2PaB1MS

#บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
>>>  สถิติมันฟ้อง!… “วิชาสามัญเคมี” รู้แบบนี้ รบร้อยข้อ ก็ชนะร้อยข้อ
http://bit.ly/2zyw9GI

>>> “อ่านบางบท ก็กดไปเกินครึ่ง”... กลยุทธ์ปราบเซียน วิชาสามัญ “ชีววิทยา”
https://bit.ly/2D5pSWo

- - - - - - - - - - - -
=> ประเด็นอื่นที่น่าสนใจจะตามมาอีกมากมายในเพจ เช่น
(1) “แยกตัวประกอบแล้วได้อะไร เอาไปใช้ซื้อของได้ไหม?”
(2) “ชีววิทยา ม.ปลาย vs. ชีววิทยา แพทย์ปี 1 แตกต่างกันแค่ไหน?”
(3) “สาร+ความสัมพันธ์ของสาร+ปริมาณที่เอามาผสมกัน = ปริมาณสารสัมพันธ์ เนื้อหาเคมีต้อนรับ ม.4 นั้นสำคัญไฉน?”
(4) “แค่บวกกัน ก็ผัน 24 Tenses ได้ง่ายๆ ตาม Style คนชิว”
(5) ฯลฯ

=> “ถ้าชอบฝากกด Like ถ้าใช่ฝากกด Share” เพจและบทความด้วยน้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ Admin สรรสร้างบทความดีๆ แบบนี้ต่อไป ^^d

=> มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ แนะนำเข้ามาได้เลยใน IB
- - - - - - - - - - - -
References
https://www.dek-d.com/tcas/43459/
http://www.theactkk.net/home/homenew1/DetailsNews.asp
http://www.webythebrain.com/artic…/physics-9-subjects_tacs61
https://mcsquared.in.th/blog-exam_analysis-5
http://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/62697
https://www.top-atutor.com/…/จุดเน้น-9-วิชาสามัญ-ฉบับเตรียมสอบหมอ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่