[Level] #เคมี #มอปลาย #ข้อสอบวิชาสามัญเคมี
[Status] #เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย #เน้นเรื่องไหนดีหว่า #ออกแบบไหนอะไรยังไง
ติดตามบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ facebook fanpage: อ้าวหรอ สรุปฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิต อังกฤษ ม.ปลาย แบบโคตรเข้าใจง่าย
http://bit.ly/2PaB1MS
ช่วงนี้หลายๆ คนน่าจะกำลังอ่านหนังสือทบทวนความรู้ในรายวิชาต่างๆ เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
เริ่มอ่านแรกๆ ก็โอเค ชิวๆ สบายๆ อ่านไปอ่านมา เริ่มเยอะ ดูเหมือนทุกๆ อย่างจะเยอะไปหมด
วิชาเยอะ เนื้อหาเยอะ จำเยอะ คำนวณเยอะ ฯลฯ โว๊ะ!!!
สิ่งเดียวที่มีน้อย คือ “เวลา”
หลังจากนั้นก็อาจจะมีปุจฉาผุดขึ้นมาในหัว เชื่อได้เลยว่าหนึ่งในนั้นคือ...
>>> เฮ้อออ! พอจะมีข้อสอบวิชาไหนบ้างนะที่
- ออกข้อสอบแบบเรียงบทตามที่เรียนมา?
- ออกโจทย์แบบไม่ประยุกต์+ไม่ลึกมาก?
- ออกไม่เกินหลักสูตร?
ถ้ามีจริงแล้วไซร้ ก็คงจะดีไม่น้อย
จะได้เริ่มอ่านแบบเรียงบทไปเลยไม่ต้องคิดมาก ส่วนจะเน้นบทไหนค่อยมาว่ากันอีกที
คำตอบคือ “มีสิ” ในรายวิชา “เคมี” นี่เอง
ในรายวิชานี้ ข้อสอบมันจะออกเรียงบทตามหนังสือเรียนของกระทรวงแบบแป๊ะๆ ตั้งแต่ข้อแรกยันข้อสุดท้าย
โดยข้อสอบแต่ละชุด
- มี 50 ข้อ
- ให้เวลาทำ 90 นาที
- เป็นแบบ 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ
ถ้าเรานำ “เวลา / จำนวนข้อ” ก็จะพบว่ามีเวลาทำโจทย์แต่ละข้อแค่ 1.48 นาที ไม่ผิด!!! 1.48 นาที
ปัญหามันอยู่ที่เวลา 1.48 นาที/ข้อ ที่เรามีอยู่เนี่ย มันยังไม่รวมเวลาที่เรา “ตื่นเต้น” “ตกใจ” “กระวนกระวาย” ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอยามนั่งอยู่ในห้องสอบ
“อิ๊ป อ๋าย แอ๊ะ!!!” มันเป็นข้อสอบแบบ Speed Test นี่หว่า!
บางข้ออ่ะ แค่อ่านโจทย์ให้จบนี่ก็ปาไปจะนาทีล่ะ
คำถามต่อไปคือ
>>> แล้วทำไมคนออกข้อสอบถึงเจาะจงให้ “วิชาสามัญเคมี” เป็นแบบ “Speed Test” ล่ะ?
ถ้าได้รู้คำตอบของคำถามข้อนี้ ก็จะประจักษ์ใจ และยอมรับแต่โดยดี ว่าทำไมถึงต้อง “Speed Test” ด้วยเหตุผล 5 ข้อดังต่อไปนี้
(1) โจทย์ทุกข้อมาจากเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเรียนทั้งหมด
(2) ถึงแม้จะออกทุกบท แต่จะออกแบบเรียงบท เพื่อให้ง่ายต่อการไล่ลำดับความคิด
(3) ความยากไม่หนีจากข้อสอบเก่าๆ ใช้มุกเดิมซ้ำๆ และไม่เจาะลึกมาก
(4) บทเล็กๆ เช่น โพลีเมอร์ การถลุงแร่ ฯลฯ มันจะง่ายไปไหน
(5) มี “น้อยข้อมาก” ที่ต้องใช้ความรู้จากหลายๆ บทมามาประยุกต์แก้โจทย์ (ข้อปราบเซียนโดยเฉพาะ)
จากเหตุผล 5 ข้อข้างต้น + เวลาที่มี 1.48 นาที/ข้อ = เป็นข้อสอบเพื่อวัดความที่เรา “รู้” หรือ “ไม่รู้” เท่านั้น
เช่น ถ้าข้อไหนอ่านโจทย์แล้วเราสามารถ “รู้” ได้ทันทีว่าต้องทำยังไง ต้องตอบแบบไหนแล้วเป็นอัน “จบ” ละเลงได้เลย คะแนนมาเต็ม
แต่ถ้าเกิดอ่านแล้วไม่เป็นเหมือนอย่างแรก นั่นแปลว่า ไม่มีทางที่จะทำให้เสร็จได้ภายใน 1.48 นาทีแน่นอน ยกเว้น “เดา” ซึ่งโอกาสตอบถูกคือ 1 ใน 5 ถ้าไม่มาพร้อมฟ้าประทานจริงๆ ก็รอดยาก
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การวางแผนอ่านหนังสือ “วิชาสามัญเคมี” อย่างแรกเลยก็คงจะเป็นการเริ่มอ่านแบบเรียงบท ไล่ทำโจทย์เก่าๆ ไล่เรียงกันไปตามลำดับเนื้อหาในหนังสือเรียน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดลำดับความคิด
แต่ก่อนเริ่มอ่าน ก็จะมีคำถามที่ 3 ตามมา
>>> แล้วเราจะทราบได้ไงว่าต้องอ่านยังไง เน้นบทไหนบ้าง?
คำตอบที่ชัวร์ที่สุดก็คงได้จากการนำสถิติข้อสอบเคมี 5 ปีย้อนหลังจากสำนักต่างๆ มาวิเคราะห์ (มีแหล่งอ้างอิงท้ายบทความ)
ซึ่งบทสรุปจะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย
ก่อนอื่น... เพื่อให้ง่ายต่อการวางแผนการอ่านแต่ละบท จะทำการแบ่งระดับการอ่านออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 คือ การอ่านที่โคตรจะต้องเน้นให้หนัก
ระดับ 2 คือ รองจากระดับแรก
ระดับ 3 คือ อ่านชิวๆ ไป เข้าใจก็พอ
โดยระดับ 1 มี 5 บท ดังนี้
(1) กรด-เบส (เฉลี่ย 6.3 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(2) ปริมาณสารสัมพันธ์ 1 และ 2 (เฉลี่ย 6.15 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(3) ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี (เฉลี่ย 5.20 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(4) สมบัติของธาตุ และตารางธาตุ (เฉลี่ย 4.15 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(5) สมดุลเคมี (เฉลี่ย 4.15 ข้อ จาก 50 ข้อ)
ระดับ 2 แบ่งไว้ 4 บท ดังนี้
(6) เคมีอินทรีย์ (เฉลี่ย 4.05 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(7) พันธะเคมี (เฉลี่ย 4.00 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(8) อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (เฉลี่ย 3.90 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(9) ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ (เฉลี่ย 3.20 ข้อ จาก 50 ข้อ)
ระดับ 3 อ่านชิวๆ ไป เข้าใจก็พอ มีอีก 4 บท ดังนี้
(10) สารชีวโมเลกุล (เฉลี่ย 2.95 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(11) โครงสร้างอะตอม (เฉลี่ย 2.90 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(12) ซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (เฉลี่ย 2.10 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(13) ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม (เฉลี่ย 1.80 ข้อ จาก 50 ข้อ)
เห็นไหมว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ก็ชนะร้อยครั้ง” ตามกลยุทธ์การรบฉบับขงเบ้งเป๊ะๆ
การรู้ตื้น-ลึก-หนา-บาง ของข้อสอบแต่ละวิชา ก็เพื่อที่เราจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้วางแผนอ่านหนังสือได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
รวมถึงวางแผนในการทำข้อสอบให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ส่งผลให้โอกาสที่จะได้คะแนนในแต่ละข้อก็ยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
สรุป.. เราได้รู้อะไรบ้างจากบทความนี้?
- อย่างแรกคือรู้ว่าต้องอ่านแบบเรียงบท เพราะข้อสอบมันดันออกแบบเรียงบทนี่หว่า! เพื่อที่เราจะได้จัดลำดับความคิดได้อย่างเป็นระบบ และนึกออกง่ายๆ ในห้องสอบ
- รู้ว่าบทไหนต้องเน้นในระดับไหนบ้าง เพื่อประหยัดเวลาสำหรับเนื้อหาบางบท
- รู้ว่าข้อสอบเป็นแบบ Speed Test 1.48 นาที/ข้อ อ่านปุ๊บ ต้องรู้ปั๊บ เพราะถ้าเราหยุดคิดปั๊บ เวลาจะเลยปุ๊บ!
- รู้ว่าข้อสอบเป็นแบบ 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ ต่อดวงดียังไงก็ยังลำบาก
- (คิดไม่ออกแล้ว บอกใต้โพสต์เพิ่มให้ทีน้าาา)
เพียงแค่นี้ การเตรียมตัวอ่านหนังสือในรายวิชาสามัญเคมี ก็คงจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นสำหรับใครหลายคน เพื่อที่เราที่จะได้ Focus ไปกับในสิ่งที่ถูกที่ควร มากกว่าการเตรียมตัวแบบไม่รู้อะไรเลย ว่ามั้ย?
#ติดตามประเด็นที่อาจไม่เคยรู้มาก่อนในห้องเรียนได้ที่
http://bit.ly/2PaB1MS
#บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
>>> ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ! ข้อสอบวิชาสามัญ “ฟิสิกส์” 17 จาก 25 ข้อ มาจากเนื้อหาแค่ 50% ของบทเรียนทั้งหมด! จริงเท็จแค่ไหน? มาดูกัน
http://bit.ly/2RBNsOm
>>> “อ่านบางบท ก็กดไปเกินครึ่ง”... กลยุทธ์ปราบเซียน วิชาสามัญ “ชีววิทยา”
https://bit.ly/2D5pSWo
- - - - - - - - - - - -
=> ประเด็นอื่นที่น่าสนใจจะตามมาอีกมากมายในเพจ เช่น
(1) “แยกตัวประกอบแล้วได้อะไร เอาไปใช้ซื้อของได้ไหม?”
(2) “ชีววิทยา ม.ปลาย vs. ชีววิทยา แพทย์ปี 1 แตกต่างกันแค่ไหน?”
(3) “สาร+ความสัมพันธ์ของสาร+ปริมาณที่เอามาผสมกัน = ปริมาณสารสัมพันธ์ เนื้อหาเคมีต้อนรับ ม.4 นั้นสำคัญไฉน?”
(4) “แค่บวกกัน ก็ผัน 24 Tenses ได้ง่ายๆ ตาม Style คนชิว”
(5) ฯลฯ
=> “ถ้าชอบฝากกด Like ถ้าใช่ฝากกด Share” เพจและบทความด้วยน้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ Admin สรรสร้างบทความดีๆ แบบนี้ต่อไป ^^d
=> มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ แนะนำเข้ามาได้เลยใน IB
- - - - - - - - - - - -
References
http://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/62697
https://www.webythebrain.com/ar…/chemistry-9-subjects_tacs61
https://www.top-atutor.com/จุดเน้น-9-วิชาสามัญ-ฉบับเตรียมสอ…
https://campus.campus-star.com/education/62106.html
https://www.dek-d.com/tcas/43459/
สถิติมันฟ้อง!… “วิชาสามัญเคมี” รู้แบบนี้ รบร้อยข้อ ก็ชนะร้อยข้อ
[Status] #เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย #เน้นเรื่องไหนดีหว่า #ออกแบบไหนอะไรยังไง
ติดตามบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ facebook fanpage: อ้าวหรอ สรุปฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิต อังกฤษ ม.ปลาย แบบโคตรเข้าใจง่าย
http://bit.ly/2PaB1MS
ช่วงนี้หลายๆ คนน่าจะกำลังอ่านหนังสือทบทวนความรู้ในรายวิชาต่างๆ เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
เริ่มอ่านแรกๆ ก็โอเค ชิวๆ สบายๆ อ่านไปอ่านมา เริ่มเยอะ ดูเหมือนทุกๆ อย่างจะเยอะไปหมด
วิชาเยอะ เนื้อหาเยอะ จำเยอะ คำนวณเยอะ ฯลฯ โว๊ะ!!!
สิ่งเดียวที่มีน้อย คือ “เวลา”
หลังจากนั้นก็อาจจะมีปุจฉาผุดขึ้นมาในหัว เชื่อได้เลยว่าหนึ่งในนั้นคือ...
>>> เฮ้อออ! พอจะมีข้อสอบวิชาไหนบ้างนะที่
- ออกข้อสอบแบบเรียงบทตามที่เรียนมา?
- ออกโจทย์แบบไม่ประยุกต์+ไม่ลึกมาก?
- ออกไม่เกินหลักสูตร?
ถ้ามีจริงแล้วไซร้ ก็คงจะดีไม่น้อย
จะได้เริ่มอ่านแบบเรียงบทไปเลยไม่ต้องคิดมาก ส่วนจะเน้นบทไหนค่อยมาว่ากันอีกที
คำตอบคือ “มีสิ” ในรายวิชา “เคมี” นี่เอง
ในรายวิชานี้ ข้อสอบมันจะออกเรียงบทตามหนังสือเรียนของกระทรวงแบบแป๊ะๆ ตั้งแต่ข้อแรกยันข้อสุดท้าย
โดยข้อสอบแต่ละชุด
- มี 50 ข้อ
- ให้เวลาทำ 90 นาที
- เป็นแบบ 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ
ถ้าเรานำ “เวลา / จำนวนข้อ” ก็จะพบว่ามีเวลาทำโจทย์แต่ละข้อแค่ 1.48 นาที ไม่ผิด!!! 1.48 นาที
ปัญหามันอยู่ที่เวลา 1.48 นาที/ข้อ ที่เรามีอยู่เนี่ย มันยังไม่รวมเวลาที่เรา “ตื่นเต้น” “ตกใจ” “กระวนกระวาย” ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอยามนั่งอยู่ในห้องสอบ
“อิ๊ป อ๋าย แอ๊ะ!!!” มันเป็นข้อสอบแบบ Speed Test นี่หว่า!
บางข้ออ่ะ แค่อ่านโจทย์ให้จบนี่ก็ปาไปจะนาทีล่ะ
คำถามต่อไปคือ
>>> แล้วทำไมคนออกข้อสอบถึงเจาะจงให้ “วิชาสามัญเคมี” เป็นแบบ “Speed Test” ล่ะ?
ถ้าได้รู้คำตอบของคำถามข้อนี้ ก็จะประจักษ์ใจ และยอมรับแต่โดยดี ว่าทำไมถึงต้อง “Speed Test” ด้วยเหตุผล 5 ข้อดังต่อไปนี้
(1) โจทย์ทุกข้อมาจากเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเรียนทั้งหมด
(2) ถึงแม้จะออกทุกบท แต่จะออกแบบเรียงบท เพื่อให้ง่ายต่อการไล่ลำดับความคิด
(3) ความยากไม่หนีจากข้อสอบเก่าๆ ใช้มุกเดิมซ้ำๆ และไม่เจาะลึกมาก
(4) บทเล็กๆ เช่น โพลีเมอร์ การถลุงแร่ ฯลฯ มันจะง่ายไปไหน
(5) มี “น้อยข้อมาก” ที่ต้องใช้ความรู้จากหลายๆ บทมามาประยุกต์แก้โจทย์ (ข้อปราบเซียนโดยเฉพาะ)
จากเหตุผล 5 ข้อข้างต้น + เวลาที่มี 1.48 นาที/ข้อ = เป็นข้อสอบเพื่อวัดความที่เรา “รู้” หรือ “ไม่รู้” เท่านั้น
เช่น ถ้าข้อไหนอ่านโจทย์แล้วเราสามารถ “รู้” ได้ทันทีว่าต้องทำยังไง ต้องตอบแบบไหนแล้วเป็นอัน “จบ” ละเลงได้เลย คะแนนมาเต็ม
แต่ถ้าเกิดอ่านแล้วไม่เป็นเหมือนอย่างแรก นั่นแปลว่า ไม่มีทางที่จะทำให้เสร็จได้ภายใน 1.48 นาทีแน่นอน ยกเว้น “เดา” ซึ่งโอกาสตอบถูกคือ 1 ใน 5 ถ้าไม่มาพร้อมฟ้าประทานจริงๆ ก็รอดยาก
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การวางแผนอ่านหนังสือ “วิชาสามัญเคมี” อย่างแรกเลยก็คงจะเป็นการเริ่มอ่านแบบเรียงบท ไล่ทำโจทย์เก่าๆ ไล่เรียงกันไปตามลำดับเนื้อหาในหนังสือเรียน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดลำดับความคิด
แต่ก่อนเริ่มอ่าน ก็จะมีคำถามที่ 3 ตามมา
>>> แล้วเราจะทราบได้ไงว่าต้องอ่านยังไง เน้นบทไหนบ้าง?
คำตอบที่ชัวร์ที่สุดก็คงได้จากการนำสถิติข้อสอบเคมี 5 ปีย้อนหลังจากสำนักต่างๆ มาวิเคราะห์ (มีแหล่งอ้างอิงท้ายบทความ)
ซึ่งบทสรุปจะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย
ก่อนอื่น... เพื่อให้ง่ายต่อการวางแผนการอ่านแต่ละบท จะทำการแบ่งระดับการอ่านออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 คือ การอ่านที่โคตรจะต้องเน้นให้หนัก
ระดับ 2 คือ รองจากระดับแรก
ระดับ 3 คือ อ่านชิวๆ ไป เข้าใจก็พอ
โดยระดับ 1 มี 5 บท ดังนี้
(1) กรด-เบส (เฉลี่ย 6.3 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(2) ปริมาณสารสัมพันธ์ 1 และ 2 (เฉลี่ย 6.15 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(3) ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี (เฉลี่ย 5.20 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(4) สมบัติของธาตุ และตารางธาตุ (เฉลี่ย 4.15 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(5) สมดุลเคมี (เฉลี่ย 4.15 ข้อ จาก 50 ข้อ)
ระดับ 2 แบ่งไว้ 4 บท ดังนี้
(6) เคมีอินทรีย์ (เฉลี่ย 4.05 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(7) พันธะเคมี (เฉลี่ย 4.00 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(8) อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (เฉลี่ย 3.90 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(9) ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ (เฉลี่ย 3.20 ข้อ จาก 50 ข้อ)
ระดับ 3 อ่านชิวๆ ไป เข้าใจก็พอ มีอีก 4 บท ดังนี้
(10) สารชีวโมเลกุล (เฉลี่ย 2.95 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(11) โครงสร้างอะตอม (เฉลี่ย 2.90 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(12) ซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (เฉลี่ย 2.10 ข้อ จาก 50 ข้อ)
(13) ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม (เฉลี่ย 1.80 ข้อ จาก 50 ข้อ)
เห็นไหมว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ก็ชนะร้อยครั้ง” ตามกลยุทธ์การรบฉบับขงเบ้งเป๊ะๆ
การรู้ตื้น-ลึก-หนา-บาง ของข้อสอบแต่ละวิชา ก็เพื่อที่เราจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้วางแผนอ่านหนังสือได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
รวมถึงวางแผนในการทำข้อสอบให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ส่งผลให้โอกาสที่จะได้คะแนนในแต่ละข้อก็ยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
สรุป.. เราได้รู้อะไรบ้างจากบทความนี้?
- อย่างแรกคือรู้ว่าต้องอ่านแบบเรียงบท เพราะข้อสอบมันดันออกแบบเรียงบทนี่หว่า! เพื่อที่เราจะได้จัดลำดับความคิดได้อย่างเป็นระบบ และนึกออกง่ายๆ ในห้องสอบ
- รู้ว่าบทไหนต้องเน้นในระดับไหนบ้าง เพื่อประหยัดเวลาสำหรับเนื้อหาบางบท
- รู้ว่าข้อสอบเป็นแบบ Speed Test 1.48 นาที/ข้อ อ่านปุ๊บ ต้องรู้ปั๊บ เพราะถ้าเราหยุดคิดปั๊บ เวลาจะเลยปุ๊บ!
- รู้ว่าข้อสอบเป็นแบบ 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ ต่อดวงดียังไงก็ยังลำบาก
- (คิดไม่ออกแล้ว บอกใต้โพสต์เพิ่มให้ทีน้าาา)
เพียงแค่นี้ การเตรียมตัวอ่านหนังสือในรายวิชาสามัญเคมี ก็คงจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นสำหรับใครหลายคน เพื่อที่เราที่จะได้ Focus ไปกับในสิ่งที่ถูกที่ควร มากกว่าการเตรียมตัวแบบไม่รู้อะไรเลย ว่ามั้ย?
#ติดตามประเด็นที่อาจไม่เคยรู้มาก่อนในห้องเรียนได้ที่ http://bit.ly/2PaB1MS
#บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
>>> ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ! ข้อสอบวิชาสามัญ “ฟิสิกส์” 17 จาก 25 ข้อ มาจากเนื้อหาแค่ 50% ของบทเรียนทั้งหมด! จริงเท็จแค่ไหน? มาดูกัน
http://bit.ly/2RBNsOm
>>> “อ่านบางบท ก็กดไปเกินครึ่ง”... กลยุทธ์ปราบเซียน วิชาสามัญ “ชีววิทยา”
https://bit.ly/2D5pSWo
- - - - - - - - - - - -
=> ประเด็นอื่นที่น่าสนใจจะตามมาอีกมากมายในเพจ เช่น
(1) “แยกตัวประกอบแล้วได้อะไร เอาไปใช้ซื้อของได้ไหม?”
(2) “ชีววิทยา ม.ปลาย vs. ชีววิทยา แพทย์ปี 1 แตกต่างกันแค่ไหน?”
(3) “สาร+ความสัมพันธ์ของสาร+ปริมาณที่เอามาผสมกัน = ปริมาณสารสัมพันธ์ เนื้อหาเคมีต้อนรับ ม.4 นั้นสำคัญไฉน?”
(4) “แค่บวกกัน ก็ผัน 24 Tenses ได้ง่ายๆ ตาม Style คนชิว”
(5) ฯลฯ
=> “ถ้าชอบฝากกด Like ถ้าใช่ฝากกด Share” เพจและบทความด้วยน้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ Admin สรรสร้างบทความดีๆ แบบนี้ต่อไป ^^d
=> มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ แนะนำเข้ามาได้เลยใน IB
- - - - - - - - - - - -
References
http://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/62697
https://www.webythebrain.com/ar…/chemistry-9-subjects_tacs61
https://www.top-atutor.com/จุดเน้น-9-วิชาสามัญ-ฉบับเตรียมสอ…
https://campus.campus-star.com/education/62106.html
https://www.dek-d.com/tcas/43459/