เป็นความจริงที่ว่า การจดทะเบียนสมรสขึ้นกับความสมัครใจของคนสองคน ไม่ใช่สิ่งที่คู่ชาย-หญิง คู่ชาย-ชาย คู่หญิง-หญิง หรือคู่รักข้ามเพศทุกคู่ต้องการ แต่การจดทะเบียนสมรสเป็นสิ่งที่พลเมืองทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน
แต่ตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ความรักมันมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น โลกเปิดกว้างมากขึ้น ไม่ได้มีแค่เฉพาะความรักของชาย-หญิงอย่างเดียว แต่มีคู่ชาย-ชาย หญิง-หญิง หรือคู่รักข้ามเพศ คนกลุ่มนี้ไม่สามารถไปจดทะเบียนสมรสกับคนรักได้ เพียงเพราะพวกเค้าเป็น ‘บุคคลหลากหลายทางเพศ’ ...ขอถามว่าคุณค่าของความรักของคนเหล่านี้มันด้อยกว่าความรักของหญิงชายทั่วไปตรงไหน?
เพื่อนสนิทที่เรารู้จักเป็นคู่ชายรักชาย รักกันมาก วันหนึ่งทั้งคู่ตัดสินใจจะลงหลักปักฐานด้วยกัน อยากจะปลูกบ้านร่วมกัน ก็เลยจับมือกันไปยื่นเรื่องขอกู้ร่วมกับธนาคาร ธนาคารก็ปฏิเสธ "ด้วยเหตุผลที่ว่าทั้งคู่ไม่ได้เป็นครอบครัวเดียวกันตามกฎหมาย"
ไม่ใช่แค่เฉพาะในกรณีนี้ ยังมีเรื่องของหญิงข้ามเพศอยู่กินกับแฟนมาก็นาน คู่นี้รักกันเหมือนจะเป็นคนๆ เดียวกันอยู่แล้ว วันหนึ่งแฟนไม่สบายมาก มารู้ตอนหลังไส้ติ่งอักเสบต้องผ่าตัดด่วน แต่หมอยังผ่าตัดให้ไม่ได้ เพราะต้องมีญาติเซ็นเอกสารยอมให้เข้ารับการผ่าตัด หญิงข้ามเพศไม่สามารถเซ็นเอกสารได้ "ด้วยเหตุผลที่ว่าทั้งคู่ไม่ได้เป็นครอบครัวเดียวกันตามกฎหมาย"
สาระสาคัญของกฎหมายที่ให้ความเสมอภาคในการสมรส
1. รับรองความสัมพันธ์ทางแพ่ง ระหว่างบุคคลสองคน โดยมีเงื่อนไขอนุญาตให้บุคคลทุกคน ทุกเพศกำเนิด รสนิยมทางเพศ และ อัตลักษณ์ทางเพศ จดทะเบียนสมรสเป็น “คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย”
มีศักดิ์และสิทธิทางแพ่งตามกฎหมายทุกประการ รวมถึง ศักดิ์และสิทธิตามประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎหมายอื่น กฎกระทรวง ระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ
โดยการเปลี่ยนถ้อยคำในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ บรรพ 6 จากเดิม เป็นภาษาที่มีความเป็นกลางทางเพศ ได้แก่ เปลี่ยนแปลงจาก คำว่า “ชายหญิง” เป็นคำว่า “บุคคล” คำว่า “สามีภริยา” เป็น “คู่สมรส” และคำว่า “บิดามารดา” เป็นคำว่า “บุพการี”
2. บัญญัติ ข้อห้ามในการสมรส การสมรสที่เป็นโมฆะ และโมฆียะ
3. บัญญัติ สิทธิและหน้าที่ ให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย จัดการทรัพย์สินและหนี้สินร่วมกัน ระหว่างที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน
4. บัญญัติสิทธิและหน้าที่ ให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับ การมีบุตรและปกครองบุตรร่วมกัน ให้สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน ให้สิทธิในการปกครองบุตรที่ติดมากับคู่สมรสอีกฝ่าย และเป็น “บุพการีเพศเดียวกัน” มีอำนาจปกครองบุตรดังกล่าวร่วมกันได้
5. บัญญัติสิทธิและหน้าที่ ให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถดำเนินการ หรือ มีบุตรโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และเป็น “บุพการีเพศเดียวกัน” มีอำนาจปกครองบุตรดังกล่าวร่วมกันได้
6. บัญญัติสิทธิให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิในการรับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายที่เสียชีวิต
7. บัญญัติเงื่อนไขระหว่างคู่สมรสว่าด้วย การสิ้นสุดการสมรส การเพิกถอนการสมรส การหย่าขาดจากการสมรส การจัดการทรัพย์สินหลังสิ้นสุดการสมรส การเรียกค่าทดแทน ค่าอุปการะเลี้ยงดูหลังสิ้นสุดการสมรส
8. บัญญัติบทเฉพาะกาล ให้ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎหมายอื่น กฎกระทรวง กฎระเบียบ ที่บัญญัติอ้างอิงคำว่า “คู่สมรส” “สามีภริยา” และ “บิดามารดา” ให้หมายความรวมถึง “คู่สมรสที่มีเพศเดียวกัน” และ “บุพการีที่มีเพศเดียวกัน”
9. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ มีอำนาจในการออกกฎกระทรวง กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยกฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้องพึงมีแนวนโยบายเดียวกัน ปราศจากการเลือกปฏิบัติ บนพื้นฐานความเสมอภาคกับคู่สมรสต่างเพศ
10. ไม่มีการแก้ไขหลักการว่าด้วย การหมั้น และความสัมพันธ์ระหว่างบิดา มารดา และบุตรของคู่สมรสต่างเพศ ตามบทบัญญัติ ปพพ. บรรพ 5 ลักษณะ 1 หมวด 1 ว่าด้วยการหมั้น และความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา และบุตร ตาม ปพพ. บรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 1
ลงชื่อที่นี่ด้านล่างค่ะ
https://www.change.org/p/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8
ขอเชิญร่วมลงชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รับรองสิทธิของคู่แต่งงานหลากเพศ
เป็นความจริงที่ว่า การจดทะเบียนสมรสขึ้นกับความสมัครใจของคนสองคน ไม่ใช่สิ่งที่คู่ชาย-หญิง คู่ชาย-ชาย คู่หญิง-หญิง หรือคู่รักข้ามเพศทุกคู่ต้องการ แต่การจดทะเบียนสมรสเป็นสิ่งที่พลเมืองทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน
แต่ตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ความรักมันมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น โลกเปิดกว้างมากขึ้น ไม่ได้มีแค่เฉพาะความรักของชาย-หญิงอย่างเดียว แต่มีคู่ชาย-ชาย หญิง-หญิง หรือคู่รักข้ามเพศ คนกลุ่มนี้ไม่สามารถไปจดทะเบียนสมรสกับคนรักได้ เพียงเพราะพวกเค้าเป็น ‘บุคคลหลากหลายทางเพศ’ ...ขอถามว่าคุณค่าของความรักของคนเหล่านี้มันด้อยกว่าความรักของหญิงชายทั่วไปตรงไหน?
เพื่อนสนิทที่เรารู้จักเป็นคู่ชายรักชาย รักกันมาก วันหนึ่งทั้งคู่ตัดสินใจจะลงหลักปักฐานด้วยกัน อยากจะปลูกบ้านร่วมกัน ก็เลยจับมือกันไปยื่นเรื่องขอกู้ร่วมกับธนาคาร ธนาคารก็ปฏิเสธ "ด้วยเหตุผลที่ว่าทั้งคู่ไม่ได้เป็นครอบครัวเดียวกันตามกฎหมาย"
ไม่ใช่แค่เฉพาะในกรณีนี้ ยังมีเรื่องของหญิงข้ามเพศอยู่กินกับแฟนมาก็นาน คู่นี้รักกันเหมือนจะเป็นคนๆ เดียวกันอยู่แล้ว วันหนึ่งแฟนไม่สบายมาก มารู้ตอนหลังไส้ติ่งอักเสบต้องผ่าตัดด่วน แต่หมอยังผ่าตัดให้ไม่ได้ เพราะต้องมีญาติเซ็นเอกสารยอมให้เข้ารับการผ่าตัด หญิงข้ามเพศไม่สามารถเซ็นเอกสารได้ "ด้วยเหตุผลที่ว่าทั้งคู่ไม่ได้เป็นครอบครัวเดียวกันตามกฎหมาย"
สาระสาคัญของกฎหมายที่ให้ความเสมอภาคในการสมรส
1. รับรองความสัมพันธ์ทางแพ่ง ระหว่างบุคคลสองคน โดยมีเงื่อนไขอนุญาตให้บุคคลทุกคน ทุกเพศกำเนิด รสนิยมทางเพศ และ อัตลักษณ์ทางเพศ จดทะเบียนสมรสเป็น “คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย”
มีศักดิ์และสิทธิทางแพ่งตามกฎหมายทุกประการ รวมถึง ศักดิ์และสิทธิตามประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎหมายอื่น กฎกระทรวง ระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ
โดยการเปลี่ยนถ้อยคำในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ บรรพ 6 จากเดิม เป็นภาษาที่มีความเป็นกลางทางเพศ ได้แก่ เปลี่ยนแปลงจาก คำว่า “ชายหญิง” เป็นคำว่า “บุคคล” คำว่า “สามีภริยา” เป็น “คู่สมรส” และคำว่า “บิดามารดา” เป็นคำว่า “บุพการี”
2. บัญญัติ ข้อห้ามในการสมรส การสมรสที่เป็นโมฆะ และโมฆียะ
3. บัญญัติ สิทธิและหน้าที่ ให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย จัดการทรัพย์สินและหนี้สินร่วมกัน ระหว่างที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน
4. บัญญัติสิทธิและหน้าที่ ให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับ การมีบุตรและปกครองบุตรร่วมกัน ให้สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน ให้สิทธิในการปกครองบุตรที่ติดมากับคู่สมรสอีกฝ่าย และเป็น “บุพการีเพศเดียวกัน” มีอำนาจปกครองบุตรดังกล่าวร่วมกันได้
5. บัญญัติสิทธิและหน้าที่ ให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถดำเนินการ หรือ มีบุตรโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และเป็น “บุพการีเพศเดียวกัน” มีอำนาจปกครองบุตรดังกล่าวร่วมกันได้
6. บัญญัติสิทธิให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิในการรับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายที่เสียชีวิต
7. บัญญัติเงื่อนไขระหว่างคู่สมรสว่าด้วย การสิ้นสุดการสมรส การเพิกถอนการสมรส การหย่าขาดจากการสมรส การจัดการทรัพย์สินหลังสิ้นสุดการสมรส การเรียกค่าทดแทน ค่าอุปการะเลี้ยงดูหลังสิ้นสุดการสมรส
8. บัญญัติบทเฉพาะกาล ให้ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎหมายอื่น กฎกระทรวง กฎระเบียบ ที่บัญญัติอ้างอิงคำว่า “คู่สมรส” “สามีภริยา” และ “บิดามารดา” ให้หมายความรวมถึง “คู่สมรสที่มีเพศเดียวกัน” และ “บุพการีที่มีเพศเดียวกัน”
9. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ มีอำนาจในการออกกฎกระทรวง กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยกฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้องพึงมีแนวนโยบายเดียวกัน ปราศจากการเลือกปฏิบัติ บนพื้นฐานความเสมอภาคกับคู่สมรสต่างเพศ
10. ไม่มีการแก้ไขหลักการว่าด้วย การหมั้น และความสัมพันธ์ระหว่างบิดา มารดา และบุตรของคู่สมรสต่างเพศ ตามบทบัญญัติ ปพพ. บรรพ 5 ลักษณะ 1 หมวด 1 ว่าด้วยการหมั้น และความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา และบุตร ตาม ปพพ. บรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 1
ลงชื่อที่นี่ด้านล่างค่ะ
https://www.change.org/p/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8