นักวิทย์แนะ ใช้น้ำส้มสายชู
นักวิทย์ แนะหากอยากให้ผ้าขนหนูนุ่มน่าใช้ ต้องใช้น้ำส้มสายชู ไม่ใช่น้ำยาปรับผ้านุ่ม
น้ำส้มสายชู – เฟซบุ๊กเพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว โพสต์ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม ซึ่งไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับผ้าขนหนู ความว่า
++เมื่อน้ำยาปรับผ้านุ่มในท้องตลาด ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อผ้าขนหนู จงใช้น้ำส้มสายชูแทนเถอะ++
หลายๆคนมักมีความเข้าใจผิดว่าผ้าขนหนูนั้น ถ้าอยากให้นุ่มมากๆควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มใส่ลงไปในน้ำสุดท้ายนะครับ ซึ่งในความเป็นจริงคือ มันช่วยนุ่มได้จริงแต่สมบัติในการซับน้ำของมันนั้นเรียกว่าแทบจะหายไปเลยแหละ
ปกติแล้วน้ำยาปรับผ้านุ่มในท้องตลาดนั้นเป็นสารประกอบ Quaternary ammonium compounds ที่มีหมู่โซ่อัลคิลยาวประมาณ 18 คาร์บอน (C18, stearyl group) ที่สามารถแสดงประจุบวกได้ดี จึงทำให้สามารถที่จะจับกับผิววัสดุสิ่งทอที่มีศักย์พื้นผิว (surface potential) เป็นลบ (negative charge) เสมอๆนะครับ
ซึ่งสารที่ให้ความนุ่มของน้ำยาปรับผ้านุ่มสำหรับการซักผ้า (Laundry fabric softener) นั้นจะใช้ส่วนที่มีขั้วบวก (cationic groups) นั้นหันเข้าไปจับกับผ้า ส่งผลทำให้ประจุสมดุลนั้นเข้าใกล้ 0 มากยิ่งขึ้น
แน่นอนล่ะว่า การที่มันหันส่วนที่มีขั้วเข้าไปจับกับผ้า ก็จะทำให้มันก็จะหันส่วนที่เป็นไขมันจาก stearyl group ออกมาแทนนะครับ จึงทำให้ผ้านั้นมีสัมผัสที่นุ่มลื่น แต่ก็สามารถต้านน้ำ (water repellency) ด้วย
สมบัติของผ้าขนหนูในทางอุดมคติที่ดี คือ ต้องฟู (bulky) และมีความซับน้ำได้ดี (good water absorbency) ดังนั้นการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มในท้องตลาดนั้นจึงไม่ใช่คำตอบที่ดีกับผ้าขนหนูแน่ๆครับ
นอกจากนั้นความไขและประจุบวกที่เกาะอยู่นั้นยังสามารถดักจับสิ่งสกปรกอย่างฝุ่นละอองในอากาศได้ดีไปอีก จึงทำให้ผ้าขนหนูนั้นเก็บกักสิ่งสกปรกได้ดีจากความขนฟู แต่ไม่ซับน้ำของมัน ทำให้มันซักยากไปอี๊ก
การใช้น้ำส้มสายชูแทนน้ำยาปรับผ้านุ่มในน้ำสุดท้ายสำหรับผ้าขนหนู (1 ถ้วยตวงต่อน้ำซัก 1 ถัง 30 ลิตร) ก็สามารถให้ความฟูของผ้าขนหนูได้ดี เนื่องจากมันทำให้เกิดความฝืดที่ขนผ้าหนูและตั้งชูชันจนฟูนุ่มได้ดี นอกจากนั้นสภาวะกรดอ่อนของน้ำส้มสายชูยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี ทำให้กลิ่นอับชื้นหายไปได้มากเลยนะครับ (โดยที่พอตากแห้งแล้วกลิ่นน้ำส้มสายชูจะระเหยไปหมด ไม่ทิ้งกลิ่นเปรี้ยวไว้เลย)
ดังนั้นจงควรใช้น้ำส้มสายชูแทนน้ำยาปรับผ้านุ่มในการปรับความนุ่มฟูของผ้าขนหนูจะดีที่สุดครับ แอดบอกเลย!! ยิ่งถ้าเอามาอบในเครื่องอบผ้าก็จะได้ผ้าขนหนูที่นุ่มสุดๆพร้อมกับยังสามารถซึมซับน้ำได้ดีเยี่ยมด้วยนะครับ
ข่าวสด
นักวิทย์ แนะหากอยากให้ผ้าขนหนูนุ่มไม่เหม็นอับ ต้องใช้น้ำส้มสายชู ไม่ใช่น้ำยาปรับผ้านุ่ม
นักวิทย์แนะ ใช้น้ำส้มสายชู
นักวิทย์ แนะหากอยากให้ผ้าขนหนูนุ่มน่าใช้ ต้องใช้น้ำส้มสายชู ไม่ใช่น้ำยาปรับผ้านุ่ม
น้ำส้มสายชู – เฟซบุ๊กเพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว โพสต์ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม ซึ่งไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับผ้าขนหนู ความว่า
++เมื่อน้ำยาปรับผ้านุ่มในท้องตลาด ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อผ้าขนหนู จงใช้น้ำส้มสายชูแทนเถอะ++
หลายๆคนมักมีความเข้าใจผิดว่าผ้าขนหนูนั้น ถ้าอยากให้นุ่มมากๆควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มใส่ลงไปในน้ำสุดท้ายนะครับ ซึ่งในความเป็นจริงคือ มันช่วยนุ่มได้จริงแต่สมบัติในการซับน้ำของมันนั้นเรียกว่าแทบจะหายไปเลยแหละ
ปกติแล้วน้ำยาปรับผ้านุ่มในท้องตลาดนั้นเป็นสารประกอบ Quaternary ammonium compounds ที่มีหมู่โซ่อัลคิลยาวประมาณ 18 คาร์บอน (C18, stearyl group) ที่สามารถแสดงประจุบวกได้ดี จึงทำให้สามารถที่จะจับกับผิววัสดุสิ่งทอที่มีศักย์พื้นผิว (surface potential) เป็นลบ (negative charge) เสมอๆนะครับ
ซึ่งสารที่ให้ความนุ่มของน้ำยาปรับผ้านุ่มสำหรับการซักผ้า (Laundry fabric softener) นั้นจะใช้ส่วนที่มีขั้วบวก (cationic groups) นั้นหันเข้าไปจับกับผ้า ส่งผลทำให้ประจุสมดุลนั้นเข้าใกล้ 0 มากยิ่งขึ้น
แน่นอนล่ะว่า การที่มันหันส่วนที่มีขั้วเข้าไปจับกับผ้า ก็จะทำให้มันก็จะหันส่วนที่เป็นไขมันจาก stearyl group ออกมาแทนนะครับ จึงทำให้ผ้านั้นมีสัมผัสที่นุ่มลื่น แต่ก็สามารถต้านน้ำ (water repellency) ด้วย
สมบัติของผ้าขนหนูในทางอุดมคติที่ดี คือ ต้องฟู (bulky) และมีความซับน้ำได้ดี (good water absorbency) ดังนั้นการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มในท้องตลาดนั้นจึงไม่ใช่คำตอบที่ดีกับผ้าขนหนูแน่ๆครับ
นอกจากนั้นความไขและประจุบวกที่เกาะอยู่นั้นยังสามารถดักจับสิ่งสกปรกอย่างฝุ่นละอองในอากาศได้ดีไปอีก จึงทำให้ผ้าขนหนูนั้นเก็บกักสิ่งสกปรกได้ดีจากความขนฟู แต่ไม่ซับน้ำของมัน ทำให้มันซักยากไปอี๊ก
การใช้น้ำส้มสายชูแทนน้ำยาปรับผ้านุ่มในน้ำสุดท้ายสำหรับผ้าขนหนู (1 ถ้วยตวงต่อน้ำซัก 1 ถัง 30 ลิตร) ก็สามารถให้ความฟูของผ้าขนหนูได้ดี เนื่องจากมันทำให้เกิดความฝืดที่ขนผ้าหนูและตั้งชูชันจนฟูนุ่มได้ดี นอกจากนั้นสภาวะกรดอ่อนของน้ำส้มสายชูยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี ทำให้กลิ่นอับชื้นหายไปได้มากเลยนะครับ (โดยที่พอตากแห้งแล้วกลิ่นน้ำส้มสายชูจะระเหยไปหมด ไม่ทิ้งกลิ่นเปรี้ยวไว้เลย)
ดังนั้นจงควรใช้น้ำส้มสายชูแทนน้ำยาปรับผ้านุ่มในการปรับความนุ่มฟูของผ้าขนหนูจะดีที่สุดครับ แอดบอกเลย!! ยิ่งถ้าเอามาอบในเครื่องอบผ้าก็จะได้ผ้าขนหนูที่นุ่มสุดๆพร้อมกับยังสามารถซึมซับน้ำได้ดีเยี่ยมด้วยนะครับ
ข่าวสด