ในช่วงปลายปีนี้ มีฤกษ์งามยามดี มีงานแต่งงานเยอะเป็นพิเศษ สำหรับคู่แต่งงานนั้นมีเรื่องที่ต้องเตรียมการมากมาย แต่คนจำนวนมากเตรียมการเรื่องโน้นเรื่องนี้ แต่ก็ละเลยเรื่องที่ทำให้บั่นทอนความรักได้มากอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ
“เรื่องเงิน” นั่นเอง เรื่องเงินต้องมีการจัดการในรายละเอียดอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินส่วนตัว เรื่องเงินของทั้งคู่ และในอนาคตหากมีทายาทตัวน้อยๆ เรื่องเงินเพื่อการศึกษาลูกก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องบริหารจัดการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะเกิดปัญหาเรื่องเงิน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เป็นเหตุให้คู่รักทะเลาะกัน ต้องรีบจัดการปัญหาก่อนปัญหาจะบานปลายนะครับ
เนื่องจากแต่ละคนเติบโตมาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน มุมมองที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตก็มีแนวโน้มที่แตกต่างกัน และแน่นอนว่า
“ทัศนคติทางด้านการเงิน” จึงแตกต่างกันไม่มากก็น้อย สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีการพูดคุยกันว่า ... ทั้งคู่มีมุมมองอย่างไรในด้านการจัดการการเงิน, มองเงินแบบแยกกระเป๋าไม่นำมารวมกัน หรือจะนำมาเป็นกองกลางทั้งหมด หรือจะแบบไฮบริด แยกเงินกันส่วนหนึ่ง รวมกันส่วนหนึ่ง ก็แล้วแต่ตกลงกัน
วันนี้ทาง K-Expert มีเรื่องใหญ่ 3 เรื่อง ที่ควรต้องเคลียร์กันในเรื่องการเงินสำหรับคู่แต่งงานมานำเสนอครับ
1.
รายรับ รายจ่าย ของทั้งสองฝ่าย เมื่อมีรายได้มาในแต่ละเดือน ควรต้องพูดคุยกันก่อนว่าจะใช้เงินสำหรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง รายจ่ายที่ใช้ร่วมกัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต สามี หรือภรรยา อันนี้ก็แล้วแต่จะคุย หรือตกลงกันในรายละเอียด
ทั้งภรรยา และสามีต่างก็มีสังคมของตนเอง ที่จะต้องไปกินเลี้ยงสังสรรค์ ทั้งคู่จึงควรพูดคุยกันว่าจะ ใช้เงินไปกับอะไรบ้าง งานเลี้ยง สังสรรค์ อาหารมื้อพิเศษ ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อีกทั้งค่ากระเป๋า หรือรองเท้าของคุณภรรยา ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เบาสำหรับครอบครัว ดังนั้นควรมีการพูดคุยกันว่าจะกำหนดรายจ่ายเหล่านี้ว่าควรมีเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของรายได้
2. ทั้งคู่จะจัดการกับ
หนี้ และสินทรัพย์ อย่างไร เมื่อมีการแต่งงานสร้างครอบครัว ก่อนจะแต่งงานทั้งสองฝ่ายควรรู้ภาระหนี้สินของแต่ละคน และเมื่อแต่งงานกันแล้วก็อาจจะมีการสร้างหนี้สินร่วมกัน เช่น การกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเป็นภาระระยะยาวของครอบครัว
ดังนั้นจึงควรมีการปรึกษาพูดคุยกันว่า จะมีการชำระหนี้ที่ก่อด้วยกันนี้ ในสัดส่วนคนละเท่าไหร่ อีกทั้งเมื่อต่างฝ่ายต่างได้โบนัสมาจากการทำงาน จะโปะหนี้บ้านเท่าไหร่ และเหลือไว้ลงทุนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่
3. ทั้งคู่จะจัดการกับ
เงินออม และเงินลงทุน อย่างไร การแต่งงานนั้นเป็นการที่คนสองคนจะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน สำหรับการออมและการลงทุนก็เช่นเดียวกัน ควรจะพูดคุยกันว่า ทั้งสามี และภรรยา มีทัศนคติอย่างไรต่อความเสี่ยงที่รับได้ ตัวอย่างเช่น หากสามี เป็นคนที่รับความเสี่ยงได้สูง อาจนำเงินไปลงทุนในหุ้นสามัญ ซึ่งถ้าเกิดผิดพลาด และสูญเสียเงินจำนวนมาก อาจทำให้ภรรยาเกิดความไม่พึงพอใจได้ ดังนั้นควรมีการปรึกษาระหว่างกันว่า จำนวนเงินเท่าไหร่ที่จะสามารถลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงได้ และเงินก้อนไหนควรวางไว้ในที่ที่ปลอดภัยสำหรับเงินต้น
อีกทั้งควรมีการวางแผนร่วมกันในเรื่องการลงทุนเพื่อการเกษียณ เนื่องจากหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินเกษียณเพียงพอ แต่อีกฝ่ายไม่มีเงินเกษียณเพียงพอ อาจจะกระทบกับความสัมพันธ์ได้ในอนาคต
สำหรับความสัมพันธ์ที่ดี และยั้งยืนนั้นทั้งสามี และภรรยา ควรมีการสื่อสารกัน และทำความเข้าใจกัน เรียนรู้ซึ้งกันและกันตลอดชีวิต เอาใจเขามาใส่ใจเรา และเมื่อมีปัญหาก็จะต้องช่วยกันแก้ไข ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามบานปลาย จะได้มีความรักความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ และมีความสุขนะครับ
คุยเรื่องเงินให้เคลียร์ ... จะได้ไม่เพลียหลังแต่งงาน (3 เรื่องเงินที่ต้องเคลียร์กันก่อนแต่งงาน)
ในช่วงปลายปีนี้ มีฤกษ์งามยามดี มีงานแต่งงานเยอะเป็นพิเศษ สำหรับคู่แต่งงานนั้นมีเรื่องที่ต้องเตรียมการมากมาย แต่คนจำนวนมากเตรียมการเรื่องโน้นเรื่องนี้ แต่ก็ละเลยเรื่องที่ทำให้บั่นทอนความรักได้มากอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ “เรื่องเงิน” นั่นเอง เรื่องเงินต้องมีการจัดการในรายละเอียดอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินส่วนตัว เรื่องเงินของทั้งคู่ และในอนาคตหากมีทายาทตัวน้อยๆ เรื่องเงินเพื่อการศึกษาลูกก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องบริหารจัดการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะเกิดปัญหาเรื่องเงิน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เป็นเหตุให้คู่รักทะเลาะกัน ต้องรีบจัดการปัญหาก่อนปัญหาจะบานปลายนะครับ
เนื่องจากแต่ละคนเติบโตมาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน มุมมองที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตก็มีแนวโน้มที่แตกต่างกัน และแน่นอนว่า “ทัศนคติทางด้านการเงิน” จึงแตกต่างกันไม่มากก็น้อย สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีการพูดคุยกันว่า ... ทั้งคู่มีมุมมองอย่างไรในด้านการจัดการการเงิน, มองเงินแบบแยกกระเป๋าไม่นำมารวมกัน หรือจะนำมาเป็นกองกลางทั้งหมด หรือจะแบบไฮบริด แยกเงินกันส่วนหนึ่ง รวมกันส่วนหนึ่ง ก็แล้วแต่ตกลงกัน
1. รายรับ รายจ่าย ของทั้งสองฝ่าย เมื่อมีรายได้มาในแต่ละเดือน ควรต้องพูดคุยกันก่อนว่าจะใช้เงินสำหรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง รายจ่ายที่ใช้ร่วมกัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต สามี หรือภรรยา อันนี้ก็แล้วแต่จะคุย หรือตกลงกันในรายละเอียด
ทั้งภรรยา และสามีต่างก็มีสังคมของตนเอง ที่จะต้องไปกินเลี้ยงสังสรรค์ ทั้งคู่จึงควรพูดคุยกันว่าจะ ใช้เงินไปกับอะไรบ้าง งานเลี้ยง สังสรรค์ อาหารมื้อพิเศษ ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อีกทั้งค่ากระเป๋า หรือรองเท้าของคุณภรรยา ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เบาสำหรับครอบครัว ดังนั้นควรมีการพูดคุยกันว่าจะกำหนดรายจ่ายเหล่านี้ว่าควรมีเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของรายได้
2. ทั้งคู่จะจัดการกับ หนี้ และสินทรัพย์ อย่างไร เมื่อมีการแต่งงานสร้างครอบครัว ก่อนจะแต่งงานทั้งสองฝ่ายควรรู้ภาระหนี้สินของแต่ละคน และเมื่อแต่งงานกันแล้วก็อาจจะมีการสร้างหนี้สินร่วมกัน เช่น การกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเป็นภาระระยะยาวของครอบครัว
ดังนั้นจึงควรมีการปรึกษาพูดคุยกันว่า จะมีการชำระหนี้ที่ก่อด้วยกันนี้ ในสัดส่วนคนละเท่าไหร่ อีกทั้งเมื่อต่างฝ่ายต่างได้โบนัสมาจากการทำงาน จะโปะหนี้บ้านเท่าไหร่ และเหลือไว้ลงทุนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่
3. ทั้งคู่จะจัดการกับ เงินออม และเงินลงทุน อย่างไร การแต่งงานนั้นเป็นการที่คนสองคนจะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน สำหรับการออมและการลงทุนก็เช่นเดียวกัน ควรจะพูดคุยกันว่า ทั้งสามี และภรรยา มีทัศนคติอย่างไรต่อความเสี่ยงที่รับได้ ตัวอย่างเช่น หากสามี เป็นคนที่รับความเสี่ยงได้สูง อาจนำเงินไปลงทุนในหุ้นสามัญ ซึ่งถ้าเกิดผิดพลาด และสูญเสียเงินจำนวนมาก อาจทำให้ภรรยาเกิดความไม่พึงพอใจได้ ดังนั้นควรมีการปรึกษาระหว่างกันว่า จำนวนเงินเท่าไหร่ที่จะสามารถลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงได้ และเงินก้อนไหนควรวางไว้ในที่ที่ปลอดภัยสำหรับเงินต้น
อีกทั้งควรมีการวางแผนร่วมกันในเรื่องการลงทุนเพื่อการเกษียณ เนื่องจากหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินเกษียณเพียงพอ แต่อีกฝ่ายไม่มีเงินเกษียณเพียงพอ อาจจะกระทบกับความสัมพันธ์ได้ในอนาคต
สำหรับความสัมพันธ์ที่ดี และยั้งยืนนั้นทั้งสามี และภรรยา ควรมีการสื่อสารกัน และทำความเข้าใจกัน เรียนรู้ซึ้งกันและกันตลอดชีวิต เอาใจเขามาใส่ใจเรา และเมื่อมีปัญหาก็จะต้องช่วยกันแก้ไข ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามบานปลาย จะได้มีความรักความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ และมีความสุขนะครับ