ปัจจุบันท่าแหลมฉบังเป็นท่าเรือขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลกและเป็นท่าเรือขนส่งรถยนต์ของภูมิภาค ส่วนในอนาคตรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับตู้คอนแทนเนอร์ได้มากขึ้น โดยคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 3-5 ปี
โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบังให้สามารถรองรับการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ โดยจะดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำหรับจอดเรือน้ำลึก และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมทั้งการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (Single Rail Transfer Operator, SRTO), ก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A), ปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรภายในท่าเรือ ตลอดจนโครงข่ายและระบบการขนส่งต่อเนื่องที่จำเป็นในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังที่จะเชื่อมต่อกับภายนอกให้เพียงพอและพร้อมที่จะรองรับการขยาย ตัวของปริมาณเรือและสินค้าประเภทต่าง ๆ
องค์ประกอบโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จะประกอบไปด้วย
• ก่อสร้างท่าเรือตู้สินค้า 4 ท่า (ท่าเรือ E1 E2 F1 F2) ความจุ 7 ล้านตู้ต่อปี
• ก่อสร้างท่าเรือขนส่งรถยนต์ (RO-RO) ความจุ 1 ล้านคันต่อปี
• ก่อสร้างท่าเรือชายฝั่ง ความจุ 1 ล้านตู้ต่อปี
• ก่อสร้างสถานีขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟระยะที่ 2 (SRTO2)
• ปรับปรุงระบบในการรองรับปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าทางรถไฟให้ได้ 4 ล้านตู้ต่อปี โดยใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation)
โครงการจะสามารถเปิดดำเนินการอย่างช้าภายใน ปี พ.ศ. 2568 มีแผนการก่อสร้างแบ่งออกเป็นการโครงสร้างพื้นฐาน 5 ปี (ปี พ.ศ. 2561 – 2566) และการก่อสร้างท่าเทียบเรือและติดตั้งอุปกรณ์ขนถ่าย 3 ปี (ปี พ.ศ. 2565 - 2568)
โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จะใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความสะดวก เพิ่มความรวดเร็วในการบริหารจัดการ รวมไปถึงการช่วยลดมลพิษ และสร้างสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่น
• เครนยกตู้แบบไร้คนขับ เพื่อยกตู้สินค้าขึ้น หรือลงจากรถขนส่ง
• รถลำเลียงตู้สินค้าแบบไร้คนขับ ใช้ขนส่งตู้สินค้าระหว่างลาน กับบริเวณหน้าท่า
• เรือขุดลอกระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และเหมาะกับการบำรุงรักษาร่องน้ำ
• ระบบจ่ายไฟฟ้าให้กับเรือที่มาเทียบท่า เพื่อลดการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ดีเซล แต่จะเป็นแหล่งพลังงานสะอาดสำหรับระบบไฟฟ้า แสงสว่าง ระบบทำความเย็น ระบบทำความร้อน และระบบปรับอากาศในเรือ
• ท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ โดยลดปริมาณการใช้กระดาษ ระหว่างกรมศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรืออื่นๆ
จะเห็นได้ว่าทางการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ศึกษาหาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ให้เป็นท่าเรือพาณิชย์ระดับโลก (World class port) ให้บริการที่รวดเร็ว ลดช่วงเวลาเรือรอเทียบท่า เพิ่มนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการทำให้
ท่าเรือแหลงฉบังเป็นท่าเรือพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
8 หมื่นล้านผุดแหลมฉบัง 3
ร้อยตำรวจตรีมนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) และรักษาการผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 4 โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่ง 1 ใน 4 โครงการ คือโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 จากนี้ไป กทท. จะเร่งรัดขั้นตอนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค.2562 และในระหว่างนี้ ก็จะดำเนินการขั้นตอนการประกวดราคาควบคู่กันไป ยกเว้นการเซ็นสัญญา
“ระหว่างรออีเอชไอเอ กทท. ได้ประกาศเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาบริหารและประกอบการ ผ่านทางเว็บไซต์ จากนั้นจะเปิดจำหน่ายซองเอกสารประกวดราคาในวันที่ 5 พ.ย.นี้ และให้บริษัทที่ซื้อซองมายื่นเอกสารในวันที่ 14 ม.ค.2562 โดยใช้เวลาในการพิจารณา 1 เดือน เพื่อประกาศรายชื่อผู้ชนะการประกวดราคา ในเดือน ก.พ. เพื่อลงนามในสัญญาเดือน มี.ค.และเริ่มก่อสร้างในเดือน พ.ค.2562”
ทั้งนี้ กทท.พบว่ามีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติ จากทวีปเอเชียและสหภาพยุโรปกว่า 10 ประเทศ รวม 15 บริษัท ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนโครงการนี้ โดยการเปิดประมูลดังกล่าวเป็นการประมูลโซนเอฟ วงเงินลงทุน 80,000 ล้านบาท เพื่อรองรับตู้สินค้า 4-6 ล้านตู้ ต่อปี แต่ ทลฉ.จะต้องพัฒนาที่ดินและสาธารณูปโภค โซนเอฟ เช่น ถมทะเล ทำถนน ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ขุดคลอง และรางรถไฟ มูลค่าลงทุน 20,000 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จใน 2 ปีก่อนส่งมอบให้เอกชนผู้ชนะการประมูลราคาไปดำเนินการต่อ.
ที่มา : ไทยรัฐ
EEC - อนาคตท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบังให้สามารถรองรับการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ โดยจะดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำหรับจอดเรือน้ำลึก และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมทั้งการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (Single Rail Transfer Operator, SRTO), ก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A), ปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรภายในท่าเรือ ตลอดจนโครงข่ายและระบบการขนส่งต่อเนื่องที่จำเป็นในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังที่จะเชื่อมต่อกับภายนอกให้เพียงพอและพร้อมที่จะรองรับการขยาย ตัวของปริมาณเรือและสินค้าประเภทต่าง ๆ
องค์ประกอบโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จะประกอบไปด้วย
• ก่อสร้างท่าเรือตู้สินค้า 4 ท่า (ท่าเรือ E1 E2 F1 F2) ความจุ 7 ล้านตู้ต่อปี
• ก่อสร้างท่าเรือขนส่งรถยนต์ (RO-RO) ความจุ 1 ล้านคันต่อปี
• ก่อสร้างท่าเรือชายฝั่ง ความจุ 1 ล้านตู้ต่อปี
• ก่อสร้างสถานีขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟระยะที่ 2 (SRTO2)
• ปรับปรุงระบบในการรองรับปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าทางรถไฟให้ได้ 4 ล้านตู้ต่อปี โดยใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation)
โครงการจะสามารถเปิดดำเนินการอย่างช้าภายใน ปี พ.ศ. 2568 มีแผนการก่อสร้างแบ่งออกเป็นการโครงสร้างพื้นฐาน 5 ปี (ปี พ.ศ. 2561 – 2566) และการก่อสร้างท่าเทียบเรือและติดตั้งอุปกรณ์ขนถ่าย 3 ปี (ปี พ.ศ. 2565 - 2568)
โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จะใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความสะดวก เพิ่มความรวดเร็วในการบริหารจัดการ รวมไปถึงการช่วยลดมลพิษ และสร้างสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่น
• เครนยกตู้แบบไร้คนขับ เพื่อยกตู้สินค้าขึ้น หรือลงจากรถขนส่ง
• รถลำเลียงตู้สินค้าแบบไร้คนขับ ใช้ขนส่งตู้สินค้าระหว่างลาน กับบริเวณหน้าท่า
• เรือขุดลอกระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และเหมาะกับการบำรุงรักษาร่องน้ำ
• ระบบจ่ายไฟฟ้าให้กับเรือที่มาเทียบท่า เพื่อลดการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ดีเซล แต่จะเป็นแหล่งพลังงานสะอาดสำหรับระบบไฟฟ้า แสงสว่าง ระบบทำความเย็น ระบบทำความร้อน และระบบปรับอากาศในเรือ
• ท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ โดยลดปริมาณการใช้กระดาษ ระหว่างกรมศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรืออื่นๆ
จะเห็นได้ว่าทางการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ศึกษาหาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ให้เป็นท่าเรือพาณิชย์ระดับโลก (World class port) ให้บริการที่รวดเร็ว ลดช่วงเวลาเรือรอเทียบท่า เพิ่มนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการทำให้ท่าเรือแหลงฉบังเป็นท่าเรือพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ร้อยตำรวจตรีมนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) และรักษาการผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 4 โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่ง 1 ใน 4 โครงการ คือโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 จากนี้ไป กทท. จะเร่งรัดขั้นตอนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค.2562 และในระหว่างนี้ ก็จะดำเนินการขั้นตอนการประกวดราคาควบคู่กันไป ยกเว้นการเซ็นสัญญา
“ระหว่างรออีเอชไอเอ กทท. ได้ประกาศเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาบริหารและประกอบการ ผ่านทางเว็บไซต์ จากนั้นจะเปิดจำหน่ายซองเอกสารประกวดราคาในวันที่ 5 พ.ย.นี้ และให้บริษัทที่ซื้อซองมายื่นเอกสารในวันที่ 14 ม.ค.2562 โดยใช้เวลาในการพิจารณา 1 เดือน เพื่อประกาศรายชื่อผู้ชนะการประกวดราคา ในเดือน ก.พ. เพื่อลงนามในสัญญาเดือน มี.ค.และเริ่มก่อสร้างในเดือน พ.ค.2562”
ทั้งนี้ กทท.พบว่ามีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติ จากทวีปเอเชียและสหภาพยุโรปกว่า 10 ประเทศ รวม 15 บริษัท ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนโครงการนี้ โดยการเปิดประมูลดังกล่าวเป็นการประมูลโซนเอฟ วงเงินลงทุน 80,000 ล้านบาท เพื่อรองรับตู้สินค้า 4-6 ล้านตู้ ต่อปี แต่ ทลฉ.จะต้องพัฒนาที่ดินและสาธารณูปโภค โซนเอฟ เช่น ถมทะเล ทำถนน ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ขุดคลอง และรางรถไฟ มูลค่าลงทุน 20,000 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จใน 2 ปีก่อนส่งมอบให้เอกชนผู้ชนะการประมูลราคาไปดำเนินการต่อ.
ที่มา : ไทยรัฐ