א ฟัง א
___________________________________
เถาวัลย์ผกผันฉันท์ 18 + กลบทอัศวยุชประยุกต์
ס จะเอนเอียง
แว่วสดับเสียง
คลื่นสายลมเคลียสอดลลิตกวะฝัน
๐ ฉมาสั่น
เวิ้งสดับนั้น
ดังอึงมี่ดุลองค์มุติสรณะพึ่ง
๐ ดรงค์ซึ้ง
ศพสำเนียงหึ่ง
ไฟเผาลาญฟุ้งเพลิงลิขิตพบุวาย
๐ กระสินธุ์สาย
รินสำเนียงคลาย
ความกังวลคลื่นกวนวิสุทธิสุภา
๐ เผดียงฟ้า
นกแถลงว่า
กล่าวถ้อยเจื้อยกอปรถ้วนจิรเสนาะสราญ
๐ บุหงาบ้าน
ฉมแถลงการ
พร่ำคำสวยเพื่อความสุขะมนะผลิพริ้ง
๐ บุหลันนิ่ง
กวนสะท้อนสิ่ง
สื่ออารมณ์โสตอวยรตินิศรำพัน
๐ สุรีย์ลั่น
แสงสะท้อนสันต์
คำเป็นธรรมคุ้มปกธรณิปณิธาน
๐ กระเพื่อมสาร
ดังสนั่นนาน
ฟุ้งดนตรีฟังได้ตริสติก็ประเทือง
๐ นิรันดร์เบื้อง
เงียบสนั่นเนือง
งามจีรังงำจิต-รวะลุปะนิพาน ךף
____________________________________
เถาวัลย์ผกผันฉันท์ 18 คือ กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ 18 ในรูปกลับหัวกลับหาง เอาวรรคที่ 3 ของบทมาแทนวรรคที่ 1 มีสัมผัสที่พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 1 กับ 2 ส่วนคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 จะนำไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของคำสุดท้ายวรรค 1 ในบทใหม่ แบ่งได้ตามนี้ (ตัวหนังสือสีเหลืองคือคำสัมผัสระหว่างบท)
ลหุ -ครุ -
ครุ
ครุ -
ลหุ -ครุ -
ครุ
ครุ -ครุ -ครุ -
ครุ -ครุ -ลหุ -ลหุ -ลหุ -ลหุ -ลหุ -ครุ
แต่ด้วยความผีบ้าโดยสันดานของผม
แค่กลับหัวฉันท์มันยังไม่สะใจพอ เพราะวรรคที่ 3 มันจะแห้งเกินไป ผมจึงได้เอากลบท"อัศวยุช" ที่คุณหมอชลภูมิคิดค้นในกระทู้นี้ >>
https://m.ppantip.com/topic/37752757<< มาดัดแปลงนิดหน่อย
คำที่เป็นตัวหนาในแผนผังด้านบนในวรรคที่ 2 คือ ลหุและครุตรงกลางนั้น จะต้องถูก "ส่งทอดซ้ำ" ไปยังบทต่อไป และขึ้นคำใหม่ในบทที่ 3 ซึ่งคำใหม่ของบทที่ 3 ก็จะซ้ำกันในบทที่ 4 ในตำแหน่งเดียวกันนี้
ตัวอย่างเช่น; (1)มีกระดองหนา - (2)นั่นกระดองเต่า, (1)ดอกกระเจียวบาน - (2)ทุ่งกระเจียวหอม เป็นต้น
ส่วนคำที่เป็นตัวขีดเส้นใต้ จะเป็นสัมผัสอักษรระหว่างคำที่ 1 กับ 4, 2 กับ 5, และ 3 กับ 6 แม้ว่าคำที่ 6 จะเป็นลหุแต่ก็จะบังคับสัมผัสอักษรกับคำที่ 3
ตัวอย่างเช่น; นอนพาดไป - หน้าพื้นแปะ, ก้มตัวตด - กลิ่นตามตุ เป็นตัน
ผลิตเสร็จสรรพออกมาหน้าตาฉันท์ก็ออกมาเป็นอาวุธลักษณะนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
...
อาจต้องรอช่างตีดาบมือหนึ่งอย่างคุณหมอชลภูมิต่อไปจะดีกว่า
ฟัง ...เถาวัลย์ผกผันฉันท์...
___________________________________
แว่วสดับเสียง
คลื่นสายลมเคลียสอดลลิตกวะฝัน
๐ ฉมาสั่น
เวิ้งสดับนั้น
ดังอึงมี่ดุลองค์มุติสรณะพึ่ง
๐ ดรงค์ซึ้ง
ศพสำเนียงหึ่ง
ไฟเผาลาญฟุ้งเพลิงลิขิตพบุวาย
๐ กระสินธุ์สาย
รินสำเนียงคลาย
ความกังวลคลื่นกวนวิสุทธิสุภา
๐ เผดียงฟ้า
นกแถลงว่า
กล่าวถ้อยเจื้อยกอปรถ้วนจิรเสนาะสราญ
๐ บุหงาบ้าน
ฉมแถลงการ
พร่ำคำสวยเพื่อความสุขะมนะผลิพริ้ง
๐ บุหลันนิ่ง
กวนสะท้อนสิ่ง
สื่ออารมณ์โสตอวยรตินิศรำพัน
๐ สุรีย์ลั่น
แสงสะท้อนสันต์
คำเป็นธรรมคุ้มปกธรณิปณิธาน
๐ กระเพื่อมสาร
ดังสนั่นนาน
ฟุ้งดนตรีฟังได้ตริสติก็ประเทือง
๐ นิรันดร์เบื้อง
เงียบสนั่นเนือง
งามจีรังงำจิต-รวะลุปะนิพาน ךף
____________________________________
เถาวัลย์ผกผันฉันท์ 18 คือ กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ 18 ในรูปกลับหัวกลับหาง เอาวรรคที่ 3 ของบทมาแทนวรรคที่ 1 มีสัมผัสที่พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 1 กับ 2 ส่วนคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 จะนำไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของคำสุดท้ายวรรค 1 ในบทใหม่ แบ่งได้ตามนี้ (ตัวหนังสือสีเหลืองคือคำสัมผัสระหว่างบท)
ครุ -ลหุ -ครุ -ครุ
ครุ -ครุ -ครุ -ครุ -ครุ -ลหุ -ลหุ -ลหุ -ลหุ -ลหุ -ครุ
แต่ด้วยความผีบ้าโดยสันดานของผม แค่กลับหัวฉันท์มันยังไม่สะใจพอ เพราะวรรคที่ 3 มันจะแห้งเกินไป ผมจึงได้เอากลบท"อัศวยุช" ที่คุณหมอชลภูมิคิดค้นในกระทู้นี้ >>https://m.ppantip.com/topic/37752757<< มาดัดแปลงนิดหน่อย
คำที่เป็นตัวหนาในแผนผังด้านบนในวรรคที่ 2 คือ ลหุและครุตรงกลางนั้น จะต้องถูก "ส่งทอดซ้ำ" ไปยังบทต่อไป และขึ้นคำใหม่ในบทที่ 3 ซึ่งคำใหม่ของบทที่ 3 ก็จะซ้ำกันในบทที่ 4 ในตำแหน่งเดียวกันนี้
ตัวอย่างเช่น; (1)มีกระดองหนา - (2)นั่นกระดองเต่า, (1)ดอกกระเจียวบาน - (2)ทุ่งกระเจียวหอม เป็นต้น
ส่วนคำที่เป็นตัวขีดเส้นใต้ จะเป็นสัมผัสอักษรระหว่างคำที่ 1 กับ 4, 2 กับ 5, และ 3 กับ 6 แม้ว่าคำที่ 6 จะเป็นลหุแต่ก็จะบังคับสัมผัสอักษรกับคำที่ 3
ตัวอย่างเช่น; นอนพาดไป - หน้าพื้นแปะ, ก้มตัวตด - กลิ่นตามตุ เป็นตัน
ผลิตเสร็จสรรพออกมาหน้าตาฉันท์ก็ออกมาเป็นอาวุธลักษณะนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้