สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ก่อนตอบ ขอชื่นชมคุณ จขกท ก่อนครับ ว่านอกจากจะแสดงให้เห็นความพยายามที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองแล้ว ยังเป็นตัวอย่างที่ดีในการตั้งคำถามอีกด้วยคือ อธิบายว่าตัวเองเข้าใจอะไร ปัญหาที่ไม่เข้าใจคืออะไร และมีตัวอย่างประกอบ ทำให้ตอบง่ายขึ้นมากเลย รู้ว่าควรจะอธิบายตรงไหน
-ed เป็นคำลงท้าย ใช้ต่อท้ายคำได้สองจำพวก คือคำกริยา กับคำนาม มีความหมายต่างกัน ในคำถามของคุณ จขกท เป็นเรื่องของการเติมท้ายคำกริยาเท่านั้น จะอธิบายตรงนี้ก่อนนะครับ แล้วตอนท้ายจะแถมให้เรื่องการเติมท้ายคำนาม
การใช้ -ed เติมท้ายคำกริยา มีแค่ 2 กรณีเท่านั้นครับ คือการทำกริยาให้เป็น Past Tense และ Past Participle ที่ในภาษาไทยเราเรียกกันว่า กริยาช่อง 2 และช่อง 3
(1) Past Tense หรือกริยาช่อง 2 อันนี้ง่ายมาก คือ รูปอดีตของกริยานั้น เราใช้รูปนี้ในกรณีเดียวเท่านั้นคือ กรณีที่ประโยคเป็น Past Simple Tense เช่น
I closed the window this morning. → ฉันปิดหน้าต่างเมื่อเช้านี้
ในคำถามของคุณ จขกท ตัวอย่างที่ 2 เป็นกรณีนี้ครับ
The news broadcaster reported that... → ผู้สื่อข่าวได้รายงานว่า... (to report เป็นกริยา แปลว่ารายงาน ประโยคนี้คือ ได้รายงานไปในอดีต)
(2) Past Participle หรือกริยาช่อง 3 อันนี้สนุกสนานครับ เพราะรูปนี้สามารถใช้ได้มากมายหลายแบบมาก ถ้ากริยาเติม -ed ไม่ใช่แบบแรกคือ Past Simple Tense ละก็ เป็นแบบนี้ทั้งหมดครับ ใช้ในกรณีไหนได้บ้าง
(2.1) ใช้ใน Perfect Tense ทั้งหลาย (ไม่ว่าจะเป็น Present Perfect, Past Perfect, Future Perfect) กรณีนี้จะใช้ร่วมกับกริยา to have ซึ่งถูกผันให้เป็นปัจจุบัน, อดีต, อนาคตครับ เช่น
I have closed the window. → ฉันปิดหน้าต่างไปแล้ว
I had closed the window when she came in. → ฉันปิดหน้าต่างไปแล้วตอนเขาเข้ามา
I will have closed the window at midnight. → ฉันจะปิดหน้าต่างไปแล้วตอนเที่ยงคืน
(2.2) ใช้ใน Passive Voice (ไม่ว่าจะเป็น Tense ไหนก็ตาม) กรณีนี้จะใช้ร่วมกับกริยา to be ซึ่งถูกผันให้ตรงตาม Tense ครับ เช่น
The window is closed by the janitor every evening. → หน้าต่างถูกปิดโดยภารโรงทุกเย็น
The window was closed by the teacher yesterday. → หน้าต่างถูกปิดโดยครูเมื่อวานนี้
The window will be closed at midnight. → หน้าต่างจะถูกปิดตอนเที่ยงคืน
(2.3) ใช้เป็นคำขยายส่วนอื่นของประโยค ทำให้มีความหมายตามข้อ (2.1) คืออะไรที่ทำเสร็จไปแล้ว หรือ (2.2) คืออะไรที่ถูกกระทำครับ กรณีนี้จะชวนงงนิดนึง เพราะมันมีวิธีใช้เยอะมาก ในหนังสือจะยาวเป็นหลายหน้าเลย ผมแค่เจาะประเด็นสำคัญๆ ให้อ่านต่อได้ง่ายนะครับ
คำขยายที่ว่านี้ อาจจะอยู่ในรูปของ adjective ก็ได้ เช่น
an escaped prisoner → นักโทษที่หนีไปแล้ว (ความหมายตาม 2.1)
the closed door → ประตูที่ถูกปิดไว้ (ความหมายตาม 2.2)
adjective ในกลุ่มความรู้สึกที่ลงท้ายด้วย -ed ก็อยู่ในพวกนี้ครับ และแปลว่ามีความรู้สึกนั้น เช่น bored, surprised, frightened, interested คือรู้สึกเบื่อ, ประหลาดใจ, กลัว, สนใจ
ตัวอย่างแรกของคุณ จขกท ก็อยู่ในหมวดนี้ครับ
The coach could motivate the tired players... → ครูฝึกสามารถจูงใจผู้เล่นที่รู้สึกเหนื่อย
นอกจากใช้เป็น adjective โดยตรงแบบนี้ บางทีก็ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำขยายยาวๆ ที่ไม่ใช่ adjective เสียทีเดียวก็ได้ครับ เช่น
All the girls invited to the party came late. → สาวๆ ทุกคน (ที่ถูกเชิญมางานเลี้ยง) มาสาย
ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นคำขยาย "สาวๆ" ในประโยคที่บอกว่า สาวๆ มาสาย (รูปนี้เหมือนกับย่อมาจาก All the girlswho were invited to the party came late.)
การใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำขยายแบบนี้ มีวิธีใช้มากมายครับ แต่หลักการเหมือนกัน และความหมายก็ตาม (2.1) และ (2.2) ข้างต้นเหมือนกัน (ในตัวอย่างนี้ความหมายตาม 2.2 คือ ถูกเชิญ เป็น Passive Voice)
มีหมายเหตุเพิ่มเติมนิดนึงว่า ไม่ใช่กริยาทุกคำที่ใช้วิธีเติม -ed เพื่อทำให้เป็น Past Tense และ Past Participle นะครับ กริยาหลายคำเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น sing-sang-sung, bring-brought-brought, go-went-gone แต่วิธีใช้ก็เหมือนกับข้างบนทุกประการครับ
อีกหมายเหตุคือ ไม่ใช่ทุกคำที่ลงท้ายด้วย -ed จะมาจากการเติมครับ บางคำมันก็เป็นคำของมันเองแบบนั้น ไม่ได้เติมมาจากคำอื่น เช่น wicked (ชั่วร้าย), naked (เปลือย)
ข้างบนคือเรื่องการเติม -ed ท้ายคำกริยาที่คุณ จขกท ถามมานะครับ ข้างล่างนี่คือของแถม คือการเติม -ed ท้ายคำนาม เผื่อไปเจอจะได้ไม่งง
คำนามบางคำ เอามาเติม -ed แล้วใช้เป็น adjective ได้ครับ มีความหมายว่า ซึ่งมีลักษณะนั้น มักใช้กับส่วนของร่างกายหรือสิ่งของ เช่น
a bearded man → ผู้ชายที่ไว้เครา
a long-haired woman → ผู้หญิงที่ไว้ผมยาว
high-heeled shoes → รองเท้าส้นสูง
กรณีนี้ คำขยายถ้ามีหลายคำ ต้องเชื่อมด้วย - (hyphen) เพื่อบอกให้รู้ว่ามันไปด้วยกันทั้งยวงครับ
-ed เป็นคำลงท้าย ใช้ต่อท้ายคำได้สองจำพวก คือคำกริยา กับคำนาม มีความหมายต่างกัน ในคำถามของคุณ จขกท เป็นเรื่องของการเติมท้ายคำกริยาเท่านั้น จะอธิบายตรงนี้ก่อนนะครับ แล้วตอนท้ายจะแถมให้เรื่องการเติมท้ายคำนาม
การใช้ -ed เติมท้ายคำกริยา มีแค่ 2 กรณีเท่านั้นครับ คือการทำกริยาให้เป็น Past Tense และ Past Participle ที่ในภาษาไทยเราเรียกกันว่า กริยาช่อง 2 และช่อง 3
(1) Past Tense หรือกริยาช่อง 2 อันนี้ง่ายมาก คือ รูปอดีตของกริยานั้น เราใช้รูปนี้ในกรณีเดียวเท่านั้นคือ กรณีที่ประโยคเป็น Past Simple Tense เช่น
I closed the window this morning. → ฉันปิดหน้าต่างเมื่อเช้านี้
ในคำถามของคุณ จขกท ตัวอย่างที่ 2 เป็นกรณีนี้ครับ
The news broadcaster reported that... → ผู้สื่อข่าวได้รายงานว่า... (to report เป็นกริยา แปลว่ารายงาน ประโยคนี้คือ ได้รายงานไปในอดีต)
(2) Past Participle หรือกริยาช่อง 3 อันนี้สนุกสนานครับ เพราะรูปนี้สามารถใช้ได้มากมายหลายแบบมาก ถ้ากริยาเติม -ed ไม่ใช่แบบแรกคือ Past Simple Tense ละก็ เป็นแบบนี้ทั้งหมดครับ ใช้ในกรณีไหนได้บ้าง
(2.1) ใช้ใน Perfect Tense ทั้งหลาย (ไม่ว่าจะเป็น Present Perfect, Past Perfect, Future Perfect) กรณีนี้จะใช้ร่วมกับกริยา to have ซึ่งถูกผันให้เป็นปัจจุบัน, อดีต, อนาคตครับ เช่น
I have closed the window. → ฉันปิดหน้าต่างไปแล้ว
I had closed the window when she came in. → ฉันปิดหน้าต่างไปแล้วตอนเขาเข้ามา
I will have closed the window at midnight. → ฉันจะปิดหน้าต่างไปแล้วตอนเที่ยงคืน
(2.2) ใช้ใน Passive Voice (ไม่ว่าจะเป็น Tense ไหนก็ตาม) กรณีนี้จะใช้ร่วมกับกริยา to be ซึ่งถูกผันให้ตรงตาม Tense ครับ เช่น
The window is closed by the janitor every evening. → หน้าต่างถูกปิดโดยภารโรงทุกเย็น
The window was closed by the teacher yesterday. → หน้าต่างถูกปิดโดยครูเมื่อวานนี้
The window will be closed at midnight. → หน้าต่างจะถูกปิดตอนเที่ยงคืน
(2.3) ใช้เป็นคำขยายส่วนอื่นของประโยค ทำให้มีความหมายตามข้อ (2.1) คืออะไรที่ทำเสร็จไปแล้ว หรือ (2.2) คืออะไรที่ถูกกระทำครับ กรณีนี้จะชวนงงนิดนึง เพราะมันมีวิธีใช้เยอะมาก ในหนังสือจะยาวเป็นหลายหน้าเลย ผมแค่เจาะประเด็นสำคัญๆ ให้อ่านต่อได้ง่ายนะครับ
คำขยายที่ว่านี้ อาจจะอยู่ในรูปของ adjective ก็ได้ เช่น
an escaped prisoner → นักโทษที่หนีไปแล้ว (ความหมายตาม 2.1)
the closed door → ประตูที่ถูกปิดไว้ (ความหมายตาม 2.2)
adjective ในกลุ่มความรู้สึกที่ลงท้ายด้วย -ed ก็อยู่ในพวกนี้ครับ และแปลว่ามีความรู้สึกนั้น เช่น bored, surprised, frightened, interested คือรู้สึกเบื่อ, ประหลาดใจ, กลัว, สนใจ
ตัวอย่างแรกของคุณ จขกท ก็อยู่ในหมวดนี้ครับ
The coach could motivate the tired players... → ครูฝึกสามารถจูงใจผู้เล่นที่รู้สึกเหนื่อย
นอกจากใช้เป็น adjective โดยตรงแบบนี้ บางทีก็ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำขยายยาวๆ ที่ไม่ใช่ adjective เสียทีเดียวก็ได้ครับ เช่น
All the girls invited to the party came late. → สาวๆ ทุกคน (ที่ถูกเชิญมางานเลี้ยง) มาสาย
ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นคำขยาย "สาวๆ" ในประโยคที่บอกว่า สาวๆ มาสาย (รูปนี้เหมือนกับย่อมาจาก All the girls
การใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำขยายแบบนี้ มีวิธีใช้มากมายครับ แต่หลักการเหมือนกัน และความหมายก็ตาม (2.1) และ (2.2) ข้างต้นเหมือนกัน (ในตัวอย่างนี้ความหมายตาม 2.2 คือ ถูกเชิญ เป็น Passive Voice)
มีหมายเหตุเพิ่มเติมนิดนึงว่า ไม่ใช่กริยาทุกคำที่ใช้วิธีเติม -ed เพื่อทำให้เป็น Past Tense และ Past Participle นะครับ กริยาหลายคำเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น sing-sang-sung, bring-brought-brought, go-went-gone แต่วิธีใช้ก็เหมือนกับข้างบนทุกประการครับ
อีกหมายเหตุคือ ไม่ใช่ทุกคำที่ลงท้ายด้วย -ed จะมาจากการเติมครับ บางคำมันก็เป็นคำของมันเองแบบนั้น ไม่ได้เติมมาจากคำอื่น เช่น wicked (ชั่วร้าย), naked (เปลือย)
ข้างบนคือเรื่องการเติม -ed ท้ายคำกริยาที่คุณ จขกท ถามมานะครับ ข้างล่างนี่คือของแถม คือการเติม -ed ท้ายคำนาม เผื่อไปเจอจะได้ไม่งง
คำนามบางคำ เอามาเติม -ed แล้วใช้เป็น adjective ได้ครับ มีความหมายว่า ซึ่งมีลักษณะนั้น มักใช้กับส่วนของร่างกายหรือสิ่งของ เช่น
a bearded man → ผู้ชายที่ไว้เครา
a long-haired woman → ผู้หญิงที่ไว้ผมยาว
high-heeled shoes → รองเท้าส้นสูง
กรณีนี้ คำขยายถ้ามีหลายคำ ต้องเชื่อมด้วย - (hyphen) เพื่อบอกให้รู้ว่ามันไปด้วยกันทั้งยวงครับ
แสดงความคิดเห็น
เติม ed กรณีไหนบ้าง
1.The coach could motivate the tired players to carry on even though the training program was exhausted.(เพิ่มเติม ข้อนี้ผมคิดว่าไม่ใช่ special verb เพราะไม่ได้นำหน้าด้วย v. to be ครับ)
2.The news broadcaster reported that not only the hurricane but also the ensing floods.( เนี่ยครับ คำว่า reported คือมันเป็นคำเฉพาะอยู่แล้วหรอครับที่ต้องเติม ed ถึงจะแปลว่าสัมภาษณ์)
หรือมีกฎอื่นเกี่ยวกับการเติม ed ที่ผมต้องรู้อีกไหมครับ