รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นสาขาวิชาหนึ่งในสายรัฐศาสตร์/สังคมศาสตร์ โดยมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Public Administration มีชื่อเรียกโดยทั่วไปที่คนรู้จักกัน 2 ชื่อ คือ รัฐประศาสนศาสตร์ และ บริหารรัฐกิจ บางคนอาจจะมองว่าชื่อไม่เหมือนกันน่าจะต้องเรียนไม่เหมือนกันด้วย
ช้าก่อน! ! ! ! จริงๆ แล้วเรียนเหมือนกัน ถ้าหากแบ่งจริงๆ รัฐประศาสนศาสตร์ มักจะใช้ในเชิงความหมายทางวิชาการเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริหารรัฐกิจ จะเป็นภาคปฏิบัติ
สำหรับชาวนิด้าแล้ว รัฐประศาสนศาสตร์ของพวกเราจะเรียกกันสั้นๆ ว่า รศ. และไม่ได้มีฐานะเป็นสาขา แต่เป็นฐานะเป็นคณะหนึ่งในสถาบันบริหารพัฒนศาสตร์ (NIDA) โดยจะมีสาขาภายใต้รัฐประศาสนศาสตร์ให้ผู้สนใจเลือกมากถึง 6 สาขากันเลยทีเดียว สำหรับกระทู้นี้! ! ! ผมได้รวบรวมข้อสงสัยของเพื่อนๆ ไว้ทั้งหมด 8 ข้อสงสัย ทั้งการเรียน การสอบ การสัมภาษณ์ และหลักสูตร มาให้เพื่อนๆ ได้ไขข้อสงสัยกันครับ
1) Q: คณะนี้เรียนอะไร?
เรากำลังเรียนอยู่ที่นี้ ซึ่งเราอยู่วิชาเอกนโยบายสาธารณะการจัดการเชิงกลยุทธ์ การเรียนในเทอมแรก จะเป็นวิชาการเบื้องฐานทั่วไป เกี่ยวกับโครงสร้างทางการเมือง องค์ประกอบของการเมือง แนวคิดในการขับเคลื่อนการบริหารการเมือง เช่น New Public Management หรือ New Public Value เป็นต้น ส่วนเทอมต่อมาจะเป็นวิชาทั่วไปและวิชาเอกเพียงหนึ่งตัว ฉะนั้นตั้งแต่ในช่วงเทอม 2 เป็นต้นมา เพื่อนๆ แต่ละคนจะเริ่มเรียนวิชาไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าเพื่อนๆ เลือกวิชาเอกอะไร เช่น วิชาเอกบริการการเงินการคลัง ก็จะเริ่มเรียนวิชาการคลังในเทอมนี้ หรืออย่างเราที่เรียนวิชาเอกนโยบายสาธารณะฯ จะเรียนวิชานโยบายสาธารณะ การวางแผน และการจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดูรายละเอียดวิชาได้ในหลักสูตรที่เว็ปไซต์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้าครับ ส่วนในเทอมที่เหลือเพื่อนๆ ก็จะเรียนวิชาเอกแล้วครับ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในสาขาวิชานั้นๆ มากเลยครับ
บรรยายในการเรียนของภาคปกติ จะมีความเป็นกันเอง เพื่อนจะสนิทสนมกัน ให้นึกถึงสมัยตอนเรียนปริญญาตรีของเพื่อนๆ นะครับ เพราะเพื่อนๆ จะได้มาพบกับเพื่อนร่วมชั้นที่น่ารัก สนุก และได้เรียนรู้ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ครับ อย่างเราตั้งแต่เรียนมาจะคุ้นเคยกับภาษากลางและอีสาน ตั้งแต่มาเรียนที่นี้ เราสนุกกับการได้ฟังและพยายามฝั่งพูดภาษาใต้ ซึ่งสนุกมากๆ เลยครับ ในเวลาเรียนก็จะมีทั้งการฟังเลทเชอร์จากอาจารย์ แต่สิ่งที่อาจารย์แต่ละคนจะเน้นนั้น จะเป็นการฝั่งให้เราทำงานเป็น เขียนรายงานได้ และกล้าแสดงออกทั้งการพูด การพรีเซ็น ไม่ต้องห่วงครับ เพื่อนๆ ทุกคนที่มาเรียนที่นี้ เพื่อนๆ จะได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ที่เปิดประสบการณ์ตัวเอง หรืออาจจะทำให้เพื่อนๆ ค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบได้นะครับ เช่น เราเป็นคนไม่ชอบไมค์โครโฟน ยืนต่อหน้าคนเยอะๆ แต่ทุกวันนี้สามารถเป็นพิธีให้กับคณะเวลาที่มีกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ครับ ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ เข้ามาเรียนแล้ว แบ่งเวลาในการเรียน อ่านหนังสือ ทำการบ้าน ได้ดี เพื่อนๆ จะสามารถทำกิจกรรมในสถาบันได้อีกหลายอย่างเลยทีเดียว ถ้าเพื่อนๆ อยากรู้ ต้องมาลองสัมผัสด้วยตัวเอง
เพียงแค่คลิกตามลิ้ง https://entrance.nida.ac.th/registrar/apphome.asp
2) Q: คณะมีหลักสูตรอะไรบ้าง?
สำหรับ รศ. นิด้า มีให้เพื่อนๆ เลือกด้วยกัน 2 หลักสูตร ครับ แต่ละหลักสูตรก็จะมีหลักสูตรย่อยอีกนะครับ
1) หลักสูตรภาษาไทย มี 2 หลักสูตร คือ
(1) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | M.P.A. เน้นการสร้างความเข้าใจในแนวคิด หลักการทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยเน้นความสำคัญของการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการบริหารต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการนำทักษะทางการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางสังคม
รายละเอียดเพิ่มเติม http://gspa.nida.ac.th/th/หลักสูตร/หลักสูตรปริญญาโท/ปริญญาโท-mpa/
(2) หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | M.P.P.M. หลักสูตรนี้พัฒนามาเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมุ่งเน้นความเป็นมืออาชีพ มีทักษะและความชำนาญการในการประยุกต์แนวคิด ทฤษฎี ตัวแบบ และกลยุทธ์ในการจัดการที่สำคัญ เพื่อรับมือกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
รายละเอียดเพิ่มเติม http://gspa.nida.ac.th/th/หลักสูตร/หลักสูตรปริญญาโท/ปริญญาโท-mppm/
2) หลักสูตรภาษาอังกฤษ มี 1 หลักสูตร คือ
(1) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | M.P.A. English Program ส่วนเนื้อหาการเรียนเหมือนกับหลักสูตรภาษาไทย ดังนั้นผู้ที่สนใจเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ จะต้องมีพื้นฐานของภาษาอังกฤษทางทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เป็นอย่างดี
รายละเอียดเพิ่มเติม http://gspa.nida.ac.th/th/หลักสูตร/หลักสูตรปริญญาโท/#
3) Q: คณะนี้มีสาขาอะไรบ้าง?
คณะรัฐประศาสนศาสตร์เรามีสาขาให้เลือกมากถึง 6 สาขา ได้แก่ 1) วิชาเอกองค์การและการจัดการ 2) วิชาเอกการจัดการทุนมนุษย์ 3) วิชาเอกการบริหารการเงินและการคลัง 4) วิชาเอกนโยบายสาธารณะและการจัดการเชิงกลยุทธ์ 5) วิชาเอกการปกครองท้องถิ่น 6) วิชาเอกการบริหารงานยุติธรรมทางอาญา
4) Q: ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
สำหรับค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ในฐานะที่เรากำลังเรียนอยู่ ค่าเทอมของภาคปกติจะอยู่ประมาณ 70,000 - 80,0000 บาททั้งหลักสูตร ซึ่งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ จะมีค่าเทอม 80,000 และ หลักสูตรการจัดการภาครัฐและเอกชน จะมีค่าเทอม 70,900 บาท
นอกจากค่าเทอมแล้วก็จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าหนังสือ ตำรา เอกสาร และกิจกรรมต่างๆ โดยเฉลี่ยต่อเทอมจะประมาณ 1,800 - 2,200 บาท หรือตลอดทั้งหลักสูตรประมาณ 7,200 - 8,800 บาท เราคิดว่าหนังสือ และตำราบางอย่างถ้าเราไปยืมจากห้องสมุดก็จะช่วยทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าสนใจที่อยากจะเข้าศึกษาต่อจริงๆ แต่มีปัญหาเรื่องค่าเทอม เราสามารถที่จะขอทุนการศึกษาได้ โดยทุนการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบนะครับ
1) ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทเรียนดี (แบบต่อเนื่องทั้งสูตร) ทุนประเภทนี้ ถ้าผู้สนใจขอทุนได้ จะได้รับการช่วยเหลือตลอดทั้งหลักสูตร ซึ่งมีทุน 3 ประเภท ดังนี้
(1) ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship) จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร ส่วนการ ยกเว้นค่าธรรมเนียมกิจกรรมพิเศษให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละหลักสูตร และได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุนเดือนละ 10,000 บาท โดยสถาบันฯ จะหักเงินค่าเบี้ยประกันสุขภาพของผู้รับทุน (กรณีเป็นนักศึกษาต่างชาติ) ก่อน สำหรับนักศึกษาจะได้รับเงินสนับสนุนเต็มจำนวน
(2) ผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2 จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
(3) ผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3 จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตจ่านวนกึ่งหนึ่งตลอดหลักสูตร
มีเงื่อนไขการขอรับสมัคร
- ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship) และผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2 จะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75
- ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3 จะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50
มีเงื่อนไขในการรักษาภาระทุน
- ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship) จะต้องเรียน แผน ก (วิทยานิพนธ์)
- ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2 และ 3 สามารถเลือกได้ว่าจะเรียนแผน ก (วิทยานิพนธ์) หรือ แผน ข (ค้นคว้าอิสระ)
- ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship) ทุนส่งเสริมการศึกษา ประเภทที่ 2 และทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3 จะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.30 หากภาคการศึกษาใดได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะหมดสิทธิ์รับทุน
สามารถเข้าไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://edserv.nida.ac.th/th/images/document/ann_conclude_sch_th.pdf
2) ทุนช่วยเหลือ (แบบไม่ต่อเนื่อง) ทุนที่ให้การข่วยเหลือทางการเงินและค่าธรรมเนียมการศึกษาเป็นรายเทอม มีทุน 2 ประเภท ดังนี้
(1) ทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ทุนนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยนักศึกษาที่มีความจำเป็นทางการเงิน โดยการยกเว้นค่าหน่วยกิตของรายวิชาตามหลักสูตร ผู้ขอรับทุนค่าธรรมเนียมการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน ผ่านการศึกษาในเทอมแรกมาแล้ว ต้องมีคะแนนเฉลี่ยของภาคก่อนไม่ต่ำกว่า 3.00
(2) ทุนช่วยเหลือการศึกษา (ทุน TA) ทุนนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยนักศึกษาที่มีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน โดยจ่ายทุนละ 8,000 บาท ผู้ขอรับทุนช่วยเหลือการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน ผ่านการศึกษาในเทอมแรกมาแล้ว ต้องมีคะแนนเฉลี่ยของภาคก่อนไม่ต่ำกว่า 3.00 สามารถช่วยงานสอนของอาจารย์ในคณะได้ โดยทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 10 ชั่วโมงเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา
สามารถเข้าไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนการศึกษา http://edserv.nida.ac.th/th/index.php/admission/scholarship
5) Q: เตรียมสอบเข้าสมัครยังไง?
สำหรับการเตรียมสอบนั้น ผมได้สมัครเรียนในรูปแบบทุนส่งเสริมการศึกษา ผมได้แนะนำการสัมสอบและการสัมภาษณ์ในข้อหัวถัดไป แต่ผมได้ถามเพื่อนในคณะมาให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันครับว่าจะต้องเตรียมสอบยังไง มีการสมัครสอบกี่ครั้งครับ
การสอบระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มีกำหนดเปิดรับปีละ 4 ครั้ง ดิฉันได้สมัครสอบตั้งแต่ครั้งที่ 1 สมัครสอบไปสองวิชา คือ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาเฉพาะ 1 ในตอนนั้นไม่ได้เตรียมตัวสอบเท่าที่ควรเนื่องจากยังเป็นช่วงที่ดิฉันเพิ่งการศึกษาระดับปริญญาตรีแต่ยังต้องกลับไปทำธุระที่มหาวิทยาลัยอยู่ และต้องย้ายหอพัก จึงไม่มีเวลาในการเตรียมตัวสอบ คะแนนสอบทั้งสองวิชาจึงยังไม่ถึงเกณฑ์ ตอนนั้นรู้สึกกดดันตัวเองมาก เนื่องจากหากพลาดจากการเปิดรับสมัครครั้งที่1 ก็เหลือเพียงอีก 1 ครั้งคือครั้งที่ 2 เพราะครั้งที่ 1 และ2 นั้นจะเปิดเทมอภาคการศึกษาในปี 2560 เลย หากเป็นครั้งที่ 3 และ 4 จะเปิดภาคการศึกษาในปี 2561 ซึ่งทำให้ต้องเสียเวลารออีก 1 ปี และวิชาภาษาอังกฤษจะมีเวลาสอบเพียงแค่ 2 ครั้งเนื่องจากจะมีการสอบเดือนละ 1 ครั้ง
ดิฉันเริ่มจากการหาแนวข้อสอบเก่าๆ ของปีก่อนๆ มาฝึกทำ ฝึกหาวิธีคิดที่สามารถหาคำตอบได้ไวที่สุด ฝึกการตีโจทย์ ฝึกทำวันละหลายสิบข้อ โดยแบ่งเวลาอ่านหนังสือ เป็น 4 ช่วงเวลา คือเวลา 09.00 - 12.00 น. และ เวลา 14.00-16.00 น. ฝึกทำข้อสอบเก่าของภาษาอังกฤษ ฝึกท่องจำคำศัพท์ ศึกษาหลักไวยากรณ์ต่างๆ หลังจากนั้นจะเป็นเวลาพักผ่อน ส่วนในวิชาเฉพาะ 1 จะเริ่มอ่านเวลา 20.00 น. เป็นต้นไป เหตุผลที่ใช้เวลาอ่านช่วงค่ำเนื่องจากจะมีสมาธิมากกว่าอ่านกลางวัน ในวิชามีเนื้อหาค่อนข้างกว้าง มีรายละเอียดเยอะ ก็จะอ่านเกี่ยวกับ การปกครองของไทย การเมืองในปัจจุบัน เหตุการณ์บ้านเมือง และข่าวสารที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จนในที่สุดในการสอบครั้งที่ 2 ดิฉันก็สามารถทำคะแนนผ่านเกณฑ์ได้ทั้งสองวิชา เนื่องจากการมีวินัยในการอ่านหนังสือ ความตั้งใจ ไม่ย่อท้อ ทำให้เราประสบความสำเร็จได้อย่างตั้งใจไว้
เห็นไหมครับเพื่อน ถ้าเพื่อนมีความตั้งใจที่จะเข้าและเตรียมตัวในการหาข้อสอบเก่า วางแผนการสอบมาเป็นอย่างดี รับรองว่าเพื่อนๆ สามารถเข้ามาเรียนที่ คณะ รศ. นิด้า และมาเป็นรุ่นน้องของเราได้สบายๆ เลยครับ
เพื่อนๆ ยังสามารถติดตามข้อสงสัยสำหรับ ป.โท รศ. ในกระทู้ถัดไปนะครับ
[CR] [ตอบทุกคำถามและข้อสงสัย] รัฐประศาสนศาสตร์ ป.โท ภาคปกติ นิด้า (NIDA)
สำหรับชาวนิด้าแล้ว รัฐประศาสนศาสตร์ของพวกเราจะเรียกกันสั้นๆ ว่า รศ. และไม่ได้มีฐานะเป็นสาขา แต่เป็นฐานะเป็นคณะหนึ่งในสถาบันบริหารพัฒนศาสตร์ (NIDA) โดยจะมีสาขาภายใต้รัฐประศาสนศาสตร์ให้ผู้สนใจเลือกมากถึง 6 สาขากันเลยทีเดียว สำหรับกระทู้นี้! ! ! ผมได้รวบรวมข้อสงสัยของเพื่อนๆ ไว้ทั้งหมด 8 ข้อสงสัย ทั้งการเรียน การสอบ การสัมภาษณ์ และหลักสูตร มาให้เพื่อนๆ ได้ไขข้อสงสัยกันครับ
1) Q: คณะนี้เรียนอะไร?
เรากำลังเรียนอยู่ที่นี้ ซึ่งเราอยู่วิชาเอกนโยบายสาธารณะการจัดการเชิงกลยุทธ์ การเรียนในเทอมแรก จะเป็นวิชาการเบื้องฐานทั่วไป เกี่ยวกับโครงสร้างทางการเมือง องค์ประกอบของการเมือง แนวคิดในการขับเคลื่อนการบริหารการเมือง เช่น New Public Management หรือ New Public Value เป็นต้น ส่วนเทอมต่อมาจะเป็นวิชาทั่วไปและวิชาเอกเพียงหนึ่งตัว ฉะนั้นตั้งแต่ในช่วงเทอม 2 เป็นต้นมา เพื่อนๆ แต่ละคนจะเริ่มเรียนวิชาไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าเพื่อนๆ เลือกวิชาเอกอะไร เช่น วิชาเอกบริการการเงินการคลัง ก็จะเริ่มเรียนวิชาการคลังในเทอมนี้ หรืออย่างเราที่เรียนวิชาเอกนโยบายสาธารณะฯ จะเรียนวิชานโยบายสาธารณะ การวางแผน และการจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดูรายละเอียดวิชาได้ในหลักสูตรที่เว็ปไซต์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้าครับ ส่วนในเทอมที่เหลือเพื่อนๆ ก็จะเรียนวิชาเอกแล้วครับ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในสาขาวิชานั้นๆ มากเลยครับ
บรรยายในการเรียนของภาคปกติ จะมีความเป็นกันเอง เพื่อนจะสนิทสนมกัน ให้นึกถึงสมัยตอนเรียนปริญญาตรีของเพื่อนๆ นะครับ เพราะเพื่อนๆ จะได้มาพบกับเพื่อนร่วมชั้นที่น่ารัก สนุก และได้เรียนรู้ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ครับ อย่างเราตั้งแต่เรียนมาจะคุ้นเคยกับภาษากลางและอีสาน ตั้งแต่มาเรียนที่นี้ เราสนุกกับการได้ฟังและพยายามฝั่งพูดภาษาใต้ ซึ่งสนุกมากๆ เลยครับ ในเวลาเรียนก็จะมีทั้งการฟังเลทเชอร์จากอาจารย์ แต่สิ่งที่อาจารย์แต่ละคนจะเน้นนั้น จะเป็นการฝั่งให้เราทำงานเป็น เขียนรายงานได้ และกล้าแสดงออกทั้งการพูด การพรีเซ็น ไม่ต้องห่วงครับ เพื่อนๆ ทุกคนที่มาเรียนที่นี้ เพื่อนๆ จะได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ที่เปิดประสบการณ์ตัวเอง หรืออาจจะทำให้เพื่อนๆ ค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบได้นะครับ เช่น เราเป็นคนไม่ชอบไมค์โครโฟน ยืนต่อหน้าคนเยอะๆ แต่ทุกวันนี้สามารถเป็นพิธีให้กับคณะเวลาที่มีกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ครับ ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ เข้ามาเรียนแล้ว แบ่งเวลาในการเรียน อ่านหนังสือ ทำการบ้าน ได้ดี เพื่อนๆ จะสามารถทำกิจกรรมในสถาบันได้อีกหลายอย่างเลยทีเดียว ถ้าเพื่อนๆ อยากรู้ ต้องมาลองสัมผัสด้วยตัวเอง เพียงแค่คลิกตามลิ้ง https://entrance.nida.ac.th/registrar/apphome.asp
2) Q: คณะมีหลักสูตรอะไรบ้าง?
สำหรับ รศ. นิด้า มีให้เพื่อนๆ เลือกด้วยกัน 2 หลักสูตร ครับ แต่ละหลักสูตรก็จะมีหลักสูตรย่อยอีกนะครับ
1) หลักสูตรภาษาไทย มี 2 หลักสูตร คือ
(1) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | M.P.A. เน้นการสร้างความเข้าใจในแนวคิด หลักการทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยเน้นความสำคัญของการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการบริหารต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการนำทักษะทางการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางสังคม รายละเอียดเพิ่มเติม http://gspa.nida.ac.th/th/หลักสูตร/หลักสูตรปริญญาโท/ปริญญาโท-mpa/
(2) หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | M.P.P.M. หลักสูตรนี้พัฒนามาเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมุ่งเน้นความเป็นมืออาชีพ มีทักษะและความชำนาญการในการประยุกต์แนวคิด ทฤษฎี ตัวแบบ และกลยุทธ์ในการจัดการที่สำคัญ เพื่อรับมือกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รายละเอียดเพิ่มเติม http://gspa.nida.ac.th/th/หลักสูตร/หลักสูตรปริญญาโท/ปริญญาโท-mppm/
2) หลักสูตรภาษาอังกฤษ มี 1 หลักสูตร คือ
(1) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | M.P.A. English Program ส่วนเนื้อหาการเรียนเหมือนกับหลักสูตรภาษาไทย ดังนั้นผู้ที่สนใจเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ จะต้องมีพื้นฐานของภาษาอังกฤษทางทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เป็นอย่างดี รายละเอียดเพิ่มเติม http://gspa.nida.ac.th/th/หลักสูตร/หลักสูตรปริญญาโท/#
3) Q: คณะนี้มีสาขาอะไรบ้าง?
คณะรัฐประศาสนศาสตร์เรามีสาขาให้เลือกมากถึง 6 สาขา ได้แก่ 1) วิชาเอกองค์การและการจัดการ 2) วิชาเอกการจัดการทุนมนุษย์ 3) วิชาเอกการบริหารการเงินและการคลัง 4) วิชาเอกนโยบายสาธารณะและการจัดการเชิงกลยุทธ์ 5) วิชาเอกการปกครองท้องถิ่น 6) วิชาเอกการบริหารงานยุติธรรมทางอาญา
4) Q: ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
สำหรับค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ในฐานะที่เรากำลังเรียนอยู่ ค่าเทอมของภาคปกติจะอยู่ประมาณ 70,000 - 80,0000 บาททั้งหลักสูตร ซึ่งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ จะมีค่าเทอม 80,000 และ หลักสูตรการจัดการภาครัฐและเอกชน จะมีค่าเทอม 70,900 บาท
นอกจากค่าเทอมแล้วก็จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าหนังสือ ตำรา เอกสาร และกิจกรรมต่างๆ โดยเฉลี่ยต่อเทอมจะประมาณ 1,800 - 2,200 บาท หรือตลอดทั้งหลักสูตรประมาณ 7,200 - 8,800 บาท เราคิดว่าหนังสือ และตำราบางอย่างถ้าเราไปยืมจากห้องสมุดก็จะช่วยทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าสนใจที่อยากจะเข้าศึกษาต่อจริงๆ แต่มีปัญหาเรื่องค่าเทอม เราสามารถที่จะขอทุนการศึกษาได้ โดยทุนการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบนะครับ
1) ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทเรียนดี (แบบต่อเนื่องทั้งสูตร) ทุนประเภทนี้ ถ้าผู้สนใจขอทุนได้ จะได้รับการช่วยเหลือตลอดทั้งหลักสูตร ซึ่งมีทุน 3 ประเภท ดังนี้
(1) ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship) จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร ส่วนการ ยกเว้นค่าธรรมเนียมกิจกรรมพิเศษให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละหลักสูตร และได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุนเดือนละ 10,000 บาท โดยสถาบันฯ จะหักเงินค่าเบี้ยประกันสุขภาพของผู้รับทุน (กรณีเป็นนักศึกษาต่างชาติ) ก่อน สำหรับนักศึกษาจะได้รับเงินสนับสนุนเต็มจำนวน
(2) ผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2 จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
(3) ผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3 จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตจ่านวนกึ่งหนึ่งตลอดหลักสูตร
มีเงื่อนไขการขอรับสมัคร
- ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship) และผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2 จะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75
- ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3 จะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50
มีเงื่อนไขในการรักษาภาระทุน
- ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship) จะต้องเรียน แผน ก (วิทยานิพนธ์)
- ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2 และ 3 สามารถเลือกได้ว่าจะเรียนแผน ก (วิทยานิพนธ์) หรือ แผน ข (ค้นคว้าอิสระ)
- ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship) ทุนส่งเสริมการศึกษา ประเภทที่ 2 และทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3 จะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.30 หากภาคการศึกษาใดได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะหมดสิทธิ์รับทุน
สามารถเข้าไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://edserv.nida.ac.th/th/images/document/ann_conclude_sch_th.pdf
2) ทุนช่วยเหลือ (แบบไม่ต่อเนื่อง) ทุนที่ให้การข่วยเหลือทางการเงินและค่าธรรมเนียมการศึกษาเป็นรายเทอม มีทุน 2 ประเภท ดังนี้
(1) ทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ทุนนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยนักศึกษาที่มีความจำเป็นทางการเงิน โดยการยกเว้นค่าหน่วยกิตของรายวิชาตามหลักสูตร ผู้ขอรับทุนค่าธรรมเนียมการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน ผ่านการศึกษาในเทอมแรกมาแล้ว ต้องมีคะแนนเฉลี่ยของภาคก่อนไม่ต่ำกว่า 3.00
(2) ทุนช่วยเหลือการศึกษา (ทุน TA) ทุนนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยนักศึกษาที่มีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน โดยจ่ายทุนละ 8,000 บาท ผู้ขอรับทุนช่วยเหลือการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน ผ่านการศึกษาในเทอมแรกมาแล้ว ต้องมีคะแนนเฉลี่ยของภาคก่อนไม่ต่ำกว่า 3.00 สามารถช่วยงานสอนของอาจารย์ในคณะได้ โดยทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 10 ชั่วโมงเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา
สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนการศึกษา http://edserv.nida.ac.th/th/index.php/admission/scholarship
5) Q: เตรียมสอบเข้าสมัครยังไง?
สำหรับการเตรียมสอบนั้น ผมได้สมัครเรียนในรูปแบบทุนส่งเสริมการศึกษา ผมได้แนะนำการสัมสอบและการสัมภาษณ์ในข้อหัวถัดไป แต่ผมได้ถามเพื่อนในคณะมาให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันครับว่าจะต้องเตรียมสอบยังไง มีการสมัครสอบกี่ครั้งครับ
การสอบระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มีกำหนดเปิดรับปีละ 4 ครั้ง ดิฉันได้สมัครสอบตั้งแต่ครั้งที่ 1 สมัครสอบไปสองวิชา คือ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาเฉพาะ 1 ในตอนนั้นไม่ได้เตรียมตัวสอบเท่าที่ควรเนื่องจากยังเป็นช่วงที่ดิฉันเพิ่งการศึกษาระดับปริญญาตรีแต่ยังต้องกลับไปทำธุระที่มหาวิทยาลัยอยู่ และต้องย้ายหอพัก จึงไม่มีเวลาในการเตรียมตัวสอบ คะแนนสอบทั้งสองวิชาจึงยังไม่ถึงเกณฑ์ ตอนนั้นรู้สึกกดดันตัวเองมาก เนื่องจากหากพลาดจากการเปิดรับสมัครครั้งที่1 ก็เหลือเพียงอีก 1 ครั้งคือครั้งที่ 2 เพราะครั้งที่ 1 และ2 นั้นจะเปิดเทมอภาคการศึกษาในปี 2560 เลย หากเป็นครั้งที่ 3 และ 4 จะเปิดภาคการศึกษาในปี 2561 ซึ่งทำให้ต้องเสียเวลารออีก 1 ปี และวิชาภาษาอังกฤษจะมีเวลาสอบเพียงแค่ 2 ครั้งเนื่องจากจะมีการสอบเดือนละ 1 ครั้ง
ดิฉันเริ่มจากการหาแนวข้อสอบเก่าๆ ของปีก่อนๆ มาฝึกทำ ฝึกหาวิธีคิดที่สามารถหาคำตอบได้ไวที่สุด ฝึกการตีโจทย์ ฝึกทำวันละหลายสิบข้อ โดยแบ่งเวลาอ่านหนังสือ เป็น 4 ช่วงเวลา คือเวลา 09.00 - 12.00 น. และ เวลา 14.00-16.00 น. ฝึกทำข้อสอบเก่าของภาษาอังกฤษ ฝึกท่องจำคำศัพท์ ศึกษาหลักไวยากรณ์ต่างๆ หลังจากนั้นจะเป็นเวลาพักผ่อน ส่วนในวิชาเฉพาะ 1 จะเริ่มอ่านเวลา 20.00 น. เป็นต้นไป เหตุผลที่ใช้เวลาอ่านช่วงค่ำเนื่องจากจะมีสมาธิมากกว่าอ่านกลางวัน ในวิชามีเนื้อหาค่อนข้างกว้าง มีรายละเอียดเยอะ ก็จะอ่านเกี่ยวกับ การปกครองของไทย การเมืองในปัจจุบัน เหตุการณ์บ้านเมือง และข่าวสารที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จนในที่สุดในการสอบครั้งที่ 2 ดิฉันก็สามารถทำคะแนนผ่านเกณฑ์ได้ทั้งสองวิชา เนื่องจากการมีวินัยในการอ่านหนังสือ ความตั้งใจ ไม่ย่อท้อ ทำให้เราประสบความสำเร็จได้อย่างตั้งใจไว้
เห็นไหมครับเพื่อน ถ้าเพื่อนมีความตั้งใจที่จะเข้าและเตรียมตัวในการหาข้อสอบเก่า วางแผนการสอบมาเป็นอย่างดี รับรองว่าเพื่อนๆ สามารถเข้ามาเรียนที่ คณะ รศ. นิด้า และมาเป็นรุ่นน้องของเราได้สบายๆ เลยครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น